หนึ่งในระบบที่สำคัญของคือรถยนต์ คือ ระบบ ของเหลวรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเบรก, น้ำมันพาวเวอร์, น้ำยาหล่อเย็น, น้ำมันเกียร์ หรือน้ำยาฉีดกระจก ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญในการทำให้รถยนต์ของคุณทำงานได้เรียบร้อยและปลอดภัย การรู้เรื่องการดูแลและการจัดการของเหลวรถยนต์เป็นความรู้ที่ไม่ควรมองข้าม  ผลกระทบต่อรถยนต์ของคุณอย่างไร

ระบบ ของเหลวรถยนต์ มีอะไรบ้าง?

ของเหลวรถยนต์ มีบทบาทสำคัญในการทำให้รถยนต์ของเราทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ของเหลวรถยนต์มีด้วยกันหลายชนิดและมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น มีส่วนช่วยลดการสึกหรอ ลดการเสียดสีระหว่างชิ้นส่วนที่สัมผัสกัน  ป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์  นอกจากนี้ของเหลวรถยนต์และยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบและเปลี่ยนของเหลวรถยนต์ควรเป็นส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษารถยนต์ของคุณ และเมื่อคุณใส่ใจในระบบของเหลวรถยนต์ ก็ช่วยให้รถยนต์ของคุณทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบของเหลวรถยนต์อาจเป็นสาเหตุของปัญหาในรถยนต์บางอย่าง รวมถึงการทำงานของระบบที่ไม่ปกติ ดังนั้นการรู้วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับของเหลวรถยนต์จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณได้เร็วขึ้น ทั้งนี้มีหลากหลายประเภทและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ของเหลวบางประเภทเหมาะสมสำหรับการใช้งานในรถยนต์บางประเภท การรู้จักของเหลวที่ใช้ในรถยนต์ของคุณจะช่วยให้คุณสามารถดูแลรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการดูแลบำรุงรักษารถไม่ได้หมายถึงเพียงการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แต่ยังรวมถึงการตรวจสอบและเปลี่ยนของเหลวทั้งหมดที่ต้องใช้ในระบบของรถยนต์ อาทิ เช่น น้ำมันเบรก, น้ำมันพวงมาลัย, น้ำมันเกียร์, น้ำกลั่นแบตเตอรี่ และน้ำยาหม้อน้ำ การดูแลของเหลวเหล่านี้ให้ถูกต้องตามเวลาที่กำหนดจะช่วยให้รถยนต์ของคุณมีประสิทธิภาพและแข็งแรงต่อการทำงานในระยะยาว โดยของเหลวรถยนต์ที่คุณควรรู้จักและหมั่นดูแลรักษามีดังนี้

น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง เป็นของเหลวรถยนต์ที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับรถยนต์ น้ำมันเครื่อง ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ ลดการสึกหรอ และช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้โดยไม่มีปัญหา น้ำมันเครื่อง ผู้ใช้รถจำเป็นจะต้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนทุก ๆ 5,000-10,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของน้ำมันเครื่องที่คุณใช้

น้ำมันเบรก

น้ำมันเบรก เป็นส่วนสำคัญของระบบเบรกของรถยนต์  ใช้ในการหยุดรถและชะลอการขับขี่รถยนต์ น้ำมันเบรกต้องเปลี่ยนทุก 25,000-30,000 กิโลเมตร เพื่อให้ระบบเบรกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำมันพาวเวอร์

น้ำมันพาวเวอร์ ทำหน้าที่ช่วยหมุนพวงมาลัย เลี้ยวรถให้ง่ายขึ้น แต่รถรุ่นใหม่ ๆ อาจไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว เนื่องจากรถรุ่นใหม่เป็นพวงมาลัยไฟฟ้าแล้ว น้ำมันพาวเวอร์ต้องเปลี่ยนทุก 30,000-60,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับรุ่นและรายการการใช้งานของรถยนต์

น้ำยาหล่อเย็น หรือ น้ำยาเติมหม้อน้ำ

น้ำยาหล่อเย็นช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน ทำให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

น้ำยาฉีดกระจก

น้ำยาฉีดกระจก ช่วยให้กระจกหน้ารถมีความใสสะอาด ขจัดคราบฝุ่น แมลง ขี้นก ที่ติดอยู่บนกระจกให้หลุดออกได้ง่าย โดยสามารถเติมเพียงน้ำเปล่า หรือน้ำยาฉีดกระจกก็ได้

น้ำมันพาวเวอร์

น้ำมันพวงมาลัย ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ง่ายขึ้น  เนื่องจากลูกสูบภายในเฟืองขับและเฟืองสะพานที่เชื่อมต่อเข้ากับล้อหน้าของรถยนต์ น้ำมันพาวเวอร์จะเข้าไปช่วยทำให้การเลี้ยวพวงมาลัยง่ายขึ้น

วิธีการตรวจสอบและเติมของเหลวรถยนต์

ตรวจสอบและเติมของเหลวรถยนต์เป็นส่วนสำคัญของการดูแลรถยนต์ ที่จะช่วยให้รถยนต์ของคุณทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เราจะมาอธิบายวิธีการตรวจสอบและเติมของเหลวในรถยนต์ ดังนี้

น้ำมันเครื่อง

  1. เปิดฝาครอบเครื่องยนต์และหาก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง
  2. ดึงก้านวัดน้ำมันออก แล้วเช็ดให้สะอาดด้วยผ้าหรือทิชชู
  3. เสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าไปใหม่
  4. ดึงก้านวัดน้ำมันออกอีกครั้งเพื่อดูระดับน้ำมัน หากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีด “F” กับ “L” หรือ “Max กับ Min” หมายถึง น้ำมันเครื่องอยู่ในระดับปกติ แต่ควรรักษาระดับของน้ำมันเครื่องของคุณให้อยู่สูงกว่าครึ่งหนึ่งของขีด “F” กับ “L” หรือ MAX และ MIN อยู่เสมอ

น้ำยาหม้อน้ำ

  1. ควรตรวจสอบน้ำยาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์เย็น
  2. เปิดฝาหม้อน้ำ และตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำจะต้องเต็ม
  3. ถ้าระดับน้ำลด ให้ทำการเติมน้ำยาหม้อน้ำ แต่หากพบว่าน้ำยาหม้อน้ำมีสีสนิม ควรนำรถไปอู่ซ่อมรถเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำต่อไป

น้ำมันเบรก

  1. เปิดฝากระโปรงหน้ารถ มองหากระปุกน้ำมันเบรก จะมีคำว่า MAX และ MIN
  2. ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก ต้องอยู่ที่ MAX เสมอ แต่ถ้าระดับต่ำกว่านี้หรืออยู่ที่ระดับ MIN อาจเกิดจากสาเหตุน้ำมันเบรกรั่ว หรือผ้าเบรกสึก

น้ำมันพาวเวอร์

  1. จอดรถแนวราบ และทำการสตาร์ทเครื่องยนต์
  2. หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายสุดและขวาสุดเพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำมันพาวเวอร์ แล้วหมุนกลับมาที่ตำแหน่งปกติ
  3. ตรวจสอบระดับน้ำมันพาวเวอร์ หากอยู่ระดับต่ำกว่ามาตรฐานให้ทำการเติมให้อยู่ระดับปกติ หากกระปุกน้ำมันพาวเวอร์แบบทึบ ทำการเปิดฝาดึงก้านวัดน้ำมันขึ้นมาเพื่อตรวจสอบระดับน้ำมัน หรือหากเป็นกระปุกน้ำมันพาวเวอร์แบบทึบ สามารถดูระดับน้ำมันพาวเวอร์ได้ที่ข้างกระปุกเลย

น้ำยาล้างกระจก

  1. สังเกตน้ำในถังพักน้ำฉีดกระจก
  2. หากอยู่ในระดับต่ำหรือไม่มีเลย ให้ทำการเติมน้ำสะอาดให้เต็มตามระดับมาตรฐาน

ประโยชน์ของการดูแลและรักษาของเหลวรถยนต์

การดูแลและบำรุงรักษารถ เป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะระบบของเหลว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้รถของคุณ หากส่วนไหนไม่ได้รับการดูแล จะส่งผลให้การทำงานในแต่ละส่วนของรถทำได้อย่างไม่สมบูรณ์

  1. ช่วยลดการสึกหรอ  ระบบของเหลวในรถยนต์ ตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่อง  สามารถช่วยลดการสึกหรอของชิ้นส่วนในรถยนต์ได้
  2. ทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ของเหลวรถยนต์สามารถช่วยให้ระบบต่างๆ ในรถยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ช่วยป้องกันการแตกร้าวและการเสียหาย ของเหลวรถยนต์สามารถช่วยป้องกันการแตกร้าวและการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความร้อนและความดันสูง
  4. ช่วยให้รถยนต์ทำงานได้ดีและยาวนาน ด้วยการดูแลรักษาของเหลวรถยนต์ที่ดี จะทำให้รถยนต์ของคุณทำงานได้ดีและยาวนาน
  5. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย การดูแลรักษาของเหลวรถยนต์ที่ดี สามารถช่วยลดค่าซ่อมบำรุงและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

ระบบของเหลวรถยนต์ เป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญและเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือสามารถนำรถไปตรวจเช็กสภาพที่อู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการเมื่อครบกำหนดระยะการใช้งานของแต่ละส่วน นอกจากนี้สิ่งที่เป็นการดูแล บำรุงรักษารถที่ทุกคนสามารถทำได้เอง เช่น  การดูแลยางรถยนต์ การดูแลสีรถด้วยการเคลือบสีรถ หรือการนำรถไปตรวจสภาพรถยนต์เมื่อถึงเวลา โดยเรามีคำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

เติมลมยางรถยนต์ให้เหมาะสม

โดยปกติการเติมลมยางรถยนต์ ประเภทรถเก๋งจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับล้อหน้าและล้อหลัง แต่ถ้ามีการบรรทุกหรือมีผู้โดยสารเต็มคันรถ จะอยู่ที่ประมาณ  33-35 PSI  ส่วนรถกระบะ จะเติมลมยางรถยนต์ล้อหน้าอยู่ที่ 36-38 PSI  ล้อหลัง  40-42 PSI หรือหากมีการบรรทุกของเต็มท้ายรถ  47-51 PSI  แต่หากจำแนกประเภทรถออกมา จะพบว่าการเติมลมยางรถยนต์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  1. รถยนต์ขนาดเล็ก ควรเติมแรงลมที่ 25 – 30 ปอนด์
  2. รถยนต์ขนาดกลาง ควรเติมแรงลมที่ 30 – 35 ปอนด์
  3. รถกระบะ (ไม่บรรทุก) ควรเติมแรงลมที่ 35 – 40 ปอนด์
  4. รถตู้บรรทุก 7 – 10 คน ควรเติมแรงลมที่ 43 – 55 ปอนด์

โดยความถี่ในการเติมลมยางรถยนต์นั้น ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเติมเมื่อไหร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งานรถบ่อยแค่ไหน ปกติแล้วลมยางรถยนต์จะลดลง 2-3 PSI ในหนึ่งเดือน หากไม่ค่อยได้ขับขี่รถบ่อยควรเติมลมยางรถยนต์ เดือนละครั้งถึงสองครั้ง ทั้งนี้ควรหมั่นตรวจสอบเช็กลมยางรถยนต์อยู่เสมอ สลับยางรถยนต์ ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ รวมไปถึงการเช็กดอกยางรถยนต์ทุก 6 เดือน หากดอกยางหมดให้เปลี่ยนยางเส้นใหม่โดยด่วน อ่านเกี่ยวกับดอกยางรถยนต์เพิ่มเติมคลิก

การเคลือบสีรถ

เชื่อว่าบางคนอาจจะคิดว่าการเคลือบสีรถ เป็นเพียงการเสริมความหล่อความสวยให้กับรถของคุณ แต่รู้หรือไม่ว่าการเคลือบสีรถ ก็เหมือนกับการทาครีมของเรา เพื่อช่วยเสริมเกราะป้องกันจากสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำลายสีรถ เช่น แสงแดด ฝุ่นละออง ฝน เป็นต้น โดยประโยชน์ของการเคลือบสีรถ มีดังนี้

1.ป้องกันคราบสิ่งสกปรกไม่ให้เกาะรถ

การเคลือบสีรถ ช่วยป้องกันและลดการเกาะยึดไม่ให้พวกฝุ่น หยดน้ำ ละอองน้ำเกาะอยู่ตามผิวรถจนเป็นรอยด่าง  เพราะสารที่ใช้เคลือบสีรถจะเคลือบผิวรถเพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกเหล่านี้เกาะติดได้นาน หากเป็นพวกหยดน้ำก็จะไม่เกาะติดผิวรถอีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย เป็นเกาะติดเป็นคราบฝังลึก

2.ยืดอายุสีตัวถังรถ

การเคลือบสีรถนอกจากจะช่วยเพิ่มความเงางาม ทำให้สีรถดูสดใส และยังช่วยป้องกันคราบสกปรกไม่ให้เกาะติดผิวรถซึ่งทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย นอกจากนี้การเคลือบสีรถยังเป็นการเพิ่มเกราะป้องกันให้กับผิวรถที่จะต้องสู้กับแสงแดด ฝน ละอองน้ำ  หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปมีผลทำให้สีรถซีดจาง หลุดล่อน เปรียบเหมือนการที่คนเราทาครีมกันแดดเพื่อจะช่วยป้องกันแสงยูวี หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ที่มีผลทำให้ผิวของเราเกิดอาการแสบแดง มีริ้วรอย หรือรอยเหี่ยวย่น  เช่นเดียวกันกับผิวรถ แม้ว่าแสงแดด ฝน ละอองน้ำ หรือมลภาวะต่าง ๆ ก็มีผลทำให้สีตัวถังรถ ซีดจาง หลุดล่อนได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการเคลือบสีรถ จึงเป็นการยืดอายุของสีตัวถังให้สดใส ไม่ซีดจาง สีไม่หลุดล่อนออกมาง่าย ๆ

การนำรถไปตรวจสภาพรถยนต์

โดยปกติการตรวจสภาพรถยนต์จะถูกบังคับให้ทำก่อนทำพรบ ต่อภาษีรถประจำปี สำหรับรถที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป ทั้งนี้การตรวจสภาพรถนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนที่ใช้รถใช้ถนนคนอื่น และสภาพแวดล้อมด้วย ซึ่งรถที่นำมาใช้บนท้องถนน ต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง โดยสามารถเข้ารับการตรวจสภาพรถได้ที่ ตรอ.ใกล้บ้าน หรือสำหรับใครที่กำลังจะเดินทางไกล แนะนำว่าให้นำรถไปตรวจสภาพและความพร้อมของรถที่อู่ซ่อมรถหรือศูนย์ซ่อม เพื่อให้มั่นใจว่าอะไหล่ ชิ้นส่วน ระบบของเหลวต่าง ๆ ในรถพร้อมใช้งาน ไม่เกิดปัญหารถเสียกลางทางได้

ไม่ว่าใครก็สามารถดูแลรถด้วยตัวเองได้ ทั้งการตรวจสอบ ระบบของเหลวรถยนต์ การเช็กลมยางรถยนต์ การเคลือบสีรถ หรือการนำรถไปตรวจสภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานรถยนต์ของคุณให้ใช้ได้นาน ลดการสึกหรอและเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถก่อนเวลาอันควร นอกจากการดูแลรถเป็นสิ่งที่คุณควรทำเป็นประจำนั้น การทำประกันรถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่เราอยากแนะนำให้คุณทำติดรถไว้ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในการเดินทางทั้งคน รถ และความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุนั้น เพราะเพียงแต่การทำพ.ร.บ.รถ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคนเท่านั้น แต่ความเสียหายของรถ พ.ร.บ.จะไม่ได้คุ้มครอง จึงทำให้การทำประกันรถภาคสมัครใจ จึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยเสริมความอุ่นใจในการเดินทางมากยิ่งขึ้นค่ะ สนใจทำประกันรถยนต์ คลิก

สมัครสินเชื่อ