“หนี้ก็มี เงินไม่เคยพอใช้ เงินเก็บยิ่งแล้วใหญ่” ถ้าคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องเผชิญกับสภาวะแบบนี้ เฮงลิสซิ่งจะช่วยดึงสติคุณเอง “ด้วย 3 เคล็ดไม่ลับ เปลี่ยนหนี้ให้เป็นเงินออม” ดังนี้

  • เคล็ดไม่ลับที่ 1 “ยอมรับความจริง”เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นแล้วอย่าเสียเวลามานั่งเศร้า เพราะมันไม่ได้ทำให้หนี้ลดลง สิ่งสำคัญคือ คุณต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่ม  ยอมรับความจริง แม้ว่าช่วงแรกอาจจะรู้สึกปวดใจ เครียด และกังวล แต่ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ก็แสดงว่าคุณแก้ปัญหาหนี้ไปได้แล้วกว่าครึ่ง
  • เคล็ดไม่ลับที่ 2 “รู้จักหนี้ของตัวเอง”
    เมื่อรู้จักหนี้ของตัวเองแล้วจะทำให้คุณจัดการหนี้ง่ายขึ้น เริ่มจากเขียนสรุปยอดหนี้ให้ออกมาเป็น “ตารางสรุปยอดหนี้” เพราะจะทำให้เราเห็นภาพรวมของหนี้ได้อย่างชัดเจนและจะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยสรุปรายละเอียดหนี้ เช่น กู้ยืมเงินไปใช้ทำอะไรบ้าง เจ้าหนี้เป็นใคร เบอร์โทรเจ้าหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ วันครบกำหนดชำระหนี้ จำนวนงวดที่เหลือ จัดลำดับยอดหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดมาไว้เป็นยอดหนี้ที่ต้องปิดให้เร็วที่สุดก่อน หากมีหนี้บ้านหนี้รถ ให้เลือกชำระหนี้ส่วนนี้ก่อน และตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งหนี้โดยเปรียบเทียบกับบิลที่เราได้รับตอนรูดบัตรว่าตรงกันหรือไม่ ถ้ามีอะไรผิดปกติจะได้แจ้งเจ้าหน้าที่อายัดรายการนั้นทันที

    คำนวณรายได้ของคุณ ในแต่ละเดือนได้เงินมาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายประจำมีเท่าไหร่ คุณอาจจะรวมหนี้บ้านและหนี้รถเข้าไปด้วยก็ได้ หากรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ใกล้เคียงหรือเท่ากับยอดหนี้ขั้นต่ำที่ต้องชำระในแต่ละเดือน สิ่งที่คุณต้องทำคือ หัดทำบัญชีรายรัยรายจ่ายของคุณเอง คุณจะได้รู้ว่าในแต่ละวัน เงินคุณหายไปไหน และรู้ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกไปได้บ้าง

  • เคล็ดไม่ลับที่ 3 “มาปลดหนี้กัน
    ขั้นที่ 1 ออกแบบทางเลือกของคุณเอง หนี้แต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจวิธีการแก้ไขมากขึ้นบทความนี้จะยกตัวอย่างหนี้สินของคนส่วนใหญ่ คือ การมีหลายเจ้าหนี้ พร้อมแนวทางแก้ปัญหามาฝากกัน
    ตัวอย่าง : เรามีรายได้ 30,000 บาท หลังจากเขียนตารางสรุปยอดหนี้จะทำให้เราเห็นว่าตนเองมีภาระต้องผ่อนรายเดือน 60%ของรายได้ แบ่งเป็นหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ ดังนี้

 

คุณจะเห็นในตัวอย่างว่ามีเจ้าหนี้หลายราย ทั้งการผ่อนรถยนต์ บัตรเครดิตและหนี้นอกระบบ ซึ่งแต่ละรายก็จะมีอัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดจ่ายที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรออกแบบทางเลือกของตัวเองว่าจะนำเงินส่วนไหนมาชำระหนี้ได้บ้าง เช่น ประหยัด ทำงานให้มากขึ้น  ขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และรวบรวมข้อมูลไปเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละรายเพื่อช่วยกันหาทางออก

ขั้นที่ 2 ทำการปลดหนี้โดยจัดสรรจำนวนเงินที่เหมาะสมที่สามารถจ่ายชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดดังนี้

  • จ่ายชำระกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูงสุดก่อน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเบ่งบานไปมากกว่านี้
  • ลดจำนวนเจ้าหนี้ให้น้อยลงโดยชำระหนี้ที่ยอดเงินน้อยๆก่อนแล้วค่อยชำระยอดหนี้มากๆคนสุดท้าย
  • รักษาเครดิตที่ดีของตัวเองในเครดิตบูโร โดยการชำระหนี้ให้ตรงเวลา เช่น ถ้าจ่ายเต็มจำนวนไม่ไหวอาจจะเปลี่ยนมาจ่ายขั้นต่ำ 10% ทุกเดือน แล้วพยายามรวบรวมเงินก้อนมาปิดหนี้บัตรเครดิตเร็วๆ

และชำระหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่คำนวณแล้วนี้ไปเรื่อยๆจนหมดหนี้ เมื่อชำระหนี้หมดแล้วควรนำเงินก้อนนี้ไปออมเพื่อสร้างวินัยการออมและไม่กลับมาเป็นหนี้ซ้ำอีก