ใกล้ช่วงเทศกาลหยุดยาว หลายคนอาจมีแผนกำลังเดินทางไปเที่ยวตามดอยต่าง ๆ สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยขับรถขึ้นดอยอาจจะกำลังมีคำถามในใจว่า ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร ขับรถลงดอยใช้เกียร์อะไรดี แล้วจะต้องขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย เรามีคำแนะนำขับรถขึ้นเขาลงเขาใช้เกียร์อะไรมาฝากค่ะ

ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร 

หากคุณกำลังวางแผนขับรถเที่ยวเขา เที่ยวดอย จะต้องมีทักษะและความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่เคยขับรถขึ้นดอยอาจจะสงสัยว่าขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร ลงเขาใช้เกียร์อะไร ซึ่งการขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร สำหรับเกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดา และขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร สำหรับเกียร์อัตโนมัติหรือเกียร์ออโต้นั้น ทั้งสองระบบเกียร์มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร ระหว่างเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์ออโต้ยากกว่ากันนั้น ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร เกียร์แบบไหนยากกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ขับขี่เป็นสำคัญ รวมไปถึงสภาพเส้นทางเดินทางว่ามีความชันมากน้อยเพียงใด  เราจึงมีคำแนะนำสำหรับการขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไรทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์ออโต้กันค่ะ

เกียร์ธรรมดา ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร 

การขับรถเกียร์ธรรมดา นั่นหมายความว่าผู้ขับขี่จะต้องควบคุมการขับขี่ด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไรนั้น คำตอบคือ ควรใช้เกียร์ต่ำ (เกียร์ 1- 2) ไม่ควรใช้เกียร์สูงไปกว่านี้เพราะเครื่องจะไม่มีแรงพอที่จะขึ้นเขาได้ และเมื่อระหว่างทางจำเป็นต้องหยุดรถ แล้วเดินทางต่อให้สตาร์ทรถ เข้าเกียร์ 1 พร้อมปลดเบรกมือพร้อมกัน ช่วยให้รถไม่ไหลตอนที่คุณถอนเท้าออกจากแป้นคลัตช์ 

ขับรถลงเขาใช้เกียร์อะไร

การขับรถลงเขา สำหรับเกียร์ธรรมดานั้นใช้เกียร์ต่ำ (เกียร์ 1- 2) เช่นเดียวกัน ไม่ปล่อยเกียร์ว่างไหลลงเขา 

เกียร์อัตโนมัติ ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร 

การขับรถเกียร์อัตโนมัติ  โดยปกติแล้วเวลาขับในเมือง จะขับด้วยเกียร์ D แต่การขึ้นเขานั้นหากใช้เกียร์ D แล้วเร่งไม่ขึ้นให้ใช้เกียร์ D1-D2 เมื่อเข้าสู่ทางราบกลับมาใช้เกียร์ D ทั้งนี้ไม่ควรใช้เกียร์ D ตลอดเส้นทาง เพราะจะทำให้เกียร์ร้อน

ขับรถลงเขาใช้เกียร์อะไร

การขับรถลงเขา สำหรับเกียร์อัตโนมัตินั้น ใช้เกียร์ D1-D2 เพื่อรักษาความเร็ว รถจะหน่วง ช้าลง และที่สำคัญห้ามใช้เกียร์ N ปล่อยรถไหลลงเขา และแตะเบรกเป็นระยะด้วย

เมื่อสังเกตดูแล้วจะพบว่า ในการขับรถขึ้นเขาลงเขาจะมีความแตกต่างกันไม่มากนัก เพราะจะต้องใช้เกียร์ต่ำในการขึ้นลงเขา และไม่ปล่อยเกียร์ว่าง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการขับขี่รถขึ้นลงเขามาแนะนำเพิ่มเติม ดังนี้ 

1.รักษาความเร็วขึ้นดอยประมาณ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วลงดอยประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2.เมื่อเข้าโค้ง รักษาความเร็ว30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3.ไม่ปล่อยเกียร์ว่าง,ไม่ใช้เกียร์ N ในการลงเขาเด็ดขาด เพราะผู้ขับขี่จะไม่สามารถควบคุมความเร็วของรถได้

เทคนิคขับรถขึ้นเขา-ลงเขาที่ควรรู้

นอกจากการขับรถขึ้นเขา-ลงเขาใช้เกียร์อะไรให้เหมาะสมแล้ว ยังมีเทคนิคในการขับรถขึ้นเขา ลงเขาที่ผู้ขับขี่จะต้องรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ที่ปลอดภัย ได้แก่

ไม่แซงทางโค้ง

การขับรถขึ้นเขาและลงเขาสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “มองให้ไกล” กวาดสายตาไปกว้าง ๆ ตามเส้นถนน และเมื่อเข้าจุดอับสายตาอย่างทางโค้งก็ไม่ควรแซงเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเราและเพื่อนร่วมทางคนอื่น ๆ ด้วย

ใช้เกียร์ต่ำเสมอ

อย่างที่เน้นย้ำกันไปเรื่องเทคนิคการขับรถขึ้นและลงเขาว่าต้องใช้เกียร์ D  และปรับเกียร์ต่ำ (D2 D1) ตามความเหมาะสมกับระดับความชันของถนนแต่ละช่วง

ขับรถเลนซ้าย

ขับรถเลนซ้ายเสมอและพยายามขับให้ชิดขอบทางซ้ายเพื่อความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องอยู่เลนขวา และไม่ควรเร่งเครื่องระหว่างขึ้นเขาหรือลงเขา

ให้สัญญาณรถคันอื่น

เมื่อเข้าสู่ทางโค้ง ทางเลี้ยว หรือจุดอับสายตา พยายามบีบแตรหรือใช้สัญญาณไฟอยู่เสมอ เพื่อเป็นการให้สัญญาณเตือนรถคันอื่นที่อาจสวนทางมา

เช็ครถก่อนเดินทางขึ้นเขาด้วยตัวเอง

หลังจากที่วางแผนการเดินทางแล้วว่าจะไปที่ไหน อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การเช็คสภาพรถให้พร้อมก่อนเดินทางไกล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากรถไม่พร้อมใช้งานย่อมมีความเสี่ยงที่จะรถเสียกลางทาง และยิ่งรถเสียบนเขาบนดอย ยิ่งลำบากในการหาอู่ซ่อมรถนั่นเอง โดยจุดที่ต้องเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางไกลมีอะไรบ้าง มาเช็คกันเลยค่ะ

1.แบตเตอรี่รถยนต์ 

แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ควรเช็คทั้งขั้วแบตเตอรี่ ฉนวนสายไฟ ทำความสะอาดขี้เกลือ รวมไปถึงเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด

2.ยางรถยนต์

ยางรถยนต์ เป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวถนนมากที่สุด เพราะฉะนั้นการเช็คลมยาง รอยแตกของยาง ดอกยาง เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเดินทาง เพราะหากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ ไม่พร้อมใช้งาน อาจเกิดปัญหายางรถยนต์รั่ว ยางแตกกลางทางได้ เพราะฉะนั้นหากยางเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ให้เรียบร้อยเพื่อจะได้เดินทางได้อย่างปลอดภัย  

3.ช่วงล่างรถ

นำรถไปตรวจสอบช่วงล่างของรถ เช่น ลูกหมาก โช้ครถ ที่อู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการ

4.ของเหลวรถยนต์

ควรตรวจเช็กระดับน้ำมันเบรก และน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช็กน้ำมันเบรก ผ้าเบรกรวมถึงระบบเบรกว่ามีความผิดปกติหรือไม่  หากน้ำมันเบรกลดลงต่ำกว่าระดับ Min หรือมีการลดลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ  ควรนำรถไปเช็คที่ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถ

5.ระบบระบายความร้อน

สิ่งสำคัญสำหรับการเดินทางไกล คือ เรื่องของระบบระบายความร้อน เพราะฉะนั้นจะต้องเช็คระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพัก  หม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำ มอเตอร์  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

6.ระบบไฟส่องสว่าง

ควรตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่างทุกจุด ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก ไฟฉุกเฉิน 

7.ที่ปัดน้ำฝน

เช็คที่ปัดน้ำฝนว่าพร้อมใช้งาน ที่ปัดน้ำฝนรีดน้ำได้ดีหรือไม่ ยางเสื่อมหรือไม่ หากพบว่าเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนเลย เพราะเราไม่สามารถรู้ว่าในขณะที่เราขึ้นเขาจะมีฝนตกหรือไม่ 

8.แผ่นกรองอากาศ

แผ่นกรองอากาศ เป็นส่วนที่ช่วยกรองสิ่งสกปรกภายนอก หากพบว่าแผ่นกรองมีสิ่งสกปรก ก็ให้ดูดฝุ่นออกหรือเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศใหม่ก็ได้ 

9.แตร

หลายคนอาจจะมองข้ามจุดนี้ไป แตรรถยนต์ ทั้งนี้ในการเดินทางไกล แตรเป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสาร ส่งสัญญาณไปยังรถคันอื่นนั่นเอง

10.แผงหน้าปัด

ลองเช็คดูว่าไฟหน้าปัด ตัวเลข ปุ่มควบคุม เกจวัดต่าง ๆ ทำงานปกติหรือไม่ เพื่อจะได้แจ้งสถานะขณะขับรถทางไกลได้อย่างถูกต้อง หรือหากส่วนไดของรถเกิดปัญหา จะได้แสดงผลให้ทราบได้อย่างถูกต้อง

หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบคำถามคุณได้ว่า ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร และขับรถลงเขาให้เกียร์อะไร ทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หัดขับขึ้นเขา หรือขับรถขึ้นลงเขาจนชำนาญ แต่สิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องมีคือทักษะการขับรถ สติ ไม่ประมาท และเมาไม่ขับ เพื่อให้สามารถขับขี่รถไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะระมัดระวังตัวเองแล้ว แต่เราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ขับขี่รถท่านอื่นจะขับรถด้วยความระมัดระวังหรือไม่ เราจึงแนะนำให้คุณทำประกันรถยนต์ติดไว้สักกรมธรรม์ เพื่อช่วยคุ้มครองคุณและรถจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน หรือหากรถเสียกลางทางก็ยังสามารถโทรหาบริษัทประกันให้เข้ามาช่วยเหลือคุณได้เช่นกัน รวมไปถึงหากรถได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุก็ยังสามารถเคลมประกันได้ทันที แนะนำซื้อประกันรถยนต์ผ่อน 0% ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องเบี้ยประกัน เพราะผ่อนจ่ายได้นาน 12 งวด* หากเมื่อเทียบกับความคุ้มครองแล้ว คุ้มสุด สนใจคลิกเลย