เนื้อหาของบทความ

ในช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นแตะลิตรละห้าสิบกว่าบาท ทำให้บางคนเลือกที่นำรถไป ติดแก๊สรถยนต์  เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ทั้งนี้การติดแก๊สรถยนต์ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และคุ้มค่ากว่าการเติมน้ำมันจริงหรือไม่ บทความนี้มีคำอธิบายเกี่ยวกับการติดแก๊สรถยนต์มาฝากกันค่ะ

การ ติดแก๊สรถยนต์ มีกี่ประเภท

การ ติดแก๊สรถยนต์ คุ้มกว่าเติมน้ำมันจริงหรือไม่ เชื่อว่า คำถามนี้ ยังคงคาใจสำหรับผู้ที่กำลังสนใจนำรถไปติดแก๊สรถยนต์ เพราะในปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะราคาไปถึงลิตรละห้าสิบกว่าบาท ทำให้บางคนต้องหันกลับมาสนใจการติดแก๊สรถยนต์ซึ่งเคยได้รับความนิยมในอดีต เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั่นเอง แต่ในมุมมองอีกด้าน การติดแก๊สรถยนต์ ก็มีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยเช่นกัน ทั้งนี้เราจะเห็นว่ามีสถานีบริการแก๊ส 2 ประเภท คือ NGV , LPG สำหรับการติดแก๊สรถยนต์นั้น ประกอบไปด้วย 2 ประเภท ได้แก่ การติดแก๊สรถยนต์ NGV และการติดแก๊สรถยนต์ LPG โดยการติดแก๊สรถยนต์ทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้

การติดแก๊สรถยนต์ NGV

NGV (Natural Gas for Vehicles) คือ แก๊สธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือเรียกอีกอย่างว่า CNG (Compressed Natural Gas) แก๊สธรรมชาติอัด เป็นแก๊สที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ เป็นแก๊สมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง บรรจุในถังที่มีความแข็งแรง ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิน หรือดีเซล

การติดแก๊สรถยนต์ LPG

LPG (Liquefied petroleum gas) คือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือเรียกว่า แก๊สหุงต้ม นั่นเอง เป็นแก๊สที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกแก๊สธรรมชาติประกอบไปด้วย โพรเพนและบิวเทน เป็นแก๊สที่เก็บในรูปแบบของเหลว มีน้ำหนักมากกว่า NGV ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันเบนซิน และดีเซล

ความแตกต่างระหว่าง NGV กับ LPG

  1. LPG จะมีน้ำหนักมากกว่า NGV 
  2. LPG มีจุดเดือดที่ -50 องศา ส่วน NGV มีจุดเดือดที่ -162 องศา
  3. ทั้ง LPG และ NGV ไม่มีสีและกลิ่นทั้งคู่ แต่ LPG มีน้ำหนักที่มากกว่าอากาศ ต้องใส่กลิ่นเพิ่ม เพื่อที่จะสามารถรับรู้ได้หากมี แก๊สรั่วไหลนั่นเอง

อุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ มีอะไรบ้าง

รถติดแก๊สรถยนต์ จะต้องมีชุดอุปกรณ์สำหรับติดตั้งแก๊สรถยนต์ โดยมีรายการอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

กล่อง ECU แก๊ส

กล่อง ECU แก๊สหรือสมองกล มักใช้ร่วมกับระบบแก๊สที่จ่ายแก๊สแบบหัวฉีด 

Map Sensor

Map Sensor (แมพเซ็นเซอร์) หน้าที่วัดแรงดันของแก๊สอยู่ในรางหัวฉีดและท่อไอดี เพื่อส่งสัญญาณให้กับกล่อง ECU แก๊สประมวลผล ในกรณีที่ท่อแก๊สขาด แรงดันหัวฉีดจะลด แมพเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังกล่อง ECU แก๊สเพื่อทำการสั่งตัดการจ่ายแก๊สทันที

หม้อต้มแก๊ส

หม้อต้ม (Evaporator) หรือเรียกว่า อุปกรณ์ปรับความดันแก๊ส (Pressure Regulator) อุปกรณ์ลดความดันแก๊สในถังให้อยู่ในระดับที่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์ เมื่อลดความดัน แก๊สจะเย็นลงจนเป็นน้ำแข็งเกาะหม้อต้ม ทำให้อุดทางไหลของแก๊สได้ต้องใช้น้ำที่ระบายความร้อนจากเครื่องยนต์มาช่วยละลายน้ำแข็ง เปิดทางไหลของแก๊สให้เป็นได้ 

กรองแก๊ส

ลักษณะก็คล้ายกรองอากาศ กรองสิ่งสกปรกที่อาจมาปนเปื้อนมากับแก๊ส ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ โดยกรองแก๊สอายุการใช้งานประมาณ 20,000 – 30,000 กิโลเมตร  

ถังแก๊ส  

ถังแก๊สแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ถังแคปซูล และถังโดนัท ส่วนใหญ่จะผลิตจากเหล็กกล้า ซึ่งปลอดภัยและได้มาตรฐาน มอก. ตามกฎหมายที่กรมขนส่งการบกกำหนด มีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 25 – 96 ลิตร

วาล์วแก๊ส

ทำหน้าที่จ่ายเชื้อเพลิงในถึงแก๊ส ปัจจุบันมักใช้วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) รูปทรงกลม ซึ่งวาล์วแก๊สจะต้องมีวาล์วนิรภัยด้วยกัน 3 ชั้น ได้แก่ 

  1. วาล์วระบายแรงดันเกิน (Pressure Relief Valve) ทำหน้าที่ระบายแก๊สในถังแก๊ส เมื่อในถังมีแรงดันสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้
  2. วาล์วป้องกันการไหลเกิน (Excess Flow Valve) ทำหน้าที่ปิดการจ่ายแก๊ส เมื่อพบว่าแก๊สไหลมากผิดปกติ 
  3. ฟิวส์ตะกั่ว (Thermal Fuse) ฟิวส์ตัวนี้ละลายเมื่อรถถูกไฟไหม้ หรือถังแก๊สรถยนต์ร้อน โดยจะเปิดช่องให้แก๊สระบายออกจากถังได้ เพื่อป้องกันถังแก๊ส ระเบิด นั่นเอง

นาฬิกาแก๊ส

เข็มวัดระดับแก๊สในถังอยู่บริเวณวาล์วของถังแก๊ส เพื่อส่งสัญญาณไปที่กล่อง ECU ของแก๊ส บอกระดับแก๊สให้สวิตช์แก๊ส 

แป๊บทองแดง

ท่อแก๊ส 

ท่อยางแก๊ส

ท่อยางแก๊ส เป็นท่อทางเดินแก๊สในห้องเครื่องยนต์จุดต่างๆ สามารถดัดโค้งได้ง่าย รับแรงดันได้ดี จะต้องทำการเปลี่ยนทุกๆ 50,000 ก.ม. หรือ 1 ปี หรือทุก 100,000 ก.ม. หรือ 3 ปี หรือหากมีรอยปริ แตกสามารถเปลี่ยนได้ทันที 

ข้อดีของการติดแก๊สรถยนต์

รถยนต์ที่ขับขี่ตามท้องถนนจำนวนไม่น้อยเป็นรถติดแก๊ส สมัยก่อนหลายคนมักนิยมนำรถไปติดแก๊สรถยนต์ โดยข้อดีของของการติดแก๊สรถยนต์นั้นมีดังนี้

ประหยัดค่าน้ำมัน 

ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้หลายคนเลือกนำรถติดแก๊สรถยนต์ เพราะในการเติมแก๊สรถยนต์ต่อครั้งนั้น ถูกกว่าการเติมน้ำมันรถยนต์ครึ่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ จึงทำให้รถแท็กซี่ เป็นรถติดแก๊ส เพราะจะต้องใช้งานทุกวัน และไม่ต้องกังวลเรื่องของค่าน้ำมันที่แพงขึ้นอีกด้วย 

ข้อควรพิจารณาในการติดแก๊สรถยนต์

แม้ว่าหลายคนตัดสินใจเลือกนำรถติดแก๊สรถยนต์ เพียงเพราะเห็นว่าประหยัดกว่าการเติมน้ำมันรถ แต่ความจริงแล้วรถติดแก๊สรถยนต์ถึงจะไม่ต้องกังวลเรื่องราคาน้ำมันแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรพิจารณาอื่นที่คนที่กำลังสนใจติดแก๊สรถยนต์ต้องรู้ดังนี้

ค่าใช้จ่ายการติดตั้ง

ก่อนที่คุณจะได้รถที่ประหยัดน้ำมันโดยการติดแก๊สรถยนต์สักคัน รู้หรือไม่ว่าค่าติดตั้งแก๊สรถยนต์นั้นมีราคาค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงหลักหมื่นขึ้นไป และต้องมีการจูนแก๊สเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาอื่นที่อาจตามมาภายหลัง

เครื่องยนต์เสื่อมสภาพ

เครื่องยนต์ออกแบบมาไม่ได้ทนความร้อนที่สูง ทำให้เครื่องยนต์ของรถติดแก๊สรถยนต์นั้นจะมีความร้อนที่สูงมากกว่ารถเติมน้ำมัน ความร้อนที่สูงมากนี้ทำให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็ว รวมไปถึงวาล์ว ลูกสูบได้รับความเสียหายจากความร้อนสูงและการถ่ายเทความร้อนทำงานหนักมากเกินไป นอกจากนี้ยังส่งผลให้พวกปั๊ม ลูกลอยในระบบเชื้อเพลิงหลักอย่างระบบน้ำมันเสียหาย หัวฉีดจ่ายน้ำมันไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ใช้ระบบน้ำมันนาน หากรักษาเครื่องยนต์ให้สามารถใช้ได้นาน ๆ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการนำรถติดแก๊สรถยนต์

ราคาตก 

รถติดแก๊สรถยนต์ หรือรถที่เคยผ่านการติดแก๊สรถยนต์มาแล้ว เวลาที่เจ้าของรถตัดสินใจขายมือสองหรืออยากนำรถเข้าไฟแนนซ์ จะได้ทำให้ราคารถต่ำ หรือได้ยอดจัดไฟแนนซ์ต่ำกว่ายอดจัดปกติ เพราะถือว่าเครื่องยนต์มีความเสี่ยงในการสึกหรอเร็วกว่ารถที่ไม่เคยผ่านการดมแก๊ส  

ค่าบำรุงรักษา

แม้ว่าจะได้ความประหยัดในเรื่องของเชื้อเพลิง แต่กลับต้องมีค่าดูแลบำรุงรักษาเพิ่มเข้ามาอีกมากมาย และเจ้าของรถเองจะต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์และสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ถังบรรจุแก๊ส ท่อ วาล์ว และต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง หัวเทียน ไส้กรองเร็วกว่ารถทั่วไป

โอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงกว่า

หลายคนเคยเห็นความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถติดแก๊สกันมาบ้างแล้ว แม้ว่าสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากระบบแก๊สในรถยนต์ แต่ระบบแก๊สในรถยนต์กลับเพิ่มความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น รถระเบิด รถเกิดเพลิงไหม้ แต่หากได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงของความรุนแรงไปได้อีกเยอะ

ปัญหาของรถติดแก๊สรถยนต์ที่มักพบเจอ

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า ระบบแก๊สรถยนต์จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง ส่งผลให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังพบว่ารถติดแก๊สรถยนต์ ยังมักจะเกิดปัญหาจุกจิกตามมา เช่น

  1. แก๊สรั่วซึมเข้ามายังห้องโดยสาร 
  2. สายของระบบแก๊สเกิดการรั่วซึมและมีประกายไฟ
  3. อาการเครื่องสั่นรอบเดินเบาไม่นิ่งหรืออาจจะมีอาการสั่นมาจากวาล์วตัน
  4. ต้องจูนแก๊สบ่อย เพื่อป้องกันปัญหาเครื่องสั่น อาการกินแก๊ส 
  5. ไฟเตือนรูปเครื่องยนต์โชว์ที่หน้าปัดรถ อาจเกิดจากจังหวะการจ่ายของระบบแก๊สหนาหรือบางเกินไป ทำให้กล่องควบคุมระบบไฟฟ้า (ECU) ของรถประมวลผลผิดพลาด

ติดแก๊สคุ้มกว่าน้ำมัน จริงหรือไม่

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว สรุปว่ารถติดแก๊สรถยนต์คุ้มกว่ารถที่เติมน้ำมันแบบเดิมจริงหรือไม่? หากพูดถึงราคาต่อหน่วยแล้วแน่นอนว่ารถติดแก๊สยังไงก็ถูกกว่าน้ำมันแน่นอนโดยราคา ณ วันนี้ LPG 14.20-15.42 บาท/ลิตร ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 36.28 บาท/ลิตร และแก๊สโซฮอล์ 95 36.55 บาท/ลิตร ซึ่งราคาห่างกันครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว แต่เมื่อเทียบระยะทางใช้งานเมื่อเติมเชื้อเพลิงทุกประเภทเต็มถัง จะพบว่ารถที่เติมน้ำมันจะวิ่งได้ไกลกว่ารถเติมแก๊สนั่นเอง ทั้งนี้การจะตอบคำถามที่ว่ารถติดแก๊สคุ้มกว่าน้ำมันหรือไม่นั้น หากคุณคือคนที่ขับรถสาธารณะต้องรับส่งผู้โดยสารเป็นประจำ การเลือกใช้รถติดแก๊สจะตอบโจทย์มากกว่า เพราะจะไม่ต้องกังวลในเรื่องของราคาน้ำมันจะผันผวนแต่อย่างใด จึงทำให้ไม่มีผลต่อการปรับราคาค่าโดยสาร แต่หากคุณคือผู้ใช้รถทั่วไป เมื่อมองในระยะยาวแล้วการใช้รถติดแก๊สรถยนต์  อาจจะไม่คุ้มมากนักเพราะแม้ว่าราคาน้ำมันจะแพงกว่าการเติมแก๊สรถยนต์ แต่เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าแล้วยังไงก็ตามรถน้ำมันย่อมตอบโจทย์สำหรับคุณมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนด้วย 

วิธีดูรถที่เคย ติดแก๊สรถยนต์

นอกจากเรื่องของข้อดี-ข้อเสียของการติดแก๊สรถยนต์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราอยากนำมาเสริมเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่กำลังมองหารถมือสองสักคัน แต่กังวลว่าจะได้รถที่เคยติดแก๊สรถยนต์มาหรือไม่ จะต้องดูรถอย่างไรไม่ให้เจอรถที่เคยดมแก๊สมาก่อน เรามีวิธีดูรถที่เคยติดแก๊สรถยนต์ว่าต้องดูจุดไหนบ้าง

ที่เก็บสัมภาระท้ายรถ 

ถือเป็นจุดที่ดูง่ายที่สุด เพราะไม่ว่ารถจะผ่านการติดถังแก๊สโดนัทหรือแบบถังแคปซูล จะมีร่องรอยการเจาะรู หรือการซ่อมตัวถัง อุดรู โป้วสี  พ่นสีใหม่หรือไม่ หากพบรอยดังกล่าวสันนิษฐานได้เลยว่ารถผ่านการติดแก๊สมาแล้ว

ห้องเครื่องรถยนต์

ข้อนี้อาจจะต้องให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องรถดูให้ เพราะจะต้องดูในส่วนของท่อไอดี กรองอากาศ ตัวถังห้องเครื่อง ว่ามีการเจาะรูหรือไม่ สังเกตจากมีคราบสนิมติดอยู่บ้าง และดูที่ชุดสายไฟในห้องเครื่องว่ามีการตัดต่อเดินใหม่หรือไม่ 

ห้องโดยสาร

ลองสังเกตใต้พวงมาลัยรถหรือด้านข้างที่เป็นช่องมีฝาปิดเล็ก ว่าเคยมีร่องรอยการติดตั้งสวิตช์ของระบบแก๊สหรือไม่

เล่มทะเบียนรถ หน้า 18 

รถติดแก๊สรถยนต์ทุกคัน จะต้องมีการแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถดูได้จากหน้าที่ 18 ของเล่มทะเบียนรถของคันนั้นจะมีการระบุวันที่จดแจ้ง ระยะเวลาการติดแก๊ส หรือมีการแจ้งยกเลิกการติดแก๊สรถยนต์หรือไม่ แต่หากรถเคยติดแก๊สรถยนต์มาแล้ว แต่ไม่มีการแจ้งกรมการขนส่ง จะไม่มีรายละเอียดปรากฎในหน้านี้ 

ก่อนตัดสินจะนำรถไปทำการติดแก๊สรถยนต์ จะต้องศึกษาข้อมูลและตัดสินใจดี ๆ แม้ว่าการเติมแก๊สจะมีข้อดีตรงที่ถูกกว่าการเติมน้ำมัน แต่เมื่อมองภาพรวมในระยะยาวแล้ว การติดแก๊สรถยนต์กลับมีผลเสียต่อเครื่องยนต์ สมรรถภาพรถ ราคาขายต่อ ยอดจัดสินเชื่อ และเบี้ยประกันรถยนต์อีกด้วย ควรพิจารณาให้รอบด้านก่อนตัดสินใจทำการติดแก๊สรถยนต์ เพราะมีทั้งข้อดีที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้รถเยอะ เน้นใช้งานวิ่งงานไกล รถติดแก๊สก็ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ แต่หากเป็นรถใช้งานส่วนตัว ใช้งานน้อย หรือใช้งานระยะทางไม่ไกลมากนัก การใช้รถเติมน้ำมันยังมีความคุ้มค่ากว่านั่นเอง หากรถของคุณเป็นรถติดแก๊สและต้องการทำประกันจะต้องแจ้งกับทางประกันให้ทราบด้วยเช่นกัน สนใจทำประกันรถยนต์ คลิก