หากใครเคยมีการซื้อขายรถมือสอง จะพบว่าส่วนใหญ่นิยมการ โอนลอยรถยนต์  ผู้ขายจะทำการเซ็นเอกสารที่เรียกกันว่าชุดโอนลอยเพื่อให้ผู้ซื้อรถสามารถนำเอกสารชุดนี้ไปทำเรื่องโอนรถที่สำนักงานขนส่งเองได้เลย ทั้งนี้หลายคนอาจเคยได้ยินทั้งข้อดี ข้อเสียของการโอนลอยรถยนต์กันมาบ้าง บทความนี้จะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการโอนลอยรถยนต์กันค่ะ

การ โอนลอยรถยนต์ คืออะไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า การโอนลอยรถยนต์ ชุดโอนลอยรถยนต์  รวมไปถึงข้อดี ข้อเสียของการโอนลอยรถยนต์ แต่น้ำหนักจะไปทางลบเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ความจริงแล้ว การโอนลอยรถยนต์คืออะไรกันแน่ การโอนลอยรถยนต์อันตรายจริงหรือไม่ เราจะอธิบายให้ฟังกันก่อน สำหรับการโอนลอยรถยนต์ ตามความหมายของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า การโอนลอยรถยนต์ คือ การที่เจ้าของรถหรือผู้ขายรถ ทำการเซ็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนรถให้แก่ผู้ซื้อ แล้วให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเองที่สำนักงานขนส่งทางบก แต่ผู้ขายไม่ต้องไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถที่สำนักงานขนส่ง การที่ผู้ขายได้เซ็นเอกสารทั้งหมดให้ผู้ซื้อ รวมไปถึงเอกสารโอนลอย เพื่อให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเองที่สำนักงานขนส่ง จึงเป็นการ โอนลอยรถยนต์นั่นเอง โดยวิธีการโอนลอยรถยนต์นี้ มักจะใช้ในการซื้อขายรถมือสองเป็นส่วนใหญ่ ซื้อขายรถมือสองผ่านเต็นท์รถ ผู้ขายจะทำการเซ็นเอกสารสำหรับการ โอนลอยรถยนต์รอไว้ก่อน แม้ว่าจะมีผู้ซื้อหรือยังไม่มีผู้ซื้อรถคันนั้นก็ตาม เมื่อใดมีผู้สนใจและซื้อรถคันนั้น ผู้ซื้อก็สามารถนำเอกสารโอนลอยรถ หรือที่เรียกว่าชุดโอนลอย ที่ผู้ขายได้เซ็นไว้แล้ว นำไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งได้เลย ผู้ขายไม่ต้องไปที่สำนักงานขนส่งเพื่อทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ให้เสียเวลานั่นเอง เราจะเห็นว่าการโอนลอยรถยนต์ในลักษณะนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียนั่นเอง โดยข้อดีข้อเสียของการโอนลอยรถยนต์นั้นมีดังนี้

ข้อดีของการโอนลอยรถยนต์

  • สะดวกสบาย ผู้ขายหรือเจ้าของรถไม่ต้องเดินทางไปขนส่ง ผู้ซื้อสามารถนำชุดโอนลอยไปดำเนินการโอนรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งได้เลย

ข้อเสียของการโอนลอยรถยนต์

  • สุ่มเสี่ยงต่อการนำรถไปใช้ทำเรื่องผิดกฎหมาย  เพราะในระหว่างที่รถยังไม่ได้โอนรถนั้น หากผู้ซื้อนำรถไปใช้ทำเรื่องผิดกฎหมาย เช่น ขับรถฝ่าไฟแดง ก่อคดีผิดกฎหมาย ก่ออาชญากรรม จะทำให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รถหรือเจ้าของรถนั้นพลอยตกที่นั่งลำบาก หรืออาจเดือดร้อนจากการกระทำผิดของผู้ซื้อโดยที่เจ้าของรถไม่มีส่วนรู้เห็นได้ เพราะฉะนั้นผู้ขายเองจะต้องเก็บรักษาสัญญาการซื้อขายไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ขายได้
  • หากตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ เสี่ยงต่อการนำรถสวมทะเบียน หลอกขาย ย้อมแแมวขาย เป็นต้น

เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ซื้อตกลงซื้อรถเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำชุดโอนลอยที่ผู้ซื้อเตรียมไว้นำไปทำเรื่องโอนรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งได้เลย ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโอนรถพร้อมกับผู้ซื้อ หรือหากผู้ซื้อไม่สะดวกไปทำเรื่องโอนรถที่ขนส่งด้วยตัวเอง ก็สามารถทำหนังสือมอบอำนาจมอบให้คนอื่นไปทำเรื่องโอนรถรถยนต์แทนตัวเองได้  โดยเอกสารชุดโอนลอยนั้นประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้

เอกสารชุดโอนลอยรถยนต์มีอะไรบ้าง

1.หนังสือสัญญาซื้อขายรถ (เตรียมสัญญาซื้อขาย 2 ฉบับ สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย)

2.สมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง (เล่มเขียว)

3.สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด

4.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ซื้อ (ในกรณีที่เจ้าของรถขายต่อกับผู้ซื้อโดยตรง)

5.แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด

6.หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด กรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ไม่ได้ไปดำเนินการโอนรถมอเตอร์ไซค์ที่สำนักงานขนส่งด้วยตัวเอง โดยให้บุคคลอื่นหรือผู้ซื้อรถสามารถนำเอกสารเหล่านี้ไปดำเนินการเรื่องโอนรถที่สำนักงานขนส่งเอง

ข้อสังเกต ในส่วนของเอกสารการซื้อขายรถนั้น ควรมี 2 ฉบับ เพื่อให้ผู้ขายรถและผู้ซื้อ เก็บเอาไว้เป็นหลักฐานในการซื้อขายรถมอเตอร์ไซค์ และผู้ขายควรเก็บสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อเอาไว้ด้วย เพราะป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง หากผู้ซื้อไม่ยอมไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งหลังจากที่ได้มีการซื้อขายรถกันเรียบร้อยแล้ว เช่น ทำผิดกฎจราจร ฝ่าไฟแดง ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด จะมีจดหมายใบสั่งส่งมาที่บ้านของผู้ขายหรือเจ้าของรถเดิม หรือผู้ซื้อนำรถไปทำเรื่องผิดกฎหมาย ก่อคดีความโดยนำรถที่ซื้อไปก่อเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของรถเดิมอาจจะต้องได้รับผิดชอบ โดยที่ตัวผู้ขายไม่ได้เป็นผู้กระทำ เนื่องจากได้ขายรถคันนั้นไปแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องเก็บเอกสารการซื้อขายตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

การโอนรถยนต์โดยทั่วไปมีกี่แบบ

การโอนลอยรถยนต์ที่เราได้อธิบายไปให้ฟังแล้วนั้น เป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขายในการซื้อขายรถ ทั้งนี้ในการโอนรถนั้น เป็นการเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รถจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การซื้อขายรถ เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้วเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถคนใหม่ หรือการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยการโอนรถในแต่ละกรณีมีขั้นตอนต่อไปนี้

การโอนรถยนต์ กรณีซื้อขายรถ

การโอนรถกรณีซื้อขายรถ เปลี่ยนจากชื่อผู้ขายมาเป็นชื่อผู้ซื้อนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการโอนมีดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนรถยนต์

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

3.สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี

4.แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว

5.หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอง กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

แต่หากเป็นการโอนรถให้กัน โดยที่ไม่มีการซื้อขาย ก็เตรียมแค่ ใบคู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว และหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการโอนรถยนต์มีขั้นตอนอย่างไร

1.นำรถเข้ารับการตรวจสอบที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)

2.ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียมที่งานทะเบียนรถ

3.รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน

4.รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้าย ทะเบียนรถ

โอนรถ กรณีเจ้าของเสียชีวิต

“แม่ซึ่งเป็นเจ้าของรถตัวจริงได้เสียชีวิต แต่ลูกต้องการโอนกรรมสิทธิ์นั้นเป็นชื่อของตัวเอง จะสามารถโอนรถได้หรือไม่” กรณีเจ้าของตัวจริงได้เสียชีวิตลงแต่ก่อนหน้านั้น ไม่ได้ทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ไปให้คนในครอบครัว กรณีโอนรถของพ่อหรือแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วมาเป็นชื่อลูกเกิดขึ้นมาแล้วหลายเคส กรณีนี้จำเป็นต้องมีผู้จัดการมรดก มาทำการโอนรถแทนเจ้าของรถที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง มีดังต่อไปนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนรถยนต์

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งบันทึกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว

3.ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

4.หลักฐานการได้มาของตัวรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย (ถ้ามี)

5.กรณีโอนรับมรดก แนบสำเนาใบมรณบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือเอกสารของทางราชการที่ระบุชื่อผู้รับมรดก/ผู้จัดการมรดก

6.หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการโอนรถ

1.นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่ฝ่ายตรวจสภาพรถ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)

2.ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมหลักฐาน และผลการตรวจสอบรถ (ถ้ามี)

3.ชำระเงินค่าธรรมเนียม

4.รอรับเอกสารคืน

หมายเหตุ การโอนกรรมสิทธิ์รถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท)

การโอนรถโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

หากเจ้าของรถเสียชีวิตและได้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาลเรียบร้อย แล้วในกรณีนี้ผู้รับโอนคือผู้จัดการมรดก ก็สามารถเตรียมเอกสารหลักฐาน เพื่อนำไปโอนรถได้ที่สำนักงานขนส่งดังต่อไปนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนรถยนต์

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก

3.สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

4.หลักฐานประจำตัวผู้จัดการมรดกในฐานะผู้โอนและของผู้รับโอน

4.1 ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน

4.2 ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน

4.3 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

ขั้นตอนการโอนรถ

1.ใช้แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งมีการกรอกข้อความและลงนามในคำขอแล้ว ยื่นคำร้องขอโอนทะเบียนเปลี่ยนเจ้าของพร้อมหลักฐาน

2.นำรถเข้ารับการตรวจสอบ

3.ชำระค่าธรรมเนียม

4.รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน

หมายเหตุ การดำเนินการโอนทะเบียนเปลี่ยนเจ้าของรถหากผู้โอนหรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเองจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำเนินการแทน และผู้ดำเนินการแทนต้องนำบัตรประชาชนมาแสดง และการดำเนินการโอนทะเบียนเปลี่ยนเจ้าของจะต้องไปดำเนินการที่หน่วยงาน ของกรมการขนส่งทางบกที่รับผิดชอบพื้นที่จดทะเบียนไว้

โดยแต่ละกรณีสามารถดำเนินการได้ที่ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งสาขา ที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้

โอนรถแล้วกี่วัน ถึงเอาเข้าไฟแนนซ์ได้

ก่อนที่หลายคนจะตัดสินใจซื้อรถสักคัน คงต้องมีการคิดมาก่อนแล้วว่าจะเลือกซื้อรถด้วยเงินสด หรือเงินผ่อนดี แต่สำหรับคนที่ตัดสินใจซื้อรถด้วยเงินสดก่อน แล้วจะนำรถมาเข้าไฟแนนซ์ ขอสินเชื่อทะเบียนรถในภายหลัง เพื่อนำเงินกลับไปใช้จ่ายหมุนเวียน แล้วผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้สามารถมีเงินก้อนกลับมาติดกระเป๋า นำมาใช้จ่ายหมุนเวียน แถมยังมีรถเพิ่มขึ้นมาอีกคัน แต่หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาว่า ไฟแนนซ์มักจะดูว่าคุณถือกรรมสิทธิ์รถคันนั้นมาแล้วกี่วัน หลายแห่งใช้เวลาในการครอบครองรถนาน 2- 3 เดือน ทำให้ไม่สะดวกกับผู้ที่ต้องการเงินก้อนกลับมาใช้ หรือสำรองเงินไว้ในภายหลัง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลเมื่อมาที่เฮงลิสซิ่ง

เพียงคุณโอนรถเป็นชื่อคุณแล้ว สามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ ขอสินเชื่อทะเบียนรถที่เฮงลิสซิ่งได้เลย ไม่ต้องรอครอบครองรถนานเป็นเดือน ก็มีเงินก้อนกลับมาใช้ แถมรถยังมีใช้งานเหมือนเดิม สมัครสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน สมัครง่าย รู้ผลไว ให้วงเงินสูง รถปีเก่าปีใหม่ก็กู้ได้ ไม่ต้องโอนเล่มเป็นชื่อบริษัทไฟแนนซ์ ชื่อผู้ครอบครองยังเป็นชื่อของคัวคุณเองเหมือนเดิม

การโอนลอยรถยนต์ มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกในการซื้อขายกว่าการโอนรถแบบปกติ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการโอนรถแบบไหนก็ตาม สิ่งสำคัญคือทั้งสองฝ่ายควรมีความรอบคอบในการเซ็นเอกสาร และเมื่อผู้ซื้อได้ซื้อรถมาแล้ว ควรจะรีบนำชุดโอนลอยไปดำเนินการโอนรถที่สำนักงานขนส่งทันที เพราะอย่างน้อยหากรถเกิดปัญหา ไม่สามารถโอนรถยนต์ได้ จะได้รีบแจ้งให้กับผู้ขาย หรือหากรถคันนั้นเป็นรถย้อมแมว รถตัดต่อ คุณจะไม่สามารถโอนรถได้ จะกลายเป็นว่าคุณซื้อขายรถผิดกฎหมายได้เช่นกัน  ทั้งนี้สำหรับผู้ที่โอนรถมาเป็นชื่อของตัวเองไม่นาน แต่ต้องการนำรถขอสินเชื่อเปลี่ยนรถเป็นเงิน ก็สามารถขอสินเชื่อที่เฮงลิสซิ่งได้เลย เพราะเฮงลิสซิ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาครอบครองรถ ช่วยให้ชีวิตของคุณมีอิสระทางการเงินมากขึ้น สนใจสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน ไม่ต้องโอนเล่ม อาชีพไหนก็จัดได้ คลิก