หากคุณกำลังศึกษาเรื่องการทำประกันภัยรถยนต์อยู่จะพบว่า แม้ว่าจะมีการทำประกันรถแต่ก็ยังมีค่าเสียหายส่วนแรก ที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ ค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร ทำไมจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกนี้ด้วย บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับค่าเสียหายส่วนแรกกันค่ะ  

ค่าเสียหายส่วนแรก Excess คืออะไร

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร ในเมื่อจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว แต่ทำไมผู้เอาประกันยังต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกอีก คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยค่าเสียหายส่วนแรก จะมี 2 แบบ ได้แก่ Excess และ Deductible ซึ่งเป็นค่าเสียหายส่วนแรกด้วยกันทั้งคู่ แต่มีความแตกต่างกันโดยเราจะพูดถึงค่าเสียหายส่วนแรก แบบ Excess ก่อน หรือที่เรียกว่าค่า Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรกแบบภาคบังคับ จะระบุไว้ในเงื่อนไขว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการชน รถพลิกคว่ำ หรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาทก่อน  โดยเหตุผลที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกนั้น เพราะว่า ป้องกันผู้ที่แจ้งเคลมหวังซ่อมรถกับบริษัทประกันภัยโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง และป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันขับรถอย่างระมัดระวัง และไม่ประมาท เพราะคิดว่าถ้ารถเสียหายมาก็สามารถเคลมประกันได้ฟรีนั่นเอง

กรณีใดบ้างที่ต้องจ่ายค่า Excess

  • ไม่สามารถระบุรายละเอียดของคู่กรณีได้ หรือไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น รถตกหลุม เฉี่ยวเสาไฟฟ้า รอยบุบจากวัสดุกระเด็นใส่ หรือถูกสัตว์กัดแทะ เป็นต้น 

กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่า Excess

  • สามารถระบุกรณีได้ หรือมีภาพหลักฐานแสดงเหตุการณ์ได้ชัดเจน เช่น รถพลิกคว่ำ รถชนและสามารถระบุคู่กรณีได้ หรือรถชนเสาไฟฟ้า ป้ายจราจร เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ประกันจะไม่คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากเมาแล้วขับ ใช้รถในทางที่ผิดกฎหมายทุกกรณี

ค่าเสียหายส่วนแรก Deductible คืออะไร

ค่า Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจจ่าย จะจ่ายก็ต่อเมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด แต่จะมีเงื่อนไขว่าถ้ายอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบ Deductible จะช่วยลดเบี้ยประกันตามจำนวนค่าเสียหายส่วนแรก Deductible ที่คุณระบุไว้ ซึ่งในตอนที่ทำประกันจะมีเงื่อนไขให้ผู้ซื้อประกันจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible หรือไม่ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ว่าถ้าหากคุณยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible จะทำให้เบี้ยประกันลดลงตามด้วย เช่น หากเบี้ยประกันรายปีของคุณ 15,000 บาท แล้วมีการตกลงจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด 2,000 บาท เมื่อนำไปหักเบี้ยประกันแล้ว ทำให้คุณจ่ายเบี้ยประกันเหลือเพียง 13,000 บาทเท่านั้น ซึ่งประหยัดค่าเบี้ยประกันไปถึง 2,000 บาทนั่นเองค่ะ

กรณีใดบ้างที่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible

  • จ่ายเมื่อเป็นฝ่ายผิด  ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ 

กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก Deductible

  • เป็นฝ่ายถูก และสามารถระบุคู่กรณีได้ ส่วนลดเบี้ยประกันก็ตกเป็นผลประโยชน์ของเจ้าของกรมธรรม์ต่อไป

หลายคนเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก แบบ Deductible เพื่ออยากลดราคาเบี้ยประกันรายปี แต่ทางที่ดีการขับรถที่ดี ไม่ประมาท เมาไม่ขับ ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปได้มาก และเมื่อไม่เคยมีการเคลมประกัน ยังช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันในปีต่อไปได้อีกด้วย

นอกจากเรื่องของค่าเสียหายส่วนแรกแล้ว เราจะพูดถึงในส่วนของการเคลมประกันรถ ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การเคลมประกันรถยนต์แบบสด คือ การเคลมประกันรถยนต์ ณ ที่เกิดเหตุและมีพนักงานบริษัทประกันมาตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุส่วนการเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง คือ การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว

การเคลมประกันรถยนต์ ต้องทำอย่างไร

การเคลมประกัน มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การเคลมประกันรถยนต์แบบสด คือ การเคลมประกันรถยนต์ ณ ที่เกิดเหตุและมีพนักงานบริษัทประกันมาตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ส่วนการเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง คือ การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเราจะได้อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป หลังจากที่มีการทำเรื่องเคลมประกันรถแล้ว บริษัทประกันจะออกใบประเมินความเสียหาย เพื่อให้ผู้เอาประกันนำรถไปเคลมกับอู่ซ่อมรถในเครือบริษัทโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด แต่ในระหว่างที่รถรอซ่อมอยู่นั้น ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินค่าชดเชยที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ของฝ่ายที่ผิด ต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกจากการเสียประโยชน์ที่ไม่มีรถใช้ในระหว่างการซ่อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทประกันภัยภาคสมัครใจของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด ต้องเข้ามารับผิดชอบแทนผู้ขับขี่นั่นเอง

ประเภทของการเคลมประกัน รถยนต์มีอะไรบ้าง?

ในการเคลมประกันรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เคลมประกันรถยนต์แบบสด จะมีพนักงานจากบริษัทประกันออกไปตรวจสอบทันที และเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว (ไม่เกิน 2-3 วัน) สาเหตุการเคลมมักจะเกิดจากกรณีที่เกิดการเฉี่ยวชนหรืออุบัติเหตุที่เกิดความเสียหายไม่มากนัก

การเคลมประกันรถยนต์แบบสด

การเคลมประกันรถยนต์แบบสด คือการเคลม ณ ที่เกิดเหตุ และมีพนักงานบริษัทประกันมาตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

1.การเคลมแบบมีคู่กรณี คือ อุบัติเหตุแบบรถชนรถ พนักงานบริษัทประกันจะตรวจสอบและพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด โดยฝ่ายผิดจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ให้กับคู่กรณีก่อน ตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน*

2.การเคลมแบบไม่มีคู่กรณี คือ กรณีที่ผู้เอาประกันชนสิ่งของทำให้เกิดความเสียหาย กรณีนี้ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ก่อน

การเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง

การเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง คือ การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว (ไม่เกิน 2-3 วัน) สาเหตุการเคลมมักจะเกิดจากกรณีที่เกิดการเฉี่ยวชนหรืออุบัติเหตุที่เกิดความเสียหายไม่มากนัก โดยผู้ถือประกันต้องระบุรายละเอียดว่าเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร วันที่เท่าไหร่ สถานที่ไหน ชนเข้ากับอะไร แล้วจึงแจ้งเคลมกับบริษัทประกันเอง

**มีเพียงประกันชั้น 1 เท่านั้น ที่สามารถ “เคลมรอบคัน” เป็นการเก็บรายละเอียดร่องรอยต่างๆ รอบตัวรถให้กับคุณได้

การเคลมรอบคันต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกหรือไม่ 

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจการประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก โดยสรุปว่า เมื่อรถยนต์ที่ทำประกันภัยได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ และในกรณีเกิดความเสียหายจากการชนแต่ไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัทประกันทราบได้ ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาทต่อเหตุการณ์ และกรณีรอยขีดข่วนต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดความเสียหายจากการชนหรือคว่ำ ก็มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกเอง 1,000 บาทด้วยเช่นกัน

นอกจากเรื่องของค่าเสียหายส่วนแรก การเคลมประกันแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการทำประกันรถนั่นก็คือ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 

ค่าขาดประโยชน์จาการใช้รถ คืออะไร

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สิทธิที่ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ของฝ่ายที่ผิด ต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกจากการเสียประโยชน์ที่ไม่มีรถใช้ในระหว่างการซ่อม ซึ่งหากทำเฉพาะประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งเป็นเพียงประกันภัยที่คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน จะไม่สามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยจ่ายในจำนวนที่ต่ำเกินไป ดังนี้

อัตราขั้นต่ำค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

1.รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท

2.รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท

3.รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท

4.รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อ 1-3 เช่น “รถจักรยานยนต์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณีไป

ซื้อประกันรถยนต์ที่ไหนดี ซื้อง่าย สบายกระเป๋า

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ที่ไหนดีนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องมาดู 4 ข้อหลักที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ก่อนว่า 

1.พฤติกรรมการใช้รถของคุณเป็นแบบไหน 

หากคุณเป็นมือใหม่ที่ใช้รถใหม่ป้ายแดง แนะนำให้ใช้ประกันรถยนต์ชั้น 1 เพื่อจะได้รับความคุ้มครองรอบด้าน หรือหากขับรถจนชำนาญแล้ว อาจจะเลือกประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ 2 เพื่อได้รับความคุ้มครอง

2.อายุของรถที่ใช้

ประกันรถยนต์ชั้น 1 สำหรับรถใหม่ป้ายแดง หรือรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี หากคุณเป็นรถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปี แต่รถก็ยังไม่เก่ามากนัก แต่ก็อยากได้รับความคุ้มครองที่ไม่ต่างจากประกันชั้น 1   จึงแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ 2+ อย่างน้อยการเลือกซื้อประกันรถยนต์ติดไว้สักแผนไม่ว่าจะเป็นรถปีเก่าหรือรถปีใหม่ก็สามารถทำประกันติดรถไว้ได้ เป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความคุ้มครองที่นอกเหนือไปจากการทำพ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว

3.เลือกบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือ

การเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่กับโบรกเกอร์หรือบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือ จะช่วยให้คุณได้รับการบริการที่เป็นมาตรฐาน ถูกกฎหมาย นอกจากนี้การเลือกบริษัทประกันที่มีอู่ซ่อมรถครอบคลุมหลายแห่งที่ได้รับมาตรฐาน รวมไปถึงอู่ซ่อมรถประจำของคุณเองอยู่ในเครือของบริษัทประกันรถที่คุณด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้คุณลดความกังวลในการนำรถไปส่งซ่อม และได้รับมาตรฐานในการซ่อมอีกด้วย

4.เบี้ยประกันรถยนต์

การเปรียบเทียบเบี้ยประกันรถยนต์และข้อเสนอของแต่ละแห่ง ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ได้ง่ายขึ้น เลือกที่ให้ความคุ้มค่าว่าที่ไหนให้ความคุ้มครองมากกว่า เบี้ยประกันถูกกว่ากัน รวมไปถึงรูปแบบในการซื้อประกันรถยนต์ว่าสามารถแบ่งจ่ายได้หรือไม่ เพราะเบี้ยประกันรถยนต์มีราคาค่อนข้างสูงในสายตาของหลายคน เพราะฉะนั้นหากสามารถเลือกทำประกันรถยนต์ผ่อนชำระ 0% ได้นาน 6 เดือน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การซื้อประกันรถยนต์ของคุณ ซื้อง่ายสบายกระเป๋ามากยิ่งขึ้น

แม้ว่าราคาของประกันรถยนต์แต่ละแผนจะต้องจ่ายจำนวนไม่น้อย แต่เมื่อแลกกับความคุ้มครองในการขับขี่รถได้อย่างสบายใจเป็นสิ่งที่คุ้มค่าไม่น้อยเลย แต่จะดีกว่าถ้าได้เลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนในคราวเดียว สามารถเลือกแบ่งจ่ายได้นานถึง 6 งวด ไม่มีดอกเบี้ย ยิ่งคนที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถผ่อนจ่ายได้เช่นเดียวกัน แนะนำซื้อประกันรถยนต์ผ่อน 0% ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขาใกล้บ้าน หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 

หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับค่าเสียหายส่วนแรก ทั้ง Excess และ Deductible   สำหรับการเคลมประกันมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใครก็สามารถทำเรื่องเคลมประกันรถได้เพียงเพราะอยากทำสีรถ หรืออยากซ่อมรถได้ตามใจ เพราะฉะนั้นการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกจึงป้องกันการแจ้งเคลมประกันทั้งที่ไม่ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง และป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันขับรถอย่างระมัดระวัง และไม่ประมาท เพราะคิดว่าถ้ารถเสียหายมาก็สามารถเคลมประกันได้ฟรีนั่นเอง แม้ดูแล้วจะมีความยุ่งยาก แต่การทำประกันรถนั้นกลับช่วยเพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้ขับขี่ได้อย่างมาก เพราะคุ้มครองทั้งคน รถ และความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุรถชน ทั้งนี้หากยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกทำประกันชั้นไหนดี หรือ เลือกผ่อนได้อย่างไร สอบถามที่เฮงลิสซิ่งได้เลย ซื้อง่าย ไม่มีเงินก้อนก็ผ่อนประกันได้ สนใจคลิก