รถทุกคันจะต้องมีการทำพ.ร.บ.หรือ ประกันภาคบังคับ เพราะถ้าหากไม่ทำก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถได้ แต่ทำไมหลายคนถึงแนะนำให้มีการซื้อประกันรถเพิ่มเข้าไปด้วย แล้วการทำพ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง ทำแค่พ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพออีกหรือถึงจะต้องมีการ ซื้อประกันรถ เพิ่มเข้าไปด้วย เรามาดูกันว่าการซื้อประกันรถ แต่ละแผนคุ้มครองอะไรบ้างและให้ความคุ้มครองมากกว่าทำพ.ร.บ.รถอย่างเดียวอย่างไร

ซื้อประกันรถ คุ้มครองเรื่องใดต่างจาก พ.ร.บ.อย่างไร

การซื้อประกันรถยนต์ สำหรับบางคนที่ซื้อรถแบบผ่อน จะถูกบังคับให้ซื้อประกันรถยนต์ไปในตัวเลย สำหรับบางคนที่รถของตนเองปลอดภาระ จะเลือกซื้อประกันรถหรือไม่ซื้อประกันรถยนต์ก็ได้ตามความสมัครใจของเจ้าของรถ บางคนซื้อประกันรถยนต์เองเพื่อความสบายใจ คิดว่าหากรถเสียหายจากการถูกชนไม่ว่าจะเกิดจากตัวเอง หรือเกิดจากคู่กรณี ก็ยังให้บริษัทช่วยจัดการแทนตนเองได้ หรือบางคนที่มีพฤติกรรมการใช้รถที่เสี่ยงต่อการถูกขูดขีด ไม่ระมัดระวัง ก็เลือกซื้อประกันรถยนต์ เพื่อคุ้มครองในส่วนนี้ก็ทำได้เช่นเดียวกัน  แต่อย่างไรก็ตามการซื้อประกันรถยนต์นั้น เราจะเคยเห็นการซื้อประกันมีแผนประกันให้เลือกทั้ง ประกันชั้น 1 ,2+,3+,3 ซึ่งแต่ละแผนมีความแตกต่างกันสามารถเลือกได้ตามความสมัครใจ แต่ในหัวข้อถัดไปเราจะพูดถึงว่าก่อนที่คุณจะเลือกซื้อประกันรถนนั้น แต่ละแผนประกันแตกต่างกันอย่างไร 

แม้ว่าการซื้อประกันรถยนต์จะไม่ได้บังคับว่ารถทุกคันต้องทำ ยกเว้นรถที่ผ่อนอยู่กับธนาคารที่มีการบังคับให้ซื้อประกันรถไปในตัว แต่รถทุกคันจะต้องมีการทำพ.ร.บ.รถยนต์ เพราะกฎหมายบังคับ การซื้อประกันรถภาคบังคับ หรือทำ พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญกับความคุ้มครองความปลอดภัยในการเดินทาง การมีหลักประกันว่าผู้ขับขี่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาล แต่พ.ร.บ.รถจะคุ้มครองแค่คนในเรื่องค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตเท่านั้น  ซึ่งนอกจากพ.ร.บ.รถแล้ว หลายคนยังมีหลักประกันสุขภาพในรูปแบบอื่นอีก เช่น ประกันสังคม ประกันชีวิต บัตรทอง เป็นต้น นอกจากการบาดเจ็บทางกายแล้ว สิ่งที่หลายคนกังวลไม่น้อยคือเรื่องของ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของรถทั้งรถของเราและคู่กรณี  ความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเลยทีเดียว จึงทำให้หลายคนเห็นความสำคัญของการซื้อประกันรถ ซึ่งการซื้อประกันรถเป็นประกันรถภาคสมัครใจ เป็นประกันรถที่ทำด้วยความสมัครใจของเจ้าของรถเอง โดยการซื้อประกันรถนั้นสามารถซื้อกับบริษัทได้โดยตรงหรือซื้อประกันรถผ่านโบรกเกอร์ประกันภัยได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจมีให้เลือกหลายแผนกรมธรรม์ แตกต่างกันในเรื่องความคุ้มครองดังนี้

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ แต่ละแบบแตกต่างอย่างไร

ก่อนที่คุณจะเลือกแผนประกันรถว่าจะเลือกทำแผนไหน ควรที่จะเลือกจากหลายแห่งแล้วนำมาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ทั้งเรื่องเงื่อนไข ความคุ้มครอง เบี้ยประกัน ความคุ้มครองเพิ่มเติม การเคลมประกันและอื่น ๆ เพื่อให้เหมาะกับรถและคุณมากที่สุด แต่ทั้งนี้เราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนประกันรถยนต์แต่ละชั้นเสียก่อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ประกันรถยนต์ชั้น 1

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน สามารถเคลมได้แม้ไม่มีคู่กรณี รถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม

เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงสุด รถใหม่สภาพดีอายุไม่เกิน 7 ปี

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน สามารถเคลมได้ในกรณีที่มีคู่กรณี รถชนรถ / รถหาย /ไฟไหม้ เมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับชั้น 1 แล้ว ไม่แตกต่างกันมากนัก

เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการทำประกันเพื่อป้องกันกรณีรถชน ป้องกันรถหาย ไฟไหม้ หรือรถที่มีความเสี่ยงไฟไหม้ เช่น รถติดแก๊ส นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ ประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอายุรถเกิน 7 ปี หรือมูลค่ารถไม่ถึงเกณฑ์ที่บริษัทประกันกำหนด

ประกันรถยนต์ชั้น 3+

ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่น ไม่คุ้มครองรถหายหรือไฟไหม้

เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไหม้หรือการโจรกรรมต่ำ เช่น รถไม่ติดแก๊ส รถจอดภายในบ้าน เป็นต้น

ประกันรถยนต์ชั้น 3

ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี ไม่มีวงเงินซ่อมรถของผู้เอาประกัน

เหมาะสำหรับ ป้องกันความเสียหายจากการขับรถไปชนคันอื่น โดยผู้เอาประกันพร้อมรับผิดชอบค่าซ่อมของรถตัวเองได้หากจำเป็น

การทำประกันภัยรถยนต์ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความอุ่นใจในการใช้รถของคุณ ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถเก่า ก็ควรได้รับความคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุทั้งผู้เอาประกันเองและคู่กรณี รวมไปถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่าง ไฟไหม้ รถหาย หรือน้ำท่วม ทั้งนี้การเลือกซื้อประกันรถยนต์ ควรมีการเปรียบเทียบประกันรถยนต์และเลือกตามความเหมาะสมของแต่ละคน

ประกันภัยรถยนต์ชั้นไหน เหมาะสมกับรถของคุณ

การซื้อประกันรถยนต์ ให้เหมาะสมกับแต่ละคน ควรพิจารณาจากพฤติกรรมหรือประวัติความเสี่ยงในการขับขี่รถมากน้อยแตกต่างกันไป รวมไปถึงอายุของรถประกอบกัน

ประกันรถยนต์ชั้น 1

เหมาะสำหรับผู้ที่ซื้อรถใหม่หรือซื้อรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี เพราะสามารถคุ้มครองได้มากที่สุด ทั้งกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถถอยชนต้นไม้ ขับรถเฉี่ยวเสา เป็นต้น และมีคู่กรณีทั้งผู้เอาประกัน คู่กรณี ตัวรถและทรัพย์สิน รวมไปถึง กรณีรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

เหมาะสำหรับผู้ต้องการประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองมาก แต่ไม่สามารถซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ เช่น รถที่มีอายุเกิน 7 ปี ก็สามารถพิจารณาเลือกซื้อประกันรถยนต์ 2+

ประกันรถยนต์ชั้น 3+

เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีความเสี่ยงในระหว่างการขับขี่รถและยังไม่จำกัดอายุของรถ แต่ยังต้องการความคุ้มครองในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะให้ความคุ้มครองกับรถฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น เช่น ค่าซ่อมรถของคู่กรณี เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ โดยให้บริษัทประกันรถยนต์เป็นผู้รับผิดชอบเอง

การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง

โดยปกติแล้วการต่อพ.ร.บ.จะต้องทำที่สำนักงานขนส่ง หรือฝากต่อที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ที่เราเรียกกันติดปาก พร้อมกับการต่อภาษีรถ เพราะกฎหมายบังคับให้มีการต่อพ.ร.บ.ก่อนต่อภาษีประจำปี ทั้งนี้พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นพ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวงเงินคุ้มครองดังต่อไปนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท  

2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท  

3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ทั้งนี้การซื้อประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือการทำพ.ร.บ.สามารถซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ จึงทำให้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่เน้นทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ มีขั้นตอนง่าย ไม่ต้องเสียเวลาไปทำที่ขนส่ง เมื่อเราเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว เพื่อให้ความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องคุณสามารถต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ที่บ้านได้ไม่ยากมีอะไรบ้าง 

การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ทำอย่างไร

การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์สามารถทำได้ง่ายที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ก่อนอื่นเราจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือกเครื่องมือที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการต่อใบขับขี่ และต้องเตรียมเข้าเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อทำการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์

ขั้นตอนการ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.เมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่

5.จากนั้นกรอกข้อมูลช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน

6.เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.ที่มาจากการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตามที่อยู่กรอกข้อมูลไว้ได้ 

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์

เทคนิคเลือกซื้อประกันรถยนต์ให้เหมาะกับการใช้รถ

1.พฤติกรรมกรรมการใช้รถ

พฤติกรรมการใช้รถ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ บางคนเป็นมือใหม่หัดขับ บางคนขับรถมานาน ก็อาจจะเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่แตกต่างกัน มือใหม่หัดขับ อาจจะมีความเสี่ยงในการขับขี่ค่อนข้างสูง อาจจะขับรถเฉี่ยวชนสิ่งของ เกิดรอยขีดข่วนบ้าง ถอยรถชนเสาบ้าง หรืออาจจะบังเอิญไปเฉี่ยวชนเพื่อนร่วมทางคันอื่น การเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 สำหรับมือใหม่หัดขับที่ใช้รถปีใหม่ อายุไม่เกิน 7 ปี ก็จะช่วยคุ้มครองในเรื่องความเสียหายของรถ และคุ้มครองคนอีกด้วย หรือหากเป็นมือใหม่หัดขับแต่ใช้รถอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป อาจจะแนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 2+ เพื่อคุ้มครองได้ใกล้เคียงกับประกันรถยนต์ชั้น 1 นอกจากนี้ความถี่ในการใช้รถ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ บางคนใช้รถเป็นประจำทุกวัน การเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 2+ ขึ้นไปก็เป็นตัวเลือกที่ดี แต่หากบางคนไม่ค่อยได้ใช้รถสักเท่าไหร่ ขับแค่ใกล้ ๆ บ้าน หรือใช้รถเฉพาะวันหยุด อาจจะเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3 แทน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อประกันรถยนต์เช่นกัน

2.อายุของรถที่ใช้

เราจะเห็นว่าในการซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 สำหรับรถใหม่ป้ายแดง หรือรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี หากคุณเป็นรถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปี แต่รถก็ยังไม่เก่ามากนัก แต่ก็อยากได้รับความคุ้มครองที่ไม่ต่างจากประกันชั้น 1   จึงแนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ 2+ แทน จะเห็นว่าอายุของรถมีผลต่อการเลือกซื้อประกันรถยนต์ แม้ว่าจะเป็นรถปีเก่าก็ยังสามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในการใช้รถใช้ถนน แม้ว่าอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองเท่ากับรถใหม่หรือการซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ตาม แต่อย่างน้อยการเลือกซื้อประกันรถยนต์ติดไว้สักแผน ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความคุ้มครองที่นอกเหนือไปจากการทำพ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว

3.เลือกบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าเราจะซื้อสินค้าหรือจะใช้บริการอะไรก็ตาม เรามักจะมีการค้นหารีวิวคนที่เคยทำใช้บริการบริษัทประกันแต่ละแห่งในอินเตอร์เน็ต หรือสอบถามคนข้างเคียง เพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับประสบการณ์การซื้อหรือเคลมประกัน แต่ทางที่ดีเลือกซื้อประกันรถยนต์กับบริษัทที่คุ้นหู น่าเชื่อถือ เพราะการเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่น่าเชื่อถือ จะช่วยให้คุณได้รับการบริการที่เป็นมาตรฐาน ถูกกฎหมาย นอกจากนี้การเลือกบริษัทประกันที่มีอู่ซ่อมรถครอบคลุมหลายแห่งที่ได้รับมาตรฐาน รวมไปถึงอู่ซ่อมรถประจำของคุณเองอยู่ในเครือของบริษัทประกันรถที่คุณด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้คุณลดความกังวลในการนำรถไปส่งซ่อม และได้รับมาตรฐานในการซ่อมอีกด้วย

4.เบี้ยประกันรถยนต์

การเปรียบเทียบเบี้ยประกันรถยนต์และข้อเสนอของแต่ละแห่ง ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ได้ง่ายขึ้น เลือกที่ให้ความคุ้มค่าว่าที่ไหนให้ความคุ้มครองมากกว่า เบี้ยประกันถูกกว่ากัน รวมไปถึงรูปแบบในการซื้อประกันรถยนต์ว่าสามารถแบ่งจ่ายได้หรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเบี้ยประกันรถยนต์แต่ละชั้น มีราคาค่อนข้างสูงในสายตาของหลายคน เพราะฉะนั้นหากสามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ผ่อนชำระ 0% ได้นาน 12 เดือน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การซื้อประกันรถยนต์ของคุณ ซื้อง่ายสบายกระเป๋ามากยิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้วการ ซื้อประกันรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การซื้อประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เราเรียกกันว่าการทำพ.ร.บ.รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ และการซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เรียกว่าการซื้อประกันรถนั่นเอง สำหรับการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ สามารถต่อได้ล่วงหน้าไม่เกิน 90 วันก่อนวันหมดอายุ และซื้อประกันรถภาคบังคับ หรือต่อพ.ร.บ.ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน แต่หากอยากได้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้นจากการทำพ.ร.บ. แนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายกรมธรรม์ หากสนใจซื้อประกันรถยนต์ แต่กลัวเรื่องการจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ แนะนำซื้อประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ไม่ต้องมีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้ ผ่อนสบายสูงสุด 12 งวด เพื่อความอุ่นใจและคุ้มครองคุณทุกการเดินทาง สนใจคลิก