สำนักงานตำรวจแห่งชาติเริ่มใช้ระบบตัดคะแนนเพื่อลดการกระทำผิดกฎหมายจราจรของผู้ขับขี่รถ ทั้งนี้ผู้ที่มีขับขี่แต่ละรายจะมีคะแนนเต็ม 12 คะแนน หากทำผิดตามกฎจราจรในข้อหาที่ระบุไว้ จะถูกตัดคะแนนตามหลักเกณฑ์ โดยการตัดคะแนนหรือการตัดแต้มใบขับขี่นั้น จะแบ่งกลุ่มความผิดออกเป็น 4 ระดับ มาดูกันว่าแต่ละข้อหานั้นโดนหักกี่แต้มกันค่ะ

การตัดแต้มใบขับขี่ 2556 คืออะไร  

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องการตัดแต้มใบขับขี่ หรือระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ 2565 ซึ่งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เริ่มใช้ระบบการตัดแต้มใบขับขี่ 2566 หรือระบบตัดแต้มใบอนุญาตขับรถ 2566 เพื่อป้องปราบและลดการกระทำผิดซ้ำของผู้ขับขี่รถ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 142/1  โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ม.ค. 2566  ซึ่งจะเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่เพิ่มเติมจากการออกใบสั่งเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามปกติ ภายใต้สโลแกน “มุ่งเน้นการสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัย  ให้โอกาสแก้ไขไม่กระทำผิดซ้ำ สร้างความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย  และเป็นมาตรฐานสากล” โดยก่อนที่เราจะมาดูหลักเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่นั้น เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าในการตัดแต้มใบขับขี่ 2566 ผู้ที่มีใบขับขี่ทุกคนจะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนนเต็ม หากมีการกระทำผิดก็จะถูกตัดแต้มใบขับขี่ตามกลุ่มความผิดที่แบ่งออกเป็น 4 ระดับการตัดแต้มใบขับขี่ ใน 20 ฐานความผิดที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ  จะถูกตัดแต้มใบขับขี่เมื่อทำผิดทันที โดยการตัดแต้มใบขับขี่จะดำเนินการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ใช้ระบบฐานข้อมูลใบสั่ง PTM ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบันทึกการทำผิดกฎจราจรและตัดแต้มใบขับขี่ในแต่ละครั้ง 

หมายเหตุ : Police Ticket Management หรือ PTM คือระบบจัดการใบสั่งออนไลน์ คลิก ผู้ขับขี่สามารถเข้าไปตรวจสอบใบสั่งจราจรได้ และยังสามารถจ่ายค่าปรับจราจรได้ที่ แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT แอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือชำระที่สถานีตำรวจ,​ ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม แล้วหากไม่จ่ายค่าปรับจราจรยังมีผลต่อการต่อภาษีรถ อ่านเพิ่มเติม คลิก

เกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 2566

ผู้ที่มีใบขับขี่ทุกคนจะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนนเต็ม จะถูกตัดแต้มใบขับขี่เมื่อทำผิดทันที โดยเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 2566 จะแบ่งกลุ่มความผิดออกเป็น 4 ระดับ 20 ฐานความผิดที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

ตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน ตัดแต้มใบขับขี่ 2 คะแนน ตัดแต้มใบขับขี่ 3 คะแนน ตัดแต้มใบขับขี่ 4 คะแนน
1.ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ

2.ไม่สวมหมวกกันน็อก

3.ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

4.ขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด

5.ขับรถบนทางเท้า

6.ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย

7.ไม่หลบรถฉุกเฉิน

8.ขับรถโดยประมาทหวาดเสียว

9.ขับรถไม่ติดป้ายทะเบียน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข

10.ไม่ติดป้ายภาษี

1.ขับรถฝ่าไฟแดง

2.ขับรถย้อนศร

3.ขับรถในระหว่างโดยพักใช้หรือเพิกถอนใบขับขี่

1.ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ

2.ขับผิดวิสัยคนขับรถธรรมดา

3.ขับรถชนแล้วหนี

1.เมาแล้วขับ

2.ขับรถในขณะเสพยาเสพติด

3.แข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต

4.ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น

สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1.หากถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 คะแนน  จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน (รถทุกประเภท)

2.หากฝ่าฝืนขับรถในขณะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.หากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายใน 3 ปี อาจจะถูกสั่งพักใช้มากกว่า 90 วัน และหากยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่อีกเป็นครั้งที่ 4 อาจถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

นอกจากนี้ยังมีความผิดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถหรือการใช้ทางจำนวน 42 ฐานความผิด สำหรับความผิดกลุ่มนี้จะมีการตัดแต้มใบขับขี่ เฉพาะกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ได้มาจ่ายค่าปรับตามใบสั่งภายในเวลาที่กำหนด เช่น ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรในทาง จอดในที่ห้ามจอด ไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ขณะขับรถ ขับรถไม่ชิดซ้าย เป็นต้น แม้ว่าจะมีการตัดแต้มใบขับขี่ไปแล้ว แต่ก็ยังสามารถคืนแต้มจากการที่ถูกตัดแต้มใบขับขี่ได้ โดยมีการคืนแต้มจากการตัดแต้มใบขับขี่ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.การคืนคะแนนอัตโนมัติ

2.การคืนคะแนนโดยวิธีการเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบก

เกณฑ์การคืนตัดแต้มใบขับขี่ 2566

หากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับจราจรและมีการตัดแต้มใบขับขี่ไปแล้ว ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ก็ยังสามารถได้แต้มใบขับขี่คืนโดยการคืนคะแนนโดยอัตโนมัติ และการคืนคะแนนเมื่อผ่านการอบรมจากกรมการขนส่งทางบก ดังนี้   

การคืนคะแนนอัตโนมัติ

คะแนนที่ถูกตัดไปในแต่ะครั้ง จะได้รับคืนเมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งนั้นๆ  เว้นแต่เป็นกรณีที่ถูกตัดเหลือ 0 คะแนน  จะได้รับคืนเมื่อพ้นกำหนดเวลาการสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่  โดยได้รับคืนเพียง 8 คะแนน

การคืนคะแนนโดยวิธีการเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบก

1.กรณีที่คะแนนเหลือน้อยกว่า 6 คะแนน สามารถขอเข้ารับการอบรมจากกรมการขนส่งทางบกได้ แต่อบรมได้เพียงปีละ 2 ครั้ง

2.กรณีที่ถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 คะแนน  และต้องการคะแนนกลับคืนมาทั้งหมด 12 คะแนน  สามารถขอเข้ารับการอบรมจากกรมการขนส่งทางบกได้ เมื่อผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมการขนส่งทางบก  ก็จะได้รับคืนคะแนนตามที่กำหนด 

ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถตรวจสอบคะแนนแต้มใบขับขี่ของตัวเอง ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

1.เว็บไซต์ E-Ticket PTM สามารถตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ จ่ายค่าปรับ ตรวจสอบคะแนนความประพฤติ และตรวจสอบสถานะใบขับขี่

2.แอปพลิเคชันขับดี (KHUB DEE) ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ คะแนนความประพฤติ และดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ตอนนี้มีเฉพาะบน App Store

หลักสูตรที่ใช้ในการอบรมเพื่อคืนแต้มใบขับขี่มีอะไรบ้าง

วิชาความรู้พื้นฐาน เช่น สถานการณ์อุบัติเหตุในปัจจุบัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนน และผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงวิชาความรู้ตามข้อหาความผิดที่ผู้เข้ารับการอบรมได้กระทำ และต้องเข้ารับการทดสอบโดยต้องได้คะแนน ไม่น้อยกว่า 60% จึงถือว่าผ่านการอบรมและการทดสอบ แต่หากทดสอบไม่ผ่านก็ยังสามารถสอบแก้ตัวได้ครั้งที่ 2 ภายในวันเดียวกัน แต่หากยังทดสอบไม่ผ่านอีก จะมีการออกหมายนัดมาทดสอบครั้งที่ 3 ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทดสอบครั้งแรก เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว กรมการขนส่งจะทำการแจ้งผลการอบรมและทดสอบเพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อคืนคะแนนให้ผู้ขับขี่ต่อไป  

อัพเดทกฎหมายจราจรที่ควรรู้ 

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ภาครัฐได้มีการปรับปรุงกฎหมายจราจรใหม่ และมีการเพิ่มในส่วนของอัตราค่าปรับจราจรใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนน โดยมีการเพิ่มโทษปรับในข้อที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ ที่เสี่ยงต่อการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทาง ได้แก่ ความเร็วในการใช้รถ การฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ทางม้าลาย การสวมหมวกนิรภัย การเพิ่มโทษปรับที่ผู้ขับขี่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น เมาแล้วขับ การรัดเข็มขัดนิรภัย รวมไปถึงที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี หรือคาร์ซีท ทั้งนี้เราจะมาลงรายละเอียดในส่วนของอัตราค่าปรับจราจรและบทบลงโทษเพิ่มเติมในแต่ละข้อกันค่ะ

ค่าปรับจราจรปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

การเพิ่มค่าปรับจราจรสำหรับปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยอาจก่อให้เกิดการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางได้แก่

1.การขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยมีการกำหนดอัตราความเร็วดังต่อไปนี้

ข้อกำหนดในการใช้ความเร็วบนทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ที่มีทางเดินรถแบบจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ดังนี้

1.1 รถยนต์ วิ่งไม่เกิน 120 กม./ชม.

1.2รถเลนขวาสุด วิ่งไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. ส่วนรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กก. หรือรถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน วิ่งได้ไม่เกิน 90 กม./ชม.

1.3 รถจักรยานยนต์ วิ่งไม่เกิน 80 กม./ชม.

1.4 รถจักรยานยนต์ 400 cc (บิ๊กไบค์) ขึ้นไปวิ่งไม่เกิน 110 กม./ชม.

1.5 รถโรงเรียน วิ่งไม่เกิน 80 กม./ชม.

1.6 รถโดยสาร 7-15 คน วิ่งไม่เกิน 100 กม./ชม.

1.7 รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม วิ่งไม่เกิน 45 กม./ชม.

1.8 รถลากจูง รถสี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ วิ่งไม่เกิน 65 กม./ชม.

2.ขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท

3.ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท

4.ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท

5.ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท

6.ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิมที่มีค่าปรับไม่เกิน 500 บาท โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม คือ รถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ส่วนรถกระบะ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า กรณีเป็นรถกระบะสองตอน ( รถกระบะ 4 ประตู ) ผู้โดยสารตอนหลังต้องรัดเข็มขัดนิรภัยด้วย

ค่าปรับจราจรเพิ่มโทษผู้ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น

การเพิ่มค่าปรับจราจรเพิ่มโทษผู้ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น ได้แก่ การเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากเดิม จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท

1.หากมีการทำผิดครั้งแรก  โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.หากมีการทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทำความผิดครั้งแรก เพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 – 100,000 บาท

ค่าปรับจราจรหากมีการแข่งหรือจัดแข่งรถในทางสาธารณะ

1.การรวมกลุ่มหรือมั่วสุมในทางหรือสาธารณสถานใกล้ทางด้วยรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป ถือว่า “พยายามแข่งรถในทาง” โดยมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง อาทิเช่น นัดหมายเพื่อแข่งรถกันมาก่อน หรือรถดัดแปลง ปรับแต่งรถให้มีสภาพไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถในทาง  โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือค่าปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.หากเป็นผู้จัด ผู้โฆษณา ประกาศ หรือชักชวนแข่งรถ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.ร้านที่รับแต่งรถ เมื่อรถนั้นถูกนำไปใช้แข่งรถในทาง ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งรถในทาง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*ข้อมูลจากตำรวจสอบสวนกลาง

การตัดแต้มใบขับขี่ เป็นระบบที่ช่วยลดการกระทำความผิดกฎหมายจราจรของผู้ขับขี่รถและลดการกระทำผิดซ้ำ เพื่อสร้างวินัยในการขับขี่ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทั้งนี้การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรจึงเป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรละเลย เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนใบสั่งตอนไหน และจะโดนตัดแต้มใบขับขี่หรือไม่ ทางที่ดีกันไว้ดีกว่าแก้ ด้วยการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด ขับขี่รถด้วยความไม่ประมาท  นอกจากนี้แนะนำการทำประกันรถยนต์ติดไว้สักกรมธรรม์ ก็ช่วยเสริมความคุ้มครองในการเดินทาง เพราะการเดินทางบนท้องถนนย่อมมีความเสี่ยงจากความประมาทของผู้ขับขี่ท่านอื่นหรือเหตุกาณ์ที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นบนท้องถนน หากเกิดเหตุรถชนบนท้องถนน อย่างน้อยประกันรถยนต์ยังช่วยลดภาระและให้ความคุ้มครองความเสียหายทั้ง คน รถ และทรัพย์สินอีกด้วย สนใจทำศึกษาและซื้อประกันรถยนต์ แนะนำเฮงลิสซิ่ง ซื้อประกันง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ผ่อนสบายสูงสุด 12 เดือน คลิก