พ.ร.บ.คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ แต่ปัจจุบันนี้การต่อพ.ร.บ.รถยนต์สามารถ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ อย่างสะดวกไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นาน เพียงมีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ก็สามารถ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.หรือ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566

โดยปกติแล้วการต่อพ.ร.บ.จะต้องทำที่สำนักงานขนส่ง หรือฝากต่อที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ที่เราเรียกกันติดปาก พร้อมกับการต่อภาษีรถ เพราะกฎหมายบังคับให้มีการต่อพ.ร.บ.ก่อนต่อภาษีประจำปี ทั้งนี้พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นพ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวงเงินคุ้มครองดังต่อไปนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท  

2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท  

3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันการต่อพ.ร.บ.มีความสะดวก ไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้เลย จึงทำให้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่เน้นทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ มีขั้นตอนง่าย ไม่ต้องเสียเวลาไปทำที่ขนส่ง เมื่อเราเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว เพื่อให้ความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องคุณสามารถต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ที่บ้านได้ไม่ยากมีอะไรบ้าง 

การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ทำอย่างไร

การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์สามารถทำได้ง่ายที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ก่อนอื่นเราจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือกเครื่องมือที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการต่อใบขับขี่ และต้องเตรียมเข้าเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อทำการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์

ขั้นตอนการ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ คลิก https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.เมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่

5.จากนั้นกรอกข้อมูลช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน

6.เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.ที่มาจากการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตามที่อยู่กรอกข้อมูลไว้ได้ 

 

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์

รถยนต์โดยสาร ราคา พรบ.
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

 

รถกระบะ / รถบรรทุก ราคา พรบ.
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน 2,320 บาท

 

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ ราคา พรบ.
หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

 

ข้อสังเกตคือเราจะเห็นว่าคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ก่อนต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์อาจจะมีเงื่อนไขเล็กน้อย โดยการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ต้องทำอย่างไร เรามีคำอธิบายมาฝากค่ะ

การต่อภาษีออนไลน์ 2566 ต้องทำอย่างไร

กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของรถมากขึ้นโดยไม่ต้องไปทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ที่ขนส่ง ด้วยช่องทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้ง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.ในการชำระเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งการหักบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ชำระผ่านตู้ ATM หรือ Internet Banking ในแอปพลิเคชันธนาคารของเรา

5.รอป้ายภาษีอยู่ที่บ้านได้เลย ใช้เวลาในการจัดส่งประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ได้รับแล้ว อย่าลืมเอาไปเปลี่ยนแทนป้ายภาษีเดิมเลยนะ

เงื่อนไขรถสำหรับการยื่น ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

  1. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
  3. จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
  4. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
  5. รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
  6. ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
  7. เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  8. ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
  9. ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
  10. ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

คำนวณภาษีรถยนต์

รถแต่ละรุ่น มีอัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รุ่นรถ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ ซี.ซี.รถ อายุรถ น้ำหนักรถ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดภาษีรถยนต์ ดังนี้

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (ป้ายดำ)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งอย่างเช่นรถเก๋งทั่วไป, รถกระบะ 4 ประตู, รถ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณภาษีรถยนต์ดังนี้

  1. เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
  2. เครื่องยนต์ขนาด 601-1800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
  3. เครื่องยนต์ขนาด 1801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท

ในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้

  1. รถยนต์อายุเกิน 6 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  2. รถยนต์อายุเกิน 7 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  3. รถยนต์อายุเกิน 8 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  4. รถยนต์อายุเกิน 9 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  5. รถยนต์อายุเกิน 10 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 50%

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

รถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,755 ซี.ซี.

  1. 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
  3. 1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820

นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน เท่ากับ 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว (ป้ายเขียว)

เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถดังนี้

  1. น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
  2. น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
  3. น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
  4. น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
  5. น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
  6. น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
  7. น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน (ป้ายน้ำเงิน)

รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจาก รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ดังนี้

  1. น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท
  2. น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท

อย่าสับสน พ.ร.บ.กับป้ายภาษี ไม่เหมือนกัน

เชื่อว่าหลายคนมักเกิดความสับสนและเข้าใจผิด หรือเรียกผิดเรียกถูกระหว่างป้ายภาษีและพ.ร.บ. เพราะทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย

ป้ายภาษี คือเอกสารที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

การต่อพ.ร.บ.2566 สามารถทำได้ที่สำนักงานขนส่ง สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หรือ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ซึ่งมีความสะดวก ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปไหน นอกจากนี้การต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าก่อนหมดอายุก็สามารถทำได้เพื่อความคุ้มครองที่ต่อเนื่องในขณะขับขี่รถอีกด้วย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายผิด ซึ่งเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นพ.ร.บ.รถ จึงมีความสำคัญต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก และเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ผู้ขับขี่ต้องทำก่อนต่อภาษีรถ เพราะหากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถได้อีกด้วย  นอกจากนี้การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ยังเป็นการเสริมเกราะความคุ้มครองในการเดินทางได้อย่างอุ่นใจ สนใจประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน เลือกได้หลากหลายแผนความคุ้มครอง รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก