การต่อภาษีรถยนต์ ในช่วงโควิดนี้หลายคนอาจจะลังเลใจว่าจะต้องเดินทางไปขนส่งดีไหม เพราะไม่อยากเสี่ยงไปที่คนเยอะ คำตอบคือ เราสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้แล้ว ทั้งสะดวก ง่าย ลดเสี่ยงจากโควิด-19 อีกด้วย เฮงลิสซิ่งมีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ

ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก

กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของรถมากขึ้นโดยไม่ต้องไปทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ที่ขนส่ง ด้วยช่องทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้ง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

ต่อภาษีรถยนต์
2.ทำการสมัครสมาชิก

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.ในการชำระเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งการหักบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ชำระผ่านตู้ ATM หรือ Internet Banking ในแอปพลิเคชันธนาคารของเรา

5.รอป้ายภาษีอยู่ที่บ้านได้เลย ใช้เวลาในการจัดส่งประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ได้รับแล้ว อย่าลืมเอาไปเปลี่ยนแทนป้ายภาษีเดิมเลยนะ

 

เงื่อนไขรถสำหรับการยื่น ต่อภาษีรถยนต์

  1. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
  3. จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
  4. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
  5. รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
  6. ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
  7. เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  8. ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
  9. ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
  10. ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

 

คำนวณภาษีรถยนต์

รถแต่ละรุ่น มีอัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รุ่นรถ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ ซี.ซี.รถ อายุรถ น้ำหนักรถ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดภาษีรถยนต์ ดังนี้

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (ป้ายดำ)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งอย่างเช่นรถเก๋งทั่วไป, รถกระบะ 4 ประตู, รถ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณภาษีรถยนต์ดังนี้

1. เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
2. เครื่องยนต์ขนาด 601-1800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
3. เครื่องยนต์ขนาด 1801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท

ในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้

1. รถยนต์อายุเกิน 6 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 10%
2. รถยนต์อายุเกิน 7 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 20%
3. รถยนต์อายุเกิน 8 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 30%
4. รถยนต์อายุเกิน 9 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 40%
5. รถยนต์อายุเกิน 10 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 50%

 

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,755 ซี.ซี.

1. 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
2. 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
3. 1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820
นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน เท่ากับ 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท

 

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว (ป้ายเขียว)

เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถดังนี้

1. น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
2. น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
3. น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
4. น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
5. น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
6. น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
7. น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท

 

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน (ป้ายน้ำเงิน)

รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจาก รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ดังนี้

1. น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท

2. น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท

 

เลื่อนล้อต่อภาษี Drive Thru for Tax

การเลื่อนล้อต่อภาษี สามารถดำเนินการได้ที่กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการต่อภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รวมไปถึงรถที่ใช้แก๊ส LPG หรือ NGV เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์มีดังนี้
1. สมุดคู่มือทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนรถ
2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ
3. ใบตรวจสภาพรถ (รถยนต์อายุเกิน 7 ปี /รถจักรยานยนต์อายุเกิน 5 ปี) ที่เราได้จากตรอ.
เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงขี่รถไปที่สำนักงานขนส่ง จะมีช่อง Drive Thru for Tax เลื่อนล้อต่อภาษี คล้าย ๆ เวลาที่เราไปสั่งอาหารที่ช่องไดร์ฟทรูนั่นแหละค่ะ แต่เปลี่ยนจากการสั่งอาหารมาเป็นการยื่นเอกสารที่เราเตรียมไว้ให้กับทางเจ้าหน้าที่ ใช้เวลาไม่กี่นาทีเราก็จะได้ป้ายภาษีเรียบร้อย พร้อมนำไปเปลี่ยนแทนอันเดิมได้เลยค่ะ

 

อย่าสับสน พ.ร.บ.กับป้ายภาษี ไม่เหมือนกัน

เชื่อว่าหลายคนมักเกิดความสับสนและเข้าใจผิด หรือเรียกผิดเรียกถูกระหว่างป้ายภาษีและพ.ร.บ. เพราะทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พ.ร.บ.คือประกันภัยภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย
ป้ายภาษี คือเอกสารที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

 

ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้กี่วัน

หลายคนอาจเคยเจอปัญหาลืมต่อภาษีรถยนต์ เพราะไม่ได้ดูวันที่ภาษีของรถตนเองหมด หรือยังไม่มีเวลาไปต่อภาษีจนภาษีหมด แต่ทั้งนี้เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนครบอายุภาษีหมด ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ หรือช่องทาง Drive Thru For Tax เลื่อนล้อต่อภาษี ขับรถผ่านช่องทางรับชำระภาษีโดยที่เราไม่ต้องลงจากรถ ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หากลืมไปต่อภาษีก็จะเสียค่าปรับที่ 1% ต่อเดือน ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ จะทำให้ค่าปรับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เราอโดนค่าปรับย้อนหลังหลายบาท นอกจากนี้หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ขนส่งจะระงับทะเบียนรถของเราทันที หากมีการกลับมาใช้รถคันนี้อีกครั้ง ต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ รวมไปถึงคืนป้ายทะเบียน และชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย หากรถที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ เนื่องจากจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน รถมีการจอดซ่อมนานหลายเดือน ก็สามารถยื่นขอระงับใช้รถชั่วคราวที่ขนส่งล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีในเวลานั้น และไม่ต้องเจอค่าปรับย้อนหลังจนอ่วม หรือเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก

การต่อภาษีรถยนต์ พ.ร.บ.เป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรให้ความสำคัญ และต้องดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.ทุกปี ไม่ให้ขาด เพราะปัจจุบันนี้ ได้มีหลากหลายช่องทางในการต่อภาษี และพ.ร.บ.ที่สะดวก ง่าย อยู่ที่บ้านก็สามารถทำได้ สามารถดำเนินการผ่านช่องทาง e-service ของกรมการขนส่งทางบก ผ่านช่องทาง Drive Thru เลื่อนล้อต่อภาษี ที่ขนส่ง , แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ,ตรอ.ใกล้บ้าน, ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) , เคาน์เตอร์เซอร์วิส ,ที่ทำการไปรษณีย์ , แอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet

แนะนำ : นอกจากจะมีพ.ร.บ.ภาคบังคับที่เราต้องทำแล้ว ยังมี ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นประกันภัยรถที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งทำด้วยความสมัครใจ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจ อุ่นใจในการใช้รถใช้ถนน ให้ความคุ้มครองหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายบริษัท แนะนำ ประกันภัยรถยนต์ ผ่อน 0% ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน จากเฮงลิสซิ่ง คลิก

 

สนใจสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อเฮงรถมือสอง สามารถสอบถามหรือสมัครได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

Heng Call center : โทร 1361

คุยกับเจ้าหน้าที่ของเราแบบ real – time ได้ แถมยังสามารถ ปรึกษา สอบถามข้อมูล ได้ทันที ไม่ต้องรอนาน กดเลย

ทักข้อความ : ไม่สะดวกโทรหา แชทมาก็ได้

โทรไม่ถนัดไม่เป็นไร ทักแชทกับเจ้าหน้าที่ผ่าน FB:Hengleasing และ Line:@Hengleasing ของเรา แล้วรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

สมัครสินเชื่อเฮงนาโนไฟแนนซ์ ตลอด 24 ชั่วโมง