เนื้อหาของบทความ

การ ต่อภาษีรถ2566 ถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถที่นอกจากจะต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ประจำปี2566แล้ว ยังต้องมีการต่อภาษี2566 ด้วย ทั้งนี้ในการ ต่อภาษีรถ2566 จะต้องทำอย่างไร ทำอย่างไรถึงสามารถต่อภาษีรถได้ง่ายและรวดเร็วบ้าง เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

ต่อภาษีรถ2566 อย่างไรใช่เวลาน้อยสุด?

รถทุกคันจะต้องมีการต่อภาษีรถเป็นประจำทุกปี โดยเอกสารที่แสดงว่ารถของคุณได้ชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้วนั้น คือ ภาษีสี่เหลี่ยมสีชมพูฟ้าที่ติดอยู่กระจกหน้ารถที่เราเห็นกันคุ้นตานั่นเอง เพราะกฎหมายระบุว่า “รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี” ทั้งนี้ก่อนที่คุณจะเสียภาษีประจำปีนั้น  จะต้องมีการต่อพ.ร.บ.รถเสียก่อน เพราะหากไม่มีการต่อพ.ร.บ.รถ 2566 ก็จะไม่สามารถ ยื่นต่อภาษีรถ2566 ได้ ทั้งนี้การต่อภาษีรถ2566 มีช่องทางต่อภาษีให้เลือกหลากหลายช่องทาง สามารถเลือกตามความสะดวกของคุณได้ โดยมีช่องทางการ ต่อภาษีรถ2566 ดังนี้

สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

การ ต่อภาษีรถ2566 สามารถเข้าไปชำระได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ว่ารถของคุณจะจดป้ายทะเบียนจังหวัดไหนก็ตาม 

ต่อภาษีรถออนไลน์ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก หรือ แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax 

การต่อภาษีรถออนไลน์จะทำได้เฉพาะรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก หากรถยนต์อายุเกิน 7 ปีต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.ก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ หลังจากที่นำรถไปตรวจสภาพแล้วก็สามารถยื่นต่อภาษีออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)

การเลื่อนล้อต่อภาษี เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องลงจากรถให้เสียเวลา แค่เตรียมเอกสารในการต่อภาษีให้พร้อม  โดยจะต้องเตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนา, พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี) 

ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)

การชำระภาษีผ่านตู้รับชำระภาษี หรือตู้ Kiosk ทำได้เฉพาะที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 ได้แก่ บางขุนเทียน ตลิ่งชัน สุขุมวิท มีนบุรี และจตุจักร เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ระบบจะจัดพิมพ์ป้ายภาษีประจำปี และหลักฐานการชำระเงินให้ทันที

ที่ทำการไปรษณีย์

คุณสามารถต่อภาษีรถ2566 ได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย ช่องทางนี้อาจจะเหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ออกไปส่งของเป็นประจำ ก็สามารถต่อภาษีที่ไปรษณีย์ได้เลย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารตามที่ระบุไว้ให้พร้อม และจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ช่องทางนี้ธ.ก.ส.จะเป็นตัวแทนรับชำระ โดยเจ้าของรถจะต้องทำการกรอกข้อมูลในเว็บกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน จากนั้นค่อยนำเอกสารที่มีบาร์โค้ดมายื่นชำระที่ธนาคารได้

ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)

เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาว่างเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะสามารถเข้าไปต่อภาษีรถ2566 ได้ที่ Shop Thru for Tax ภายในห้างสรรพสินค้าได้เลย

เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ช่องทางนี้หลายคนอาจจะใช้บริการกันบ่อยในการจ่ายบิลต่าง ๆ รวมไปถึงการต่อภาษีรถก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยรถที่ต่อภาษีที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส จะต้องไม่มีภาษีค้างชำระ หรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี โดยยื่นขอชำระภาษีปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที 

แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet

เข้าที่เมนูจ่ายบิล เลือกจ่ายบิลกรมขนส่งทางบก กรอกรายละเอียดทั้งพ.ร.บ. ข้อมูลผู้เสียภาษี  ตรวจสอบยอดชำระต่อภาษีรถ ที่อยู่จัดส่ง  จากนั้นป้ายภาษีรถยนต์จะถูกส่งภายใน 5-7 วัน โดยรถที่สามารถต่อภาษีรถผ่านช่องทางนี้ได้นั้น จะต้องไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี ไม่ถูกอายัดทะเบียน ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซ และไม่ได้ดัดแปลงหรือแต่งรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้

อัตราต่อภาษีรถ2566 แต่ละประเภทเท่าไหร่บ้าง

อัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รุ่นรถ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ ซี.ซี.รถ อายุรถ น้ำหนักรถ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดอัตราต่อภาษีรถ2566 ดังนี้

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (ป้ายดำ)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งอย่างเช่นรถเก๋งทั่วไป, รถกระบะ 4 ประตู, รถ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณภาษีรถยนต์เพื่อต่อภาษีรถ2566 ดังนี้

  1. เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
  2. เครื่องยนต์ขนาด 601-1,800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
  3. เครื่องยนต์ขนาด 1,801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท

ในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป การต่อภาษีรถ2566 จะเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้

  1. รถยนต์อายุเกิน 6 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  2. รถยนต์อายุเกิน 7 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  3. รถยนต์อายุเกิน 8 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  4. รถยนต์อายุเกิน 9 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  5. รถยนต์อายุเกิน 10 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 50%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,755 ซี.ซี.

  1. 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
  3. 1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820

นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน เท่ากับ 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว (ป้ายเขียว)

เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีเพื่อต่อภาษีรถ2566จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถดังนี้

  1. น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท 
  2. น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
  3. น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
  4. น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
  5. น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
  6. น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
  7. น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน (ป้ายน้ำเงิน)

รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจาก รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ดังนี้

  1. น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท
  2. น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

หากคุณกำลังจะต่อภาษีรถ2566 จะต้องมีการต่อพ.ร.บ.เสียก่อน ซึ่งสามารถซื้อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.นั้นมีดังนี้

รถยนต์โดยสาร ราคา พรบ.
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

 

รถกระบะ / รถบรรทุก ราคา พรบ.
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน 2,320 บาท

 

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ ราคา พรบ.
หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

 

นอกจากนี้ในส่วนของรถจักรยานยนต์ สามารถซื้อพ.ร.บ.ได้ที่บริษัท บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งเป็นประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ โดยสามารถซื้อผ่าน Line Line: @irvp ได้เลย โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

1.รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล         

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท

เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.  323.14 บาท

เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.430.14 บาท

เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท

รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท    

2.รถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ  

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 376.64 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 376.64 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ให้เช่า/รับจ้าง 376.64 บาท
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ 376.64 บาท

แต่หากมีการทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ระยะยาว 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปี จะได้รับส่วนลดกรมธรรม์ แต่ละช่วงเวลาของกรมธรรม์ไม่เท่ากัน ดังนี้ กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 3 ปี จะได้ส่วนลด  50  กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 4 ปี จะได้ส่วนลด 75  บาท กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 5 ปี จะได้ส่วนลด 100 บาท 

ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง

ภาษีรถยนต์ หรือหลายคนเรียกยังว่า ป้ายวงกลม เนื่องจากสมัยก่อนก่อนที่ป้ายภาษีรถยนต์จะมีลักษณะสี่เหลี่ยมสีชมพูฟ้าแบบที่เราเห็นกันนี้ เดิมมีลักษณะเป็นวงกลมมาก่อนนั่นเอง ในการต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้างนั้นก็ไม่ยุ่งยาก เพราะเอกสารเหล่านี้เรามักจะเอาใส่ติดรถไว้ โดยเอกสารต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง  ได้แก่

1.สำเนาคู่มือทะเบียนรถ หรือสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง

2.เอกสารการต่อประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่หมดอายุ

3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)

ตรวจสภาพรถใช้อะไรบ้าง

ทุกปีสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถทุกคนจะต้องมีการนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของคุณไปต่อภาษี จะต้องนำรถของตนไปตรวจสภาพรถก่อนทำการเสียภาษีรถ รถที่จะนำไปตรวจสภาพจะต้องเป็นรถยนต์ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป ทั้งนี้คุณสามารถนำรถไปตรวจสภาพรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี โดยนำเอกสารเข้าไปศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์ตรอ. หากผลการตรวจสภาพรถผ่าน สถานตรวจสภาพรถจะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด แต่หากพบว่ารถไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพจะแจ้งให้เจ้าของรถทราบ เพื่อนำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องก่อน แล้วจึงนำรถมาตรวจสภาพรถใหม่ที่ศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์ตรอ. เดิมอีกครั้งภายใน 15 วัน แต่จะเสียค่าตรวจสภาพในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการเดิม แต่หากเกิน 15 วัน หรือนำรถไปตรวจสภาพที่ศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์ตรอ. อื่น จะเสียค่าบริการตรวจสภาพรถเต็มอัตราเหมือนเดิม

แต่สำหรับคนที่เพิ่งมีรถอายุใช้งานครบตามที่กำหนด อาจจะสงสัยว่าจะ ตรวจสภาพรถใช้อะไรบ้าง  สำหรับการตรวจสภาพรถใช้อะไรบ้าง นั้นมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันดังนี้

สิ่งที่ต้องเตรียมในการตรวจสภาพรถใช้อะไรบ้าง  

1.สมุดทะเบียนรถ หรือสำหรับผู้ที่เอารถเข้าไฟแนนซ์อยู่ หรือรถที่กำลังผ่อนอยู่ จะไม่มีสมุดทะเบียนรถ ก็สามารถนำสำเนาทะเบียนรถใช้ในการตรวจสภาพรถได้

2.รถที่จะนำไปตรวจสภาพ

3.ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถประจำปี 

3.1 รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม

3.2 รถยนต์ (รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้) ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท.

3.3 รถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ Big Bike คันละ 60 บาท

ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจอะไรบ้าง

ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก่อนที่จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้นั่นก็คือการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ และเข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบก หรือตรวจสภาพรถยนต์ที่ตรอ.ใกล้บ้านที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอเอกสารการันตีว่า รถของคุณนั้นได้ตรวจสภาพรถยนต์ผ่านแล้วและสามารถขับขี่ได้ตามมาตรฐานโดยขั้นตอนการนำรถให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถยนต์ จะเห็นว่ามีทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เข้ามาใช้ในการตรวจสภาพรถยนต์ของคุณ แต่หลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตว่าตรอ.ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจส่วนไหนของรถบ้าง โดยในขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ มีขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ส่วนไหนบ้างดังนี้

ตรวจสอบเล่มทะเบียนหรือสำเนาทะเบียนรถยนต์ก่อน

การตรวจเล่มทะเบียนรถยนต์ก่อนตรวจสภาพรถยนต์นั้น เป็นการตรวจสอบว่ารายละเอียดรถยนต์ ชื่อเจ้าของรถ เลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ สีรถ ชนิดเชื้อเพลิง ว่ามีความถูกต้องตรงกับรถยนต์ของคุณหรือไม่ หากรถของคุณมีการติดแก๊ส จะต้องมีใบตรวจสภาพระบบแก๊ส LPG และ NGV มาก่อนที่จะนำรถมาเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ที่ ตรอ. ถ้าหากไม่มีใบตรวจสภาพระบบแก๊ส จะยังไม่สามารถตรวจสภาพรถยนต์ได้ และการติดตั้งแก๊ส LPG/NGV ต้องลงเล่มแล้วเท่านั้น

ตรวจสภาพรถยนต์ภายนอก 

เป็นการตรวจส่วนต่าง ๆ ภายนอกรถว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ปกติหรือไม่ เช่น ล้อและยาง ศูนย์ล้อ ระบบไฟส่องสว่าง  ค่าไฟพุ่งไกล ไฟพุ่งต่ำ ตำแหน่งไฟพุ่งไกล ด้านซ้าย-ขวา ตำแหน่งไฟพุ่งต่ำ ด้านซ้าย-ขวา สภาพตัวถังและโครงรถ ประตูและพื้นรถ ปัดน้ำฝน เป็นต้น 

ข้อควรรู้ การทดสอบศูนย์ล้อคู่หน้า โดยขับรถผ่านเครื่องทดสอบด้วยความเร็วประมาณ 3-5 กม./ชม. ในขณะที่ล้อหน้าผ่านเครื่องทดสอบ ค่าเบี่ยงเบนของศูนย์ล้อหน้าจะต้องไม่เกิน +-5 เมตรต่อกิโลเมตร

ตรวจสภาพรถยนต์ภายใน

แตรรถยนต์ มาตรวัดความเร็ว เข็มขัดนิรภัย เบรกมือ เบรกเท้า ประสิทธิภาพห้ามล้อ ประสิทธิภาพเบรกมือ แรงห้ามล้อของแต่ละล้อ น้ำหนักลงเพลาหน้า-หลัง

ข้อควรรู้ การทดสอบระบบเบรกโดยการเหยียบเบรกจนสุด   

เบรกมือ แรงเบรกทุกล้อ รวมกันไม่น้อยกว่า 20% ของน้ำหนักรถ

เบรกเท้า แรงเบรกทุกล้อ รวมกันไม่น้อยกว่า 50% ของน้ำหนักรถ

ผลต่างของแรงเบรก ผลต่างแรงเบรกล้อซ้าย-ขวาต้องไม่เกิน 25% ของแรงเบรกสูงสุดในเพลานั้น

ตรวจสภาพใต้ท้องรถ

ระบบบังคับเลี้ยวและพวงมาลัย ถังเชื้อเพลิง และท่อส่ง เครื่องล่าง หมายเลขเครื่องยนต์

ตรวจค่าไอเสีย-วัดเสียงท่อไอเสีย

ตรวจวัดขณะเครื่องยนต์เดินเบาในขณะเกียร์ว่าง ปิดระบบปรับอากาศ โดยวัดปริมาณ CO และ HC จากปลายท่อไอเสียจำนวน 2 ครั้ง แล้วจึงนำค่ามาหาเฉลี่ยเป็นเกณฑ์ดังนี้

การตรวจสอบค่าไอเสีย 

ต้องผ่านเกณฑ์วัดค่าก๊าซ CO และ HC โดยแยกประเภทรถและตามปีจดทะเบียนรถ ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (เก๋ง) จดทะเบียนก่อน 1 พ.ย. 2536 CO ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 HC ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน จดทะเบียน 1 พ.ย. 2536 – 31 ธ.ค. 2549 CO ไม่เกินร้อยละ 1.5 HC ไม่เกินร้อยละ 200 ส่วนในล้านส่วน รถยนต์อื่นนอกจากข้อ 1 ที่จดทะเบียนก่อน 1 ม.ค. 2550 CO ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 HC ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน หรือรถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2550 CO ต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 HC ต้องไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน

การตรวจวัดควันดำ

จะตรวจวัดขณะเร่งเครื่องประมาณ 3-4 พันรอบ ในเกียร์ว่างและปิดแอร์ ผ่านเครื่องมือวัดแบบกระดาษกรอง (Filter) โดยเก็บค่าควันดำจำนวน 2 ครั้ง ใช้ค่าที่วัดได้สูงสุด ค่าควันดำต้องไม่เกิน 50% และเครื่องมือวัดระบบวัดความทึบแสง (Opacity) ค่าควันดำต้องไม่เกิน 45%

การวัดความดังของท่อไอเสีย

กรณีเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จะเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่ง ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน จะเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 3 ใน 4 ของรอบที่ให้กำลังม้าสูงสุดจนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงานด้วยความเร็วรอบคงที่ ค่าระดับเสียงสูงสุดต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ

การรายงานผลการตรวจสภาพรถ

รถที่ผ่านการตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ตรอ.จะจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบก โดย ตรอ.จะจัดเก็บเอกสารส่วนที่ 1 และมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้กับผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพและให้มีอายุ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ

กรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสภาพและข้อบกพร่องให้ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพรับทราบ พร้อมทั้งมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้เจ้าของรถเพื่อให้เป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถอีกครั้งภายหลังจากแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว โดยมีรายละเอียดการตรวจสภาพรถใหม่ ดังนี้

กรณีตรวจสภาพรถยนต์ใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ

กรณีตรวจสภาพรถใหม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรกให้ตรวจสภาพรถยนต์ใหม่ทุกรายการ

การต่อภาษีรถเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถจะต้องเสียทุกปี โดยในการ ต่อภาษีรถ2566 ยังคงสามารถเสียภาษีประจำปีได้หลากหลายช่องทาง ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ตามความสะดวกของคุณได้เลย เพราะการต่อพ.ร.บ. การนำรถไปตรวจสภาพ และการต่อภาษีรถเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีที่เจ้าของรถทุกคนจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของรถควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือในเรื่องของการทำประกันรถยนต์ เพื่อความคุ้มครองที่มากกว่าความคุ้มครองจากพ.ร.บ.รถยนต์เพียงอย่างเดียว เพราะให้ความคุ้มครองทั้งคน รถและความเสียหายต่าง ๆที่เกิดจากอุบัติเหตุอีกด้วย หากสนใจทำประกันรถยนต์สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ คลิก