นอกจากไฟเตือนเครื่องยนต์ที่แสดงบนหน้าปัดรถหากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับเครื่องยนต์แล้ว หากพบว่ามีไฟเตือนรูปกาน้ำมันโชว์ขึ้นมานั่นเป็นสัญญาณว่าระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์กำลังมีปัญหาถึงเวลาต้อง ถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือปัญหาอื่นเกี่ยวกับระบบหล่อลื่น มาเช็กกันว่าสัญญาณเตือนถึงเวลาถ่ายน้ำมันเครื่องมีอะไรบ้าง

5 สัญญาณถึงเวลา ถ่ายน้ำมันเครื่อง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เป็นหนึ่งในการดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่สำคัญที่สุด สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าน้ำมันเครื่องชนิดใดดีที่สุดสำหรับรถของคุณ และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องมากน้อยแค่ไหน การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องรู้ และเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ใช้รถสามารถทำได้เพื่อให้รถอยู่ในสภาพดี โดยหน้าที่ของน้ำมันเครื่องนั้นช่วยรักษาระดับความร้อนในเครื่องยนต์ให้ปกติ ไม่ร้อนเกินไป และยังป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องเพื่อถ่ายน้ำมันเครื่องจะต้องเลือกให้ตรงตามรุ่นรถหรือสามารถดูในคู่มือของรถยนต์ของคุณก่อนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทั้งนี้ผู้ใช้รถควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนด ซึ่งผู้ใช้รถสามารถดูกำหนดครบระยะการถ่ายน้ำมันเครื่องได้โดยส่วนใหญ่ช่างซ่อมรถจะจดมาไว้ให้แล้ว  แต่หากคุณไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด รถของคุณอาจจะแสดงไฟเตือนรูปกาน้ำมันเครื่องที่ไฟเตือนหน้าปัดรถของคุณ หรือจะรถของคุณจะส่งสัญญาณผิดปกติออกมาดังต่อไปนี้

รถอืดลง

ในขณะที่ขับรถและต้องการทำความเร็ว กลับรู้สึกว่ารถอืดลง เมื่อต้องการทำความเร็วกลับพบว่ารถอืด ทำความเร็วไม่ได้เท่าที่ควร เบื้องต้นสันนิษฐานว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถมานาน หรือน้ำมันเครื่องหมดประสิทธิภาพ ส่งผลให้เครื่องยนต์ของรถคุณทำงานได้อืดลงและทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร

สีของน้ำมันเครื่องเปลี่ยน

โดยปกติแล้วน้ำมันเครื่องใหม่จะมีสีเหลืองใสอำพัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่เรามีการใช้งานรถทุกวัน น้ำมันเครื่องรถจากสีเหลืองอำพันจะกลายเป็นสีดำ เพราะสิ่งสกปรกภายในเครื่องยนต์ ถูกชะล้างติดมากับตัวน้ำมันเครื่องจึงทำให้น้ำมันเครื่องนั้นกลายเป็นสีดำ ยิ่งน้ำมันเครื่องรถสกปรกมากขึ้นเท่าไหร่จะส่งผลให้เครื่องยนต์ของรถคุณประสิทธิภาพการทำงานลดลงเป็นอย่างมาก เห็นอย่างนี้แล้วเมื่อครบกำหนดถ่ายน้ำมันเครื่องจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ตรงเวลา

รถกินน้ำมัน

หลังจากที่คุณไม่ได้ใส่ใจในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา นอกจากน้ำมันเครื่องจะเปลี่ยนเป็นสีดำแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ น้ำมันเครื่องหนืด หากน้ำมันเครื่องหนืดแล้ว จะไม่สามารถปั๊มน้ำมันมาหล่อลื่นกระบอกสูบได้ทัน นอกจากจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่ดี สึกหรอแล้วยังทำให้รถกินน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อครบกำหนด

เสียงเครื่องยนต์ดังผิดปกติ

หากไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนาน จะส่งผลให้น้ำมันเครื่องนั้นแห้ง เพราะเครื่องยนต์จะต้องทำงานหนักมากกว่าปกติจนทำให้เกิดเสียงผิดปกติดึงออกมาจากเครื่องยนต์

จอดรถทิ้งไว้นาน

การที่คุณจอดรถทิ้งไว้นาน นอกจากจะส่งผลให้แบตเตอรี่รถเสื่อมแล้ว การจอดรถทิ้งไว้นานจะส่งผลให้คราบเขม่าและความชื้นจากการเผาไหม้หลังจากที่มีการใช้งานรถครั้งสุดท้ายติดค้างอยู่ในชิ้นส่วนที่เป็นโลหะนั่นเอง ทางที่ดีควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 6 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ของคุณค่ะ

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

นอกจากการเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อครบอายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์แล้วการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ทั้งนี้การเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกต้องตามรุ่นรถเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องและใช้ให้ถูกประเภท เพราะถ้าหากใช้น้ำมันเครื่องยนต์ผิดประเภท ไม่ถูกกับรุ่นรถจะส่งผลให้การทำงานของเครื่องยนต์ไม่ราบรื่นนั่นเอง โดยทำประเภทของน้ำมันเครื่องนั้นมี 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1.น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ระยะการใช้งาน ประมาณ 3,000-5,000 กม.

2.น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ระยะการใช้งาน ประมาณ 5,000-7,000 กม.

3.น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ระยะการใช้งาน ประมาณ 7,000-10,000 กม.

ทั้งนี้น้ำมันเครื่องชนิดธรรมดาควรเปลี่ยนที่ประมาณ  5,000 กม. สำหรับชนิดกึ่งสังเคราะห์ประมาณ 7,000-10,000 กม. และชนิดสังเคราะห์ ประมาณ 15,000-20,000 กม. นอกจากนี้ในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องแต่ละประเภท แต่ละยี่ห้อจะมีคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องแตกต่างกันโดยจะระบุไว้ที่บนฉลากขวดน้ำมันเครื่อง โดยการอ่านค่าของน้ำมันเครื่องสามารถอ่านออกมาได้ตามนี้

วิธีการอ่านค่าก่อน ถ่ายน้ำมันเครื่อง

เราจะพบว่าน้ำมันเครื่องแต่ละยี่ห้อจะมีการบอกตัวเลข 2 ชุด โดยมีตัวอักษร w คั่นกลาง ซึ่งแสดงค่าความหนืดและคุณสมบัติน้ำมันเครื่อง โดยทั่วไปช่างจะเรียกว่าเบอร์น้ำมันเครื่อง โดยในการอ่านตัวเลขนั้นจะมีวิธีการอ่านดังนี้

ตัวเลขข้างหน้า W หมายถึง ค่าที่น้ำมันเครื่องจะสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึงช่วงอุณหภูมินั้นโดยไม่เป็นไข

W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ส่วนอักษร W ย่อมาจากคำว่า Winter คือ ความต้านทานการเป็นไข

ตัวเลขข้างหลัง W คือ ค่าความหนืดเป็นตัวชี้วัดความข้นหรือแรงต้านในการไหลของของเหลว หากน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แต่อุณหภูมิเครื่องยนต์ยังเย็น จะทำให้น้ำมันเครื่องไหลเวียนเพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก ในทางตรงกันข้ามกันหากน้ำมันเครื่องมีความหนืดน้อย เหลวเกินไปในอุณหภูมิเครื่องยนต์ที่ร้อน จะไม่สามารถหล่อลื่นหรือปกป้องชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร  โดยค่าความหนืด ได้แก่ 30, 40, 50, 60 (วัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส) ตัวเลขยิ่งสูง น้ำมันจะยิ่งมีความหนืด และมีความหนาของฟิล์มน้ำมันที่ให้การหล่อลื่นและปกป้องได้ในอุณหภูมิสูง

แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วยตัวเอง แต่อย่างน้อยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ตรงกำหนดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ก็เป็นการดูแลรักษารถเบื้องต้นด้วย นอกจากนี้หมั่นสังเกตความผิดปกติของรถ รวมไปถึงคอยดูไฟเตือนหน้าปัดรถอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้คุณสามารถพบความผิดปกติของรถและนำรถไปให้ช่างซ่อมรถตรวจสอบได้อย่างทันเวลาอีกด้วย   ทั้งนี้การเลือกน้ำมันเครื่องให้ถูกต้องตามคู่มือรถของคุณ จะช่วยให้เครื่องยนต์ของรถคุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ประหยัดน้ำมัน รถวิ่งได้ลื่นไม่อืด ช่วยให้การเดินทางราบรื่น ไม่เกิดปัญหารถเสียกลางทางอีกด้วย ทั้งนี้หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับรถ ควรรีบโทรหาอู่ซ่อมรถหรือหากทำประกันรถยนต์เอาไว้ก็สามารถโทรเรียกบริษัทประกันเข้ามาช่วยเหลือดูแลคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง สนใจทำประกันรถยนต์เพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถ แนะนำเฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ผ่อนสบายสูงสุด 12 งวด ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน อ่านรายละเอียดเพิ่ม คลิก