เครื่องหมายสีขาวสลับดำบนท้องถนนมีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย เรียกว่า ทางม้าลาย ที่เรารู้จักกัน โดยรถที่วิ่งบนท้องถนนจะต้องหยุดรถให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายก่อน โดยคนข้ามถนนเองจะต้องข้ามถนนบนทางม้าลายเช่นเดียวกัน แต่ทำไมถึงเรียกว่าทางม้าลายนั้น เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

ทำไมถึงเรียกทางข้ามถนนว่า ทางม้าลาย?

ทางม้าลาย เครื่องหมายแถบสีขาวสลับดำ ที่เรามักเห็นบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน เช่น สี่แยกไฟแดง โรงเรียน สถานพยาบาล ตลาด เป็นต้น ทางม้าลายเป็นเครื่องหมายจราจรระดับสากล ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเดินข้ามถนนสามารถเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย โดยมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า หากคุณขับรถอยู่บนท้องถนน และพบว่ากำลังมีคนกำลังจะข้ามทางม้าลาย รถจะต้องลดความเร็ว เพื่อหยุดให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายเสียก่อน จึงจะสามารถขับรถต่อไปได้ ที่มาของการเรียกทางข้ามถนนที่มีลักษณะสีขาวสลับดำว่าทางม้าลายนั้น เกิดขึ้นในครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในปีค.ศ.1934 ทางม้าลาย (Pedestrian Crossing) ยังไม่มีชื่อเรียกที่ชัดเจน แต่ลักษณะของทางม้าลายในสมัยนั้น ก็เหมือนกับทางม้าลายที่เราเห็นกันในปัจจุบัน โดยจุดประสงค์ในการทำทางม้าลาย ก็เกิดขึ้นเพื่อให้คนได้ใช้สำหรับข้ามถนนเพื่อความปลอดภัย ในช่วงแรกที่มีการทำทางม้าลาย ก็ได้มีการปรับสีของทางม้าลายหลายรูปแบบ โดยมีทั้งเส้นสีเหลืองสลับสีน้ำเงิน สีขาวสลับสีแดง  ต่อมาในปีค.ศ.1951 จึงได้ปรับทางม้าลายเป็นสีขาวสลับดำ และตั้งชื่อทางข้ามถนนนี้ว่า Zebra Crossing หรือ ทางม้าลายและมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายในไทย

แม้ว่าทางม้าลาย จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้เดินทางเท้าสามารถเดินข้ามถนนบนทางม้าลายด้วยความปลอดภัย แต่ในไทยเรามักจะพบว่า บ่อยครั้งอุบัติเหตุบนท้องถนน มักจะเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ที่ขับรถพุ่งชนคนที่กำลังเดินข้ามทางม้าลายอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้ทางม้าลายกลายเป็นจุดอันตราย ที่มีคนเสียชีวิตจากการข้ามทางม้าลายอยู่บ่อยครั้ง และมักจะปรากฏให้เห็นตามข่าวในทีวีนั่นเอง ทางม้าลายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เดินทางเท้าที่ต้องการข้ามถนน สามารถเดินข้ามถนนด้วยความปลอดภัย แต่ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนทั้งผู้ขับขี่และผู้ที่เดินทางเท้า กลับยังไม่เข้าใจข้อปฏิบัติและยังไม่เห็นความสำคัญของทางม้าลาย จึงทำให้เรามักจะเห็นข่าวรถข้ามทางม้าลาย เพราะฉะนั้นเพื่อความเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายได้อย่างถูกต้อง ทั้งผู้ขับขี่และผู้ที่เดินทางเท้า จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรที่เกี่ยวข้องกับทางม้าลายดังนี้

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายสำหรับผู้ที่เดินทางเท้า

ผู้เดินทางเท้า หากไม่ใช้ทางม้าลายหรือใช้สะพานลอย ภายในระยะ 100 เมตรจากทางข้าม ถือว่ามีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท  

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ ทางม้าลายสำหรับผู้ขับรถ

1.เมื่อผู้ขับขี่เจอทางม้าลาย ให้ผู้ขับขี่ทำการชะลอรถ เตรียมหยุดรถให้คนข้ามถนน เมื่อคนข้ามถนนหมดแล้ว จึงค่อยออกรถต่อไปได้ ทั้งนี้ห้ามจอดรถบนทางม้าลาย และจอดห่างจากทางม้าลายอย่างน้อย 3 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

2.ห้ามขับรถแซงรถคันอื่น ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางม้าลาย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาท โดยในมาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้

2.1 เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้

2.2 ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

2.3 เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร

2.4 เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย

3.หากขับรถชนคนเดินเท้าจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตบริเวณทางม้าลายจะมีความผิดเพิ่ม

ข้อควรระวังในการใช้ทางม้าลาย

แม้ว่าจะมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายสำหรับผู้ที่เดินทางเท้าและผู้ขับขี่แล้ว แต่ผู้ที่ใช้ทางม้าลาย ก็ควรใช้ทางม้าลายด้วยความระมัดระวัง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน เพราะไม่ใช่ผู้ขับขี่ทุกคนที่จะให้ความสำคัญหรือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยข้อควรระวังในการใช้ทางม้าลาย มีดังนี้

1.ต้องให้สิทธิผู้ที่ข้ามถนนบนทางม้าลายได้ไปก่อน เพราะตามกฎหมายผู้ขับขี่รถจะต้องหยุดรถให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายไปก่อน แต่อาจจะมีกรณีที่รถได้ชะลอแล้วแต่หยุดรถไม่ทันก่อนที่จะก้าวลงพื้นถนน ผู้ที่ข้ามถนนจะต้องระมัดระวังด้วย                    

2.ผู้เดินทางเท้าต้องดูรถในแน่ใจเสียก่อนจึงจะข้ามทางม้าลายได้ ทั้งนี้เพราะอาจจะมีผู้ที่ไม่เคารพกฎจราจรไม่ชะลอรถก่อนถึงทางม้าลาย ขับรถด้วยความเร็ว แซงรถที่จอดให้ทางแก่คนข้ามทางม้าลาย และผู้ที่ข้ามถนนจะต้องข้ามถนนด้วยความรวดเร็ว ไม่เดินไปคุยโทรศัพท์ไป หรือเดินเอ้อระเหยลอยชาย

3.หากข้ามทางม้าลายบริเวณทางแยก ต้องระมัดระวังรถที่อาจเลี้ยวเข้ามาหาจากทางโค้งได้     

หากถูกชนแล้วหนี ต้องทำอย่างไร

หากทุกคนเคารพกฎหมาย ข้อบังคับและนำไปปฏิบัติตาม เชื่อว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนจะลดน้อยลงไปมาก หลายครั้งที่เรามักพบเห็นข่าวรถชนคนข้ามทางม้าลายบ้าง ชนแล้วหนีบ้าง แต่ในกรณีที่คุณโชคไม่ดีนักเจอผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร จนเป็นเหตุให้คุณได้รับบาดเจ็บจากการชนแล้วหนี  เบื้องต้นหากคุณจำทะเบียนรถของผู้ก่อเหตุได้ ก็สามารถนำทะเบียนรถไปขอตรวจสอบประวัติทะเบียนรถ กรมการขนส่งทางบก โดยยื่นคำร้องขอตรวจสอบเช็คประวัติทะเบียนรถของคู่กรณีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งของจังหวัดเท่านั้น และต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอเช็คทะเบียนรถและหลักฐานในการถูกชน เพื่อเป็นเหตุผลในการค้นหาประวัติและชื่อเจ้าของทะเบียนรถคู่กรณีได้ ดังนี้

เอกสารที่ใช้ในการขอตรวจสอบประวัติทะเบียนรถ กรมการขนส่งทางบก

1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

2.หนังสือรับรองนิติบุคคล (ฉบับจริงพร้อมสำเนา แนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนามให้ครบทุกคน) กรณีสำเนาต้องลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้ครบถ้วนพร้อมประทับตรานิติบุคคลในเอกสารทุกฉบับ (ถ้ามี) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนามทุกคน

3.หนังสือนำส่งเรื่องของหน่วยงานของรัฐขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร (ฉบับจริง) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร

4.สำเนาหนังสือแต่งตั้งเป็นตัวแทนบริษัทประกันภัย พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน กรณีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร

5.สำเนาใบอนุญาตทนายความ หรือสำเนาใบแต่งทนาย กรณีทนายความเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจที่เกิดเหตุ (ฉบับจริง และสำเนา พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน)

ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบประวัติทะเบียนรถ

1.ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท

2.ค่าขอค้นเอกสาร รถยนต์ ครั้งละ 50 บาท รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท

3.ค่ารับรองสำเนา แผ่นละ 20 บาท

โดยระยะเวลาในการดำเนินการ ตรวจสอบคำขอและเอกสารประมาณ 1 ชั่วโมง  เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การค้นหาทะเบียนรถกรณีถูกชนแล้วหนีได้ที่นี่ คลิก 

ทางม้าลาย คือสิ่งถูกที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยให้แก่ผู้ที่เดินเท้าได้ข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย  แต่ผู้ที่ข้ามทางม้าลาย จะต้องมีความระมัดระวังในการข้ามทางม้าลายเช่นเดียวกัน และกฎหมายจราจรยังให้ความคุ้มครองกับผู้ที่ข้ามทางม้าลายอย่างถูกต้อง ในกรณีที่ใช้ทางม้าลายแล้วแต่มีรถคันอื่นขับรถพุ่งชน นอกจากนี้ในกรณีที่รถไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลายก็จะมีความผิดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้เดินทางเท้าและผู้ใช้รถควรให้ความเคารพและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายที่เราได้แนะนำไปแล้วข้างต้น อ่านกฎหมายจราจรที่ควรรู้เพิ่มเติมได้ คลิก แต่อุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ สำหรับผู้ที่ใช้รถแนะนำว่า ควรจะทำประกันรถยนต์ติดรถไว้ เพราะประกันรถจะช่วยคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คุ้มครองเราและเขา รวมไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์อีกด้วย แนะนำประกันรถยนต์ผ่อน 0% ผ่อนสบายสูงสุด 12 งวด ซื้อง่ายไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ที่เฮงลิสซิ่ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ที่มาข้อมูลจาก carsome,moneybuffalo