กฎหมายบังคับให้รถทุกคันไม่ว่าจะมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ต้องทำพ.ร.บ.ทุกคัน ส่วนการทำ ประกันภัยรถ นั้นเพื่อเพิ่มความคุ้มครองที่นอกเหนือจากการทำพ.ร.บ.รถ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ซื้อรถใหม่จะต้องทำประกันภัยรถเพื่อคุ้มครองรถจากอุบัติเหตุ แล้วหากคุณซื้อรถมือสอง จำเป็นต้องซื้อประกันภัยด้วยหรือไม่ เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับการทำประกันภัยรถสำหรับรถมือสองมาฝากค่ะ

ซื้อรถมือสอง ทำไมต้องซื้อ ประกันภัยรถ 

การทำประกันภัยรถ เป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่เราไม่สามารถคาดเดาความเสียหายได้ว่าจะมากจะน้อยแค่ไหน ไม่เลือกว่าจะเกิดกับรถใหม่หรือรถเก่า เพราะหากเกิดความเสียหายผู้ขับขี่อาจจะไม่สามารถแบกรับค่าความเสียหายที่ตามมาได้ แต่การซื้อประกันภัยรถ จึงถือเป็นตัวช่วยที่เพิ่มความคุ้มครองคุณโดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่ารถมือหนึ่งหรือรถมือสอง ก็จำเป็นต้องซื้อประกันภัยรถยนต์ติดไว้ด้วย แต่สำหรับรถมือสองนั้น การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์อาจจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ อายุของรถ พฤติกรรมการใช้รถ และงบประมาณที่คุณเตรียมไว้ ทั้งนี้อายุและสภาพรถแบบไหน จะต้องเลือกประกันภัยรถยนต์อย่างไร เรามีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้

รถมือสองสภาพเหมือนใหม่  

เดี๋ยวนี้เราจะเห็นรถมือสองที่ขายตามเต็นท์ เหมือนเป็นรถปีใหม่ที่ออกจากศูนย์ได้ไม่กี่ปี ส่วนใหญ่รถพวกนี้ยังเป็นรถป้ายแดงออกจากศูนย์และแน่นอนว่าประกันภัยรถยนต์ที่ติดรถไว้ยังเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือยังสามารถซื้อประกันภัยรถชั้น 1 ได้ หรือหากรถมีอายุเกิน 7 ปีแต่ยังสภาพใหม่ ไมล์น้อย ก็ยังสามารถเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ยังเหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับที่ขับรถปีใหม่หน่อย การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 จึงมีความเหมาะสมอยู่ไม่น้อย

รถมือสองสภาพผ่านการใช้งาน

รถมือสองที่มีผ่านการใช้งานมาเกิน 7 ปีขึ้นไป หรือรถมือสองที่มีสภาพกลาง ๆ ไม่เก่าจนโทรมหรือไม่ได้เหมือนรถใหม่ไมล์น้อย แนะนำเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ที่ได้รับความคุ้มครองไม่ต่างประกันภัยรถชั้น 1มากนัก และยังช่วยประหยัดในส่วนของเบี้ยประกันอีกด้วย    ทั้งนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ขับขี่มีความชำนาญในการขับขี่พอสมควรแล้ว ก็เลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้น2+ หรือ 2 ก็ได้เช่นกัน

รถเก่า 

รถมือสองที่มีสภาพการใช้งานมาอย่างสมบุกสมบัน หรือรถเก่าที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แนะนำให้ทำประกันชั้น 3 หรือ 3+ ก็ได้ เพราะอย่างน้อยหากนำรถออกไปใช้ และเกิดอุบัติเหตุรถชนรถ ผู้เอาประกันยังจะสามารถเคลมประกัน ทั้งค่าซ่อมรถเรา รถเขาเช่นกัน เฉพาะรถชนรถเท่านั้น

ประกันภัยรถ แต่ละชั้น คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันรถยนต์ชั้น 1

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน รถของคู่กรณี หรือสามารถเคลมได้แม้ไม่มีคู่กรณี เช่น  รถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงสุด รถใหม่สภาพดีอายุไม่เกิน 7 ปี

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน สามารถเคลมได้ในกรณีที่มีคู่กรณี รถชนรถ / รถหาย /ไฟไหม้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการทำประกันเพื่อป้องกันกรณีรถชน ป้องกันรถหาย ไฟไหม้ หรือรถที่มีความเสี่ยงไฟไหม้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ ประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอายุรถเกิน 7 ปี หรือมูลค่ารถไม่ถึงเกณฑ์ที่บริษัทประกันกำหนด

ประกันรถยนต์ชั้น 3+

ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่น ไม่คุ้มครองรถหายหรือไฟไหม้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไหม้หรือการโจรกรรมต่ำ เช่น รถไม่ติดแก๊ส รถจอดภายในบ้าน เป็นต้น

ประกันรถยนต์ชั้น 3

ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี ไม่มีวงเงินซ่อมรถของผู้เอาประกัน ป้องกันความเสียหายจากการขับรถไปชนคันอื่น โดยผู้เอาประกันพร้อมรับผิดชอบค่าซ่อมของรถตัวเองได้หากจำเป็น

ซื้อรถมือสอง ต้องดูอะไรบ้าง

การซื้อรถมือสอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูรถให้เป็นพอสมควร หรือหากมีผู้ที่ชำนาญเรื่องรถไปดูด้วย ก็จะดีกับตัวคุณไม่น้อย แต่อย่างไรเราก็มีคำแนะนำในการเลือกซื้อรถมือสอง สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจจะซื้อรถมือสองมาใช้งานว่าคุณต้องดูจุดไหนของรถบ้าง

1.เล่มทะเบียนรถ

เบื้องต้นการรู้ประวัติของรถมือสองเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก เพราะในเล่มทะเบียนรถ จะบอกตั้งแต่ชื่อผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทั้งหมดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทไฟแนนซ์ หากเจ้าของเดิมเคยมีการนำรถเข้าไฟแนนซ์ รวมไปถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของรถ เช่น ยี่ห้อ รุ่น ปีจดทะเบียน สีรถ เลขตัวถังรถ เลขเครื่อง การติดตั้งระบบแก๊ส รวมไปถึงประวัติการจ่ายภาษีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้การดูเล่มอาจจะยังไม่สามารถบอกประวัติเกี่ยวกับการเฉี่ยวชนได้มากนัก ต้องอาศัยการดูสภาพรถต่อไป

2.สภาพรถภายนอก

ข้อนี้หากคุณมีคนที่รู้เรื่องรถตามไปดูรถมือสองกับคุณก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากคุณต้องดูรถมือสองด้วยตัวเอง สิ่งแรกที่คุณจะต้องสังเกตคือ สภาพรถภายนอก สิ่งที่ต้องสังเกตคือในเรื่องความสมดุลของโครงสร้างรถที่คุณสามารถดูด้วยตาเปล่า โดยการดูว่ารถไม่มีส่วนไหนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ ฝากระโปรง กันชน เสาหลังคา ว่ามีความสมดุลกันหรือไม่ หากเห็นว่ามีจุดที่เอียง ไม่สมดุล คาดการณ์ไว้ก่อนว่ารถถูกชนหนักควรหลีกเลี่ยง

3.สีรถ

หากรถมือสองที่คุณสนใจมีสีรถที่สวยงามทั้งคัน ขอให้คุณเข้าไปดูสีรถใกล้ ๆ สักหน่อย เพราะการเก็บสีรถมาใหม่ทั้งคัน อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากการชนหนักหรือคว่ำมา ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจะให้วิธีเคาะเพื่อฟังเสียงเพื่อประเมินว่ามีการทำสีรถมามากน้อยมากแค่ไหน หนาบางอย่างไร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถมือสองเช่นกัน

3.ฝากระโปรงและภายในห้องเครื่อง

ต่อมาเริ่มมาสังเกตในส่วนของรายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น ลองสังเกตรูน็อตต่างๆ ว่ากลมเป็นปกติหรือไม่ ไม่บิดเบี้ยว ไม่มีรอยทำสีหนา ซึ่งหากมีรอยดังกล่าวเป็นไปได้ว่ามีการกลบร่องรอยการชนมา

4.คานหน้ารถ

ต่อมาลองมาสังเกตที่คานหน้ารถ เป็นตัวรับโครงสร้างหรือส่วนแข็งที่เป็นเหล็กทั้งแท่งไว้รับน้ำหนักในการกระแทก ลองสังเกตรูน็อตว่ากลมหรือไม่ คานอยู่ในรูปทรงปกติหรือเปล่า เพราะถ้าหากรถเคยถูกชนมา จะพบร่องรอยที่คานหน้ารถด้วย

5.ใต้ท้องรถ

ลองก้มเข้าไปมองใต้ท้องรถกันสักหน่อย ว่ามีร่องรอยผิดปกติหรือไม่ ตัวถังยังอยู่ในสภาพดี มีรอยผุจุดไหนบ้าง เพราะหลายคนซื้อรถมือสองโดยเลือกดูจากความสวยงามภายนอก ภายในห้องโดยสาร  แต่อาจจะไม่เคยลองก้มมองใต้ท้องรถ ซึ่งเป็นจุดที่จะบอกร่องรอยการใช้งานได้ดี

6.ภายในห้องโดยสาร

ลองกวาดสายตาไปในแต่ละจุดของภายในห้องโดยสาร ลองดูว่ายังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ บางจุดอาจมีการเปลี่ยนใหม่มาเนื่องจากเป็นไปตามอายุรถ เช่น เบาะ คอนโซล ผ้าหลังคารถ เกียร์ สวิตช์ต่าง ๆ ระบบไฟส่องสว่าง เป็นต้น

7.แอร์รถยนต์

ลองเปิดและปรับแอร์ดูว่าเย็นฉ่ำหรือไม่ หากลองเปิดแล้วแอร์รถยนต์ไม่ค่อยเย็น ต้องดูแล้วว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะหากเราปล่อยไว้ไม่สนใจหรือคิดว่าเดี๋ยวค่อยเอาไปซ่อมภายหลัง อาจจะเกิดปัญหาจุกจิกตามาภายหลัง แทนทีซื้อรถมาแล้วจะได้ใช้งานเลยกลับต้องเอาไปซ่อมให้เสียเวลาและเสียเงินเพิ่มอีก

8.ทดลองขับ

ขั้นตอนสุดท้ายนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ไม่ว่าคุณจะซื้อรถมือหนึ่งหรือซื้อรถมือสองก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการซื้อรถมือสองต้องทดลองขับจนแน่ใจ เพราะการทดลองขับจะทำให้ได้สัมผัสการทำงานของทั้งเครื่องยนต์ การเร่ง การเบรก การเลี้ยว และลองฟังเสียงเครื่องยนต์ว่ามีเสียงแปลก ๆ หรือไม่ รวมไปถึงลองเดินไปดูควันรถยนต์ด้วยว่ามีสีอะไร เพราะหากพบความผิดปกติของรถตั้งแต่ตอนขับรถ จะได้หลีกเลี่ยงและมองหารถยนต์มือสองคันใหม่ได้ทัน

เช็คความถูกต้องของกรมธรรม์รถ 

กรมธรรม์รถ คือ เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าเราได้ตกลงทำประกันภัยรถกับบริษัทประกันเรียบร้อย และเราจะได้รับการคุ้มครองตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในใบกรมธรรม์รถยนต์ ส่วนรายละเอียดในกรมธรรม์รถ เช่น ชื่อผู้เอาประกัน รายการรถยนต์ที่เอาประกัน จำนวนเงินเอาประกัน ราคาเบี้ยประกัน และส่วนลดเบี้ยประกัน เป็นต้น ซึ่งมีทั้งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับหรือการทำพ.ร.บ. อย่างไรก็ตามหลังจากที่คุณได้รับกรมธรรม์รถมาแล้วเรียบร้อย อย่าเพิ่งเก็บไว้ในลิ้นชักรถทันที ขอให้คุณลองเปิดอ่านข้อมูลในกรมธรรม์รถยนต์สักนิด เพราะบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในการพิมพ์เอกสารของเจ้าหน้าที่ หากคุณนำกรมธรรม์มาตรวจสอบข้อมูลหลังจากที่ได้รับกรมธรรม์รถแล้ว จะได้สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขข้อมูลในกรมธรรม์ได้ทัน จะได้ไม่เสียเวลาในการเคลมประกันในภายหลัง ทั้งนี้ข้อมูลที่ต้องเช็คในกรมธรรม์รถมีอะไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ

รายละเอียดผู้เอาประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์

ลองเช็คดูว่าชื่อผู้เอาประกันถูกต้องหรือไม่ ส่วนผู้รับผลประโยชน์ คือ ผู้ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัย หรือกรณีที่รถติดผ่อนอยู่ ชื่อผู้เอาประกันจะเป็นชื่อไฟแนนซ์ นอกจากนี้ระยะเวลาประกันภัย จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 00.01 น. ของวันที่ระบุไว้ ส่วนระยะเวลาสิ้นสุดประกันจะระบุวันและเวลาเอาไว้

รายละเอียดรถ

เลขตัวถัง เป็นรายละเอียดสำคัญที่ต้องเช็คให้ถูกต้อง เพราะบริษัทประกันภัยจะใช้เลขนี้เป็นหลัก ซึ่งหากเลขตัวถังผิดจะไม่สามารถขอเคลมประกันได้เลย

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

บุคคลภายนอกในที่นี้ คือ ทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถของเรา ยกเว้นคนในครอบครัว โดยจะต้องมีการเบิกพ.ร.บ.ก่อน หากเงินที่ได้รับไม่เพียงพอ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายส่วนต่างเพิ่มเติม

ความคุ้มครองเกี่ยวกับตัวรถ

ทุนประกันหรือหรือค่าความเสียหายต่อรถจะคุ้มครองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ จะจ่ายคืนก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าซ่อม โดยยังแยกออกเป็นความเสียหายส่วนแรก คือ ค่าเสียหายที่จะต้องจ่ายร่วม ซึ่งในที่นี้ไม่ได้ระบุเอาไว้ นั่นหมายความว่าหากเราเป็นฝ่ายผิด ก็ไม่ต้องร่วมจ่ายนั่นเอง นอกจากนี้ในกรณีรถยนต์สูญหายหรือเกิดอัคคีภัย บริษัทประกันภัยจะจ่ายให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้

ความคุ้มครองตามเอกสารท้ายแนบ

เป็นการคุ้มครองคนภายในรถรวมไปถึงคนขับ โดยให้ความคุ้มครองตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสาร ค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงหากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิดและมีการดำเนินคดี บริษัทประกันจะมาประกันตัวเรา โดยตามจำนวนเงินที่ระบุไว้

ข้อมูลในใบกรมธรรม์รถผิด แก้ไขได้หรือไม่?

หลังจากเช็คข้อมูลในกรมธรรม์รถยนต์ แล้วพบว่ามีการพิมพ์ข้อมูลของคุณผิด จะต้องทำการสลักหลังกรมธรรม์ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้อง โดย 3 กรณีที่สามารถขอใบสลักหลังกรมธรรม์ได้ ดังนี้

  •         ข้อมูลในกรมธรรม์รถยนต์ผิด
  •         การเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุลใหม่
  •         เปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์

หากข้อมูลผิดพลาดอาจสร้างความลำบาก ยุ่งยากในการเคลมประกันภัยรถในอนาคต หลังจากที่ได้รับใบกรมธรรม์แล้ว ผู้เอาประกันควรตรวจสอบรายละเอียดในใบกรมธรรม์รถยนต์อย่างละเอียด หากข้อมูลผิดพลาด ให้แจ้งเรื่องไปยังโบรกเกอร์ประกันภัย หรือบริษัทประกันเพื่อขอใบสลักหลังกรมธรรม์ทันที

ไม่ว่าจะซื้อรถมือหนึ่งป้ายแดง หรือซื้อรถมือสอง นอกจากจะมีพ.ร.บ.คุ้มครองแล้ว การซื้อประกันภัยรถ ช่วยรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดกับรถของคุณ ทั้งนี้การเลือกซื้อประกันภัยรถ สำหรับรถมือสองนั้นหลายคนอาจจะมองข้ามเพราะ คิดว่ารถมือสองเป็นรถที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว อาจไม่ต้องใส่ใจอะไรมากนัก แต่ในเป็นความจริงแล้วอุบัติเหตุไม่เลือกว่าจะเกิดขึ้นกับรถใหม่ป้ายแดง หรือรถมือสองก็ตาม การซื้อประกันภัยรถติดไว้สักกรมธรรม์ จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองตัวรถ คู่กรณี ความเสียหายจากรถชน รวมไปถึงรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วมอีกด้วย (ขั้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก) หากคุณสนใจซื้อประกันรถยนต์เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้กับรถของคุณ แนะนำซื้อประกันภัยรถ ผ่อน0% ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน คลิกเลย