เชื่อว่าคนใช้รถยนต์หลายคนอาจเคยประสบปัญหา รถยางรั่ว หรือยางแบน หากคุณกำลังขับรถอยู่แล้วพบว่ารถยางรั่ว จะต้องทำอย่างไร  แล้วถ้าเป็นรถยนต์ยางรั่ว ปะได้ไหม หรือถ้ารถยนต์ยางรั่วบดเพื่อไปหาอู่ซ่อมรถหรือร้านเปลี่ยนยางได้หรือไม่ เรามีคำแนะนำมาฝาก

สาเหตุที่ทำให้ รถยางรั่ว

ไม่มีใครอยากเจอสถานการณ์รถยางรั่ว เพราะรถยางรั่วนอกจากเสียเวลาในการเดินทางแล้ว หากคุณเดินทางไกล บ้านคนน้อย หรือไม่มีร้านเปลี่ยนยางรถ จากปัญหารถยางรั่วจุดเล็ก ๆ อาจจะสร้างปัญหาใหญ่ให้คุณภายหลังได้ โดยสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ยางรั่วอาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น

1.ถูกของมีคมทิ่ม เช่น ตะปู เศษเหล็กแหลม ซึ่งหากทิ่มเข้าไปแล้ว ยางอาจจะไม่แบนโดยทันที แต่รถยางรั่วทีละน้อย ไม่ควรปล่อยไว้

2.จุกลมยางรถยนต์เสื่อมสภาพ เพราะการใช้งานรถมานานทำให้จุกลมชำรุดจนทำให้รถยางรั่วได้

3.ล้อคด เกิดจากการขับรถกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ขับรถผ่านลูกระนาดโดยไม่มีการเบรกก่อน หรือขับรถกระแทกตกหลุม ทำให้ล้อคด ล้อเบี้ยว ส่งผลทำให้รถยางซึมและรั่วออกมาในที่สุด

4.ขอบยางรถยนต์ชำรุด เกิดจากความเสียหายที่ขอบยางในใต้ล้อ ทำให้ซีลระหว่างยางกับล้อไม่สนิท ทำให้รถยางรั่วลมซึมออกมาได้

5.แก้มยางชำรุด เนื่องมาจากการขับรถเบียดขอบทางจนทำให้ยางล้อรถผิดรูป ทำให้รถยางรั่วนั่นเอง

รถยางรั่ว ปะได้ไหม?

เมื่อคุณเจอสถานการณ์รถยางรั่วเข้าแล้ว จำเป็นจะต้องหาร้านปะยางรถ หรือศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด เพื่อทำการปะยางรถหรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้น โดยหากยางรถของคุณยังพอเหลือลมอยู่ รถยนต์ยางรั่วบดได้ไหม? คำตอบคือยังสามารถบดไปได้ แต่บดไปอย่างช้า ๆ ประคองรถไปให้ถึงร้านได้ แต่ในกรณีที่ไม่เหลือลมยางเลย ยางรถแบนไปแล้ว ไม่แนะนำให้บดรถต่อไป เพราะจะทำให้ยางและล้อเสียหายได้ ทั้งนี้หากคุณมีชุดปะยางฉุกเฉินติดรถไว้ คุณก็สามารถทำการปะยางเบื้องต้นได้เช่นเดียวกัน หากรถยางรั่วตำแหน่งแก้มยาง กรณีนี้ต้องเปลี่ยนยางใหม่อย่างเดียว เนื่องจากแก้มยาง ต้องแบกรับน้ำหนักและแรงกระแทกของรถไว้ทั้งหมดนั่นเอง แต่หากตำแหน่งรถยางรั่วตรงหน้ายาง ก็ยังสามารถปะยางได้ โดยทั่วไปแล้วการปะยางรถยนต์มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ การปะแบบสตรีมและการปะแบบแทงไหม

การปะแบบสตรีม

การปะแบบสตรีม ทำได้ในกรณีที่รถยางรั่วจากตะปู  น๊อต เหล็ก เศษแก้ว โดยที่แผลไม่ได้ใหญ่มากนัก ต้องถอดยางเพื่อปะจากข้างใน ซึ่งการปะแบบสตรีมมี 2 แบบ

การปะสตรีมร้อน

ใช้แผ่นปะอุดรอยรั่ว โดยการใช้ความร้อนทำให้แผ่นปะละลายไปติดกับเนื้อยางรถจนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเอายางใส่ล้อ เติมลมเป็นอันเสร็จ

การปะสตรีมเย็น

ใช้แผ่นยางปะรอยรั่ว โดยการเจียรเนื้อยางเล็กน้อย จากนั้นทากาว แล้วใช้เนื้อยางสำหรับปะ ปะรอยรั่ว แล้วรีดให้แผ่นยางติดกัน จึงเอายางใส่ล้อ เติมลมเป็นอันเสร็จ

การปะแบบแทงไหม (ตัวหนอน)

การปะแบบแทงไหม เหมาะสำหรับรถยางรั่วที่มีรอยรั่วขนาดเล็กที่เกิดจากตะปู สกรู นอต ตำเข้าไปในยางรถยนต์

ชุดปะยางฉุกเฉิน

หากคุณมีชุดปะยางฉุกเฉิน คุณสามารถปะยางรถรั่วเบื้องต้นได้ โดยเริ่มจากนำกระปุกน้ำยาปะยางกับปั๊มลมไฟฟ้า เสียบไปยังจุกลมยางรถล้อที่แบน จากนั้นทำการเปิดสวิตช์กุญแจ แล้วค่อยเปิดปั๊มลมไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องทำงาน เมื่อเกจวัดปั๊มลมขึ้นไปถึงค่าที่กำหนดแล้วให้ทำการปิดสวิตช์ปั๊มลมไฟฟ้า จากนั้นลองขับรถไปสักพักด้วยความเร็วไม่เกิน 80กม./ช.ม. ประมาณ 5 กม. เพื่อเช็คว่าถ้ายางที่ทำการปะฉุกเฉินไปไม่มีการรั่วซึมของลม ก็สามารถขับรถต่อไปเพื่อไปร้านปะยางรถหรือศูนย์บริการเพื่อทำการเปลี่ยนหรือแก้ไขปัญหายางรถต่อไป          

การเปลี่ยนยางอะไหล่

รถทุกคันจะมีอย่างอะไหล่ติดรถอยู่แล้ว คุณสามารถเปลี่ยนยางอะไหล่ด้วยตัวเองได้ หากคุณมีเครื่องมือในการเปลี่ยนยางอะไหล่ ได้แก่ ยางอะไหล่ แม่แรงยกรถ ด้ามหมุนแม่แรงยกรถ และบล็อกตัว L                   

1.สอดแม่แรงเข้าใต้ท้องรถ  ตรงจุดที่รับน้ำหนักรถได้เพื่อทำการยกรถ แต่ยังไม่ต้องยกรถ

2.คลายน๊อตล้อด้วยบล็อก โดยทวนเข็มนาฬิกา ส่วนเวลาใส่ก็ใส่ตามเข็มนาฬิกา แต่ยังไม่ต้องเอาน๊อตออกจากล้อ

3.ใช้แม่แรงยกล้อลอยขึ้นเหนือพื้น แล้วค่อย ๆ ถอดน๊อตล้อออก ถอดยางที่รั่วออกแล้วเอายางอะไหล่ใส่กลับเข้าไปแทน

4.ขันน๊อตเข้าไปก่อนให้พอตึง  จากนั้นลดแม่แรงลงให้ล้อติดถึงพื้น

5.นำแม่แรงออก

6.นำบล็อกขันน๊อตล้อให้แน่นที่สุด เป็นอันเสร็จ

ดูแลยางรถยนต์ยังไงให้ใช้ได้นาน

การดูแลยางรถยนต์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสามารถใช้ยางรถยนต์ของเราได้นาน และมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถของคุณ ทั้งนี้ในการดูแลรักษายางรถยนต์มีดังนี้

1.เติมลมยางให้พอดี

หมั่นสังเกตลมยางอยู่เสมอ หากปล่อยให้ลมยางอ่อน ความร้อนจะสะสมในยางทำให้เกิดแผลที่ยางเหลืออาจจะระเบิดได้ หรือหากยางรถยนต์แข็งมากเกินไป อาจจะทำให้ดอกยางสึกเร็ว หรือเสี่ยงยางระเบิดได้เช่นเดียวกัน

2.สลับยางรถยนต์

เมื่อใช้ยางรถยนต์ไปสักระยะ ยางจะมีการสึกไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการสลับยางทุก 10,000 กม. เพื่อให้หน้ายางสึกเท่ากัน และหมั่นเช็คลมยางให้พอดีกับการใช้งานด้วย

3.ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เป็นการสร้างสมดุลให้กับล้อรถ หากศูนย์ถ่วงล้อรถไม่ดีจะทำให้พวงมาลัยสั่นขณะขับรถซึ่งอันตรายต่อการขับรถ ปกติแล้วหลังจากที่คุณเปลี่ยนยางรถยนต์ใหม่ทุก3 ปี หรือ 50,000 กม. จะมีการตั้งศูนย์ถ่วงล้อด้วย

4.เช็กดอกยางรถ

นอกจากจะเช็กลมยางแล้ว การเช็คดอกยางทุก 6 เดือน โดยดูจากสะพานยางหรือร่องนูนที่ร่องยาง ศึกษาเรื่องยางรถยนต์เพิ่มเติมได้ที่ (ลิงก์ไปที่บทความยางรถยนต์ คลิกที่นี่) หากคุณเห็นสะพานยางหรือยางมีรอยแตกแล้ว แสดงว่ายางรถยนต์เส้นนั้นหมดอายุต้องเปลี่ยนเส้นใหม่เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย

5.หลีกเลี่ยงถนนเป็นหลุม

สภาพถนนที่ไม่ดี เป็นหลุมเป็นบ่อ มีส่วนทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็ว เพราะรอยคมของเศษหินหรือแรงกระแทกจากการตกหลุมมีส่วนให้เกิดแผลที่ยางรถยนต์ แก้มยางบวมอาจทำให้เกิดขอบยางเสียเสี่ยงยางรถรั่วหรือยางระเบิดได้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงถนนชำรุด เป็นหลุม หรืออยู่ระหว่างการก็สร้าง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

ปัญหารถยางรั่วอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ใช้รถทุกคน อย่างน้อยควรเตรียมชุดปะยางฉุกเฉินติดรถไว้ เผื่อในยามที่เกิดปัญหารถยางรั่วขึ้นมา ก็สามารถทำการปะเบื้องต้นเพื่อขับรถไปหาอู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดูแลและถนอมยางรถยนต์ให้ใช้งานได้นาน ๆ เราควรจะหมั่นเช็คลมยางและเติมลมยางให้พอดี ไม่ปล่อยให้ขับรถยางอ่อนหรือยางแบน เพราะจะทำให้ยางรถรั่ว ทั้งนี้เพื่อการใช้งานที่อุ่นใจ แม้เกิดเหตุฉุกเฉินก็ยังมีคนคอยดูแลเรา แนะนำเลือกทำประกันรถยนต์ผ่อน 0% จากเฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน เลือกแผนประกันให้เหมาะกับคุณได้คลิกที่นี่ หรืออ่านรายละเอียดประกันรถยนต์เพิ่มเติมได้ที่นี่