อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นสิ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะหากเกิดขึ้นมาแล้วจะนำพาความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่บางครั้งอุบัติเหตุรถล้มเกิดขึ้นได้โดยไม่มีคู่กรณี เช่น ขี่รถฝนตกถนนลื่นแล้วเกิด รถล้ม เอง หากกรณีเช่นนี้ที่ไม่มีคู่กรณี จะสามารถเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาฝากค่ะ

เบิกพ.ร.บ.จักรยานยนต์ รถล้ม ไม่มีคู่กรณีได้หรือไม่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.กันอีกครั้งหนึ่ง พ.ร.บ.จักรยานยนต์ หรือพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ หรือประกันภัยภาคบังคับ คือการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และยานพาหนะทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันในเบื้องต้นให้กับผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี และบุคคลอื่นที่ประสบอุบัติเหตุ หรือกล่าวได้ว่าพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะคุ้มครองคนแต่ไม่คุ้มครองรถหรือทรัพย์สิน เช่น รถจักรยานยนต์ รถเก๋ง หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ เพราะเราจะไม่สามารถเดาได้เลยว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ เรียกได้ว่าเนื้อหุ้มเหล็ก โอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุทางรถ เช่น รถเฉี่ยวชน รถล้ม ย่อมมีสูงกว่าผู้ที่ขับรถยนต์ โดยเฉพาะในกรณีรถล้มเอง เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี หลายคนกังวลว่าหากรถล้มเองแล้วพ.ร.บ.จะคุ้มครองด้วยหรือไม่ คำตอบคือ รถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี ยังสามารถเบิกพ.ร.บ.ได้  โดยมีเงื่อนไขว่า พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ของรถคันนั้นจะต้องไม่หมดอายุ พ.ร.บ.ไม่ขาด เพราะหากพ.ร.บ.ขาดไปแล้ว จะไม่สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้เลย สำหรับกรณีรถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี จัดอยู่ในการเกิดอุบัติเหตุโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด โดย

ความคุ้มครองของพ.ร.บ.ร ถจักรยานยนต์ กรณีไม่มีคู่กรณี

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

จึงทำให้การทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จึงเป็นหลักประกันในเรื่องของความคุ้มครองคน การรักษาพยาบาลต่าง ๆ รวมไปถึงเงินชดเชยหากมีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอีกด้วย จะเห็นว่าการทำพ.ร.บ. หรือประกันภัยภาคบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการทำพ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก อย่างน้อยในส่วนของค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่ประสบภัยจากอุบัติเหตุครั้งนี้ จะได้รับการคุ้มครองในเรื่องของการรักษาพยาบาลและเงินชดเชยต่าง ๆ นั่นเอง แต่หากคุณไม่ต่อพ.ร.บ.รถ แล้วถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจจะมีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทและหากต่อ พ.ร.บ.รถเรียบร้อยแล้วแต่ไม่แสดงเครื่องหมายหรือติดป้ายสี่เหลี่ยมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

รถล้ม เบิกพ.ร.บ.ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

รถล้ม ไม่มีคู่กรณีสามารถเบิกพ.ร.บ.ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าพ.ร.บ.ของรถคันที่ประสบอุบัติเหตุจะต้องไม่ขาด ทั้งนี้หากพ.ร.บ.ไม่ขาด สามารถเตรียมเบิกพ.ร.บ.รถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี ต้องเตรียมเอกสารดังนี้

1.เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มีชื่อในหลักฐานว่าเป็นผู้ประสบภัย

2.ใบเสร็จเงินค่ารักษาพยาบาล

เบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

*หากค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงิน คุณยังสามารถได้รับสิทธิอื่น ๆ เช่น ประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือหากมีการทำประกันอุบัติเหตุไว้ ก็ยังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือค่าเสียหายเพิ่มเติมได้อีกด้วย

กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหาย เพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และ/หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

การจ่ายค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้นแต่หากมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนก็สามารถทำได้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย แต่หากผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น 

ไม่ใช่เจ้าของรถแต่ รถล้ม เบิกพ.ร.บ.ได้ไหม

พ.ร.บ. คือการทำประกันรถยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ทำให้รถทุกคันที่ต่อพ.ร.บ.จะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็น คนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ส่วนหากคุณไม่ใช่เจ้าของรถ สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่นั้น คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินเท้า ก็สามารถเบิกพ.ร.บในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยต่าง ๆ ได้

เราจะเห็นว่าการทำพ.ร.บ.รถนั้น มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่เอง จึงมีการบังคับให้ต่อพ.ร.บ.ทุกปีก่อนที่จะต่อภาษีรถประจำปีไม่ควรปล่อยให้พ.ร.บ.ขาด เพราะเท่ากับขาดความคุ้มครองทันที ทั้งนี้อัตราเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ.ที่จ่ายไม่แพงนัก แต่เมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้รับนั้นถือว่ามีความคุ้มค่า โดยอัตราเบี้ยประกันภัยแบ่งตามขนาดซีซีของรถดังนี้

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

ในส่วนของอัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะแบ่งตามประเภทของรถ โดยแต่ขนาดซี.ซี.ของรถก็จะมีอัตราของเบี้ยที่แตกต่างกัน ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็แยกเป็นอีกราคาหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดมีราคาดังต่อไปนี้         

รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล         

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท

เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.  323.14 บาท

เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.430.14 บาท

เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท

รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท     

รถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ  

ไม่เกิน 75 ซี.ซี.   –

เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.  376.64 บาท

เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.           

เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป     

แต่หากมีการทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ระยะยาว 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปี จะได้รับส่วนลดกรมธรรม์ แต่ละช่วงเวลาของกรมธรรม์ไม่เท่ากัน ดังนี้ กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 3 ปี จะได้ส่วนลด  50  กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 4 ปี จะได้ส่วนลด 75  บาท กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 5 ปี จะได้ส่วนลด 100 บาท โดยมีอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ระยะยาวดังนี้ 

รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 3 ปี 4 ปี 5 ปี
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 430.14 บาท 564.96 บาท 698.71 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 913.78 บาท 1,209.10 บาท 1,504.56 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 1,235.85 บาท 1,639.24 บาท 1,639.24 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 1,879.99 บาท 2,498.45 บาท 3,115.84 บาท
รถจักรยานยนต์รับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ      
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 1,074.28 บาท 1,424.17 บาท 1,772.99 บาท
 

หมายเหตุ: การรับประกันภัยในช่วงระยะเวลาที่เกิน 3 ปี แต่ไม่ถึง 4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยแบบเฉลี่ยรายวัน

 

แผลรถล้ม ดูแลยังไงให้หายไว

เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจไม่น้อยหลังจากประสบอุบัติเหตุทางรถโดยเฉพาะการขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรถชน รถล้มเอง หรือขี่ชนสิ่งกีดขวาง เป็นต้น  ไม่ว่าจะเจ็บมาก เจ็บน้อย แต่ก็ยังมีสิ่งที่ยังหลงเหลือตามร่างกาย คือ แผลรถล้ม หลายคนกังวลใจ กลัวจะรักษาไม่หาย วันนี้เรามีเทคนิครักษาแผลรถล้มให้หายไว ไม่ทิ้งรอยแผลให้กวนใจมาฝาก

1.ห้ามเลือดก่อน

ก่อนจะทำแผลรถล้ม จะต้องทำให้เลือดหยุดไหลเสียก่อน โดยการใช้มือกดบริเวณที่แผลออก ช่วยให้หลอดเลือดหดตัว แต่หากบาดแผลนั้นลึกและใหญ่ ให้นำมาสะอาดซับ และใช้มือกดเพื่อห้ามเลือด

2.ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ

ในการล้างแผลรถล้ม หลายคนอาจเคยใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำประปาในการล้างแผล เป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องมานัก เพราะ หากล้างด้วยน้ำประปา ซึ่งมีส่วนผสมของสารละลายไฮโปโทนิก อาจจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อสร้างใหม่ได้ ส่วนแอลกอฮอล์ แม้ว่าจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ แต่กลับไปทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายช้า จึงแนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดทำความสะอาดรอบบาดแผล โดยไม่สัมผัสกับบาดแผลโดยตรง เพราะฉะนั้นการล้างแผลรถล้มที่ถูกวิธี จึงจำเป็นต้องล้างบาดแผลด้วยน้ำเกลือ สำหรับล้างแผลโดยเฉพาะ  จะไม่ทำให้แสบที่แผลรถล้มแล้ว ยังรักษาสมดุลกับระดับน้ำในเซลล์ร่างกายนั่นเอง

3.ใส่ยา โพวิโดน-ไอโอดีน  

หลังจากที่ล้างแผลแล้วให้ใช้ โพวิโดน-ไอโอดีน ซึ่งเป็นยารักษาแผลสด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยนำไปชุบสำลีทาบาดแผลและเช็ดบริเวณรอบบาดแผล จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซเพื่อกันการสัมผัสเชื้อโรค แต่ถ้าหากบาดแผลรถล้มไม่ลึกนัก อาจจะไม่จำเป็นต้องปิดแผล เพื่อให้แผลรถล้มภายเร็วขึ้น 

4.พบแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น

หากพบว่าบาดแผลรถล้มยังไม่ดีขึ้น เลือดไม่หยุดไหล  ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไป

อาหารกับความเชื่อเรื่องแผลหายช้า

เรามักจะเคยได้ยินความเชื่อที่ว่าห้ามกินนั้น ห้ามกินนี่ เพราะจะทำให้บาดแผลรถล้ม หรือบาดแผลอื่นหายช้า  ซึ่งเรียกว่าของแสลง จากคนเฒ่าคนแก่กันมาบ้าง แต่เมื่อมานั่งคิดดูแล้ว อาหารแสลงบางชนิด กลับอุดมไปด้วยโปรตีน มีส่วนช่วยในการซ่อมแซมแผล สร้างเนื้อเยื่อใหม่ทำให้บาดแผลรถล้มหายเร็วอีกด้วย สำหรับอาหารไหนที่เชื่อว่าเป็นของแสลงสำหรับบาดแผล จะจริงจะเท็จยังไง เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

1.ไข่

เชื่อว่า ไข่ ยังเป็นหนึ่งในอาหารที่บางคนมักแนะนำว่าไม่ควรกิน หากอยากให้บาดแผลหายเร็ว เพราะว่าเป็นของแสลงบ้าง กินแล้วจะกลายเป็นแผลรถล้มเป็น หรือแผลนูน ๆ หรือที่เรียกว่า คีลอยด์บ้าง แต่ความจริงแล้ว ไข่ คืออาหารที่เต็มไปด้วยโปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื้อใหม่ ซ่อมแซมผิวที่สึกหรอ เรียกได้ว่าช่วยให้แผลรถล้มหายเร็วขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น ไข่ จึงเป็นอาหารที่ต้องกิน หากอยากให้แผลหายไวขึ้น  

2.เนื้อไก่ หรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ 

เนื้อสัตว์ยังคงเป็นแหล่งของโปรตีนเช่นเดียวกับไข่ แต่ควรจะกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก สะอาดค่ะ

3.อาหารทะเล

อาหารทะเลสามารถกินได้ตามปกติ แต่ควรจะปรุงสุก สะอาดเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ทั่วไปค่ะ 

4.หน่อไม้ แบบดอง-สด หรือของหมักดอง

หน่อไม้ หรือ ของหมักดอง ความเป็นจริงแล้วสามารถกินได้ แต่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของความสะอาด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วอาหารหมักดอง มักจะไม่ค่อยสะอาด อาจทำให้ทางเดินอาหารอาจจะติดเชื้อ ตามมา แต่เบื้องต้นการอดใจไม่กินอาหารหมักดอง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สักพักในระหว่างการรักษาแผลรถล้ม จะช่วยให้ร่างกายลดการติดเชื้อจากอาหารไม่สะอาดได้ค่ะ

หวังว่าบทความจะช่วยให้คุณหายสงสัยว่าหากขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว รถล้ม เอง ไม่มีคู่กรณี สามารถเบิกพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ หรือแม้คุณจะไม่ใช่เจ้าของรถก็สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้พ.ร.บ.รถ เป็นหลักประกันที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จะต้องต่อพ.ร.บ.ทุกปีไม่ให้ขาด เพราะถ้าหากพ.ร.บ.ขาดจะเท่ากับขาดความคุ้มครองทันที ทั้งนี้การทำพ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองแค่ตัวคนเท่านั้น ส่วนรถและทรัพย์สินอื่นจะไม่ได้รับความคุ้มครอง  แต่หากใครอยากได้ความคุ้มครองที่มากกว่าการทำพ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว ก็สามารถทำประกันรถภาคสมัครใจเพิ่มได้ เพิ่มความอุ่นใจให้กับการขับขี่ของคุณอีกด้วย ส่วนหากใครที่ขับรถยนต์ก็สามารถทำประกันรถยนต์เพิ่มความคุ้มครองให้กับการเดินทางได้เช่นกัน มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย ช่วยลดภาระหากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน แนะนำประกันภัยรถยนต์ผ่อน 0% ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน สนใจคลิก