การหมั่นดูแลรักษารถให้พร้อมใช้งานเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรทำอยู่เสมอ รวมไปถึงการนำรถไปตรวจเช็กสภาพ สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือแอร์รถยนต์ที่มีการใช้งานทุกวัน จำเป็นจะต้องดูแลรักษาเช่นเดียวกันด้วยวิธีการ ล้างแอร์รถยนต์ นั่นเอง แล้วเมื่อไหร่ที่รถของคุณต้องนำไปล้างแอร์ เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

คุณควร ล้างแอร์รถยนต์ เมื่อไหร่ดี

การบำรุงรักษารถยนต์ของคุณไม่ว่าจะเป็นการหมั่นตรวจเช็กลมยาง เช็กยางรถยนต์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะอย่างน้อยเราใช้งานรถเป็นประจำทุกวัน ย่อมจะมีการสึกหรอหรืออายุการใช้งานหมดลงของอะไหล่และชิ้นส่วนบางอย่าง หรือแม้กระทั่งจอดรถทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้มีการใช้งาน ก็ทำให้รถเสื่อมสภาพและรถเสียได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้มีสิ่งหนึ่งภายในรถที่มีการใช้งานอย่างหนักทุกวัน แต่เจ้าของรถบางคน อาจละเลยการดูแลรักษานั่นก็คือ แอร์รถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่การเดินทาง ด้วยการล้างแอร์รถยนต์  โดยปกติแล้วเราควรนำรถไปล้างแอร์รถยนต์ทุก 1 ปี หรือทุก 20,000 กม. หรือหากพบสัญญาณผิดปกติเกี่ยวกับการใช้แอร์รถยนต์ หากเจอ 4 สัญญาณเหล่านี้ถึงเวลาที่ต้องล้างแอร์รถยนต์แล้ว

1.แอร์รถไม่เย็น 

หลายคนคงหงุดหงิดใจไม่น้อยหากพบว่าแอร์รถยนต์ไม่เย็น หรือเร่งแอร์แล้วก็ยังไม่เย็น หรือแอร์รถไม่เย็นมีแต่ลมออกมา อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ท่อแอร์รั่วมีรอยแตก น้ำยาแอร์น้อยเกินไป  กรองแอร์อุดตัน คอมเพรสเซอร์แอร์ชำรุดหากมีอาการเหล่านี้อาจจะต้องมีการล้างแอร์รถยนต์ หรือนำรถไปตรวจเช็กแอร์รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถ

2.แอร์มีกลิ่นอับ   

แอร์รถมีกลิ่นอับมักพบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน อาจจะเกิดจากความชื้นที่สะสมตลอดการใช้งาน จึงควรนำรถไปล้างแอร์รถยนต์หรือนำรถไปตรวจเช็กแอร์รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถ โดยสาเหตุที่ทำให้รถเกิดกลิ่นอับในรถมีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก นอกจากกลิ่นอับของรถแล้ว หากรถยังมีกลิ่นแปลก ๆ ที่นอกเหนือจากกลิ่นอับภายในรถแล้วเช่น  กลิ่นเหมือนยางไหม้ กลิ่นเหมือนไข่เน่า กลิ่นเหมือนน้ำมันถูกเผา กลิ่นเหมือนผ้าโดนไฟเผา กลิ่นน้ำมันเบนซิน กลิ่นหวานเหมือนน้ำเชื่อม กลิ่นเหมือนผมไหม้ กลิ่นเหมือนขนมปังปิ้งไหม้ นั่นเป็นสัญญาณความผิดปกติเกี่ยวกับรถอีกเช่นกัน ต้องรีบนำไปตรวจเช็กเพื่อทำการแก้ไขโดยด่วน 

3.แอร์เสียงดังผิดปกติ   

หากพบว่าแอร์รถยนต์มีเสียงดังผิดปกติ เสียงแก็ก ๆ หรือเสียงแปลก ๆ  อาจเกิดจากมอเตอร์แอร์หรือคอมเพรสเซอร์อาจมีปัญหา ควรนำรถไปตรวจเช็กแอร์รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถ

4.มีน้ำหยดในห้องโดยสาร   

หากพบว่ามีหยดน้ำเกิดขึ้นภายในห้องโดยสาร อาจเกิดจากท่อแอร์ตัน นำรถไปตรวจเช็กแอร์รถยนต์ที่อู่ซ่อมรถ

หากพบว่าแอร์รถยนต์ของคุณเกิดสัญญาณเหล่านี้ เบื้องต้นควรจะนำไปล้างแอร์รถยนต์ ทั้งนี้การล้างแอร์รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

วิธีล้างแอร์รถยนต์มีกี่แบบ

การล้างแอร์รถยนต์นั้น ถือเป็นบำรุงรักษาแอร์รถยนต์ที่สำคัญ เพราะหากคุณใช้รถทุกวัน แน่นอนว่าแอร์รถยนต์จะต้องมีการใช้งานเป็นประจำเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการล้างแอร์รถยนต์จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรทำความเข้าใจและให้ความสำคัญ โดยวิธีการล้างแอร์รถยนต์นั้นหลายคนอาจจะสงสัยว่าจะการล้างแอร์รถยนต์เป็นยังไง เพราะแอร์รถยนต์ไม่เหมือนแอร์บ้าน เรามาดูกันเลยค่ะ

ล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้

การล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้ ได้ชื่อว่าแบบถอดตู้นั่นหมายความว่า จะต้องรื้อตู้แอร์ออกมาล้างทั้งหมด เอาแผงคอยล์ร้อนและแผงคอยล์เย็นออกมาล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ  ทุกซอกมุม แล้วจะต้องเติมน้ำยาแอร์ใหม่ เปลี่ยนไดเออร์กับวาล์วความดัน เรียกได้ว่าเปลี่ยนอุปกรณ์แอร์รถยนต์ใหม่ทุกชุด จะเสียเวลามากกว่าการล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ เพราะฉะนั้นการล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้ เหมาะสำหรับรถที่ระบบแอร์ผ่านการใช้งานมานาน

ล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้

การล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ เป็นการล้างแอร์ที่สะดวก ใช้เวลาน้อยกว่า โดยการล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ จะไม่ต้องรื้อคอนโซลรถแบบการล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้ แบบไม่ถอดตู้จะทำโดยการฉีดโฟมล้างคอยล์แอร์เย็นเข้าไปให้ทั่ว รอโฟมละลายประมาณ 15 -20 นาที และใช้แปรงสีฟันปัดสิ่งสกปรก แล้วฉีดน้ำเพื่อทำความสะอาดอีกครั้ง น้ำที่ชะล้างสิ่งสกปรกก็จะไหลออกจากท่อน้ำทิ้งต่อไป เพราะฉะนั้นการล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ เหมาะสำหรับรถใหม่หรือรถที่มีการดูแลรักษาแอร์รถยนต์อยู่เสมอ

ดูแลแอร์รถยนต์ด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องยาก

แอร์รถยนต์ คืออุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งภายในรถที่ช่วยเพิ่มความเย็นสบายในการเดินทาง ยิ่งเมืองไทยเป็นเมืองร้อน อากาศอบอ้าวเป็นส่วนใหญ่ หากไม่มีแอร์รถยนต์ค่อยช่วยให้ความเย็นสบายในการเดินทาง คิดว่าใครก็คงไม่อยากเดินทางด้วยรถยนต์ที่ไม่มีแอร์รถยนต์แน่นอน นอกจากนี้ในช่วงฤดูฝนแม้ว่าอากาศจะเย็นสบาย แต่เราก็ไม่สามารถขับรถโดยเปิดหน้าต่างได้ หรือครั้นจะปิดแอร์รถยนต์เพื่อเดินทางก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เนื่องจากในช่วงหน้าฝนหากเราปิดแอร์รถยนต์ อาจจะทำให้เกิดฝ้าที่กระจกรถ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นทัศนวิสัยภายนอกได้อย่างชัดเจนมากนัก แต่หากเปิดแอร์รถยนต์ด้วยอุณหภูมิที่เย็นจัดจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดฝ้าที่กระจกเช่นเดียวกัน เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถกับนอกรถไม่เท่ากันนั่นเองจึงทำให้เกิดฝ้าที่กระจกรถยนต์  ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไปผู้ใช้รถหลายท่านอาจเคยเจอปัญหาแอร์รถยนต์ไม่เย็นบ้าง แอร์รถยนต์ไม่เย็นมีแต่ลมบ้าง แอร์เสียไม่ทำงานบ้าง ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแอร์รถยนต์ที่มีปัญหามีราคาค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นการใช้แอร์รถยนต์ที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้แอร์รถยนต์มีปัญหา แอร์รถยนต์ไม่เย็น หรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น จึงเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทราบและนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องได้ โดยเราได้รวม 8 วิธีดูแลแอร์รถยนต์ให้เย็นฉ่ำไปนาน ๆ เหมือนตอนที่ถอยรถออกมาจากศูนย์ใหม่ ๆ กันค่ะ

ปิด A/C ก่อนถึงจุดหมาย

หากคุณกำลังขับรถยนต์ใกล้ถึงที่หมายแล้ว ให้ทำการปิดสวิตช์ A/C หรือเป็นสวิตช์ปรับอากาศ พร้อมกับการเปิดพัดลมระดับแรงสุด วิธีนี้จะช่วยให้ความเย็นและความชื้นออกจากระบบแอร์ ซึ่งความชื้นนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหากลิ่นอับภายในรถอีกด้วย 

ไม่เปิดกระจกขับรถบ่อย

ผู้ใช้รถบางคนอาจจะชอบขับรถเปิดกระจก เพื่อสัมผัสกับอากาศธรรมชาติโดยเฉพาะในช่วงเริ่มเข้าสู่หน้าหนาว แต่การเปิดกระจกขับรถบ่อยครั้ง จะทำให้ฝุ่นละออง เขม่าควันจากภายนอกเข้ามาอุดตันในตู้แอร์ ทำให้แอร์รถยนต์ตัน แอร์รถไม่เย็น หรือลมออกน้อยนั่นเอง

ล้างแอร์-เปลี่ยนไส้กรองแอร์

เขม่าควัน ฝุ่นละอองตามท้องถนน มักจะเกาฟะตามไส้กรองอากาศ แนะนำว่าคุณควรนำรถไปเปลี่ยนไส้กรองแอร์ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร แต่หากคุณจะต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่ฝุ่นเยอะ พื้นที่ก่อสร้าง การจราจรติดขัด ควรเปลี่ยนไส้กรองแอร์ทุก 10,000 กิโลเมตร นอกจากการเปลี่ยนไส้กรองแอร์แล้ว การล้างแอร์ทุก 2 ปี หรือทุก 30,000 กิโลเมตร ก็ยังช่วยกำจัดสิ่งสกปรกในระบบแอร์รถยนต์ได้ดีอีกด้วย

ไม่ควรตั้งอุณหภูมิแอร์ให้เย็นจัด

แม้ว่าแอร์รถยนต์จะสามารถปรับอุณหภูมิได้หลายระดับ แต่ถ้าอยากให้แอร์รถยนต์ของคุณเย็นไปนาน ๆ สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ ไม่ควรตั้งอุณหภูมิแอร์รถยนต์ให้เย็นจัดหรือปรับความเย็นของแอร์รถยนต์ให้เย็นจนสุด เพราะจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักจนเกินไป

เริ่มเปิดแอร์ใหม่ไม่เร่งแอร์เย็นจนสุด

ก่อนที่จะสตาร์ทรถยนต์เพื่อออกเดินทาง ให้ปิดปุ่ม A/C ก่อน เพื่อไม่ใช้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยทันที แต่ควรสตาร์ทรถอุ่นเครื่องยนต์ซักพักก่อนที่จะเปิดแอร์ต่อไป

ดูดฝุ่นภายในรถเป็นประจำ

แม้ว่าคุณจะขับรถยนต์โดยปิดกระจกรถทั้ง 4 ด้าน แต่ฝุ่นก็ยังสามารถเข้ามาในรถได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การดุดฝุ่นภายในรถเป็นประจำนอกจากจะลดการสะสมของฝุ่นและเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยให้ฝุ่นไม่เกาะหรือเข้าไปอุดตันในระบบแอร์ของรถอีกด้วย ทำให้อากาศภายในรถสะอาด หายใจโล่งมากยิ่งขึ้น

ไม่ควรใส่การบูรหรือพิมเสนไว้ในรถ

สมัยก่อนเรามักจะเห็นบางคนนิยมนำการบูรพิมเสนใส่ในถุงตาข่ายแขวนไว้ในรถ หรือน้ำหอมติดรถยนต์ เพื่อช่วยดับกลิ่นภายในรถบ้าง ช่วยให้มีกลิ่นหอมสดชื่นบ้าง แต่รู้หรือไม่การนำการบูรและพิมเสนใส่ไว้ในรถ ยิ่งเป็นอันตรายต่อระบบปรับอากาศภายในรถ เพราะการบูร พิมเสน หรือน้ำหอมติดรถยนต์ ออกฤทธิ์โดยการระเหิดไปทั่วภายในรถ แต่ส่วนผสมที่ระเหยออกไปนั้นมันจะไปเกาะในระบบแอร์ นานวันเข้าเมื่อส่วนผสมเหล่านี้บวกกับความชื้นภายในช่องแอร์ และฝุ่นละอองต่าง ๆ กลายเป็นสารเหนียวเกาะภายในตู้แอร์ ทำให้ตู้แอร์ตัน แอร์ไม่เย็นบ้าง ลมออกน้อยบ้าง หรืออาจหนักว่านั้นคือทำให้คอยล์เย็นถูกกัดกร่อนจนพังได้

หากแอร์ไม่เย็นให้รีบนำไปเช็ก

สุดท้ายแล้วหากคุณพบว่าแอร์รถยนต์ของคุณไม่เย็น  แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร แนะนำให้นำไปตรวจเช็กกับช่างซ่อมรถ เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่แท้จริงของว่าทำไมแอร์รถยนต์ของคุณไม่เย็นฉ่ำเหมือนเดิม โชคดีหน่อยก็อาจจะแค่น้ำยาแอร์รถยนต์ใกล้หมดหรือหากโชคไม่ดีนักอาจเกิดจากระบบแอร์รถยนต์ของคุณมีปัญหาต้องรีบทำการซ่อมต่อไป

การล้างแอร์รถยนต์ เป็นหนึ่งในวิธีการบำรุงรักษารถให้พร้อมใช้งานเสมอ เพราะหากแอร์รถยนต์ทำงานได้ตามปกติก็จะส่งผลให้การทำงานของเครื่องยนต์ทำงานได้ปกติเช่นเดียวกัน และยังช่วยให้รถประหยัดน้ำมันอีกด้วย หากไม่ทำการบำรุงรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วมาพบความผิดปกติในภายหลัง อาจจะต้องเสียเงินซ่อมแอร์รถยนต์ในภายหลังซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย ทั้งนี้หากพบสัญญาณผิดปกติเกี่ยวกับรถควรรีบนำรถไปเช็กความผิดปกติที่ศูนย์หรืออู่ซ่อมรถ เพื่อจะช่วยให้คุณพบสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้ทันอีกด้วย นอกจากการบำรุงรักษารถใช้พร้อมใช้งานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำเกี่ยวกับรถคือการทำประกันรถยนต์ เพื่อเป็นเกราะคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะให้ความคุ้มครองทั้งคน รถ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจากรถอีกด้วย สนใจเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสำหรับคุณ คลิก