ทุกวันนี้มิจฉาชีพมาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการหลอกเป็นสถาบันการเงินชื่อดัง หลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ หรือ โอนเงินก่อนขอสินเชื่อบ้าง  หรือการส่ง  sms หลอกกู้เงิน หรือได้รับรางวัลใหญ่ โดยส่วนใหญ่เหยื่อมักจะรีบโอนเงินให้มิจฉาชีพอย่างรีบร้อนโดยลืม ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ ที่ห้ามโอนเงินให้เด็ดขาด แล้วเราจะสามารถตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพได้อย่างไร

ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ โกงเงินออนไลน์ห้ามโอนเงิน 2566

เรามักจะเห็นข่าวการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพโกงเงินออนไลน์หลายรูปแบบ ทั้งนี้เราสามารถป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพเหล่านี้ได้โดยการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพก่อนทำธุรกรรมการเงิน สำหรับการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่ การตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพของเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศ การตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพของเว็บไซต์ Blacklistseller ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างเราทุกคนมาก เพราะเราสามารถตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพเบื้องต้นได้ผ่าน 2 ช่องทางนี้ ก่อนที่เราจะไปดูว่าเราแต่ละเว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพว่าใช้งานอย่างไรนั้น โดยลักษณะพฤติกรรมของมิจฉาชีพที่ใช้ในการหลอกเหยื่อ หลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ โกงเงินออนไลน์ จะมีลักษณะดังนี้

1.อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ

ถ้าหากมีสายโทรเข้ามาหาคุณแจ้งว่าโทรมาจากหน่วยงานต่าง ๆ อ้างว่าคุณมียอดค้างชำระทางด้านคดีข้อความจะต้องรีบจ่ายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกฟ้องหรือขั้นศาล ทั้งนี้สำหรับคนที่ลืมคิดไปว่าคุณไม่เคยทำอะไรผิดเลยจะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปได้อย่างไร อาจจะรีบโอนเงินเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกฟ้องศาลใหญ่โตแต่กลับกลายเป็นว่าถูกมิจฉาชีพหลอกเอาเงินไปเสียแล้ว

2.มีพัสดุตกค้าง

การสั่งและซื้อสินค้าออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติของคนสมัยนี้ จึงเป็นช่องให้แก็งคอลเซ็นเตอร์สวมรอยเป็นบริษัทส่งพัสดุ แล้วโทรแจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง หรือมีพัสดุเก็บเงินปลายทาง  ซึ่งเป็นคำลวงยอดฮิตที่หลายคนโดนกันมาแล้วจากข่าวที่เราพบเห็นกัน สำหรับคนที่สั่งของออนไลน์เยอะอาจจะจำไม่ได้ว่าสั่งอะไรไปก็โอนเงินของไปแล้ว มารู้ตัวอีกทีคุณไม่ได้เป็นคนสั่งสินค้านั้น ๆ เลย แต่เงินก็โอนไปให้มิจฉาชีพเรียบร้อยแล้ว
3.อ้างว่าโอนเงินผิด ขอให้คุณโอนเงินคืนมา

แก็งคอลเซ็นเตอร์จะโทรแจ้งว่าเขาโอนเงินผิด ขอให้คุณโอนเงินคืนให้ หรืออ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ สำหรับบางคนที่ไม่ทันเฉลียวใจและอาจจะโอนเงินให้แก็งคอลเซ็นเตอร์ไปเสียแล้ว 

4.ข้อเสนอที่น่าสนใจให้คุณเกิดความโลภ

นอกจากข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แก็งคอลเซ็นเตอร์ยังใช้ช่องโหว่จากความโลภของคน เช่น คุณได้รับเงินรางวัลจำนวนมาก แต่คุณจะต้องโอนเงินจำนวนหนึ่งมาเพื่อดำเนินการรับเงินรางวัลต่อไป เพื่อแลกกับเงินที่มากกว่าบางคนยอมเสียเงินจำนวนหนึ่งเพื่อหวังว่าจะได้เงินก้อนใหญ่ แต่กลับกลายเป็นว่าคุณได้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพเสียแล้ว

เราจะเห็นว่าการกู้เงินในปัจจุบันมีความง่ายและรวดเร็ว จึงทำให้หลายคนอาจหลงเชื่อและขอสินเชื่อที่ผิดกฎหมายและนำมาซึ่งการถูกหลอก ทั้งนี้เราสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้โดนหลอกได้โดยการ ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ ก่อนธุรกรรมทางการเงินจะได้ไม่เสี่ยงตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพดดังนี้

ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ www.bot.or.th

เบื้องต้นเราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธปท.หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย หากปรากฏชื่อและช่องทางติดต่อของผู้ให้บริการที่คุณสนใจ แสดงว่าเป็นผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมาย และสามารถติดต่อสอบถามผ่อนช่องทางที่ปรากฎได้ แต่หากไม่พบชื่อที่คุณค้นหา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ โดยขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพผ่านเว็บไซต์  www.bot.or.th มีดังนี้

1.เข้าหน้าตรวจสอบรายชื่อที่อยู่ Website สถาบันการเงินและ Non-bank คลิก

2.ข้อมูลจะแสดงรายชื่อสถาบันการเงิน สัญลักษณ์ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ

3.ช่อง “ค้นหา” .สามารถใส่ชื่อสถาบันการเงินที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นกด “Go”

หากพบรายชื่อสถาบันการเงินที่เราค้นหาแสดงว่าเป็นสถาบันการเงินที่ถูกกฎหมาย น่าเชื่อถือ สามารถทำธุรกรรมได้ โดยแนะนำว่าให้ติดต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ตามรายละเอียดที่ปรากฎไว้เพื่อจะได้ป้องกัน การแอบอ้างนำชื่อสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงมาหลอกได้ นอกจากเราจะตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่ถูกกฎหมายได้แล้ว เรายังสามารถตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพโกงเงินออนไลน์ที่เป็นบุคคลทั่วไปได้ดังนี้

ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ บัญชีคนโกง Blacklistseller

เว็บไซต์ Blacklistseller เป็นเว็บไซต์สำหรับเช็กรายชื่อคนโกงเงิน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มาจากโดยผู้บริโภคที่เคยมีประสบการณ์กับผู้ขายที่ทุจริต สามารถเข้ารายงานข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถตรวจสอบรายชื่อคนโกงได้ โดยข้อมูลที่สามารถนำมาเช็กนั้น มีดังต่อไปนี้ 

1.ค้นหาจาก เลขบัญชีธนาคาร เบอร์พร้อมเพย์ หรือเบอร์ทรูวอลเล็ท

2.ค้นหาจาก ชื่อหรือนามสกุล

3.ค้นจาก เลขบัตรประชาชน

หากมีประวัติการโกง ระบบจะแสดงชื่อ-นามสกุล รวมถึงสินค้า และยอดเงินทั้งหมดที่โกงเหยื่อไว้  นอกจากจะแสดงรายชื่อคนโกงเงินแล้ว เรายังสามารถแจ้งรายชื่อผู้ค้าออนไลน์ที่มีประวัติโกงเงินเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับคนอื่นที่เข้ามาตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเช็กเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ หรือเบอร์โทรแปลก ๆ ที่อาจจะเป็นมิจฉาชีพ หลอกขายของต่าง ๆ ได้

ตรวจสอบเบอร์โทรมิจฉาชีพผ่านโซเชียลมีเดีย

เดี๋ยวนี้เราจะพบว่ามีเบอร์แปลก เบอร์ที่ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย + ตามด้วยรหัสประเทศ เมื่อเรารับสายแล้วจะมีทั้งเสียงตอบรับอัตโนมัติบ้าง ไม่มีสัญญาณใด ๆ บ้าง เหล่านี้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน เบื้องต้นเราสามารถตรวจสอบรายชื่อเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพได้จาก 4 ช่องทางดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ ผ่าน Google

เพียงแค่นำเบอร์โทรต้องสงสัยไปค้นหาใน Google เพื่อตรวจสอบประวัติเบอร์โทรศัพท์ว่าเป็นของใคร  หากเบอร์ดังกล่าวเคยถูกใช้เป็นเบอร์หลอกลวง เป็นมิจฉาชีพ ก็จะขึ้นปรากฏข้อมูลให้ได้ทราบว่าเคยมีคนอื่นโพสต์บอกไว้บ้างหรือไม่ หรืออาจจะเบอร์ทางการของหน่วยงานไหนสักแห่งก็จะปรากฎให้ทราบได้เช่นกัน

  1. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ ผ่าน LINE

เบอร์โทรศัพท์บางเบอร์จะผูกไว้กับบัญชีไลน์ เราสามารถลองนำเบอร์โทรศัพท์นั้นไปค้นหาในช่องเพิ่มเพื่อน  อย่างน้อยถ้าเบอร์นั้นมีการผูกบัญชีไลน์ไว้ ก็จะเห็นว่าเบอร์โทรนั้นเป็นของใคร

  1. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ ผ่าน Facebook

นอกจาก google แล้ว เราอาจลองค้นหาเบอร์โทรศัพท์ ในช่องค้นหาของ Facebook ได้ เพื่อค้นประวัติของเบอร์โทรเช่นเดียวกับ google

  1. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ ผ่านแอปพลิเคชัน WHOSCALL

เชื่อว่าแอปพลิเคชัน WHOSCALL น่าจะเป็นแอปที่มีติดมือถือของใครหลายคน ไว้สำหรับเช็กเบอร์โทรศัพท์ และ sms แปลก ๆ ที่โทรเข้ามาหาเราได้ และยังสามารถรายงานเบอร์โทรแปลก หรือมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการเตือนภัยให้คนอื่นทราบได้เช่นเดียวกัน นอกจากเบอร์แปลกแล้ว ยังรายงานเบอร์โทรที่ปลอดภัยผ่านการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วเช่นกัน ช่วยให้คุณเห็นว่าเบอร์ไหนปลอดภัย เบอร์ไหนเป็นมิจฉาชีพควรหลีกเลี่ยง

โดนหลอกโอนเงินไปแล้ว ต้องทำอย่างไร

หากคุณเสียรู้ให้กับแก็งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพไปแล้ว ก่อนอื่นต้องตั้งสติ อย่าเพิ่งตกใจ คุณมีสิทธิ์ได้เงินคืน โดยสิ่งที่คุณควรทำต่อไปหลังจากที่โดนหลอกโอนเงินไปแล้ว คือ

1.เตรียมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุ (โอนเงินที่ไหนให้ไปแจ้งความที่เขตนั้น) ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่คุณรู้ว่าโดนหลอก โดยเตรียมเอกสารดังนี้

  •         บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
  •         หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาที่ให้กู้เงินในเพจหรือโพสต์ให้กู้ยืมเงินและทำให้หลงเชื่อ 
  •         หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, สเตทเมนต์ เป็นต้น
  •         หลักฐานในการติดต่อขอกู้เงิน รวมถึงข้อความการสนทนาในการกู้ยืมเงิน
  •         ข้อมูลมิจฉาชีพที่หลอกให้กู้ยืมเงิน เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้ , หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ,ที่อยู่ เป็นต้น
  •         หลักฐาน/ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดีและที่สำคัญแจ้งความประสงค์กับพนักงานสอบสวนว่า “ ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน

2.นำใบแจ้งความไปยื่นธนาคารที่เราโอนเงินไป (สาขาใดก็ได้) 

3.เมื่อบัญชีถูกอายัด จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ ต้องมาติดต่อไกล่เกลี่ยคืนเงิน หากไม่มาจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปกรณีเหล่านี้จะมีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้ตัวผู้กระทำผิด หากรู้ตัวว่าโดนโกงให้รีบไปแจ้งความภายใน 3 เดือนทันทีถึงจะมีโอกาสได้เงินคืน

วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

หลายครั้งที่เรามักเห็นข่าวคนโดนหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ราคาถูกบ้าง หรือเพื่อขอกู้เงินออนไลน์บ้าง โดยนอกจากความร้อนเงินจนลืมคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนแล้ว ความโลภก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลายคนยอมโอนเงินจำนวนไม่กี่ร้อยบาทหรือไม่กี่พันบาทเพื่อแลกกับเงินหลักหมื่นหลักแสนที่กำลังรออยู่ ทั้งนี้การรู้แนวทางป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้โดนหลอกโอนเงินค่ามัดจำ จึงเป็นสิ่งที่พึงระลึกอยู่เสมอ โดยมีแนวทางดังนี้

1.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโซเชียลมีเดียเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลของคุณไปใช้ในทางที่ผิด รวมไปถึงการเปลี่ยนรหัสเข้าโซเชียลมีเดียเป็นประจำ

2.หากได้รับข้อความให้โอนเงินไม่ว่ารูปแบบไหน ควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จกับหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง

3.ไม่โลภ เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินทอง

4.ติดตามข่าวสารบ้านเมืองและกลโกงของพวกมิจฉาชีพอยู่เสมอ

5.หากจำเป็นต้องกู้เงินเลือกผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธปท. ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย คลิก หากปรากฏชื่อและช่องทางติดต่อของผู้ให้บริการที่คุณสนใจ แสดงว่าเป็นผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมายและสามารถติดต่อสอบถามผ่อนช่องทางที่ปรากฎได้ แต่หากไม่พบชื่อที่คุณค้นหา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ  

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณและคนรอบข้างไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโกงเงินออนไลน์ หรือทางที่ดีเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อที่ถูกกฎหมายอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถเช็กรายชื่อสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของธปท.ตามข้างต้นนี้ได้เลย หากไม่พบรายชื่อสถาบันการ อาจเป็นไปได้ว่าคือมิจฉาชีพ หรือหากพบรายชื่อนั้นมีอยู่จริง ก็สามารถใช้ช่องทางติดต่อในเว็บไซต์ของธปท.ติดต่อสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้โดยตรงเพื่อป้องกันการสวมรอยของมิจฉาชีพนั่นเอง หรือยังสามารถเช็กรายชื่อ เลขที่บัญชีของมิจฉาชีพที่หลอกโกงเงินออนไลน์ได้ผ่านอีกช่องทางที่เราได้แนะนำไปแล้วเช่นกัน  ทั้งนี้หากคุณจำเป็นต้องใช้เงินด่วนแนะนำสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงินจากเฮงลิสซิ่ง สินเชื่อทะเบียนรถ เปลี่ยนรถเป็นเงินก้อน รถยังมีขับ สนใจคลิก