เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าภาษีรถแต่ละคัน ทำไมถึงจ่ายไม่เท่ากัน เขาคำนวณจากอะไร และคำนวณอย่างไรจึงออกมาเป็นตัวเลขภาษีรถที่เราต้องจ่ายในแต่ละปี เพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้น วันนี้เราจึงได้รวบรวมเกี่ยวกับภาษีรถยนต์ เพื่อช่วยให้เข้าใจและสามารถ เช็คภาษีรถ ด้วยตัวเองได้ง่ายขึ้น

เช็คภาษีรถ ก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี

ในแต่ละปีผู้ที่ใช้รถเป็นประจำ จะต้องเตรียมตัวเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถอยู่ 2-3 รายการด้วยกัน ได้แก่ค่าพ.ร.บ. ค่าภาษีรถ และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ก่อนที่จะเสียภาษีรถยนต์ในแต่ละปี คุณเคยลอง เช็คภาษีรถ ของแต่ละประเภทดูหรือไม่ว่ามีความแตกต่างกัน หรือเคยลองเช็คภาษีรถของตัวเองหรือไม่ว่าต้องเสียกี่บาท แล้วคิดจากอะไร ซึ่งการเช็คภาษีรถสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะคุณสามารถเช็คภาษีรถของตัวคุณเองได้ โดยการเช็คในเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก คลิกที่นี่ จากนั้นก็ทำการกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถที่ต้องการเช็คภาษีรถในปี 2565 ได้แก่

ประเภทรถ จังหวัด เลขทะเบียนรถ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนผู้ครอบครอง เมื่อเราทำการค้นหาจะพบว่าจะมีรายละเอียดทั้งหมายเลขทะเบียนรถ ประเภทรถ ลักษณะรถ วันสิ้นอายุภาษีปัจจุบัน วันสิ้นอายุภาษีปีต่อไป ค่าภาษีที่ต้องจ่าย เงินเพิ่มสำหรับรถที่เสียภาษีหลังครบกำหนดชำระ วันที่ครบกำหนดชำระ และสถานการณ์ตรวจสภาพรถ ซึ่งจะเห็นว่าเราสามารถเช็คภาษีรถของเราที่ต้องจ่ายจากเว็บกรมการขนส่งได้เลย และยังสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งได้อีกด้วย แต่สงสัยกันมั้ยค่ะว่าภาษีรถที่คุณต้องจ่าย เขาคิดจากอะไรและคำนวณอย่างไร สำหรับอัตราภาษีรถนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (c.c.) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ เป็นต้น ซึ่งเราจะแยกประเภทการเสียภาษีรถดังนี้

เช็คภาษีรถ ป้ายทะเบียนพื้นขาวอักษรดำ

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (c.c.)

ตั้งแต่ 1-600 c.c. – c.c. ละ 50 สตางค์

ตั้งแต่ 601-1,800 c.c. – c.c. ละ 1.50 บาท

ตั้งแต่ 1,801 c.c. ขึ้นไป – c.c. ละ 4 บาท

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%

อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%

อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%

อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%

อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%

ตัวอย่างการคำนวณเพื่อ เช็คภาษีรถ ต้องจ่ายกี่บาท

รถยนต์ A ขนาดเครื่องยนต์ 2.0 c.c. (ความจุกระบอกสูบที่แท้จริงอยู่ที่ 1,998 c.c.) อายุการใช้งาน 3 ปี เช็คภาษีรถที่ต้องจ่ายโดยคำนวณเป็นขั้นตอนดังนี้

อัตราภาษีต่อ c.c. จำนวน c.c.*อัตราภาษีต่อc.c. ภาษีที่ต้องจ่าย
1.600 c.c. แรก 0.5 บาท 600*0.5 = 300 300 บาท
2.601-1,800 c.c 1.50 บาท (1,800-600)*1.50 = 1,800 1,800 บาท
3.ส่วนเกินจาก 1,800 c.c. 4 บาท (1,998-1,800)*4 = 792 792 บาท
ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด 300+1,800+792 2,892 บาท

ในปีที่ 1-5 จะมีการเสียภาษีคงที่ ไม่มีส่วนลด แต่เมื่อเวลาผ่านไปรถยนต์คันนั้น ๆ มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดภาษีตามอายุการใช้งาน ยกตัวอย่างจากรถยนต์ยี่ห้อ A ดังนี้

อายุการใช้งาน ส่วนลดภาษี % การคำนวณ ภาษีที่ต้องจ่าย (บาท)
รถอายุใช้งาน 6 ปี 10% 2,892 – 10% 2,602.80
รถอายุใช้งาน 7 ปี 20% 2,892 – 20% 2,313.60
รถอายุใช้งาน 8 ปี 30% 2,892 – 30% 2,024.40
รถอายุใช้งาน 9 ปี 40% 2,892 – 40% 1,735.20
รถอายุใช้งาน 10 ปีขึ้นไป 50% 2,892 – 50% 1,446

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวอักษรเขียว

รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวอักษรน้ำเงิน

รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,600 บาท

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ด้วยเว็บกรมขนส่งทางบก

กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของรถมากขึ้นโดยไม่ต้องไปทำเรื่องต่อภาษีที่ขนส่ง ด้วยช่องทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้ง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.ในการชำระเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งการหักบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ชำระผ่านตู้ ATM หรือ Internet Banking ในแอปพลิเคชั่นธนาคารของเรา

5.รอป้ายภาษีอยู่ที่บ้านได้เลย ใช้เวลาในการจัดส่งประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ได้รับแล้ว อย่าลืมเอาไปเปลี่ยนแทนป้ายภาษีเดิมเลยนะ

เงื่อนไขรถสำหรับการยื่นต่อภาษีรถยนต์

– เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
– รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
– ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
– เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
– ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
– ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
– ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้กี่วัน

หลายคนอาจเคยเจอปัญหาลืมต่อภาษีรถยนต์ เพราะไม่ได้ดูวันที่ภาษีของรถตนเองหมด หรือยังไม่มีเวลาไปต่อภาษีจนภาษีหมด แต่ทั้งนี้เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนครบอายุภาษีหมด ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก หรือช่องทาง Drive Thru For Tax เลื่อนล้อต่อภาษี ขับรถผ่านช่องทางรับชำระภาษีโดยที่เราไม่ต้องลงจากรถ ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ

หากลืมไปต่อภาษีก็จะเสียค่าปรับที่ 1% ต่อเดือน ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ จะทำให้ค่าปรับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เราอโดนค่าปรับย้อนหลังหลายบาท นอกจากนี้หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ขนส่งจะระงับทะเบียนรถของเราทันที หากมีการกลับมาใช้รถคันนี้อีกครั้ง ต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ รวมไปถึงคืนป้ายทะเบียน และชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย หากรถที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ เนื่องจากจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน รถมีการจอดซ่อมนานหลายเดือน ก็สามารถยื่นขอระงับใช้รถชั่วคราวที่ขนส่งล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีในเวลานั้น และไม่ต้องเจอค่าปรับย้อนหลังจนอ่วม หรือเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก

ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง

ใกล้เข้าสู่ปี 2565 แล้ว หากใครที่กำลังจะเดินทางไกลหรือต้องเตรียมเสียภาษีรถยนต์ประจำปี 2565 จะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ค่ะ

1.เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนาการจดทะเบียนรถยนต์

2.เอกสารพ.ร.บ.รถยนต์

3.ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี

4.ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วสามารถยื่นต่อภาษีได้สำนักงานขนส่งจังหวัด เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ต่อภาษีออนไลน์ในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ที่ทำการไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นต้น หากลืมไปต่อภาษีก็จะเสียค่าปรับที่ 1% ต่อเดือน ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ จะทำให้ค่าปรับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เราโดนค่าปรับย้อนหลังหลายบาท นอกจากนี้หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ขนส่งจะระงับทะเบียนรถของเราทันที หากมีการกลับมาใช้รถคันนี้อีกครั้ง ต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ รวมไปถึงคืนป้ายทะเบียน และชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย หากรถที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ เนื่องจากจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน รถมีการจอดซ่อมนานหลายเดือน ก็สามารถยื่นขอระงับใช้รถชั่วคราวที่ขนส่งล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีในเวลานั้น และไม่ต้องเจอค่าปรับย้อนหลังจนอ่วม หรือเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก

 

การเช็คภาษีรถและคำนวณภาษีรถด้วยตัวเอง ช่วยให้ผู้ใช้รถอย่างเราได้ทราบถึงที่มาว่าภาษีรถที่เราต้องจ่ายทุกปีนั้น คิดจากอะไรและคำนวณอย่างไรบ้าง สำหรับรถที่มีอายุการใช้งาน 1-5 ปี จะมีการคิดภาษีรถคงที่ และเมื่อรถมีอายุการใช้งาน 6 ขึ้นไปไม่มีส่วนลด แต่เมื่อเวลาผ่านไปรถยนต์คันนั้น ๆ มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดภาษีตามอายุการใช้งาน ส่วนรถที่มีอายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป ก็จะมีการเสียภาษีคงที่ไปเรื่อย ๆ จนเลิกใช้รถคันนั้นนั่นเอง แต่หากกรณีที่ไม่มีการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ขนส่งจะระงับทะเบียนรถ หากมีการกลับมาใช้รถคันนี้อีกครั้ง ต้องทำการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ รวมไปถึงคืนป้ายทะเบียน และชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย หากรถที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ เนื่องจากจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน รถมีการจอดซ่อมนานหลายเดือน ก็สามารถยื่นขอระงับใช้รถชั่วคราวที่ขนส่งล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษี ค่าปรับย้อนหลังและค่าอื่น ๆ อีกค่ะ

Heng Call center : โทร 1361

คุยกับเจ้าหน้าที่ของเราแบบ real – time ได้ แถมยังสามารถ ปรึกษา สอบถามข้อมูล ได้ทันที ไม่ต้องรอนาน กดเลย

ทักแชทกับเจ้าหน้าที่ผ่าน FB:Hengleasing และ Line:@Hengleasing ของเรา แล้วรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

สมัครสินเชื่อออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง คลิก