การขับรถบนท้องถนน เชื่อว่าย่อมจะเคยเจอเหตุการณ์ที่สร้างความไม่พอใจในการขับขี่ของเพื่อนร่วมทาง หรือหนักกว่านั้นคืออาจจะโดนรถชนแล้วหนี ต้องตามหาคู่กรณีเพื่อรับผิดชอบแต่ไม่ใช่ว่าใครจะเดินเข้าไปที่ขนส่งขอ เช็คหมายเลขทะเบียนรถ ของคนอื่นได้ แล้วแบบนี้จะต้องทำอย่างไร บทความนี้มีคำแนะนำมาฝาก

เช็คหมายเลขทะเบียนรถ ตามหาคู่กรณีต้องทำอย่างไร

หากคุณเจออุบัติเหตุบนท้องถนนและสามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ได้ หรือเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง สิ่งที่หลายคนคิดจะทำต่อคือการเช็คหมายเลขทะเบียนรถของคู่กรณีเพื่อรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การเช็คหมายเลขทะเบียนรถของคนอื่นสามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถเช็คหมายเลขทะเบียนรถของคนอื่นได้ด้วยตัวเอง เพราะข้อมูลเหล่านั้นคือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่สามารถเช็คหมายเลขทะเบียนรถได้เอง แม้ว่าคุณจะเป็นผู้เสียหายก็ตาม ทั้งนี้ใช่ว่าจะหมดหนทางในการเช็คหมายเลขทะเบียนรถเพื่อตามหาเจ้าของรถมารับผิดชอบ เพราะโดยปกติแล้ว ผู้ที่ประสงค์จะเข้าตรวจสอบเช็คทะเบียนรถได้ ต้องแนบเอกสารตามกรณีดังนี้ เช่น ศาล ต้องมีหมายศาลหรือคำสั่งศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องมีหนังสือนำส่งเรื่องจากหน่วยงาน เพื่อยื่นขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูล ทนายความ ต้องมีสำเนาใบอนุญาตทนายความและสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือสำเนาใบแต่งทนาย หรือบริษัทประกันภัย ต้องมีสำเนาหนังสือแต่งตั้งเป็นตัวแทนบริษัทประกันภัย สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ เป็นต้น 

เอกสารขอเช็คหมายเลขทะเบียนรถ กรมการขนส่งทางบก

1.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

2.หนังสือรับรองนิติบุคคล (ฉบับจริงพร้อมสำเนา แนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนามให้ครบทุกคน) กรณีสำเนาต้องลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้ครบถ้วนพร้อมประทับตรานิติบุคคลในเอกสารทุกฉบับ (ถ้ามี) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนามทุกคน

3.หนังสือนำส่งเรื่องของหน่วยงานของรัฐขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร (ฉบับจริง) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร

4.สำเนาหนังสือแต่งตั้งเป็นตัวแทนบริษัทประกันภัย พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน กรณีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร

5.สำเนาใบอนุญาตทนายความ หรือสำเนาใบแต่งทนาย กรณีทนายความเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาเอกสาร สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจที่เกิดเหตุ (ฉบับจริง และสำเนา พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาให้ครบถ้วน)

ค่าธรรมเนียมขอตรวจสอบ เช็คหมายเลขทะเบียนรถ

1.ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท

2.ค่าขอค้นเอกสาร รถยนต์ ครั้งละ 50 บาท รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท

3.ค่ารับรองสำเนา แผ่นละ 20 บาท

โดยระยะเวลาในการดำเนินการ ตรวจสอบคำขอและเอกสารประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนี้

ความผิดจากการเช็คหมายเลขทะเบียนรถโดยพลการ  

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า การเช็คหมายเลขทะเบียนรถโดยพลการ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตราที่ 3 ระบุว่าผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5, 6, 7, 8, 9, 10 หรือ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมาตราที่ 5, 6, 7, 8, 9, 10 และ 11 คือความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นการกระทำที่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย แต่หากคุณคือผู้เสียหายจากการชนแล้วหนี และจำเป็นต้องตามหาคู่กรณีเพื่อมารับผิดชอบ จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

โดนชนแล้วหนี ประกันคุ้มครองหรือไม่

หลายคนที่ทำประกัน เมื่อเจอกรณีโดนรถชนแล้วหนีแบบนี้ อาจจะกำลังสงสัยว่าประกันรถยนต์ที่ทำไว้นั้น จะให้ความคุ้มครองในกรณีนี้หรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยรถยนต์ที่คุณเลือกเอาไว้ มาดูกันว่าประกันภัยรถยนต์ประเภทไหนที่ให้ความคุ้มครองในกรณีนี้บ้างค่ะ

1.ประกันรถยนต์ชั้น 1

สบายใจได้สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หากเกิดอุบัติเหตุโดนรถชนแล้วหนี ประกันจะคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย เพราะการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองทุกกรณีไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่มีก็ตาม ซึ่งทำให้คนที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เบาใจในเรื่องนี้ได้ เพราะสามารถเคลมได้ทุกกรณี

2.ประกันรถยนต์ชั้น 2+,3+

ประกันรถยนต์ชั้นนี้ ให้ความคุ้มครองกรณีรถชนรถเท่านั้น แต่หากสามารถระบุตัวตนหรือเลขทะเบียนรถได้ ก็สามารถนำมายืนยันกับบริษัทประกันเพื่อเคลมประกันหรือนำไปแจ้งความได้

3.ประกันรถยนต์ชั้น 3

ประกันรถยนต์ชั้น 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถของคู่กรณีเท่านั้น จึงทำให้ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าซ่อมและค่าเสียหายเองทั้งหมดนั่นเองค่ะ

สามารถศึกษาความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์แต่ละชั้นเพิ่มเติมได้ ที่นี่

จะเห็นว่ากรณีโดนรถชนแล้วหนี ผู้ที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องระบุตัวตนของคู่กรณีใด ๆ ส่วนประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะได้รับความคุ้มครองในกรณีนี้เช่นกัน แต่ต้องสามารถระบุตัวตนหรือเลขทะเบียนรถของคู่กรณีได้เท่านั้น แล้วสำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 3 หรือไม่ได้ทำประกันใดไว้เลย จะโดนชนฟรี เจ็บตัวฟรีใช่มั้ย คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะยังมีหน่วยงานที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ได้นั่นคือ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

โดนชนแล้วหนีไม่มีประกัน ต้องทำอย่างไร 

ใช่ว่ารถทุกคันจะทำประกันรถยนต์ติดรถเอาไว้ เพราะคิดว่าไม่น่าจะเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นกับเรา หรือทำประกันรถยนต์แล้ว แต่กลับไม่คุ้มครองกรณีโดนชนแล้วหนี แบบนี้จะโดนชนฟรีหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะยังมีหน่วยงานที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ได้นั่นคือ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ในกรณีที่ผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย หรือรถคันที่เกิดเหตุไม่ได้ทำประกันภัย พ.ร.บ.หรือไม่สามารถเรียกร้องได้ เช่น 

1.รถที่ก่อเหตุไม่มีพ.ร.บ. ไม่มีประกัน หรือเจ้าของรถไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหาย

2.รถที่ก่อเหตุเป็นรถที่ถูกขโมยและได้มีการแจ้งความไว้แล้ว

3.รถที่ก่อเหตุ ไม่มีใครมาแสดงว่าเป็นเจ้าของรถ

4.กรณีถูกชนแล้วหนี

5.บริษัทประกันไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ผู้เอาประกัน 

6.รถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่น รถยนต์หน่วยงานราชการ

เอกสารยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

ในการร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ให้ผู้ประสบภัยหรือทายาททำการยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 180 วัน โดยสามารถเดินทางไปยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ที่ สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต พร้อมเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

1.ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

2.ใบรับรองแพทย์

3.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย

4.สำเนาในมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)

5.สำเนาบัตรประชาชน+สำเนาทะเบียนบ้านของทายาท

6.สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เมื่อกองทุนฯได้จ่ายเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว จะไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากผู้กระทำผิดหรือเจ้าของรถผู้ประสบภัยต่อไป เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าการทำพ.ร.บ.รถยนต์มีความสำคัญต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก อย่าปล่อยให้ขาดต่อพ.ร.บ.เพื่อจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั่นเองค่ะ

ติดกล้องหน้ารถ หลักฐานสำคัญในการตามหาเจ้าของรถ

แม้ว่าคุณจะเป็นผู้เสียหาย แต่ก็ไม่สามารถเช็คหมายเลขทะเบียนรถ เพื่อทราบข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตัวเองได้ จำเป็นต้องทำเรื่องขอเช็คหมายเลขทะเบียนรถที่สำนักงานขนส่ง โดยเตรียมเอกสารที่ได้แจ้งไว้พร้อมหลักฐานที่ถูกชน ซึ่งหากคุณมีกล้องติดหน้ารถติดไว้ หลักฐานนี้เองสามารถนำไปเป็นเหตุผลในการขอเช็คหมายเลขทะเบียนรถ  เพื่อหาเจ้าของรถที่กระทำผิดมารับผิดชอบตามกฎหมายได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งบริการรับเช็คประวัติทะเบียนรถ แอพเช็คทะเบียนรถ ซึ่งเป็นการทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นอกจากจะประกอบเป็นหลักฐานในการเช็คประวัติทะเบียนรถเพื่อหาเจ้าของรถคันที่กระทำผิดแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับการเคลมประกันรถของผู้ที่ทำประกันภัยรถยนต์โดยเฉพาะชั้น 2+ ที่มีการคุ้มครองกรณีชนแล้วหนี แต่ต้องมีหลักฐานในการระบุตัวตนหรือเลขทะเบียนรถของคู่กรณีได้ ซึ่งวีดีโอจากกล้องหน้ารถยนต์  จะเป็นหลักฐานสำคัญในการเคลมประกันภัยรถอีกด้วย ปัจจุบันนี้กล้องติดหน้ารถยนต์มีให้เลือกหลายรุ่น หลายราคาตามความต้องการ และเมื่อเทียบกับการเป็นหลักฐานสำคัญในกรณีโดนชนแล้วหนีแบบนี้แล้ว การติดกล้องหน้ารถสักตัว ก็ถือว่ามีประโยชน์และคุ้มค่ามากทีเดียวค่ะ

ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถเดินเข้าไปในสำนักงานขนส่งเพื่อ เช็คหมายเลขทะเบียนรถ ของคู่กรณีได้ด้วยตัวเอง เพราะแม้ว่าคู่กรณีของคุณจะทำผิด เช่น ขับรถชนแล้วหนี ขับรถปาดหน้า หรือมีพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดีนัก จนคุณอยากจะเอาเรื่องคู่กรณีก็ตาม แต่ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลและถือเป็นความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อีกด้วย แต่ทั้งนี้หากคุณมีความเกี่ยวข้องกับคู่กรณี เช่น โดนชนแล้วหนีและมีหลักฐานยืนยัน ก็สามารถ  การยื่นคำร้องขอตรวจสอบเช็คประวัติทะเบียนรถของคู่กรณีได้ที่กรมการขนส่งทางบก พร้อมหลักฐานที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทั้งนี้อุบัติเหตุบนท้องถนนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แนะนำให้คุณทำประกันภัยรถยนต์เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุรถชน บริษัทประกันจะเข้ามาดูแลและเจรจากับคู่กรณีแทนคุณ และยังสามารถเคลมประกันกรณีรถชนได้อีกด้วย สนใจทำประกันรถยนต์ คลิก