“อยากซื้อประกันภัยรถยนต์ แต่ไม่รู้จะเลือกแบบไหน” หมดความกังวลเรื่องการเลือกซื้อประกันรถยนต์ไปได้เลย เพราะวันนี้เราจะมา เปรียบเทียบประกันรถยนต์ แต่ละชั้นกันว่า แบบไหนที่เหมาะกับคุณและรถของคุณบ้าง เพื่อเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ง่ายขึ้น

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ แต่ละแบบ

โดยทั่วไปรถของแต่ละคนหากได้ทำการต่อภาษีรถทุกปีนั่นหมายความว่า อย่างน้อยคุณจะได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.เช่นเดียวกัน ซึ่งการทำพ.ร.บ. หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมาย  หมายความว่ารถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดย พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคลลเท่านั้น หรือเรียกได้ว่า คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองรถ แต่ถึงเวลาจริงแล้วความเสียหายไม่ได้เกิดกับบุคคลเท่านั้น รถของคุณ หรือฝ่ายคู่กรณีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับพ.ร.บ.แล้ว หากอยากได้ความคุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ จึงเป็นคำตอบที่จะสามารถคุ้มครองได้ทั้งคน รถ ทรัพย์สินและคู่กรณีได้ โดยวันนี้เราจะลองมาเปรียบเทียบประกันรถยนต์แต่ละชั้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างของประกันรถยนต์แต่แบบ หลังจากที่คุณได้อ่านบทความเปรียบเทียบประกันรถยนต์นี้แล้ว อาจจะสามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ว่า จะเลือกทำประกันรถยนต์แบบไหนที่เหมาะกับคุณและรถของคุณได้บ้าง เรามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ไปพร้อมกันค่ะ 

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 1

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน สามารถเคลมได้แม้ไม่มีคู่กรณี รถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม

เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงสุด รถใหม่สภาพดีอายุไม่เกิน 7 ปี

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 2+

ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกัน สามารถเคลมได้ในกรณีที่มีคู่กรณี รถชนรถ / รถหาย /ไฟไหม้

เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการทำประกันเพื่อป้องกันกรณีรถชน ป้องกันรถหาย ไฟไหม้ หรือรถที่มีความเสี่ยงไฟไหม้ เช่น รถติดแก๊ส นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ ประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอายุรถเกิน 7 ปี หรือมูลค่ารถไม่ถึงเกณฑ์ที่บริษัทประกันกำหนด

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 3+

ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่น ไม่คุ้มครองรถหายหรือไฟไหม้

เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไหม้หรือการโจรกรรมต่ำ เช่น รถไม่ติดแก๊ส รถจอดภายในบ้าน เป็นต้น

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 3

ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี ไม่มีวงเงินซ่อมรถของผู้เอาประกัน

เหมาะสำหรับ ป้องกันความเสียหายจากการขับรถไปชนคันอื่น โดยผู้เอาประกันพร้อมรับผิดชอบค่าซ่อมของรถตัวเองได้หากจำเป็น

เมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์แล้ว จะเห็นว่าการทำประกันรถยนต์ ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความอุ่นใจในการใช้รถของคุณ ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถเก่า ก็ควรได้รับความคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุทั้งผู้เอาประกันเองและคู่กรณี รวมไปถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่าง ไฟไหม้ รถหาย หรือน้ำท่วม ทั้งนี้การเลือกซื้อประกันรถยนต์ สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับความเหมาะสมกับตัวรถและผู้ใช้ได้ตามนี้

เปรียบเทียบประกันรถยนต์

เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้นไหน เหมาะกับรถของคุณ

การทำประกันรถยนต์ ให้เหมาะสมกับแต่ละคน ควรพิจารณาจากพฤติกรรมหรือประวัติความเสี่ยงในการขับขี่รถมากน้อยแตกต่างกันไป รวมไปถึงอายุของรถประกอบกัน

อายุรถไม่เกิน 7 ปี หรือรถใหม่ป้ายแดง

แนะนำประกันรถยนต์ชั้น 1 เหมาะสำหรับผู้ที่ซื้อรถใหม่หรือซื้อรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี เพราะสามารถคุ้มครองได้มากที่สุด ทั้งกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถถอยชนต้นไม้ ขับรถเฉี่ยวเสา เป็นต้น และมีคู่กรณีทั้งผู้เอาประกัน คู่กรณี ตัวรถและทรัพย์สิน รวมไปถึง กรณีรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม

อายุรถเกิน 7 ปี แต่ต้องการความคุ้มครองไม่แพ้ชั้น 1

แนะนำประกันรถยนต์ชั้น 2+ เหมาะสำหรับผู้ต้องการประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองมาก แต่ไม่สามารถซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ เช่น รถที่มีอายุเกิน 7 ปี ก็ยังได้รับการคุ้มครองไม่แพ้รถใหม่ป้ายแดง

รถเก่า รถใช้งานน้อย หรือต้องการคุ้มครองเฉพาะคู่กรณี

ประกันรถยนต์ชั้น 3+ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีความเสี่ยงในระหว่างการขับขี่รถและยังไม่จำกัดอายุของรถ แต่ยังต้องการความคุ้มครองในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุ  จะให้ความคุ้มครองกับรถฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น เช่น ค่าซ่อมรถของคู่กรณี เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ โดยให้บริษัทประกันรถยนต์เป็นผู้รับผิดชอบเอง

ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ อยู่แล้ว จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์อีกหรือไม่?

หลายคนเมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์แล้ว อาจจะสงสัยว่าในเมื่อรถทุกคันมีการบังคับให้ทำพ.ร.บ.เพราะต้องใช้ควบคู่กับการต่อภาษีอยู่แล้ว เมื่อเป็นแบบนี้ยังจะมีความจำเป็นในการทำประกันภัยรถยนต์อีกหรือไม่ เรามาดูความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.กับประกันภัยรถยนต์ และประโยชน์ต่อผู้ทำประกันอย่างไรบ้างค่ะ

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร?

ประกันภัย พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมีลักษณะเป็นกระดาษสีเหลี่ยมสีชมพู น้ำเงินติดไว้ที่กระจกหน้ารถ โดยบังคับให้ผู้ขับขี่ทุกคนต้องทำ เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่ ซึ่งมีวงเงินคุ้มครองดังนี้

1.ความคุ้มครอง โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บทั้งผู้ขับขี่และคู่กรณี สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท

1.2 กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท

2.หากพิจารณาว่าเป็นฝ่ายถูกแล้ว วงเงินคุ้มครองเพิ่มขึ้นดังนี้

2.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท

2.2 กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

**แต่หากคุณเป็นฝ่ายผิด จะได้รับเงินคุ้มครองเฉพาะข้อ 1. เท่านั้น จึงเห็นได้ว่าการทำพ.ร.บ.ภาคบังคับนั้น ให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่หรือเน้นคุ้มครองตัวบุคคลเท่านั้น  แต่ไม่คุ้มครองรถ เช่น ค่าซ่อมรถ หรือความเสียหายของรถนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนอาจจะไม่กังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลมากนัก เพราะยังพอได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้จากการทำพ.ร.บ. การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประกันสังคม หรือจากการเคลมประกันอุบัติเหตุ แต่ในส่วนของค่าซ่อมรถ ค่าอะไหล่ เนื่องจากพ.ร.บ.ไม่คุ้มครองในส่วนนี้ ผู้ขับขี่จะต้องออกค่าซ่อม ค่าอะไหล่ต่าง ๆ เอง  เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในการซ่อมรถแต่ละครั้ง หลายคนมักจะเคยเจอ ราคาอะไหล่ ค่าซ่อมที่ค่อนข้างแพง บางเคสยังแพงกว่าค่ารักษาพยาบาลเสียอีก จึงทำให้จุดนี้เองการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ จึงเป็นตัวช่วยคุ้มครองในส่วนของตัวรถ ซึ่งประกันภัย พ.ร.บ.ไม่ได้คุ้มครองรถนั่นเอง

เราทำประกันรถยนต์ แทน พ.ร.บ.รถยนต์ได้ไหม?

เราจะเห็นว่าการทำประกันรถยนต์ ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันและคู่กรณี ทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือรถหาย* (เงื่อนไขเป็นไปตามแผนประกันของแต่ละบริษัท) ซึ่งคุ้มครองผู้ขับขี่ได้แทบจะทุกด้าน แต่หากจะทำประกันรถยนต์เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ทำพ.ร.บ.รถยนต์นั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประกันภัยพ.ร.บ.เป็นกฎหมายภาคบังคับ รถทุกคันต้องทำและต่อใหม่ทุกปีไม่ปล่อยให้ขาด เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถ ช่วยเหลือกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจากรถ แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายของรถ นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้พ.ร.บ.ขาด ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อแลกกับการต่อพ.ร.บ.ปีละไม่กี่บาท ทำให้การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ จึงเข้ามาซับพอร์ตในส่วนของความคุ้มครองตัวรถ ทั้งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น รถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ทั้งนี้เป็นไปตามแผนการคุ้มครองของประกันรถแต่ละชั้น แต่อย่างน้อยเมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับพ.ร.บ.แล้ว ประกันรถยนต์จึงเป็น ตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะหากเกิดอุบัติเหตุทางรถขึ้นมาประกันรถยนต์ประเภทนี้ และช่วยดูแล แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวรถนั่นเอง

หลายคนเมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์แล้ว แต่สุดท้ายอาจตัดสินใจไม่เลือกที่จะทำ เพราะคิดว่าน่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุทางรถกับตัวเอง แค่ขับขี่รถดี ๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว  และเรื่องของราคาประกันรถยนต์ ที่มีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งมีตั้งแต่ราคาหลายพันบาทจนไปถึงหลักหมื่นตามแผนความคุ้มครองแต่ละชั้น แต่เมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุทางรถแล้ว จะพบว่า เบี้ยประกันรถยนต์ที่จ่ายไปนั้น ให้ความคุ้มค่าและลดภาระค่าใช้จ่ายหนักที่อาจตามมาในภายหลัง เช่น ค่าซ่อมตัวถังรถ ค่าทำสีรถใหม่ที่มีราคาค่อนข้างสูง ค่าอะไหล่รถ โดยเฉพาะรถบางรุ่นที่หาอะไหล่ค่อนข้างยาก หรืออะไหล่ราคาสูง ทั้งนี้การซื้อประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันมีความสะดวก ง่าย  และที่สำคัญไม่ต้องมานั่งกังวลว่ากระเป๋าเงินจะฉีก เพราะการซื้อประกันรถยนต์วันนี้ สามารถผ่อนได้ 0% ไม่มีดอกเบี้ย แบ่งจ่ายได้ถึง 6 งวด แถมยังไม่ต้องใช้บัตรเครดิตอีกด้วย ซื้อง่าย ผ่อนจ่ายสบาย เพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนให้กับตัวคุณได้มากขึ้น ไม่ต้องลังเลว่าจะซื้อแล้วเสียเงินเปล่า เมื่อแลกกับความอุ่นใจและความคุ้มครองที่ได้แล้วถือว่าคุ้มมากเลยค่ะ สนใจข้อมูลประกันรถยนต์เพิ่มเติม คลิกที่นี่ หรือสอบถามได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้ค่ะ

Heng Call center : โทร 1361

คุยกับเจ้าหน้าที่ของเราแบบ real – time ได้ แถมยังสามารถ ปรึกษา สอบถามข้อมูล ได้ทันที ไม่ต้องรอนาน กดเลย

ทักแชทกับเจ้าหน้าที่ผ่าน FB:Hengleasing และ Line:@Hengleasing ของเรา แล้วรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

สมัครสินเชื่อออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง คลิก