เล่มทะเบียนรถยนต์ เอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่นอกจากจะใช้แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ยังเป็นเอกสารประจำตัวรถเหมือนบัตรประชาชนของเราเลยก็ว่าได้  ทั้งนี้หากคุณเผลอทำ เล่มทะเบียนรถยนต์หาย คุณจะต้องทำอย่างไร ต้องไปแจ้งความหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาฝากค่ะ

เล่มทะเบียนรถยนต์หาย ต้องแจ้งความหรือไม่?

เล่มทะเบียนรถยนต์  หรือ คู่มือจดทะเบียนรถ ถือเป็นเอกสารสำคัญเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของรถที่แท้จริง ซึ่งเล่มทะเบียนรถยนต์มี 2 สี ได้แก่ เล่มทะเบียนรถยนต์สีฟ้า สำหรับรถยนต์ และเล่มทะเบียนรถยนต์สีเขียว สำหรับรถจักรยานยนต์ นอกจากนี้เล่มทะเบียนรถยนต์ยังมีความสำคัญมากในการซื้อและขายรถ รวมไปถึงการขอสินเชื่อรถแลกเงิน แม้เล่มทะเบียนรถยนต์ จะเป็นเอกสารสำคัญมากแต่ก็ยังมีการเผลอทำให้เล่มทะเบียนรถยนต์หายไป เอกสารสำคัญเช่นนี้ หากเล่มทะเบียนรถยนต์หายต้องมีการแจ้งความ เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญ หากตกอยู่ในมือของมิจฉาชีพอาจถูกปลอมแปลง หรือถูกนำไปใช้กระทำการที่ผิดกฎหมายได้ จึงต้องมีการแจ้งความ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเล่มทะเบียนรถยนต์หายไปแล้วจริง โดยขั้นตอนการแจ้งความเล่มทะเบียนรถยนต์หายมีขั้นตอนดังนี้

การแจ้งความเมื่อ เล่มทะเบียนรถยนต์หาย

เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจ โดยแจ้งว่าทะเบียนรถยนต์หาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกใบแจ้งความ เพื่อให้คุณนำใบแจ้งความนี้ไปยื่นขอเล่มทะเบียนรถยนต์ใหม่ที่สำนักงานขนส่ง

เอกสารที่ใช้สำหรับขอเล่มทะเบียนรถยนต์ใหม่

1.ใบสำคัญแจ้งความ (รับได้ที่สถานีตำรวจ)

2.บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริงของเจ้าของรถ

3.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปแจ้งความเอง)

4.กรณีจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ให้นำหนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม

การยื่นเรื่องขอเล่มทะเบียนรถยนต์ใหม่ที่สำนักงานขนส่ง

1.นำใบแจ้งความไปยื่นขอเล่มทะเบียนรถยนต์ใหม่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดที่คุณจดทะเบียนไว้

2.ไปที่แผนกทะเบียน แจ้งว่าต้องการขอเล่มทะเบียนใหม่ จากนั้นกรอกแบบฟอร์มคำขอให้เรียบร้อยพร้อมกับยื่นเอกสารได้แก่ ใบแจ้งความ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริง) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเข้าของรถไม่สะดวกมาเอง) กรณีจดทะเบียนแบบนิติบุคคล เตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม

3.รับบัตรคิวรอรับเล่มทะเบียนรถยนต์เล่มใหม่ โดยเล่มทะเบียนจะประทับคำว่า “ออกแทนเล่มที่สูญหาย” กำกับไว้

เราจะเห็นว่าหากเล่มทะเบียนรถยนต์หาย มีขั้นตอนการขอใหม่ที่อาจจะยุ่งยากไปสักหน่อย ทางที่ดีควรจะเก็บรักษาเล่มทะเบียนรถยนต์ไว้ให้ดี ถ่ายสำเนาติดรถไว้ด้วย เพราะหากเล่มทะเบียนรถยนต์หายแล้วคุณจำเป็นที่จะต้องมีการซื้อขายรถหรือขอสินเชื่อรถแลกเงินที่ถูกกฎหมายจะไม่สามารถทำได้ เพราะหากมีการซื้อขายรถหรือขอสินเชื่อรถแลกเงินโดยที่ไม่มีเล่มทะเบียนรถ   ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่ารถคันนั้นอาจเป็นรถที่ผิดกฎหมาย ผู้ซื้อจะไม่สามารถทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นตัวเองได้ รวมไปถึงรถคันดังกล่าวอาจเป็นรถที่ถูกขโมยมานั่นเอง แต่เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินการขายรถที่เรียกว่ารถหลุดจำนำ ซึ่งมีราคาถูกกว่าราคาตลาด แต่สิ่งที่รถหลุดจำนำแตกต่างจากการซื้อขายรถที่ถูกกฎหมาย  นั่นก็คือ รถหลุดจำนำ ผู้ซื้อจะได้แค่ตัวรถเท่านั้น ไม่มีเล่มทะเบียนรถยนต์ ซึ่งแสดงความเป็นเจ้าของรถได้แต่อย่างใด  เรามาทำความรู้จักกับรถหลุดจำนำกันค่ะ

รถหลุดจำนำ คืออะไร

รถหลุดจำนำ คือรถที่เจ้าของรถได้นำไปจำนำไว้กับนายทุน พ่อค้า หรือคนที่รับจำนำ เวลาต่อมาเจ้าของรถไม่สามารถจ่ายค่างวดหรือส่งดอกเบี้ยต่อไปได้ ทำให้คนที่รับจำนำรถยึดรถไว้แล้วนำมาขายเป็นรถหลุดจำนำให้คนอื่นต่อ หรือส่งขายออกนอกประเทศ โดยส่วนใหญ่การจำนำรถมักจะจำนำแค่ตัวรถ ไม่มีเล่ม ส่วนการทำสัญญาเป็นการพูดปากเปล่า หรือแค่โอนลอยไม่ได้มีลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน  จึงทำให้รถหลุดจำนำคันนั้น ถึงซื้อขายไปแล้วไม่สามารถโอนให้กับผู้ซื้อคนใหม่ได้ เพราะไม่มีเอกสารของรถเลยสักอย่าง โดยรถหลุดจำนำส่วนใหญ่จะมีหลายแบบดังต่อไปนี้

รถติดไฟแนนซ์อยู่

รถหลุดจำนำส่วนใหญ่มักจะเป็นรถติดไฟแนนซ์หรือรถที่กำลังผ่อนอยู่ ทำให้กรรมสิทธิ์ของรถเป็นของไฟแนนซ์หรือธนาคาร ส่วนเจ้าของรถเป็นเพียงผู้ครอบครองเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินด่วน แต่ไม่สามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้เนื่องจากเล่มทะเบียนอยู่กับไฟแนนซ์ จึงทำให้เจ้าของรถนำรถไปจำนำไว้กับนายทุน พ่อค้า หรือคนที่รับจำนำรถและส่งเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะครบ ทั้งนี้หากเจ้าของรถไม่สามารถนำเงินไปไถ่ถอน พ่อค้าจึงยึดรถไว้และนำมาขายต่อในภายหลัง จึงทำให้รถคันนั้นกลายเป็นรถหลุดจำนำนั่นเอง

นอกจากนี้เจ้าของรถบางคนอาจจะผ่อนรถไม่ไหวและไม่ต้องการให้ไฟแนนซ์นั้นมายึดรถ เลยนำรถของตัวเองไปขายให้แก่พ่อค้า แต่ปัญหาคือเนื่องจากกรรมสิทธิ์ของรถยังเป็นของไฟแนนซ์ เมื่อเจ้าของรถนำรถที่ติดภาระผ่อนอยู่ไปขาย เท่ากับว่า ขโมยรถของไฟแนนซ์มาขาย หากคุณซื้อรถประเภทนี้จะเข้าข่ายรับซื้อของโจรอีกด้วย

รถถูกขโมย

บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวรถถูกขโมยจากคนอื่นแล้วนำมาขายเป็นรถหลุดจำนำ ราคาถูก เพราะพ่อค้าจะไม่สนใจที่มาของรถแต่อย่างใด เมื่อมีคนนำรถมาขายก็ทำการซื้อในราคาถูกเพื่อเอาไปขายเอากำไร แต่ก็ยังสามารถขายในราคาถูกได้ ส่วนขโมยที่นำรถมาขายก็หอบเงินหนีไปเรียบร้อย บางกรณีพ่อค้าจะนำเอาเล่มทะเบียนรถยนต์จากรถคันอื่นมาสวมรถหลุดจำนำ และทำการดัดแปลงเลขตัวถัง คนซื้อรถที่ไม่มีความรู้ก็อาจเดือดร้อนเพราะซื้อรถที่ถูกสวมทะเบียนมา มีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย

รถย้อมแมวขาย

นอกจากกรณีต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น พ่อค้าหัวใสบางรายยังเอารถที่เกิดอุบัติเหตุหนัก สภาพยับเยินเสียหาย หรือรถที่มีปัญหาซ่อมไม่จบ นำมาย้อมแมวทำขายให้ดูเป็นรถสภาพดีเพื่อนำขายในราคาที่ไม่แพง หรือบางคนนำทะเบียนจากอีกคันมาดัดแปลงเลขตัวถัง สวมทะเบียนรถใหม่แล้วขายต่อ นอกจากคนซื้อจะต้องเหนื่อยกับปัญหาจุกจิกของรถที่ซ่อมไม่จบสักที ยังอาจจะเสี่ยงต่อรถหลุดจำนำผิดกฎหมายอีกด้วย

เล่มทะเบียนรถ สำคัญอย่างไร?

เล่มทะเบียนรถ เป็นสมุดสำคัญที่มีรายละเอียดต่างๆของรถคันนั้น เช่น ประวัติการครอบครองรถ,เลขตัวถัง,ประวัติการเสียภาษีของเจ้าของรถ เป็นต้น เล่มทะเบียนรถยังสามารถใช้แทนทะเบียนรถได้ หากป้ายทะเบียนรถหายหรือทะเบียนรถชำรุด สามารถพกได้ทั้งเล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้ โดยเล่มทะเบียนรถแบ่งออกเป็น 2 สี ได้แก่ 

1.รถยนต์ เล่มทะเบียนรถสีน้ำเงิน

2.รถจักรยานยนต์ เล่มทะเบียนรถสีเขียว

นอกจากนี้รถบรรทุกก็ยังมีเล่มทะเบียนสีชมพู เรียกว่า หนังสือแสดงการจดทะเบียนซึ่งเป็นของรถบรรทุก

นอกจากนี้ในการต่อภาษีรถยนต์จำเป็นต้องมีเล่มทะเบียนรถหรือสำเนา เพื่อใช้ในการต่อภาษีรถประจำปีเช่นเดียวกัน โดยในการต่อภาษีรถประจำปีนั้น จะต้องเตรียมเอกสารและขั้นตอนในการต่อทะเบียนรถยนต์ดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อทะเบียนรถ

1.สำเนาคู่มือทะเบียนรถ หรือสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง

2.เอกสารการต่อประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่หมดอายุ

3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป )

ภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) กับ พ.ร.บ. ไม่เหมือนกัน

เชื่อว่าหลายคนมักเกิดความสับสนและเข้าใจผิด หรือเรียกผิดเรียกถูกระหว่างป้ายภาษี (ป้ายวงกลม) และพ.ร.บ. เพราะแม้ว่าทั้งสองอย่างจะต้องมีการต่ออายุควบคู่กันเป็นส่วนใหญ่ แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเรามาทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับ 2 สิ่งนี้ระหว่างภาษีรถยนต์กับพ.ร.บ.กันค่ะ

พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย ในกรณีที่ภาษีขาดแต่พ.ร.บ.ไม่ขาด หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พ.ร.บ.ก็จะยังให้ความคุ้มครองอยู่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นการทำพ.ร.บ.จึงเป็นสิ่งสำคัญและอย่าปล่อยให้พ.ร.บ.ขาดเด็ดขาด เพราะพ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองโดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท

2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท  

3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ส่วนป้ายวงกลม หรือ ป้ายภาษี คือเอกสารที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

เงื่อนไขรถสำหรับการยื่นต่อภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม)

  1. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
  3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
  4. รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
  5. ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
  6. เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  7. ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
  8. ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
  9. ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

เจ้าของรถสามารถนำรถไปต่อภาษีได้ทั้งทางเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก ,เลื่อนล้อต่อภาษี Drive Thru for Tax , ต.ร.อ. รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

เล่มทะเบียนรถยนต์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หาก เล่มทะเบียนรถยนต์หาย คุณจะต้องรีบไปแจ้งความทันที เพราะจากกรณีรถหลุดจำนำที่เราตัวอย่างไปข้างต้นนี้ จะเห็นว่าหากเล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณหาย แล้วตกไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพ ก็อาจจะถูกนำไปใช้สำหรับสวมทะเบียนรถหลุดจำนำคันอื่น นอกจากเล่มทะเบียนรถยนต์จะเป็นเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของรถที่แท้จริงแล้ว ยังสามารถนำเล่มทะเบียนรถยนต์นี้มาขอสินเชื่อเปลี่ยนรถเป็นเงิน เพื่อนำเงินก้อนไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ต่อยอดกิจการ เป็นทุนทำธุรกิจ หรืออื่น ๆ และสำหรับผู้ที่เพิ่งโอนรถมาเป็นชื่อของตัวเอง ก็สามารถนำรถมาเข้าไฟแนนซ์ขอสินเชื่อที่เฮงลิสซิ่งได้เลย สนใจสอบถามและสมัครสินเชื่อ คลิก