“กู้เงินออนไลน์ กู้ง่าย ได้เงินจริง โอนเงินเข้าบัญชีทันที” สำหรับคนร้อนเงิน ต้องการเงินด่วน หากเจอคำเชิญชวนเหล่านี้อาจจะหลงเชื่อ คล้อยตามได้ง่าย แต่จะมีเงื่อนไขหนึ่งผู้ปล่อยกู้จะบังคับให้ผู้กู้โอนเงินก่อนเป็นค่ามัดจำ ค่าดำเนินการ ค่าลัดคิว หรือเงินค้ำประกันก่อนกู้เงิน หากต้องการกู้เงิน โอนก่อนได้เงินจริงไหม เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

กู้เงินออนไลน์ โอนก่อนได้เงินจริงไหม  

ปัจจุบันนี้มีทั้งแอปพลิเคชันและบริการกู้เงินออนไลน์ ทำให้ผู้ที่กำลังมีปัญหาทางการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย แต่เรามักจะพบเห็นข่าวว่ามีหลายคนใช้บริการเงินกู้ออนไลน์แล้วถูกโกง เนื่องจากถูกหลอกให้โอนเงินก่อนขอสินเชื่อหรือขอกู้เงิน แต่ด้วยความเดือดร้อนเรื่องเงิน จนลืมคิดหน้าคิดหลังให้ดี จึงทำให้ใครหลายคนยอมตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพซึ่งมาในรูปแบบของเงินกู้ออนไลน์ที่มักจะให้ผู้กู้โอนเงินเป็นค่ามัดจำบ้าง ค่าดำเนินการ ค่าลัดคิว หรือเงินค้ำประกันก่อนกู้เงิน แต่สิ่งที่น่าเอะใจไม่น้อยสำหรับการกู้เงินออนไลน์ในลักษณะนี้ คือเหตุใดจึงต้องมีการโอนเงินให้คนแปลกหน้า ทั้งที่คุณกำลังเดือดร้อนเรื่องเงิน  การโอนก่อนได้เงินจริงไหม หากในมุมมองของคนร้อนเงินในเวลานั้น อาจจะไม่ได้เอะใจเลยว่าโอนก่อนได้เงินจริงไหม ผู้ปล่อยกู้ซึ่งไม่เคยเห็นหน้าคาดตากันจะไว้ใจได้หรือเปล่า หรือยังไม่ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ปล่อยกู้ก่อน แต่ก็ยอมทำตามในสิ่งที่เขาบอกเพื่อให้ได้เงินมาใช้ แม้ว่าบางคนจะตั้งคำถามในใจว่าโอนก่อนได้เงินจริงไหม แต่สุดท้ายแล้วกว่าจะรู้อีกทีก็ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพไปเสียแล้ว โดยรูปแบบที่กู้เงินออนไลน์มักหลอกให้โอนเงินก่อนมีลักษณะดังนี้

กู้เงินออนไลน์ หลอกโอนเงิน

มิจฉาชีพมักพัฒนารูปแบบการหลอกให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่มักใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร เสพข่าวสารต่าง ๆ จึงทำให้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางใหม่ที่มิจฉาชีพจะทำตัวเป็นผู้ให้บริการกู้เงินออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย เพื่อหลอกเอาเงินจากเหยื่อที่ตกหลุมพรางโดยรูปแบบการหลอกเหยื่อนั้นจะสร้างเพจการเงินในเฟสบุ๊กและยิงแอดโฆษณาไปยังกลุ่มที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเงิน หรือกลุ่มที่น่าจะต้องการใช้เงินและทำการค้นหาเงินเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบ เสนอโปรโมชั่นพิเศษจูงใจ และบางรายแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อที่เรารู้จักและเคยได้ยินชื่อ   เช่น ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่ใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีรายได้ สามารถได้เงินทันที เป็นการเล่นกับความต้องการเงินของเหยื่อ ทำให้ขาดการยั้งคิดและไตร่ตรองว่าสิ่งที่คุณกำลังเจอนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเป็นเรื่องหลอกหลวง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งเกิดเป็นคำถามที่ว่า “โอนเงินก่อนได้เงินจริงไหม” เพราะในขั้นตอนนี้ มิจฉาชีพที่อยู่ในรูปแบบของเงินกู้ออนไลน์จะให้เหยื่อโอนเงินก่อน โดยอ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียมในการดำเนินการบ้าง ค่ามัดจำ ค่าลัดคิว หรือเงินค้ำประกันก่อนกู้เงิน โดยค่าดำเนินการที่อ้างนั้นจะอยู่ที่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ขึ้นอยู่กับวงเงินที่ขอสินเชื่อ ยิ่งต้องการวงเงินกู้ที่สูงก็จะต้องจ่ายค่าดำเนินการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  ซึ่งเหยื่อจะถูกตะล่อมคุยไปเรื่อย ๆ จนยอมโอนเงินให้มิจฉาชีพเอง เมื่อเหยื่อยอมโอนเงินให้ตามที่ต้องการแล้ว มิจฉาชีพจะจบการสนทนาและหายไปพร้อมกับเงินที่ได้จากเหยื่อมาฟรี ๆ นั่นเอง จากพฤติกรรมดังกล่าวพอจะตอบคำถามที่ว่า 

“ โอนก่อนได้เงินจริงไหม ” 

คำตอบ  ไม่ได้ นอกจากจะไม่ได้เงินแล้วยังต้องถูกหลอกให้เสียเงินฟรีอีกด้วยนั่นเอง

แก๊งคอลเซ็นเตอร์

นอกจากรูปแบบของการปล่อยเงินกู้ออนไลน์แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการการเงินที่น่าเชื่อถือแล้ว ยังมีรูปแบบการหลอกลวงเหยื่อให้โอนเงินก่อน ซึ่งเราได้ยินกันจนชินหูนั่นก็คือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้ว่าจะมีการเตือนภัยกันบ่อยแค่ไหน แต่ก็พบว่ายังมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้มากขึ้นทุกวัน โดยรูปแบบอาจจะแตกต่างไปจากข้อแรกสักหน่อย แต่ผลที่ได้ไม่ต่างจากข้อแรกเลย เรามาดูกันว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์วิธีการคุยกับเหยื่ออย่างไร สัญญาณใดที่บ่งบอกว่าคุณกำลังจะตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และโอนก่อนได้เงินจริงไหมมาดูกันค่ะ

1.อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ

ถ้าหากมีสายโทรเข้ามาหาคุณแจ้งว่าโทรมาจากหน่วยงานต่าง ๆ อ้างว่าคุณมียอดค้างชำระทางด้านคดีข้อความจะต้องรีบจ่ายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกฟ้องหรือขั้นศาล ทั้งนี้สำหรับคนที่ลืมฉุกคิดไปว่าคุณไม่เคยทำอะไรผิดเลย จะมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปได้อย่างไร อาจจะรีบโอนเงินเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกฟ้องศาลใหญ่โต แต่กลับกลายเป็นว่าถูกมิจฉาชีพหลอกเอาเงินไปเสียแล้ว

2.มีพัสดุตกค้าง

การสั่งและซื้อสินค้าออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติของคนสมัยนี้ จึงเป็นช่องให้แก็งคอลเซ็นเตอร์สวมรอยเป็นบริษัทส่งพัสดุ แล้วโทรแจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง หรือมีพัสดุเก็บเงินปลายทาง  ซึ่งเป็นคำลวงยอดฮิตที่หลายคนโดนกันมาแล้วจากข่าวที่เราพบเห็นกัน สำหรับคนที่สั่งของออนไลน์เยอะอาจจะจำไม่ได้ว่าสั่งอะไรไปก็โอนเงินของไปแล้ว มารู้ตัวอีกทีคุณไม่ได้เป็นคนสั่งสินค้านั้น ๆ เลย แต่เงินก็โอนไปให้มิจฉาชีพเรียบร้อยแล้ว รวมไปถึง

3.อ้างว่าโอนเงินผิด ขอให้คุณโอนเงินคืนมา

แก็งคอลเซ็นเตอร์จะโทรแจ้งว่าเขาโอนเงินผิด ขอให้คุณโอนเงินคืนให้ หรืออ้างว่าเป็นเจ้านห้าที่หน่วยงานต่าง ๆ สำหรับบางคนที่ไม่ทันเฉลียวใจและอาจจะโอนเงินให้แก็งคอลเซ็นเตอร์ไปเสียแล้ว 

4.ข้อเสนอที่น่าสนใจให้คุณเกิดความโลภ

นอกจากข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แก็งคอลเซ็นเตอร์ยังใช้ช่องโหว่จากความโลภของคน เช่น คุณได้รับเงินรางวัลจำนวนมาก แต่คุณจะต้องโอนเงินจำนวนหนึ่งมาเพื่อดำเนินการรับเงินรางวัลต่อไป เพื่อแลกกับเงินที่มากกว่าบางคนยอมเสียเงินจำนวนหนึ่งเพื่อหวังว่าจะได้เงินก้อนใหญ่ แต่กลับกลายเป็นว่าคุณได้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพเสียแล้ว

จากตัวอย่างที่เราได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั้น พอจะช่วยตอบคำถามได้แล้วว่า 

“โอนก่อนได้เงินจริงไหม” 

คำตอบ  ไม่ได้ นอกจากเงินแสนแล้ว ยังต้องเสียเงินตัวเองจนหมดตัวอีกด้วย 

รู้ทันโจร ไม่อยากโดนหลอกต้องทำอย่างไร

เพราะการกู้เงินในปัจจุบันมีความง่ายและรวดเร็วจึงทำให้หลายคนอาจหลงเชื่อและขอสินเชื่อที่ผิดกฎหมายและนำมาซึ่งการถูกหลอก ทั้งนี้เราสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้โดนหลอกได้ด้วยวิธีดังนี้

1.ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธปท. หากปรากฏชื่อและช่องทางติดต่อของผู้ให้บริการที่คุณสนใจ แสดงว่าเป็นผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมายและสามารถติดต่อสอบถามผ่อนช่องทางที่ปรากฎได้ แต่หากไม่พบชื่อที่คุณค้นหา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ  

2.กู้เงินถูกกฎหมาย ไม่มีการขอค่าดำเนินการหรือโอนเงินก่อนขอสินเชื่อเด็ดขาด หากจะต้องมีการโอนเงินก่อน ควรจบการสนทนาได้โดยไม่ต้องลังเล 

3.หากจำเป็นต้องใช้เงินด่วนสามารถมองหาบริษัทสินเชื่อหรือสาขาของบริษัทสินเชื่อใกล้บ้านเพื่อที่คุณจะสามารถเดินเข้าไปสอบถามข้อมูลสินเชื่อกับเจ้าหน้าที่ของสาขาได้ทันที 

ทั้งนี้หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อถูกกฎหมาย มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการและตามกลุ่มอาชีพของคุณ แนะนำสินเชื่อที่ใช่จากเฮงลิสซิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อรถแลกเงิน รถมือสอง บ้าน สินเชื่อบุคคลสำหรับพนักงานประจำ และนาโนไฟแนนซ์สำหรับพี่น้องเกษตรกรและกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า 

โดนหลอกโอนเงินไปแล้ว ต้องทำอย่างไร

หากคุณเสียรู้ให้กับแก็งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพไปแล้ว ก่อนอื่นต้องตั้งสติ อย่าเพิ่งตกใจ คุณมีสิทธิ์ได้เงินคืน โดยสิ่งที่คุณควรทำต่อไปหลังจากที่โดนหลอกโอนเงินไปแล้ว คือ

 

 

1.เตรียมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุ (โอนเงินที่ไหนให้ไปแจ้งความที่เขตนั้น) ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่คุณรู้ว่าโดนหลอก โดยเตรียมเอกสารดังนี้

  • บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
  • หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาที่ให้กู้เงินในเพจหรือโพสต์ให้กู้ยืมเงินและทำให้หลงเชื่อ 
  • หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, สเตทเมนต์ เป็นต้น
  • หลักฐานในการติดต่อขอกู้เงิน รวมถึงข้อความการสนทนาในการกู้ยืมเงิน
  • ข้อมูลมิจฉาชีพที่หลอกให้กู้ยืมเงิน เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้ , หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ,ที่อยู่ เป็นต้น
  • หลักฐาน/ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี

และที่สำคัญแจ้งความประสงค์กับพนักงานสอบสวนว่า “ ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน

2.นำใบแจ้งความไปยื่นธนาคารที่เราโอนเงินไป (สาขาใดก็ได้) 

3.เมื่อบัญชีถูกอายัด จะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ ต้องมาติดต่อไกล่เกลี่ยคืนเงิน หากไม่มาจะดำเนินการตาม

กฎหมายต่อไปกรณีเหล่านี้จะมีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้ตัวผู้กระทำผิด หากรู้ตัวว่าโดนโกงให้รีบไปแจ้งความภายใน 3 เดือนทันทีถึงจะมีโอกาสได้เงินคืน

บทความนี้พอจะตอบคำถามให้คุณได้แล้วว่า โอนก่อนได้เงินจริงไหม คำตอบคือ นอกจากจะไม่ได้เงินแล้วยังทำให้คุณต้องเสียเงินและเสียใจที่ทำให้ความโลภหรือความไม่รอบคอบทำให้คุณเสียรู้มิจฉาชีพ และต้องจำไว้เสมอว่าการกู้เงินที่ถูกกฎหมายจะต้องสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ และที่สำคัญไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ามัดจำ ค่าธรรมเนียมหรือค่าอะไรต่างก่อนการกู้เงินเด็ดขาด ทั้งนี้หากมีการอ้างว่าต้องมีการจ่ายเงินก่อนไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อ หรือการได้รับเงินรางวัลต่าง ๆ หากมีการจ่ายเงินก่อนขอให้รู้เลยว่านั่นคือมิจฉาชีพ อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ทั้งนี้การเลือกสินเชื่อกับผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ มีสาขาให้บริการชัดเจน และมีช่องทางติดต่อหลากหลาย มีส่วนช่วยให้คุณสามารถกู้เงินได้อย่างถูกกฎหมาย สบายใจ ไม่ต้องระแวงว่าจะโดนหลอกหรือไม่ สัญญาและดอกเบี้ยที่เป็นธรรม แนะนำสินเชื่อจากเฮงลิสซิ่ง มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ เลือกสินเชื่อที่คุณสนใจ คลิก

* เฮงลิสซิ่ง ไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อขอสินเชื่อใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตาม หากมีข้อสงสัยหรือพบเบาะแสการแอบอ้างสามารถแจ้งได้ที่ Call Center. 1361