เนื้อหาของบทความ

ผู้ขับขี่รถทุกคนจะต้องพกใบขับขี่ติดตัวไปด้วยเสมอ แต่เมื่อไหร่ที่คุณทำ ใบขับขี่หาย จะต้องไปทำเรื่องขอใบขับขี่ใหม่โดยด่วน เพราะหากมีเจ้าหน้าที่เรียกตรวจแต่ไม่มีใบขับขี่ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะมีโทษปรับต่าง ๆ ตามมาและมีผลต่อการเคลมประกันต่อไป ทั้งนี้หากใบขับขี่หายต้องทำอย่างไร เรามีคำแนะนำมาฝาก 

ใบขับขี่หาย ต้องทำอย่างไร

ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ เป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกเป็นใบอนุญาตให้ผู้ขับขี่รถสามารถขับขี่รถได้อย่างถูกกฎหมาย หากผู้ขับขี่ไม่พกใบขับขี่ หรือใบขับขี่หายไม่สามารถนำมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ได้ กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษกรณีไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ ได้แก่ หากขับรถโดยไม่มีใบขับขี่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ตามมาตรา 64 ความว่า ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้หากใบขับขี่หาย หากเป็นรถส่วนบุคคลไม่ต้องแจ้งความ  แต่เมื่อรู้ตัวว่าใบขับขี่หายจะต้องมีรีบดำเนินการขอใบขับขี่ใหม่แทนใบขับขี่หาย โดยใบขับขี่หาย สามารถยื่นเรื่องขอใบขับขี่ใหม่ ดังนี้

  1.   ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue 
  2.   เข้าสู่ระบบโดยใช้บัตรประชาชน
  3.   กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วนและสร้างรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่ระบบ
  4.   เลือกสำนักงานขนส่งที่ต้องการจองคิวทำใบขับขี่
  5.   เลือกประเภทงานบริการเป็น งานใบอนุญาต
  6.   เลือกประเภทบริการที่ต้องการ เช่น ต่อใบขับขี่ 2 ปีเป็น 5 ปี หรือต่อใบขับขี่ 5 ปีเป็น 5 ปี เป็นต้น
  7.   เลือกวันและเวลาที่ต้องการจองคิว จากนั้นยืนยันการจอง
  8.   แคปภาพหน้าจอไว้เป็นหลักฐานแสดงแก่เจ้าหน้าที่ที่กรมขนส่งในวันนัดหมาย

เอกสารที่ต้องเตรียมในวันนัดหมาย 

1.บัตรประชาชนฉบับจริง

2.ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน ประทับตราสถานพยาบาลชัดเจน

3.หลักฐานการจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน

ขั้นตอนการทำใบขับขี่ใหม่กับกรมการขนส่ง

1.ยื่นเอกสารและหลักฐานการจองคิวผ่านแอป 

2.เขียนใบคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่

3.ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

4.ชำระค่าธรรมเนียม

5.รอรับใบขับขี่ใหม่

ค่าใช้จ่ายในการขอทำใบขับขี่ใหม่ (กรณีสูญหาย)

ค่าธรรมเนียมคำขอ ฉบับละ 5 บาท

ค่าธรรมเนียมใบแทนกรณีสูญหายหรือชำรุด 100 บาท

ค่าบริการถ่ายรูปและพิมพ์ใบอนุญาตขับรถ 100 บาทรวมเป็น 205 บาท

ใบขับขี่มีกี่ประเภท  

รู้หรือไม่ว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท สำหรับใบขับขี่มีกี่ประเภท  คำตอบคือ 4 ประเภท ได้แก่ ใบขับขี่ประเภท 1, ใบขับขี่ประเภท 2, ใบขับขี่ประเภท 3 และใบขับขี่ประเภท 4 โดยสิ่งที่กำหนดว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท แบ่งตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ โดยใบขับขี่มีกี่ประเภท สามารถจำแนกได้ดังนี้

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 1

ใบขับขี่ประเภท 1 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่น้ำหนักรถและน้ำหนักรถบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.1 และใบขับขี่ ท.1 ใช้ขับรถแท็กซี่ หรือรถตู้ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี  และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 2

ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.2 และใบขับขี่ ท.2 ใช้ขับรถเมล์, รถบัส, รถบรรทุกสินค้า หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 3

ใบขับขี่ประเภท 3 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุก ได้แก่ ใบขับขี่ บ.3 และใบขับขี่ ท.3 ใช้ขับรถพ่วง, รถ 10 ล้อ หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 4

ใบขับขี่ประเภท 4 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ ใบขับขี่ บ.4 และใบขับขี่ ท.4 ใช้ขับรถขนส่งเคมี, รถบรรทุกเชื้อเพลิง มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่ บ.1-บ.4 คืออะไร?

เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท ในหัวข้อนี่เราจะพูดถึง ใบขับขี่ บ.1-บ.4 ว่าคืออะไร แล้วใบขับขี่มีกี่ประเภท โดยใบขับขี่ บ.1-บ.4 เป็นใบอนุญาตขับขี่รถประเภททุกประเภท (ท.) ใช้ขับรถรับจ้างขนส่งสินค้าหรือบุคคล รถขนส่งสินค้าในธุรกิจขนส่ง หรือรถโดยสารสาธารณะที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง เพื่อการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก ใช้แทนได้ทั้งใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ โดยประเภทของใบขับขี่ บ.1-บ.4 คืออะไรมีดังนี้

ใบขับขี่ ท.1

ใบขับขี่ ท.1 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภททุกประเภท (ท.) ชนิดที่ 1 คือ ใบขับขี่สำหรับใช้ขับรถบรรทุกขนส่งทั้งแบบประจำทาง ไม่ประจำทาง หรือขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่มีน้ำหนักรถรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน

ใบขับขี่ ท.2

ใบขับขี่ ท.2 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 2 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางสำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมกันเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน

ใบขับขี่ ท.3

ใบขับขี่ ท.3 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 3 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถลากจูงรถอื่นหรือลากล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งของ

ใบขับขี่ ท.4

ใบขับขี่ ท.4 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 4 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิด และลักษณะการบรรทุกที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 นอกจากใบขับขี่มีกี่ประเภทแล้ว นอกจากนี้ใบขับขี่รถยนต์ยังแบ่งแยกออกเป็นชนิดของรถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ แบ่งได้ 11 ชนิด ตามชนิดของรถและการใช้งานทั้งแบบบุคคล และสาธารณะ ดังต่อไปนี้

ใบอนุญาตขับขี่รถชนิดชั่วคราว

ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว ถือเป็นใบขับขี่ใบแรกที่ผู้ขับขี่เริ่มต้นจะได้รับหลังจากที่สอบใบขับขี่ผ่านแล้ว ไม่ว่าคุณจะสอบใบขับขี่ประเภทไหนก็จะได้ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราวนี้ก่อน ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ประเภท ได้แก่

ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบขับขี่ขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลจะได้หลังจากที่ใช้งานใบขับขี่ชั่วคราวมาครบตามอายุใช้งาน โดยจะมีอายุการใช้งานใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี  ค่าธรรมเนียม 500 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคล คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์สามล้อจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือต่ออายุใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ

ใบขับรถยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีขึ้นไป มีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 300 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ

ใบขับขี่รถสามล้อสาธารณะ หรือรถตุ๊กตุ๊กที่เราเห็นกันคุ้นตา คือ ใบขับขี่รถตุ๊กตุ๊กสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือแบบตลอดชีพ และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ มีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับวินมอเตอร์ไซค์  ไรเดอร์ขับรถส่งอาหารหรือส่งของตามแอปพลิเคชันที่เราคุ้นเคย  อายุผู้ขอใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 20 ปี และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว

ใบอนุญาตขับรถบดถนน

ผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่รถบดถนน ผู้ขอใบขับขี่ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และต้องผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยใบขับขี่รถบดถนนมีอายุใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร มีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท และผู้ขอใบขับรถแทรกเตอร์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นๆ

ใบอนุญาตขับรถประเภทอื่น คือ ใบอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นมีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 100 บาท และผู้ขอใบขับรถชนิดอื่นๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์

ใบขับขี่ระหว่างประเทศหรือใบขับขี่สากล คือ ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีไม่จำกัดอายุผู้ขอทำใบขับขี่สากล แต่ผู้ขอจะต้องใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้วเท่านั้น

การตัดแต้มใบขับขี่ 2566

การตัดแต้มใบขับขี่ หรือระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ 2565 ซึ่งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เริ่มใช้ระบบการตัดแต้มใบขับขี่ 2566 หรือระบบตัดแต้มใบอนุญาตขับรถ 2566 เพื่อป้องปราบและลดการกระทำผิดซ้ำของผู้ขับขี่รถ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 142/1  โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ม.ค. 2566  ซึ่งจะเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่เพิ่มเติมจากการออกใบสั่งเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามปกติ ภายใต้สโลแกน “มุ่งเน้นการสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัย  ให้โอกาสแก้ไขไม่กระทำผิดซ้ำ สร้างความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย  และเป็นมาตรฐานสากล” โดยก่อนที่เราจะมาดูหลักเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่นั้น เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าในการตัดแต้มใบขับขี่ 2566 ผู้ที่มีใบขับขี่ทุกคนจะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนนเต็ม หากมีการกระทำผิดก็จะถูกตัดแต้มใบขับขี่ตามกลุ่มความผิดที่แบ่งออกเป็น 4 ระดับการตัดแต้มใบขับขี่ ใน 20 ฐานความผิดที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ  จะถูกตัดแต้มใบขับขี่เมื่อทำผิดทันที  โดยการตัดแต้มใบขับขี่จะดำเนินการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ใช้ระบบฐานข้อมูลใบสั่ง PTM ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบันทึกการทำผิดกฎจราจรและตัดแต้มใบขับขี่ในแต่ละครั้ง 

หมายเหตุ : Police Ticket Management หรือ PTM คือระบบจัดการใบสั่งออนไลน์ คลิก ผู้ขับขี่สามารถเข้าไปตรวจสอบใบสั่งจราจรได้ และยังสามารถจ่ายค่าปรับจราจรได้ที่ แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT แอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือชำระที่สถานีตำรวจ,​ ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม แล้วหากไม่จ่ายค่าปรับจราจรยังมีผลต่อการต่อภาษีรถ อ่านเพิ่มเติม คลิก

เกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 2566

ผู้ที่มีใบขับขี่ทุกคนจะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนนเต็ม จะถูกตัดแต้มใบขับขี่เมื่อทำผิดทันที โดยเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 2566 จะแบ่งกลุ่มความผิดออกเป็น 4 ระดับ 20 ฐานความผิดที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

ใบขับขี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องพกติดตัวเสมอ หากใบขับขี่หายจะต้องรีบดำเนินการขอใบขับขี่ใหม่โดยด่วน เพราะหากเจ้าหน้าที่ขอเรียกดูแล้วไม่มีใบขับขี่มาแสดง จะมีโทษปรับตามมา นอกจากนี้ในส่วนของการเคลมประกันรถยนต์ หากผู้ขับขี่มีใบขับขี่ ถึงจะไม่ใช้เจ้าของรถก็ยังพอสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ หรือ ถ้าประกันรถคันนั้นไม่ระบุชื่อด้วยแล้วจะทำให้การเคลมประกันเป็นไปได้อย่างง่ายและเคลมได้เต็มสิทธิมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องมีใบขับขี่อีกด้วย ทั้งนี้ใบขับขี่รถจึงมีความสำคัญในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้นอกจากอย่าปล่อยให้ใบขับขี่หมดอายุ หรือทำใบขับขี่หายแล้ว การต่ออายุพ.ร.บ.ต่อเนื่อง  ไม่ปล่อยให้พ.ร.บ.ขาด เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องให้ความสำคัญด้วย เพราะการทำพ.ร.บ.คือหลักประกันว่าคุณจะได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิดทั้งนั้น รวมไปถึงได้รับเงินชดเชยหากทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงการทำประกันรถภาคสมัครใจ เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งคน รถและความเสียหายต่าง ๆ สนใจทำประกันรถยนต์ คลิก