ไฟหน้าปัดรถยนต์  คือระบบที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรถและสถานะของรถ โดยจะมีสัญลักษณ์แสดงความผิดปกติของรถหลายสัญลักษณ์ โดยวันนี้เราจะพูดถึง ไฟเตือนเครื่องยนต์ ซึ่งหากปรากฎให้เห็นแสดงว่าเกิดปัญหากับเครื่องยนต์  โดยเครื่องหมายที่แสดงนั้นจะมีการแจ้งปัญหาของรถในหลายสาเหตุ มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎขึ้นมามีอะไรบ้าง

ทำความรู้จักไฟเตือนหน้าปัดรถและ ไฟเตือนเครื่องยนต์

ไฟเตือนเครื่องยนต์ คือระบบที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรถและสถานะของรถ ซึ่งเป็นหนึ่งในไฟเตือนหน้าปัดตรงบริเวณหลังพวงมาลัยรถของคุณ โดยวันนี้เราจะพูดถึงไฟเตือนเครื่องยนต์ ที่แผงหน้าปัด โดยใช้เพื่อแจ้งให้คนขับทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ของรถคุณได้ ทั้งนี้ความหมายของไฟเตือนหน้าปัดรถ แต่ละอันเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่ใช้รถควรทำความรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถและไฟเตือนรถยนต์ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์กันก่อน ไฟเตือนหน้าปัดรถจะมีสีที่แตกต่างกันขณะที่เราบิดกุญแจหนึ่งจังหวะ ก่อนอื่นเรามารู้จักสีของไฟหน้าปัดรถแต่ละสีก่อนว่ามีความหมายอย่างไร

สีของไฟเตือนหน้าปัดรถที่แตกต่างกันแสดงถึงสถานะของอาการของรถที่แตกต่างกัน  โดยสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ที่ผู้ใช้รถควรรู้มีดังนี้

1.ไฟเตือนสีแดง หมายถึง อันตราย ต้องหยุดรถทันที และตรวจสอบหาความผิดปกติตามสัญลักษณ์ที่ปรากฎตามหน้าปัดรถ

2.ไฟเตือนสีเหลือง หมายถึง สัญญาณการเตือน แต่รถก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ เช่น น้ำมันรถใกล้หมด

3.ไฟเตือนสีเขียว หมายถึง อุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่

4.ไฟเตือนสีน้ำเงิน หมายถึง อุปกรณ์ที่กำลังใช้งานอยู่แต่ไม่ใช่ค่าตั้งต้นจากโรงงาน

จากภาพประกอบสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถมีความหมายดังนี้

(แถว 1 สีเขียว)

– ไฟตัดหมอก

– ระบบไฟหรี่

– แรงดันน้ำมันเบรก

– ไฟด้านข้างถูกใช้งาน

– ระบบควบคุมความเร็วให้คงที่

– เปิดไฟขอทาง

(แถว 2 สีแดง)

– ไฟเตือนระบบเบรกมือ

– ไฟเตือนอุณหภูมิ

– ไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ

– ไฟเตือนระบบพวงมาลัยไฟฟ้าทำงานผิดปกติ

– ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย

– ไฟเตือนพลังงานแบตเตอรี่

(แถว 3 สีแดง)

– ไฟเตือนพวงมาลัยล็อก

– ไฟเตือนสวิตช์สตาร์ทเกิดการผิดพลาด

– ไฟเตือนเข็มขัดนิรภัย

– ไฟเตือนประตูรถปิดไม่สนิท

– ไฟเตือนฝากกระโปรงรถเปิดใช้งาน

– ไฟเตือนฝากระโปรงท้ายรถเปิดใช้งาน

(แถว 4 สีเหลือง)

– ไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติ

– ไฟเตือนตัวกรองน้ำมันเครื่องยนต์มีปัญหา

– ปัดน้ำฝนทำงานอัตโนมัติ

– ไฟหัวเผาเครื่องยนต์ดีเซล

– ไฟเตือนมีน้ำอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง

– ไฟเตือนระบบป้องกันล้อล็อกผิดปกติ

(แถว 5 สีเหลือง)

– ไฟเตือนระบบทรงตัวของรถ

– ไฟเตือนลมยางอ่อน

– ไฟเตือนเซนเซอร์ระบบน้ำฝนใช้งาน

– ไฟเตือนผ้าเบรกบาง

– ไฟเตือนระบบไล่ฝ้ากระจก

– ไฟเตือนระบบเกียร์อัตโนมัติมีปัญหา

(แถว 6 สีเหลือง)

– มีน้ำเจือปนในน้ำมันเชื้อเพลิง

– โหมดประหยัดพลังงาน

– ไฟเตือนน้ำยาทำความสะอาดกระจกใกล้หมด

– ไฟเตือนระบบไฟผิดปกติ

– ไฟเตือนไฟเบรกมีปัญหา

– ไฟเตือนระบบตรวจจับน้ำฝนและแสงมีปัญหา

เมื่อเราทำความรู้จักกับไฟเตือนหน้าปัดรถแล้ว เราจะได้อธิบายลงลึกเกี่ยวกับไฟเตือนเครื่องยนต์ ซึ่งถือว่าเป็นไฟเตือนที่ผู้ขับขี่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เรามาดูกันว่าหากไฟเตือนเครื่องยนต์ ปรากฎขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟเตือนเครื่องยนต์

ไฟเตือนเครื่องยนต์ คือ ระบบที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรถและสถานะของรถ โดยใช้เพื่อแจ้งให้คนขับทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ของรถคุณได้ แต่สัญลักษณ์นี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง เพราะ ไฟเตือนเครื่องยนต์ เพียงตัวเดียว อาจกำลังสื่อถึงอาการความผิดปกติของรถดังต่อไปนี้

ออกซิเจนเซนเซอร์ (Oxygen Sensor)

ออกซิเจน เซนเซอร์ หรือ O2 Sensor คือตัววัดปริมาณออกซิเจนที่ยังไม่เผาไหม้ในระบบไอเสียของรถยนต์ โดยจะส่งข้อมูลไปยัง ECU เพื่อควบคุมส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ หาก O2 Sensor เกิดปัญหา อาจจะส่งผลให้เกิดไฟเตือนเครื่องยนต์จะแสดงออกมา เครื่องยนต์สามารถทำงานต่อไปได้ แต่รถจะกินน้ำมันมากกว่าปกติ

เซนเซอร์วัดมวลอากาศ (Air Flow Meter)

Air Flow Meter หรือเซนเซอร์วัดการไหลของอากาศ เป็นอุปกรณ์ช่วยกำหนดปริมาณเชื้อเพลิงที่ไหลเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์เพื่อเผาไหม้ หากเกิดชำรุดหรือทำงานผิดปกติ ไฟเตือนรูปเครื่องยนต์ก็อาจจะปรากฎออกมาได้เช่นกัน

ระบบการวนไอเสีย (EGR)

ระบบหมุนเวียนก๊าซไอเสีย (EGR หรือ Exhaust gas recirculation) คือตัวช่วยลดปริมาณไนโตรเจนออกไซด์ที่ออกมาจากการเผาไหม้ ด้วยการนำเอาไอเสียวนกลับไปเผาไหม้อีกครั้ง ซึ่งหากไฟเครื่องยนต์โชว์ก็อาจเกี่ยวข้องกับวาล์ว EGR อาจเกิดการอุดตันหรือเสียหายได้

คอยล์จุดระเบิด (Ignition Coil)

หากคอยล์ที่ทำหน้าส่งกระแสไฟเพื่อจุดระเบิด หากคอยล์จุดระเบิดเสียจะทำให้เครื่องยนต์สั่น เดินไม่เรียบ และไฟเตือนเครื่องยนต์ผิดปกติปรากฎอยู่ที่หน้าปัด

หัวเทียน (Spark Plug)

หัวเทียนซึ่งทำหน้าที่จุดระเบิดหากมีปัญหา เครื่องยนต์จะเดินไม่เรียบ สั่น เพราะทำงานไม่ครบสูบ กำลังหาย เร่งไม่ขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎบนมาตรวัด และยังทำให้ตัวกรองไอเสียอุดตันได้เร็วขึ้นด้วย

สายหัวเทียน (Spark Plug Wires)

สายหัวเทียนจะเป็นตัวส่งกระแสไฟฟ้าจากคอยล์ไปยังหัวเทียนเพื่อสร้างประกายไฟในการจุดระเบิดส่วนผสมของเชื้อเพลิงและอากาศในกระบอกสูบ แต่ในกรณีรถยนต์รุ่นใหม่อาจไม่ได้ใช้สายหัวเทียนแล้ว ส่วนอาการของสายหัวเทียนเสื่อมสภาพ คือ รอบเดินเบาไม่นิ่ง สมรรถนะของเครื่องยนต์ลดลง และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ

เทอร์โมสตัท (Thermostat)

ถ้าเทอร์โมสตัทเกิดความเสียหายจนทำให้อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงกว่าปกติ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎบนหน้าปัด

ตัวกรองไอเสีย (Catalytic Converter)

เกิดจากอุปกรณ์แปลงก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนปล่อยไอเสียจากท่อเกิดชำรุดหรือทำงานผิดปกติ  ส่วนรถแต่งที่ถอดอุปกรณ์ชิ้นนี้ออก ก็เป็นสาเหตุให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎ

เปลี่ยนวาล์วระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง (Evaporative emission control หรือ EVAP)

วาล์วระบบควบคุมไอน้ำมันระเหยผิดปกติ ไอน้ำมันระเหยน้อยหรือมากกว่าปกติจนทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ หรืออาจเกิดจากหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเสียและอุดตันก็ทำให้ไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้หากไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎขึ้นมาให้เห็นแล้ว แต่คุณอยู่ในระหว่างขับรถกลางทาง ก็ยังสามารถประคองรถขับต่อไปได้เพื่อนำรถเข้าไปตรวจเช็กที่อู่ซ่อมรถได้ โดยไม่ใช้ความเร็วมาก ในรถบางรุ่นอาจจะจำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กม./ชม.นอกจากนี้ในรถบางรุ่นอาจจะสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ควรศึกษาจากคู่มือประจำรถเพื่อเป็นการศึกษาเกี่ยวกับรถของตนเองไปด้วย

ไฟเตือนหน้าปัดรถ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจ ยิ่งหากคุณเห็นไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎขึ้นมาเมื่อไหร่แล้ว นั่นเป็นสัญญาณความผิดปกติของเครื่องยนต์ของคุณ ซึ่งไฟเตือนเครื่องยนต์เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งนี้เมื่อไฟเตือนเครื่องยนต์ปรากฎขึ้นแล้ว ไม่ควรฝืนขับรถต่อไปโดยไม่จำเป็น แต่ควรลดความเร็วลงไม่เกิน 60กม./ชม. เพื่อประคองรถไปอู่ซ่อมรถ เพื่อให้ช่างทำการตรวจเช็กรถ ซ่อมแซมในจุดที่มีปัญหาต่อไป ทั้งนี้หากรถของคุณเกิดความผิดปกติในระหว่างการเดินทาง หากคุณทำประกันรถยนต์ไว้ ก็สามารถโทรเรียกบริษัทประกันเข้ามาช่วยเหลือคุณได้ เพราะนอกจากการทำประกันรถยนต์จะช่วยดูแลคุณหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว หากรถของคุณเสียกลางทางก็ยังสามารถโทรเรียกบริษัทเพื่อเข้ามาช่วยเหลือคุณได้อีกด้วย  เป็นการเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนให้แก่คุณได้อีกด้วย หากสนใจทำประกันรถยนต์ แนะนำซื้อประกันรถยนต์ ผ่อน 0% ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ไม่ต้องใช้บัตรเครดิตก็ผ่อนได้ สนใจเลือกแผนประกันรถยนต์ที่เหมาะกับคุณ คลิก