บางครั้งเจ้าของรถกับคนใช้รถทุกวันอาจจะเป็นคนละคนกัน แต่เมื่อไหร่ที่คุณนำรถของผู้อื่นไปใช้แล้วบังเอิญเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจจะมีคำถามตามมาว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.รบ.ได้ไหม  ยืมรถทางบ้านมาขับ ยืมรถเพื่อนมาใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุจะสามารถเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ

ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม

ผู้ใช้รถแต่ละคนใช่ว่าจะเป็นเจ้าของรถที่แท้จริง เจ้าของรถที่แท้จริงคือเจ้าของรถที่ถือกรรมสิทธิ์รถในสมุดคู่มือทะเบียนรถ บางคนอาจจะใช้รถยนต์ของคนในครอบครัวใช้ไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ หรือยืมรถเพื่อนมาขับไปธุระบ้างหรือออกไปกินข้าวบ้าง แต่หากเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์แต่คุณกลับไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม ก่อนที่เราจะตอบคำถามว่าไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหมนั้น จะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์กันก่อน สำหรับการทำประกันรถยนต์นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.พ.ร.บ. หรือ  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกประเภทต้องมีไว้ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยผู้ประสบภัยนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้ โดยที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิดดังนี้

ความคุ้มครองของพ.ร.บ.รถยนต์

กรณีเป็นฝ่ายผิด

1.1    ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท

1.2    การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท

กรณีเป็นฝ่ายถูก

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท

1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท

1.3 ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

วิธีการเบิกพ.ร.บ.มีขั้นตอนอย่างไร

จะเห็นว่าความคุ้มครองของพ.ร.บ.นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ไม่น้อย อย่างน้อยในส่วนของค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงหากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ก็ยังได้รับเงินชดเชยจากการทำพ.ร.บ.นี้อีกด้วย โดยวิธีการเบิกพ.ร.บ.มีขั้นตอนดังนี้

1.เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มีชื่อในหลักฐานว่าเป็นผู้ประสบภัย

2.ใบเสร็จเงินค่ารักษาพยาบาล

เบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และ/หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

การจ่ายค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้นแต่หากมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนก็สามารถทำได้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย แต่หากผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น

ทั้งนี้จะเห็นว่า พ.ร.บ. คือการทำประกันรถยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ทำให้รถทุกคันที่ต่อพ.ร.บ.จะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็น คนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนั้นจึงสามารถตอบคำถามที่ว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม ?

คำตอบคือ ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ เพราะ พ.ร.บ.คือหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินเท้า ก็สามารถเบิกพ.ร.บในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยต่าง ๆ ได้ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

2.ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นประกันที่เจ้าของรถซื้อด้วยความสมัครใจ ไม่ได้บังคับให้ซื้อ มีให้เลือกหลายแผน ขึ้นอยู่กับปีรถ ความคุ้มครอง และเบี้ยประกันรถ โดยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจให้คุ้มครองที่มากกว่าการคุ้มครองพ.ร.บ.ดังนี้

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจคุ้มครองอะไรบ้าง?  

เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเหตุใดทำไมหลายคนจึงแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจคุ้มครองอะไรบ้างมาดูกันต่อค่ะ

1.คุ้มครองต่อความรับผิดชอบกับบุคคลภายนอก ได้แก่ ค่าสินไหม ค่ารักษาพยาบาล ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากรถของผู้เอาประกันและผู้โดยสารภายในรถที่ทำประกัน

2.คุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เช่น ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถพุ่งชนรั้วบ้านคนอื่น หรือขับรถเฉี่ยวชนรถคันอื่น เป็นต้น

3.คุ้มครองความเสียหายของรถยนต์

4.คุ้มครองเมื่อรถสูญหายหรือไฟไหม้ เช่น รถถูกขโมยหรือถูกขโมยชิ้นส่วนตัวรถ หรือว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม

5.ความคุ้มครองอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนประกันรถที่เลือกทำ

หากคุณกำลังสงสัยว่าไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหมนั้น เราได้คลายข้อสงสัยของคำถามนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ ทั้งนี้นอกจากคำถามที่ว่าไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม แล้วสำหรับรถบางคันที่ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ อาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าไม่ใช่เจ้าของรถจะสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้หรือไม่นั้น เราจะมาอธิบายในหัวข้อถัดไปกันค่ะ

ไม่ใช่เจ้าของรถ สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ไหม

เราได้คลายข้อสงสัยจากคำถามที่ว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหมแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งคำถามสำหรับคนที่ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจว่า ถ้าตนไม่ใช่เจ้าของรถ สามารถแจ้งเคลมประกันได้หรือไม่ เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ เนื่องจากการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการทำประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองเพิ่มเติมจากการทำพ.ร.บ.แต่ทั้งนี้การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะมีเงื่อนไขในการเคลมประกันที่แตกต่างกันไปแล้วแต่แผนประกันและกรณีไป ดังนี้

ไม่ใช่เจ้าของรถ ไม่มีใบขับขี่ สามารถเคลมประกันได้หรือไม่

กรณีแรกหากผู้ขับขี่ยืมรถคนอื่นมาใช้ แต่บังเอิญเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และที่สำคัญผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไม่เคยสอบใบขับขี่ หรือถูกยึดใบขับขี่ กรณีนี้ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายเลย แต่จะสำรองจ่ายเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอกก่อน แต่จะมาเรียกเก็บภายหลัง

ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีใบขับขี่ สามารถเคลมประกันได้หรือไม่

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีใบขับขี่ จะสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้  โดยต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

1.ประกันรถยนต์ของรถคันนั้น เป็นประกันแบบไม่ระบุผู้ขับขี่

กรณีนี้ถึงคุณไม่ใช่เจ้าของรถ แต่หากทำประกันแบบไม่ระบุผู้ขับขี่ ก็สามารถเคลมประกันได้ตามประเภทประกันรถยนต์ที่ได้ทำไว้  

2.ประกันรถยนต์ของรถคันนั้น เป็นประกันแบบระบุผู้ขับขี่

กรณีนี้ถึงคุณไม่ใช่เจ้าของรถ แต่หากทำประกันแบบระบุผู้ขับขี่ ก็ยังสามารถเคลมประกันได้ แต่ต้องจ่ายค่าผิดเงื่อนไขเป็นค่าส่วนแรกให้กับบริษัทประกัน   

เพราะฉะนั้นใน กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถแต่มีใบขับขี่รถ ยังสามารถเคลมประกันได้ ทั้งนี้ยิ่งถ้าประกันรถคันนั้นไม่ระบุชื่อด้วยแล้วจะทำให้การเคลมประกันเป็นไปได้อย่างง่ายและเคลมได้เต็มสิทธิมากยิ่งขึ้นค่ะ

การเคลมประกันรถยนต์มีกี่ประเภท?

ในการเคลมประกันรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เคลมประกันรถยนต์แบบสด จะมีพนักงานจากบริษัทประกันออกไปตรวจสอบทันที และเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว (ไม่เกิน 2-3 วัน) สาเหตุการเคลมมักจะเกิดจากกรณีที่เกิดการเฉี่ยวชนหรืออุบัติเหตุที่เกิดความเสียหายไม่มากนัก

การเคลมประกันรถยนต์แบบสด

การเคลมประกันรถยนต์แบบสด คือการเคลม ณ ที่เกิดเหตุ และมีพนักงานบริษัทประกันมาตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

1.การเคลมแบบมีคู่กรณี คือ อุบัติเหตุแบบรถชนรถ พนักงานบริษัทประกันจะตรวจสอบและพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด

โดยฝ่ายผิดจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ให้กับคู่กรณีก่อนตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน*

2.การเคลมแบบไม่มีคู่กรณี คือกรณีที่ผู้เอาประกันชนสิ่งของทำให้เกิดความเสียหายกรณีนี้ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ก่อน

การเคลมประกันรถยนต์แบบแห้ง

การเคลมประกันรถยนต์แบบแห้งคือ การเคลมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ไประยะหนึ่งแล้ว (ไม่เกิน 2-3 วัน)สาเหตุการเคลมมักจะเกิดจากกรณีที่เกิดการเฉี่ยวชนหรืออุบัติเหตุที่เกิดความเสียหายไม่มากนัก โดยผู้ถือประกันต้องระบุรายละเอียดว่าเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร วันที่เท่าไหร่ สถานที่ไหน ชนเข้ากับอะไร แล้วจึงแจ้งเคลมกับบริษัทประกันเอง

**มีเพียงประกันชั้น 1 เท่านั้น ที่สามารถ “เคลมรอบคัน” เป็นการเก็บรายละเอียดร่องรอยต่างๆรอบตัวรถให้กับคุณได้

หากคุณใช้รถของคนในครอบครัว หรือยืมรถเพื่อนมาขับ แต่กลับประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันบนท้องถนน หากคุณ ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.รถยนต์ได้ไหม คำตอบคือ คุณสามารถเบิกพรบได้ เพราะ พรบ รถยนต์ ให้ความคุ้มครองทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร  หรือบุคคลภายนอกโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด นอกจากนี้หากรถยนต์ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ แม้ว่าคุณไม่ใช่เจ้าของรถเบิก ก็ยังสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ แต่ถ้าหากคุณไม่มีใบขับขี่จะต้องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด แต่หากคุณมีใบขับขี่และรถคันนั้นทำประกันรถแบบไม่ระบุผู้ขับขี่ก็สามารถเคลมประกันตามสิทธิ์ได้เลย แต่หากทำประกันรถแบบระบุผู้ขับขี่ จะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกให้กับประกันก่อนเคลมตามสิทธิ์ ทั้งนี้การทำประกันรถยนต์จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่เพิ่มเติมจากการทำพ.ร.บ.เราจึงอยากแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ติดไว้สักแผน ซื้อง่าย คุ้มครองทั้งคน รถ และความเสียหายต่าง ๆ ได้ สนใจเลือกทำประกันรถยนต์ คลิก