คงเป็นข่าวที่หลายคนให้ความสนใจกันและสะเทือนวงการยานยนต์ไม่น้อย เมื่อ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ประกาศยุติการจำหน่ายรถยนต์ Chevrolet ในไทยภายในสิ้นปี 2563 แต่ยังคงมีบริการหลังการขายและดูแลลูกค้าทั่วไปต่อไป อาทิ การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุง และการบริการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ

Chevrolet แบรนด์รถยนต์จากอเมริกาได้เข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นเวลา 20 ปี ซึ่งรถรุ่นแรก ที่เปิดจำหน่ายและถือเป็นการบุกเบิกตลาดรถยนต์เอนกประสงค์รายแรกของไทย คือ Zafira ก่อนที่จะมีอีกหลายรุ่น ทั้ง เก๋ง กระบะ SUV MPV ตามมา วันนี้เราจะพาไปย้อนรอยกับ 10 รถยนต์เชฟโรเลต ที่เคยเข้ามาทำตลาด ในประเทศไทยกันค่ะ

2543 – Zafira

chevrolet

รถรุ่นแรกที่เชฟโรเลตเข้ามาทำตลาดรถยนต์เอนกประสงค์รายแรกในไทย Mini-MPV 7 ที่นั่ง ในราคาล้านต้น ๆ ซึ่งได้รับความนิยมมากในเวลานั้น

2546 –  Lumina

หลังจากที่เปิดตัวรถยนต์เอนกประสงค์ไปแล้ว จึงเริ่มมีการทำตลาดรถเก๋ง เริ่มที่ Lumina นับเป็นเก็งหรูขนาดเล็ก (Compact Sedan) ราคาเปิดตัวสูงถึง 2.65 ล้านบาท ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นตากับรถรุ่นนี้ในบ้านเราสักเท่าไหร่

2547 –  Optra

นอกจากเปิดตัวเก๋งหรูอออกมาแล้ว ยังได้เปิดตัวเก๋งเล็กในราคาที่เอื้อมถึง คือ Optra /Optra Estate

2547 – Colorado

จากรถเก๋งก็เข้าสู่ตลาดรถกระบะกับ Colorado รถกระบะสไตล์อเมริกัน

2549 – Aveo

chevrolet

ตามมาด้วยรถเก๋งขนาดเล็กสุด (Sub-compact sedan) อย่าง Aveo

2550 – Captiva

หลังจากที่เปิดตัวรถในหลายๆประเภทเรื่อยมา ในปี 2550 เชฟโรเลตจึงได้เปิดตัวรถ SUV 7 ที่นั่ง นั่นก็คือ Chevrolet Captiva  แต่หลังจากนั้นอีก 2 ปี เจอเนอรัลมอเตอร์ (GM) ได้ยื่นเป็นบริษัทล้มละลาย ซึ่งเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ Chevrolet ในบ้านเราด้วย

2553 – Cruze

เป็นรุ่นที่เข้ามาทดแทน Optra

2555 – Trailblazer

chevrolet

เปิดตัวรุ่น Trailblazer รถเอนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ระดับพรีเมี่ยมสไตล์สปอร์ต

2555 – Sonic

เปิดตัวรุ่น Sonic เข้ามาทดแทน Aveo ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า Aveo มีทั้ง Hatchback และ Sedan 

2555 – Spin

หลังจากที่เปิดตัว Spin Mini-MPV 7 ที่นั่ง ไปจึงกลายเป็นรุ่นสุดท้ายที่เข้ามาทำตลาด เพราะเชฟโรเลตไม่ได้รับความนิยมเหมือนแต่ก่อนและก็ไม่มีการออกรถรุ่นใหม่อีก มีเพียงแต่การปรับโฉมใหม่ของรถรุ่นเดิมประกอบกับยอดขายที่ลดลงและมีการถอนตัวออกจากโครงการ Eco car เฟส 2 จึงทำให้เลิกขายรถเก๋งในไทย คงไว้แค่รถกระบะ

2562 – การกลับมาของ Captiva

แต่สุดท้ายแล้ว แม้ว่าการกลับมาครั้งนี้ จะพอได้ยอดซื้อไปบ้าง แต่ด้วยความที่ทางกลุ่ม GM ไม่เน้นตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกต่อไปแล้ว สุดท้ายเชฟโรเลตในไทย จึงต้องโบกมืออำลา เลิกจำหน่ายในไทยภายในปี 2563 และพนักงานอีก 1.5 พันคนที่โรงงานผลิตรถยนต์ของ GM ที่จังหวัดระยองตกงาน ส่วนปัญหาหลักที่ทำให้ เชฟโรเลตต้องยกเลิกการทำตลาดในบ้านเรา คือ

  • บริษัทแม่ที่ต้องการลดขนาดองค์กรซึ่งเกิดจากการมีปัญหาการเงินอย่างต่อเนื่อง
  • ผลประกอบการในไทยไม่ค่อยดีมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่มีรถรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดในบ้านเรา ในขณะที่คู่แข่งมีทั้งการปรับโฉมรถ ออกรถรุ่นใหม่ เข้ามาทำตลาดในไทย เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับที่ต้องการรถ คนจึงหันไปหาอะไรใหม่ที่ทันสมัยมากกว่า เป็นต้น

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เชฟโรเลต ได้ทำตลาดรถยนต์ในไทยในเกือบทุก segment ทั้งรถเก๋ง รถเอนกประสงค์ รถกระบะ สำหรับใครที่เป็นเจ้าของรถยนต์เชฟโรเลต อาจจะกำลังกังวลว่า จะได้รับผลกระทบจากการยุติการขายรถยนต์เชฟโรเลตในประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งทาง GM ก็ได้ยืนยันว่า ยังคงมีบริการหลังการขายและดูแลลูกค้าทั่วไปต่อไป อาทิ การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุง และการบริการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ แต่ในส่วนของบริษัทไฟแนนซ์รถ และ ธนาคารบางแห่ง มีข่าวออกมาว่า จะไม่รับจัดไฟแนนซ์รถให้กับรถ Chevrolet

แต่ที่เฮงลิสซิ่ง ผู้นำในการให้บริการด้านสินเชื่อ เรายังคงให้บริการจัดสินเชื่อสำหรับผู้ที่ใช้รถเชฟโรเลตเหมือนเดิม ทั้งในส่วนของ สินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน และ สินเชื่อเฮงรถมือสอง ก็ยังสามารถจัดได้ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขา เราไม่เทคนใช้เชฟวี่แน่นอนค่ะ หากสนใจสามารถสมัครได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้เลย

 

ภาพประกอบจาก: Pinterest, Chevrolet, wikipedia