สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ขายสินค้า และบริการต่างๆ แน่นอนว่า คงไม่มีใครอยากให้ธุรกิจของเราขาดทุนหรอก ซึ่งการทำธุรกิจมักจะต้องเจอปัญหา เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และหากเป็นไปได้ทุกคนก็อยากให้ธุรกิจของตัวเองอยู่สร้างรายได้ สร้างกำไรให้กับเราไปนานๆ ไม่ใช่อยู่ได้เพียงไม่กี่ปีแล้วก็ต้องล้มเลิกกิจการไป บางรายก็ทำได้เพียง 3 – 4 เดือนเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่ทำให้ผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจใหม่ มักพบปัญหาอยู่บ่อยๆ จะมีอะไรบ้าง และเป็นปัญหาที่คุณกำลังเผชิญอยู่หรือไม่ หากเจอแบบนี้ก็ควรรีบหางทางแก้ไขโดยด่วนนะ

1. ธุรกิจขาดความน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีประสบการณ์

หากคุณกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ยังไม่เคยมีประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้มาก่อนหรือเพิ่งเริ่มจับตลาดและทำธุรกิจเป็นครั้งแรก ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่มองว่า คุณขาดความน่าเชื่อถือ เพราะไม่มีประสบการณ์ในสายงานนั้นๆ และอาจจะไม่เลือกใช้สินค้าหรือบริการของคุณจนทำให้ธุรกิจไปต่อได้ยาก การไม่มีประสบการณ์จึงเป็นปัญหาที่ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจมักพบเจออยู่บ่อยครั้ง เพราะยังมีผลงานไม่มากนัก

ทางออกและแนวทางแก้ไข : สิ่งที่คุณจะทำได้ก็คือ การโชว์ศักยภาพให้เห็นถึงรูปแบบและอธิบายวิธีการทำงานของกิจการคุณให้ลูกค้าฟังอย่างละเอียด และควรเพิ่มการรับประกันคุณภาพการทำงานด้วยเพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการเองมีโอกาสขายงานหรือทำสัญญาได้สำเร็จ รวมไปถึงอาจจะต้องเล่าประวัติการทำงานส่วนตัวของคุณหรือผลงานที่เคยทำมาแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

2. ผู้ประกอบการไม่มีเครือข่ายสังคม (Connection)

การมีคอนเนคชั่นหรือเครือข่ายสังคมในธุรกิจ จะช่วยให้เกิดการประชาสัมพันธ์ โปรโมทธุรกิจ ทำให้เป็นที่รู้จัก ช่วยกระจายข่าวสารได้กว้างขวางขึ้น และผลักดันธุรกิจทำให้มีผู้สนใจอยากจะใช้สินค้าหรือบริการของคุณ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนทางด้านธุรกิจมากขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างเครือข่ายธุรกิจให้มีคนรู้จักธุรกิจของคุณจำนวนมากได้ ซึ่งจะต้องอาศัยเวลาด้วย

ทางออกและแนวทางแก้ไข : เริ่มต้นจากการนำตัวคุณเองเข้าไปอยู่ในแวดวงธุรกิจให้มากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น การเข้าร่วมกลุ่มกับองค์กรต่างๆ การเป็นสมาชิกหรือสมาคมธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับธุรกิจที่คุณทำอยู่เท่านั้น ในธุรกิจประเภทอื่นๆ รวมถึงสังคมบนโซเชียลมีเดียด้วย ก็สามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน

 3. บริหารบัญชีไม่เป็นและไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย

ความรู้ทางด้านบัญชีและกฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโดยตรง ซึ่งหากตัวผู้ประกอบการเองไม่มีความรู้อะไรเลยอาจก่อให้เกิดปัญหามากมายทั้งการวางแผนบริหารการเงิน รายรับ รายจ่าย บัญชี ภาษี รวมไปถึงข้อเสียเปรียบที่จะตามมาด้วย ปัญหาเหล่านี้มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก  และบางเรื่องเจ้าของกิจการ ก็ไม่สามารถค้นหาเองได้จากทางอินเทอร์เน็ต

ทางออกและแนวทางแก้ไข : การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การเลือกที่จะปรึกษานักบัญชีและนักกฎหมายมืออาชีพ หรืออาจเลือกใช้บริการบริษัทรับทำบัญชี และบริษัทให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อให้เป็นผู้ดูแลธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งจะดีและสะดวกกว่าดูแลด้วยตนเอง อีกทั้งยังจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการเองก็ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้วิธีการทำงานของบริษัทเหล่านี้ด้วย โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ

4. พนักงาน/ลูกจ้าง ไม่มีความสามารถพอในการทำงาน

ปัญหาเรื่องของพนักงานหรือลูกจ้างที่ยังมีความสามารถไม่ตรงกับงาน ทำงานไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งหากไม่รีบหาทางแก้ไข ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียเงินค่าจ้างไปโดยที่ไม่ได้รายได้กลับมาตามเป้าหมายที่วางไว้

ทางออกและแนวทางแก้ไข : ผู้ประกอบการอาจจะต้องยอมจ่ายเงินเพื่อจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมาะสมกับกิจการของตนมาทำงาน เพื่อจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากพนักงานมีการต่อลองเรื่องค่าจ้างที่สูงจนเกินไป ผู้ประกอบการควรพูดคุยกับพนักงานโดยตรง หรืออาจจะมีข้อเสนอด้านของสวัสดิการอื่นๆให้น่าสนใจพอที่จะดึงดูดให้มาร่วมงานได้ เช่น มีโอที ค่าคอมมิชชั่นจากการขาย โบนัสประจำปี เป็นต้น เพียงเท่านี้คุณก็น่าจะได้พนักงานที่มีความรู้และความสามารถเข้ามาทำงานอย่างแน่นอน

5. ธุรกิจขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน

ปัจจุบันนี้การทำธุรกิจดำเนินไปตามระบบทุนนิยม เรื่องเงินกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของผู้เริ่มต้นธุรกิจ เพราะการดำเนินธุรกิจเกือบทุกอย่าง จำเป็นต้องใช้เงินทุนทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ผู้เริ่มต้นธุรกิจมักไม่ได้สนใจการจัดการระบบการเงินไว้เท่าทีควรและไม่รัดกุมมากพอจึงทำให้ไม่ทราบที่มาที่ไปของกระแสเงินที่หมุนเวียนในระบบธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้นก็ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถประเมินสถานการณ์การเงินของธุรกิจตนเองได้จนทำให้มักขาดทุน และขาดแคลนเงินหมุนเวียนในระบบได้

ทางออกและแนวทางแก้ไข : ผู้ประกอบการต้องจัดการบัญชีและการเงินให้ดี พร้อมกับการวางระบบบริหารที่ถูกต้อง และมีเงินทุนที่ต้องใช้จ่ายจริง บวกกับทุนสำรองที่มากเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ ซึ่งอาจใช้การขอสินเชื่อจากทางธนาคารและสถาบันทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อเอื้อต่อการประกอบธุรกิจแบบ SME  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ซึ่งทางสถาบันการเงินได้เข้ามาช่วยเหลือและขจัดปัญหาในส่วนนี้ ทั้งนี้เงินทุนของกิจการควรแยกออกจากเงินส่วนตัว และไม่ควรที่จะนำมาใช้ร่วมกัน เพราะอาจทำให้ผู้เจ้าของธุรกิจเจอเข้ากับปัญหาชีวิตของตนเองเข้ามาอีกหนึ่งปัญหา

(Advertorial) การขอสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจเล็กๆ เช่น นาโนไฟแนนซ์ (NANO FINANCE) ที่ให้วงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นการก่อหนี้ประเภทหนี้ดี เพราะสามารถสร้างโอกาสพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า  สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถจ่ายคืนให้สถาบันการเงินจนครบสัญญา ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก


นาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) คืออะไร? เหมาะสำหรับใครบ้าง?

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า จุดประสงค์หลักของสินเชื่อประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ หรือต่อยอดธุรกิจที่ทำอยู่ แต่มีหลักฐานทางการเงินไม่เพียงพอ และเคยต้องไปกู้เงินนอกระบบ ซึ่งต้องแบกภาระดอกเบี้ยสูงมาก และอาจพบเจอวิธีคิดดอกเบี้ยแบบไม่เป็นธรรม ซ้ำร้ายไปกว่านั้นบางกรณียังมีการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่มีมนุษยธรรมหรือทวงหนี้โหดด้วย Nano Finance จึงเปิดโอกาสให้ผู้กู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้เข้าถึงเงินกู้ในระบบที่ถูกกฎหมาย ดังนั้น นาโนไฟแนนซ์ ก็ถือเป็นสินเชื่อเงินกู้อีกหนึ่งทางเลือกของบุคคลทั่วไป ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง

 

คุณสมบัติหลักของผู้ขอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

  • บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุ 20 – 62 ปี บริบูรณ์
  • มีวัตถุประสงค์ในการกู้เพื่อนำเงินไปใช้ในการประกอบธุรกิจ
  • ไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
  • บุคคลที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจหรือประกอบธุรกิจอยู่แล้วแต่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติม
  • เป็นบุคคลที่มีรายได้ไม่แน่นอน หลักฐานการเงินไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีสลิปเงินเดือน หรือ ไม่เคยเดินบัญชีกับธนาคาร
  • รายได้ของกิจการเป็นรายได้ที่เข้ามาวันต่อวัน

คิดอัตราดอกเบี้ยอย่างไร ?

มีการดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต้องรวมกัน ไม่เกินร้อยละ 36  โดยไม่ให้คิดค่าปรับ ค่าติดตามทวงถามหนี้ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม

ะเห็นได้ว่าการให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกว่าสินเชื่อประเภทอื่น เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้สะดวกมากขึ้น ช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบ อย่างไรก็ตาม หากผู้กู้มีข้อมูลหรือหลักฐานแสดงรายได้ที่แน่นอนสามารถใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ ผู้ประกอบธุรกิจก็ควรศึกษาสินเชื่อประเภทอื่นๆที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า และบริหารเงินในการประกอบธุรกิจให้รอบคอบ เพื่อลดภาระของผู้กู้เองด้วย

**สุดท้ายนี้ทางเฮงลิสซิ่งก็ขอให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากสินเชื่อโครงการนี้อย่างคุ้มค่าที่สุดนะคะ**