“สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” ประโยคยอดฮิตคุ้นหูและอาจจะคุ้นชิน ของเหล่ามนุษย์เงินเดือนหลายต่อหลายคน ด้วยสภาพการเงินที่รายรับ เริ่มไม่พอกับรายจ่ายที่มีเข้ามาทุกวัน ทั้งรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ หากครอบครัวไหนที่มีบุตรหลาน ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่าง ค่าขนมไปโรงเรียนของลูก ค่าเรียนพิเศษ ค่าของเล่น ตามมาอีก เป็นต้น  นอกจากค่าใช้จ่าย ที่เราต้องเสียไปทุกวันแล้ว เราอาจจะยังต้องรับมือ กับค่าใช้จ่าย ไม่คาดฝัน นั่นแปลว่า ค่าใช้จ่ายนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น ยางรถรั่ว ยางแบน จำเป็นต้องมีเงินติดตัวเพื่อปะหรือเปลี่ยนยาง บางร้านอาจสามารถจ่ายผ่านพร้อมเพย์หรือสแกนคิวอาร์โค้ดได้ หรือหากต้องการถอนเงิน หากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือหมด/ลืมบัตรเอทีเอ็ม ก็ไม่สามารถถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้ จึงจำเป็นต้องมีเงิน(สด)ติดตัว จะเห็นได้ว่าการมีเงินสำรองติดตัว จะทำให้คุณอุ่นใจในหลายๆเรื่อง แต่ถ้าหากคุณกำลังเจอสัญญาณเหล่านี้ แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่สภาวะ เงินช็อต

1. เงินช็อต ตั้งแต่ต้นเดือน (นี่เงินเดือน หรือ เงินทอน)

เงินช็อต

คำพูดติดปาก ของคนที่เงินเดือนออกได้ไม่นาน เพราะ บิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต ส่งมาถึงบ้านก่อนเงินเดือนจะออกซะอีก พอถึงเวลาที่เงินเดือนออก แทนที่จะได้เก็บไว้กินไว้ใช้ แต่ก็ต้องมาจ่ายบิลต่าง ๆ อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เงินเดือนได้เป็นหมื่นแต่อาจจะได้ใช้จริงแค่ไม่กี่พันบาท

“ตกลงนี่มัน เงินเดือน หรือ เงินสัปดาห์ หรือเงินทอนแล้วจะอยู่ยังไงให้ถึงสิ้นเดือน”

** หากใครที่กำลังมีหนี้บัตรเครดิต โดยเฉพาะสินเชื่อเงินสด ซึ่งมีดอกเบี้ยสูงและดอกวิ่งตลอดทุกวัน ไม่ควรชำระแบบขั้นต่ำ เพราะจะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่า แถมหมดช้า กว่าการจ่ายแบบโปะ เพราะยิ่งโปะ หนี้ก็จะหมดเร็ว หากมัวแต่ชำระแบบขั้นต่ำ นอกจากจะหมดช้าแล้วดอกเบี้ยยังบานปลายตามไปด้วย

2. นึกไม่ออก เสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เงินช็อต

เห้ย…นี่เพิ่งเบิกแบงก์พันมาใช้อยู่เลย ทำไมตอนนี้เหลือแค่แบงค์แดง แบงค์เขียว เอ๊ะ! นี่เราเอาเงินไปใช้ทำอะไรบ้าง?  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะหลงลืม หรือ นึกไม่ออกว่าที่ผ่านมาใช้จ่ายอะไรไปบ้าง นั่นเป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจจะ เงินช็อต แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะเราไม่มีการวางแผนการใช้จ่าย มีเท่าไหร่ใช้เต็มที่ ไม่คิดเผื่อหน้าเผื่อหลังไว้ พอรู้ตัวอีกที เราอาจไม่เหลือเงินสำรองไว้ใช้จ่าย

**ควรฝึกทำบัญชี รายรับรายจ่าย หรือ คอยบันทึกการใช้จ่ายของเราในแต่ละวัน หลายคนอาจจะมองว่า การบันทึกการใช้จ่าย มันเกี่ยวอะไรกับสัญญาณ เงินช็อต เพราะการบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จะทำให้เรารู้ว่าเราเสียค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ไม่ต้องมานั่งนึกให้เสียเวลา แถมยังได้รู้ด้วยว่า ค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้างที่ไม่จำเป็น หรือทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน จะได้จัดการตัดทิ้งได้ทัน

3. รายรับไม่พอกับรายจ่าย

เงินช็อต

เมื่อรายจ่ายไม่สัมพันธ์กับรายรับที่เข้ามา จะเนื่องด้วยจากมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นทั้งแบบตั้งใจ และแบบไม่คาดฝัน แต่หากเมื่อไหร่ที่ รายจ่าย เพิ่มขึ้น แต่รายรับเท่าเดิม อีกไม่นาน สภาวะ เงินช็อต ก็กำลังจะมาเยือนคุณ

 

**ควรหาช่องทางในการเพิ่มรายรับให้แก่ตัวเอง เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะลองมองหา อาชีพเสริมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่เบียดเวลางานประจำ หรือหากไม่สะดวกที่จะทำอาชีพเสริม ลองมองหาข้าวของในบ้าน หรือ ของสะสม ที่พอจะขายได้ ขายออกไปก่อน นำเงินที่ได้เก็บไว้ใช้เป็นเงินก้อนสำรองก่อน

4. เริ่มชำระหนี้ล่าช้า

เงินช็อต

เมื่อค่าใช้จ่ายมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากหนี้เก่าที่เคยชำระอย่างตรงเวลา ก็ต้องเริ่มแบ่งเงินไปจ่ายบิลอื่น ๆ ที่เข้ามาใหม่อีก ทำให้เงินในมือเริ่มน้อยลงไม่เพียงพอกับหนี้สินที่ยังไม่ได้จ่าย ทำให้การชำระหนี้ที่เหลืออาจล่าช้า หรือขาดการชำระไป

**เลือกจ่ายหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูง หรือ สินเชื่อเงินสดก่อน เพราะสินเชื่อพวกนี้จะมีดอกเบี้ยสูง ดอกวิ่งรายวัน หนี้ก็สูงตามมา จ่ายยังไงก็ไม่หมดซักที การใช้บัตรกดเงินสด เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถหาเงินมาชำระคืนทั้งหมดได้ในรอบบิลถัดไป เพราะดอกเบี้ยจะน้อย หรือ ไม่เสียดอกเบี้ย*

5. ควักเงินเก็บออกมาใช้

เงินช็อต

หลังจากที่เงินเดือนหมดไปกับการจ่ายบิลต่าง ๆ หลังจากนี้หากใครที่มี เงินสำรอง หรือ เงินเก็บในมือ คงจำเป็นที่จะต้องควักเอาออกมาใช้ แต่วิธีนี้อาจจะไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน เนื่องจากบางคนไม่มีเงินเก็บสำรองนั่นเอง

**หลังจากที่ได้เงินเดือน ควรหักสัก 10%  ของเงินเดือนทั้งหมด เพื่อเก็บออมไว้ใช้ในยามที่เดือดร้อนจริง ๆ เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยต่อลมหายใจของเราไปได้บ้าง

6. หนี้เริ่มดีดตัวสูงขึ้น

เงินช็อต

สอดคล้องกับข้อที่ผ่าน ๆ มา พอมีหนี้สินเริ่มสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้หนี้เก่าไม่ทันจะหมด ก็มีหนี้สินใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก เนื่องจากก่อหนี้ใหม่เพื่อนำเงินมาโปะหนี้เดิม จึงทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

**หยุดใช้วิธีสร้างหนี้ใหม่ เพื่อมาโปะหนี้เก่า เพราะนอกจากหนี้เก่าจะไม่หมดแล้ว หนี้ใหม่ก็เพิ่มขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู หากเราแก้ไขปัญหาโดยไม่สร้างหนี้เพิ่ม อย่างน้อยก็จะช่วยชะลอไม่ให้หนี้สินเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

7. ไปกันเถอะ..วันหยุดอยากนอนอยู่บ้าน

เงินช็อต

วันหยุดสุดสัปดาห์ มีเพื่อน ๆ โทรมาชวนไปเที่ยว ด้วยความที่เงินเดือนของเราเหลือน้อย จึงปฏิเสธเพื่อนไปเบา ๆ ว่ามีธุระบ้าง อยากนอนอยู่บ้านชิว ๆ บ้าง แต่ความจริงแล้วในใจก็อยากออกไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ เหมือนกัน 

**ลองหาอะไรสนุก ๆ ระหว่างอยู่บ้าน เช่น ดูหนัง เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เล่นโยคะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ที่บ้าน จะได้จิดใจไม่ฟุ้งซ่าน หรือคิดที่อยากจะออกไปไหนเพื่อเป็นการลดการใช้เงิน

8. เพื่อนๆตอนนี้เรามีปัญหา มีให้ยืมสัก…?

เงินช็อต

อีกหนึ่งสัญญาณ ที่หลายคนที่เคยอาจเจอสภาวะเงินช็อตมาก่อน น่าจะเคยทำ คือ การคิดที่จะยืมเงิน หรือ กู้เงินจากเพื่อน บางคนยืมเงินเพื่อนเป็นว่าเล่น บางคนกว่าจะพูดขอยืมได้ก็ตะขิดตะขวงใจ เพราะด้วยความที่เกรงใจเพื่อน เพราะเรื่องแบบนี้ทำให้เพื่อนผิดใจกันมานักต่อนักแล้ว

**การยืมเงินเพื่อน อย่างน้อยเราต้องดูก่อนว่า เพื่อนคนนั้นพอจะมีศักยภาพที่จะให้เรายืมเงินหรือไม่ นอกจากนี้หากเรารับปากว่าจะคืนเงินเมื่อไหร่ก็ต้องเป็นไปตามคำพูด ไม่ควรหลบหน้าหลบตาหรือหายไปเงียบ ๆ หากเรายังไม่มีคืนตามเวลาที่กำหนด ควรจะบอกให้เพื่อนรู้ อย่างน้อยก็เป็นการแสดงความจริงใจ และจะได้ไม่มีเรื่องผิดใจกันในอนาคต

9. หางานใหม่ดีกว่า

เงินช็อต

มีใครเคยเป็นมั้ย?…อยากหางานใหม่ที่เงินเดือนเยอะกว่าเดิม เพื่อจะได้มีเงินมารองรับรายจ่ายที่มี แต่การหางานใหม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่าย ๆ เดี๋ยวนี้มีข่าวตกงาน เลิกจ้าง มีให้เห็นทุกวัน 

**การหางานใหม่ เพื่อให้ตัวเองก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พร้อมเงินเดือนที่มากขึ้นกว่าเดิม ย่อมเป็นโอกาสที่ดี แต่การหางานใหม่ อาจไม่ใช่การแก้ไขปัญหา เงินช็อต ที่ต้นเหตุ วันนี้อาจจะได้งานใหม่ที่เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่หากเราไม่มีวินัยในการใช้จ่าย เชื่อว่าเงินเดือนมากขึ้นแค่ไหน ก็ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นตาม

เงินช็อตมีทางออก!!

ทุกปัญหาย่อมมีทางออก การหาต้นเหตุของปัญหาเพื่อทำการแก้ไข จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาการเงินก็เช่นกัน 

  1. ตั้งสติก่อน อย่าคิดหาทางออกด้วยการ กู้เงินนอกระบบ
  2. ลองมองดูรอบตัวว่ามีสิ่งของไหนบ้าง ที่พอจะเปลี่ยนเป็นเงินได้ เช่น สร้อยทอง แหวนทอง ของสะสม หรือ สิ่งของ ที่สามารถขายเปลี่ยนเป็นเงิน จะได้ไม่เป็นหนี้ในอนาคต ส่วนของค่อยหากันใหม่
  3. หากไม่มีของที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ลองขอหยืมยืมเงิน จากคนใกล้ตัว เช่น ญาติ หรือ เพื่อน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องนี้ได้
  4. หากจำเป็นต้องหาแหล่งกู้เงิน นอกเหนือจากกล่าวมา ควรหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น โรงรับจำนำของรัฐบาล แต่ทั้งนี้เงินที่ได้รับจะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับของที่เรานำไปจำนำอีกที
  5. หากต้องการใช้เงินก้อนใหญ่ ทันใจ หากคุณมีรถ ก็เป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่ดี ที่สามารถ เปลี่ยนเป็นเงินได้ โดยการ เอารถเข้าไฟแนนซ์ เปลี่ยนรถเป็นเงิน นอกจากรถของคุณ จะมีใช้งานตามปกติแล้ว ยังมีเงินก้อนพร้อมใช้ไม่ต้องง้อใคร

สิ้นเดือนไม่สิ้นใจ ทุกปัญหาย่อมมีทางออก หากคุณกำลังเงินช็อตแล้วเจอสัญญาณการเงินเหล่านี้ เพียงแค่คุณมีรถ มีเล่ม เอารถเข้าไฟแนนซ์ กับสินเชื่อเปลี่ยนรถเป็นเงิน ที่เฮงลิสซิ่ง สมัครง่าย รู้ผลไว เอกสารไม่ยุ่งยาก สามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้น หรือ สมัครสินเชื่อเปลี่ยนรถเป็นเงินออนไลน์ ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้