บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

ความรู้เกี่ยวกับรถ

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมาก มีหน้าที่อะไรใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

เนื้อหาของบทความ

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือไฟผ่าหมาก ไฟกระพริบ  ไฟขอทาง ตามที่หลายคนเรียกมักนิยมเรียกกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการขับขี่รถแม้ว่าหลายคนจะยังสับสนว่าแท้จริงแล้ว ไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือไฟผ่าหมากนี้ใช้งานอย่างไร หากใช้ไม่ถูกต้อง จะต้องใช้อย่างไรเรามีความรู้เกี่ยวกับไฟฉุกเฉินรถยนต์มาฝากกันค่ะ

ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ทำหน้าที่อะไร

เราจะสังเกตว่าบนแผงคอนโซลหน้ารถจะมีปุ่มสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมสีแดงหรือสีดำแล้วแต่รุ่นรถ เราจะเรียกปุ่มนี้ว่า ไฟฉุกเฉินรถยนต์ เป็นสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Hazard Lights)  ซึ่งจะมีอยู่ในรถยนต์ทุกรุ่นทุกคัน ส่วนตำแหน่งของปุ่มไฟฉุกเฉินรถยนต์ นี้มักจะอยู่ใกล้มือคนขับบริเวณช่องแอร์ วิทยุ หรือ จอเครื่องเสียง ทำให้ผู้ขับขี่สามารถกดได้ง่ายขึ้น  สำหรับการเรียกชื่อไฟฉุกเฉินรถยนต์ ยังมีการเรียกชื่ออื่นอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น  ไฟผ่าหมาก ไฟกระพริบ  หรือไฟขอทาง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อไฟฉุกเฉินรถยนต์ว่าอย่างไร แต่เชื่อว่าผู้ขับขี่หลายคนยังเกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้งาน ไฟฉุกเฉินรถยนต์อย่างถูกต้อง ทั้งนี้หน้าที่ของไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมาก การใช้งานอย่างถูกต้องคือ

ไฟฉุกเฉินมีไว้สำหรับ “รถที่จอดเสีย” ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

ไฟฉุกเฉินสามารถใช้ได้ในกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จราจร มาตรา 9 และกฎหมาย ข้อ 11

การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมากที่ผิด

เชื่อว่าหลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมาก โดยพฤติกรรมเหล่านี้คือการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมาก ที่ผิดวิธีซึ่งอาจจะนำไปสู่อุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ เนื่องจากเมื่อเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ หรือไฟผ่าหมาก ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและด้านหลังสี่ด้านก็จะกะพริบพร้อม ๆ กัน ทำให้รถคันอื่นที่เห็นรถของคุณเพียงด้านเดียวอาจจะไม่เข้าใจว่าคุณต้องการจะเลี้ยวรถไปทางไหนระหว่างเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวากันแน่ โดยวิธีการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ที่ผิดวิธีและผิดกฎหมายมีดังนี้

1.การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์บริเวณทางแยก

เรามักจะเห็นหลายคนเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ ไฟผ่าหมาก ขณะข้ามทางแยกที่ไม่มีไฟจราจร ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ผิด เนื่องจากผู้ใช้รถคันอื่นจะไม่ทราบเลยว่าคุณกำลังจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือตรงไปกันแน่ การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์  ไฟผ่าหมากในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง

2.การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ขณะฝนตกหนัก

การขับรถยนต์ขณะฝนตกหนักหรือทัศนวิสัยไม่ดี การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์  หรือไฟผ่าหมากจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ใช้รถคนอื่นเป็นอย่างมาก เหตุผลนั้นไปในทางเดียวกันกับข้อแรกและยิ่งฝนตกหนักทำให้เกิดฝ้าที่กระจกหน้ารถ ทำให้ผผู้ใช้รถคันอื่นอาจจะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนว่ารถของคุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือจอดนั่นเอง  

3.การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ขณะจอดซื้อของริมทาง

หลายคนมักจะใช้วิธีเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ เพื่อแวะจอดรถซื้อของริมทาง ความจริงแล้วเป็นการกระทำที่ผิด เนื่องจากไฟฉุกเฉินรถยนต์นั้นมีไว้สำหรับรถที่จอดเสียไม่สามารถไปต่อได้ และคุณควรหาที่ว่างที่สามารถจอดรถได้หรือที่จอดรถเพื่อความปลอดภัยทั้งรถคันอื่นและรถของตัวคุณเองด้วย

กฎหมายจราจรที่เกี่ยวกับไฟฉุกเฉินรถยนต์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ในบ้านเรานั้น คือ กฎหมายจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11 และมาตรา 56 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.กฎหมายในมาตรา 11 ระบุว่า หากจอดรถอยู่ในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอจะมองเห็นคนหรือรถ ผู้ขับขี่ต้องทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นๆ เห็นด้วยการเปิดสัญญาญไฟในระยะไม่น้อยกว่า 150 ม. หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 500 บาท

2.กฎหมายในมาตรา 59 ระบุว่า หากรถเสียกลางทาง จะต้องนำรถออกจากเส้นทางจราจร แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้จอดรถไว้ข้างทางแต่ต้องเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นทราบว่าคุณกำลังต้องการความช่วยเหลือ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท

 ไฟฉุกเฉินรถยนต์ ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าไฟกระพริบ เพราะไฟเลี้ยวซ้ายขวาทั้งหน้าและหลัง จะกระพริบพร้อมกันซึ่งหากใช้ผิดวิธีจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ใช้รถคนอื่นนั่นเอง ทั้งนี้หลายคนอาจจะเคยสังเกตว่ามีรถยนต์บางคนทำสัญญาณกระพริบไฟใส่เราบ้าง แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ แต่เราอยากจะอธิบายเพิ่มเติมว่าการให้สัญญาณกระพริบไฟหน้ารถยนต์นั้น

สัญญาณกระพริบไฟหน้ารถยนต์ หมายความว่าอย่างไร

หากคุณเคยขับรถยนต์โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน เราจะเคยพบว่ารถที่สวนทางเรามา กระพริบไฟหน้ารถยนต์ใส่เราบ้าง ซึ่งการกระพริบไฟมีหลายจังหวะ แต่รู้หรือไม่ว่าการกระพริบไฟหน้านั้นคือการส่งสัญญาณอย่างหนึ่ง โดยเราจะมาอธิบายความหมายของการกระพริบไฟหน้ารถยนต์ว่ารถคันนั้นกำลังจะบอกอะไรเรากันค่ะ

กระพริบไฟหน้ารถยนต์ ซ้ายที-ขวาที

หากคุณเห็นรถกระพริบไฟซ้ายทีขวาที สลับไปมาหรือเปิดไฟฉุกเฉิน เป็นการเตือนให้รถที่ตามมาต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะรถกำลังจะเบรก และข้างหน้าอาจมีเหตุฉุกเฉิน การตั้งด่าน หรืออุบัติเหตุรถชน 

เปิดไฟเลี้ยวซ้าย ชะลอความเร็ว

เราจะพบสัญญาณนี้บนถนนสองเลน ถ้ารถคันหน้าเปิดไฟเลี้ยวซ้ายแล้วชะลอความเร็ว เป็นการส่งสัญญาณให้คันที่ตามหลังมา ทางข้างหน้าโล่งสามารถแซงขวาได้ด้วยความระมัดระวัง

รถเลนซ้ายเปิดไฟเลี้ยวขวา

หากพบว่ารถที่อยู่เลนซ้าย อยู่ ๆ เปิดไฟเลี้ยวขวา เป็นการขอทางเพื่อจะแซง เมื่อพบว่ามีรถเปิดสัญญาณไฟแบบนี้ หากอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสม ก็สามารถชะลอความเร็วเพื่อให้รถคันที่ขอทางนี้แซงออกไปได้

กระพริบไฟสองทีขึ้นไป พร้อมบีบแตรร่วมด้วย

ในกรณีที่เรากำลังจะกลับรถ แต่พบว่ารถจากฝั่งตรงข้ามกระพริบไฟใส่เรา 2 ที หมายถึง อย่าเพิ่งกลับรถ เพราะรถกำลังแล่นมาด้วยความเร็วสูง หรือบางคันอาจจะให้สัญญาณนี้ร่วมกับการบีบแตรด้วย

รถบรรทุกเปิดไฟฉุกเฉิน

หากคุณมักเดินทางไกลอยู่บ่อย ๆ อาจจะเคยเห็นรถบรรทุกเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินขณะรอสัญญาณบริเวณไฟแดง หมายถึงว่า รถบรรทุกจะต้องการขับตรงไปอย่างช้า ๆ รถคันหลังสามารถออกซ้ายหรือขวาตามสะดวก

การดูแลไฟหน้ารถไม่ให้เหลือง

เนื่องจากไฟหน้ารถยนต์ ไม่ได้มีไว้เพียงทำหน้าที่เพื่อความสวยงามของรถ แต่ยังช่วยเพิ่มความสว่างในการมองเห็นของผู้ขับขี่และเพื่อนร่วมทาง รวมไปถึงการให้สัญญาณต่าง ๆ ให้กับเพื่อนร่วมทาง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้ไฟหน้ารถใส สว่าง ไม่เหลือง เรามีวิธีดูแลไฟหน้ารถยนต์มาฝากกันค่ะ

เช็ดโคมไฟหน้า

ความสกปรกที่เกาะบนโคมไฟหน้ารถ จะทำให้ไฟหน้ารถยนต์ไม่สามารถส่องสว่างได้เต็มที่ หมั่นเช็ดทำความสะอาดคราบสกปรกออกจากโคมไฟหน้ารถ หรือให้เช็ดพร้อมกับเช็ดกระจกหน้ารถ

ขัดไฟหน้ารถยนต์

รถอายุหลายปีมักเริ่มประสบปัญหาโคมไฟหน้ารถยนต์เหลือง ขุ่น ไม่ใสเหมือนก่อน สามารถนำวิธีขัดไฟหน้ารถยนต์ที่เราได้แนะนำต่อไปนี้นำไปใช้ได้

ขัดไฟหน้ารถ ด้วยยาสีฟัน

ยาสีฟัน เป็นของที่หาได้ง่ายมากที่สุด ราคาประหยัด แถมชาวเน็ตยังการันตีว่าได้ผลจริง โดยสิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ ยาสีฟัน ผ้าแห้ง/ แปรงสีฟันนุ่มสำหรับขัด  และผ้าแห้งสำหรับเช็ด ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถด้วยยาสีฟันมีดังนี้

1.ล้างโคมไฟหน้ารถให้สะอาดก่อนขัดไฟหน้ารถ

2.ใช้ยาสีฟันทาไฟหน้ารถให้ทั่ว

3.ใช้ผ้าแห้งสำหรับขัด ถูวนเบา ๆ หรือใช้แปรงสีฟันนุ่มขัดบริเวณโคมไฟหน้ารถประมาณ 1-2 นาที

4.นำผ้าชุบน้ำเช็ดยาสีฟันออก เป็นอันเสร็จ

ขัดไฟหน้ารถ ด้วยเบคกิ้งโซดา+มะนาว

เบคกิ้งโซดา ถือได้ว่ามีประโยชน์สารพัดสำหรับทั้งงานครัว งานซักล้าง หรือแม้กระทั่งการทำอาหารหรือขนม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาขัดไฟหน้าได้อีกด้วย โดยสิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เบคกิ้งโซดา มะนาวหั่นแว่น น้ำเปล่า ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถด้วยเบคกิ้งโซดามีดังนี้

1.นำเบคกิ้งโซดาผสมกับน้ำเปล่าเล็กน้อย

2.นำมะนาวหั่นแว่นจุ่มลงไปในเบคกิ้งโซดาที่เตรียมไว้

3.นำมะนาวไปขัดไฟหน้ารถจนกว่าจะใส แต่ข้อควรระวังคืออย่าให้น้ำมะนาวโดนสีรถ

ขัดไฟหน้ารถ ด้วยสเตคลีน

สเตคลีน เป็นครีมทำความสะอาดอเนกประสงค์หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป ราคาไม่แพง  สามารถเช็ดทำความสะอาด คราบต่าง ๆ ได้หลายพื้นผิว สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ สเตคลีน ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถด้วยสเตคลีนมีดังนี้

1.ทาสเตคลีนให้ทั่วโคมไฟหน้ารถทิ้งไว้สักครู่

2.ใช้ผ้านุ่มเช็ดออก

สำหรับใครที่มีเครื่องขัดก็สามารถใช้ร่วมกับสเตคลีนขัดไฟหน้ารถได้ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ สเตคลีน เครื่องขัด กระดาษทรายเบอร์ละเอียด หรือ เบอร์ 1000 และน้ำยาล้างจาน ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถด้วยสเตคลีน+เครื่องขัดมีดังนี้

1.ขัดไฟหน้ารถด้วยกระดาษทราย ระหว่างขัดให้เทน้ำด้วย

2.ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

3.ทาสเตคลีน แล้วด้วยเครื่องขัด

4.ล้างออกด้วยน้ำยาล้างจานอีกครั้ง

ขัดไฟหน้ารถ ด้วยกระดาษทราย

วิธีนี้อาจจะเหมาะสำหรับคนที่เคยขัดโคมไฟหน้ารถด้วยกระดาษทรายมาบ้าง โดยเลือกกระดาษทรายอย่างน้อย 2 เบอร์ ได้แก่ กระดาษทรายน้ำเบอร์ 320 และกระดาษทรายน้ำเบอร์ 1,000 ซึ่งคนละแบบกับกระดาษทรายขัดไม้ และเตรียมสเปรย์เคลือบเงา ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถด้วยกระดาษทรายมีดังนี้

1.นำกระดาษทรายน้ำเบอร์ 320 ชุบน้ำนิดหน่อย ขัดโคมไฟหน้าด้วยแรงขัดสม่ำเสมอจนผิวเรียบเนียน ล้างด้วยน้ำเปล่า

2.เปลี่ยนมาใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 1,000 ซึ่งเป็นเบอร์ละเอียด ชุบน้ำนิดหน่อย ขัดโคมไฟหน้ารถต่อประมาณ 5 นาทีหรือจนกว่าส่วนที่ขุ่นจะหลุดออกมา

3.ฉีดพ่นโคมไฟหน้ารถด้วยสเปรย์เคลือบเงา

4.นำกระดาษทรายน้ำเบอร์ 1,000 ขัดโคมไฟหน้ารถอีกครั้ง โดยขัดเป็นวงกลมหลายครั้งจนโคมไฟหน้าใส

ขัดไฟหน้ารถ ด้วยน้ำยาขจัดคราบ

น้ำยาขจัดคราบหรือน้ำยาล้างห้องน้ำ ยังสามารถใช้ขัดไฟหน้ารถได้ แต่ต้องระวังสักนิดเพราะอาจจะไหลไปโดนผิวรถได้ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ น้ำยาขจัดคราบ ถุงพลาสติก ผ้าไมโครไฟเบอร์ ขั้นตอนขัดไฟหน้ารถน้ำยาขจัดคราบมีดังนี้

1.ทำความสะอาดโคมไฟหน้ารถและเช็ดให้แห้ง

2.นำถุงพลาสติกหรือแผ่นพลาสติกแปะในส่วนของผิวรถ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาขจัดคราบไหลไปโดน

3.พ่นน้ำยาขจัดคราบที่โคมไฟหน้ารถ ทิ้งไว้ 2-3 นาที

4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดโคมไฟหน้ารถ

5.ล้างโคมไฟหน้ารถด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง

6.ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดให้แห้งเป็นอันเสร็จ

เปลี่ยนโคมไฟหน้ารถใหม่เมื่อมีรอยแตก

หากพบว่าโคมไฟหน้าเกิดความเสียหาย ควรรีบเปลี่ยนโคมไฟหน้ารถใหม่ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ฝุ่น ละอองน้ำมันรถ หรือความชื้นเข้าไปภายในโคม ไฟ มีผลทำให้ระบบไฟมีปัญหาหรือโคมไฟหน้ามัวจากข้างในอีกด้วย

เปลี่ยนหลอดไฟหน้าเมื่อไฟขาด

หากหลอดไฟหน้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาดหรือเสื่อม ควรเปลี่ยนหลอดไฟหน้าเป็นคู่ เพื่อไม่ทำให้หลอดไฟอีกข้างที่สว่างอยู่ ทำงานหนักมากเกินไป

การเคลือบโคมไฟหน้ารถ

การเคลือบโคมไฟหน้ารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้โคมไฟหน้ารถดูเหมือนใหม่อีกครั้ง โดยทำหลังจากการขัดไฟหน้ารถ เพื่อช่วยเคลือบไฟหน้ารถที่ถูกขัดออกไป ด้วยน้ำยาพ่นเคลือบสำหรับโคมไฟหน้ารถ ช่วยปกป้องแสงแดดไม่ให้โคมไฟหน้ารถเหลืองเร็ว

เชื่อว่าหลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ เนื่องจากมีการทำตามกันโดยที่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วไฟรถยนต์ฉุกเฉินมีไว้สำหรับรถที่จอดเสียไม่สามารถขับต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์นอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นการใช้งานที่ผิดกฎหมาย อาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ใช้รถคนอื่นและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์นั่นเอง แม้ว่าเราจะขับขี่รถตามกฎหมาย แต่เราไม่รู้เลยว่ารถคันอื่นนั้นจะขับรถตามกฎหมายหรือไม่ และอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่คาดฝันได้ เพราะฉะนั้นการเสริมเกราะความคุ้มครองในการเดินทางด้วยการทำประกันรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองทั้งคน ทั้งรถและค่าเสียหายต่าง ๆ จากอุบัติเหตุ จะช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับค่ารักษาพยาบาล ค่าความเสียหาย รวมไปถึงหากเกิดรถเสียกลางทางก็ยังมีบริษัทประกันเข้ามาช่วยดูแลปัญหาในส่วนนี้ได้ด้วย 

vara

Recent Posts