บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

บริหารการเงิน

ตรวจสอบรายชื่อและรับ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แล้ววันนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มแจกจ่ายในวันที่ 21 กันยายน 2560 เป็นต้นไป แก่ผู้ลงทะเบียนฯ ที่ผ่านคุณสมบัติทุกจังหวัด ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม อยุธยา กำหนดรับบัตรฯ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป โดยให้นำบัตรประจำตัวประชาชน และหลักฐานการลงทะเบียนฯ มาติดต่อรับบัตรฯ ได้ที่หน่วยงานที่ได้ลงทะเบียนไว้ 
 
.
.
.
 
.
.
.
 

สิทธิประโยชน์สำหรับ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

1. มาตรการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ให้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยใช้วิธีรูดบัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น

– รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินคนละ 300 บาทต่อเดือน

– รายได้ตั้งแต่ 30,000-100,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินคนละ 200 บาทต่อเดือน

นอกจากนี้ ยังมีวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด 3 เดือน 45 บาท

2. มาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีดังนี้

– วงเงินค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน ผ่านเครื่องแตะบัตรโดยใช้ระบบตั๋วร่วมที่เรียกว่า “บัตรแมงมุม”

แต่ ใช้ได้เฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มี 2 ชิป (อีกชิปหนึ่งฝังอยู่ด้านใน) ที่มีภูมิลำเนา กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ พระนครศรีอยุธยา

– วงเงินค่าโดยสาร รถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 500 บาทต่อเดือน

– วงเงินค่าโดยสารรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 500 บาทต่อเดือน

โดยใช้วิธีรูดบัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ คนต่างจังหวัด จะไม่สามารถใช้บัตรขึ้นรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าได้ ต้องเปลี่ยนภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และมาแจ้งเปลี่ยนบัตรที่มี 2 ชิปได้

หากไม่สะดวกรับบัตรเอง  สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับแทนได้  โดยผู้รับบัตรแทนต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่   พร้อมด้วยเอกสาร ดังนี้
 
– ใบมอบฉันทะ   ที่ระบุชื่อผู้มอบฯ,ผู้รับมอบฯ   พร้อมลงนามทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
 
– สำเนาบัตรประชาชาชนที่มีการลงนามรับรองสำเนา ทั้งของผู้มอบฯและผู้รับมอบฯ
 

ข้อควรรู้สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วงเงินที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเป็นวงเงินในบัตรแบบเดือนต่อเดือน โดยเปลี่ยนวงเงินใหม่ทุกวันที่ 1 ของเดือน

หากเดือนไหนใช้ไม่หมด ถือว่าหมดสิทธิ์ในเดือนนั้นๆ จะทบไปใช้เดือนหน้าไม่ได้ ถือว่ายกประโยชน์ให้รัฐบาลไป เพราะรัฐบาลจะจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ที่ประชาชนขอรับสวัสดิการตามจริง

กรณีบัตรหาย ต้องทำบัตรใหม่ทดแทนบัตรเดิม แบ่งออกเป็นบัตรแบบ 1 ชิป (เฉพาะชิปด้านหน้า) 50 บาทต่อใบ ส่วนบัตรแบบ 2 ชิป เฉพาะกรุงเทพฯ และ 6 จังหวัด (รวมทั้งชิปด้านในสำหรับแตะบัตรขึ้นรถเมล์ หรือรถไฟฟ้า) 100 บาทต่อใบ

 

 

ที่มาของข่าว : KTB , Thairath

vara

Recent Posts