บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุบนท้องถนนมักเกิดมาจากการเมาแล้วขับเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่เอง และยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและอาจทำให้เพื่อนร่วมถนนได้รับอันตรายอีกด้วย จึงทำให้กฎหมายเมาแล้วขับเป็นสิ่งที่จะช่วยควบคุมและลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ เราจึงจะมา อัปเดต กฎหมายเมาแล้วขับ 2567 จะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง 

ทำไมเมาแล้วขับ จึงห้ามขับรถ 

แอลกอฮอล์ มีชื่อทางเคมีว่า  Ethanol หรือ Ethyl Alcohol  เป็นสารกดประสาทชนิดหนึ่ง เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ร่างกายจะกำจัดออกทุกวิถีทาง ในระหว่างที่ตับต้องทำหน้าที่อย่างหนักในการกำจัดแอลกอฮอล์ออก แอลกอฮอล์ก็ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นในร่างกาย เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพื่อไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป หากเราท้องว่างระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยอยู่แล้วยิ่งดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ  จะยิ่งถูกฮอร์โมนอินซูลินออกมาเก็บน้ำตาลในเลือดให้ลดลง จนเกิดอาการน้ำตาลตก ทำให้ผู้ดื่มเริ่มเกิดอาการดังต่อไปนี้ 

  • มึนเมา เวียนหัว ปวดหัว 
  • สูญเสียการทรงตัว การมองเห็น การได้ยิน และการตัดสินใจช้าลง 
  • สมองช้าลง คาดการณ์สถานการณ์เบื้องหน้าได้ลดลง 
  • ดวงตาพร่ามัว มองถนนหนทางชัดเจน 
  • หลับใน 

จากนั้นเมื่อในร่างกายเต็มไปด้วยแอลกอฮอล์หมุนเวียนในกระแสเลือดแล้ว จะเดินทางไปที่สมองต่อ เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปที่สมองแล้วจะมีการซึมเข้าไปสมองส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 

สมองส่วนหน้า (Frontal lobe) 

สมองส่วนหน้า มีทำหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจ อารมณ์ ความคิด สติปัญญา บุคลิกภาพ หากดื่มมากไป จะทำให้เราขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจผิดพลาด บุคลิกภาพที่ผิดปกติอาจเผยออกมา เช่น จากคนเงียบเรียบร้อย อาจจะกลายเป็นคน เฮฮา กล้าแสดงออกเป็นพิเศษ  สำหรับคนที่เป็น Alcoholism สมองส่วนนี้จะถูกทำลาย ส่งผลให้มีความผิดปกติในการเข้าสังคม เป็นต้น 

สมองส่วนความจำ (Hippocampus) 

สมองส่วนความจำ เป็นหน่วยเก็บความทรงจำทั้งดีและที่อยากลืม หากแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปถึงส่วนนี้เราจะสามารถรื้อฟื้นความทรงจำที่อยากลืมออกมาได้ ทำให้เกิดอาการร้องไห้ฟูมฟายพูดในสิ่งที่อยากลืมออกมา เรียกได้ว่า กินเหล้าไม่ได้ช่วยลืมอะไรแย่ ๆ กลับเป็นการเรียกความทรงจำต่าง ๆ กลับมาก็ว่าได้ สำหรับคนที่เป็น Alcoholism สมองส่วนนี้จะถูกทำลายจะทำให้การเรียนรู้ผิดปกติ และเป็นโรคความจำเสื่อม 

สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) 

สมองส่วนไฮโปทาลามัส  ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความหิว ความอิ่ม การนอนหลับ หากส่วนไฮโปทาลามัสถูกซึมซับด้วยแอลกฮอล์ จะทำให้ หิวง่าย กระหายน้ำ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตจะผิดปกติแปรปรวน และคุณภาพการนอนนั้นผิดปกติ 

สมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum) 

สมองส่วนซีรีเบลลัม ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เรามักจะเห็นคนที่ดื่มเหล้ามากเกินไป เดินเซไปเซมา เดินชนสิ่งของหรือคน และไม่สามารถทรงตัวได้ 

ก้านสมอง (Brain Stem) 

ก้านสมองจะคอยควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากมีปริมาณแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้การร่างกายมีการรับรู้และตอบสนองได้ช้าลง 

ก้านสมองส่วนท้ายหรือเมดัลลา (medulla oblongata) 

ก้านสมองส่วนท้ายหรือเมดัลลา มีหน้าที่ใหญ่ในการควบคุม การอาเจียน การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด หากใครดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะทำให้คลื่นไส้ง่าย และหากดื่มมากเกินที่ร่างกายจะรับไหวจะทำให้ถึงขั้น หมดสติ ช็อค หยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ 

กฎหมายเมาแล้วขับ มีอะไรบ้าง 

  • กฎหมายเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน 
  • ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา” 
  • ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

บทลงโทษสำหรับคนเมาแล้วขับ 

สำหรับบทลงโทษหากผู้ขับขี่เมาแล้วขับ หรือไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์  มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000  บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน 

  1. เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ  จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ 
  2. เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000 – 120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี 
  3. เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที 
  4. ถูกตัดแต้มใบขับขี่ -4 คะแนน ตั้งแต่ทำความผิดครั้งแรก 

เมาแล้วขับกับการทำประกันรถยนต์ 

รู้หรือไม่ หากเป่าแอลกอฮอล์เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์คุ้มครองหรือไม่? ก่อนอื่นเราจะมาแยกประเภทของประกันรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ทั้งนี้สำหรับประกันรถยนต์ภาคบังคับ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุใด พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองคน ทั้งผู้เอาประกันและผู้เสียหายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด  โดยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล ส่วนค่าเสียหายของรถนั้น พ.ร.บ.จะไม่คุ้มครองแต่อย่างใด ส่วนประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+ หากคุณเมาแล้วขับประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองทุกกรณีไม่ว่าคุณจะทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ตาม แต่จะยังคุ้มครองฝ่ายเสียหายตามเงื่อนไขของประกันรถยนต์นั้น ซึ่งบริษัทประกันจะไล่เบี้ยค่าเสียหายทั้งหมดจากผู้เอาประกันเพื่อนำไปชดใช้ให้ผู้เสียหายอีกด้วย 

นอกจากนี้ยังมีการปรับเงื่อนไขประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจฉบับใหม่จากที่มีการปรับระดับเป่าแอลกอฮอล์ใหม่เช่นเดียวกัน ได้แก่ 

1.เพิ่มเงินชดเชยค่าสินไหมให้ผู้ประสบภัย 

หากอุบัติเหตุรถชนนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยจากพ.ร.บ.และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจรวมกว่า 1 ล้านบาท แต่ในส่วนของเบี้ยประกันอาจจะมีราคาสูงขึ้นตามความคุ้มครองนั่นเองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันด้วย 

2.กรณีใช้รถทำผิดกฎหมาย 

หากรถที่เกิดอุบัติเหตุได้นำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย ทั้งการปล้นชิงทรัพย์ ขนยาเสพติด หลบหนีการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วเกิดอุบัติเหตุรถชนในภายหลัง ประกันรถยนต์จะไม่จ่ายเงินชดเชยแต่อย่างใดแถมยังมีโทษทางอาญาอีกด้วย 

3.การเคลมประกันโดยทุจริต 

หากผู้ขับขี่มีการขอเคลมโดยทุจริต  เช่น การขอเคลมสีรอบคัน ซึ่งไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุแต่อย่างใด ถือเป็นการเคลมสีที่เป็นเท็จ หากบริษัทประกันตรวจสอบแล้วพบว่าการเคลมเป็นเท็จ นอกจากประกันจะไม่เคลมให้แล้ว ยังอาจถูกยกเลิกประกันโดยไม่ได้รับเงินคืนอีกด้วย 

กฎหมายเมาแล้วขับ 2567 เป็นส่วนหนึ่งที่จะได้ลดการเกิดอุบัติเหตุจากคนเมาแล้วขับ แต่อย่างไรก็ตามการเมาไม่ขับ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาคนเมาขับรถ หรือหากจำเป็นต้องสังสรรค์ควรจะให้คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดมารับกลับบ้าน เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถ และลดการเกิดอุบัติเหตุน่าเศร้าจากความประมาทของคนเมาแล้วขับอีกด้วย  

สมัครสินเชื่อ