ไก่และไข่ ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ต้องมีติดตู้เย็นทุกครอบครัวเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่ จึงสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร สำหรับเกษตรกรผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นเลี้ยงไก่จะต้องรู้เรื่องอะไร เตรียม อุปกรณ์เลี้ยงไก่ การเตรียมโรงเรือน อาหาร เป็นอย่างไร บทความนี้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่มาฝากกันค่ะ

รู้จักสายพันธุ์ไก่ ก่อนเลี้ยงไก่? 

ไก่และไข่ ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการประกอบอาหารของแทบจะทุกครัวเรือนเลยก็ว่าได้ การเลี้ยงไก่ จึงถือเป็นการสร้างอาชีพให้กับผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่เลี้ยงไก่เป็นอาชีพ และเกษตรกรผู้ที่กำลังสนใจเลี้ยงไก่เพื่อสร้างรายได้ โดยก่อนจะเตรียมอุปกรณ์เลี้ยงไก่ มารู้จักกับพันธุ์ไก่ไข่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไก่พันธุ์แท้ และไก่พันธุ์ผสม 

ไก่พันธุ์แท้ – ไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้ เช่น ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร

ไก่พันธุ์ผสม – ไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด

เตรียมอุปกรณ์เลี้ยงไก่ มีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์เลี้ยงไก่ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก โดยการเตรียมอุปกรณ์เลี้ยงไก่ที่ต้องมีนั้น มีดังนี้

1.อุปกรณ์ให้อาหาร

  • ถาดอาหาร เหมาะสำหรับเลี้ยงลูกไก่ ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7 วัน ได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น
  • รางอาหาร ทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติก ทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองข้าง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรับลูกไก่ และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่แทนก็ได้
  • ถังอาหาร ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่ ปกติแล้วถ้าเป็นไก่ไข่สาว ถังอาหาร 1 อันต่อไก่ 10 ตัว
  • รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่งถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1,000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว

2.อุปกรณ์ให้น้ำ

  • แบบรางยาว ทำจากสังกะสี พลาสติก หรือท่อพีวีซี
  • แบบขวดมีฝาครอบ เป็นแบบที่ได้รับความนิยม  เพราะซื้อหาง่าย ใช้งานสะดวก มีหลายขนาดให้เลือก

3.เครื่องกกลูกไก่

  • ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับลูกไก่ที่ยังเล็ก ซึ่งมีหลายแบบให้เลือก เช่น แบบฝาชี แบบหลอดอินฟาเรด หรือแบบรวม เป็นต้น  

4.รังไข่

 รังไข่ มีไว้สำหรับให้แม่ไก่เข้าไปไข่ไว้ในรัง ต้องมีขนาดกว้างพอ ระบายอากาศได้ดี ทำความสะอาดง่าย ภายในมีความมืดพอสมควร โดยรังไข่ทำมาจากทั้ง ถังน้ำ ตะกร้าไม้ไผ่ โอ่ง ถังน้ำ ตะกร้าผลไม้  เป็นต้น สำหรับ 1 รังไข่ ต่อแม่ไก่ 4-5 ตัว

5.วัสดุรองพื้น

การใช้วัสดุรองพื้น เพื่อให้ไก่อยู่ภายในคอกได้อย่างสบาย สะอาด แถมยังนำไปเป็นปุ๋ยต่อได้เมื่อเลิกใช้งาน โดยนิยมใช้แกลบ  ซังข้าวโพด ฟางข้าว ขี้เลื่อย ชานอ้อย เป็นต้น

6.อุปกรณ์ให้แสงสว่าง

แสงสว่าง มีความสำคัญต่อไก่เป็นอย่างมาก เพราะมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่ และยังช่วยในการมองเห็นของไก่เช่นกัน เพราะฉะนั้นภายในโรงเรือน จะต้องมีแสงสว่างอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต โดยจะติดตั้งหลอดไฟภายในโรงเรือน 13 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับหลอดไฟที่นิยมในการใช้โรงเลี้ยงไก่นั้น ได้แก่ หลอดนีออน หลอดฟลูออกรสเซนต์ เป็นต้น

7.คอนนอนไก่

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้น โดยเฉพาะไก่สาว จะต้องทำคอนนอนสำหรับเป็นที่นอนของไก่ มีลักษณะคล้ายขั้นบันได ช่วยทำให้ไก่รู้สึกเย็นสบาย ตำแหน่งการววงคอนนอน ควรพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรือนหรือเล้า ไม้ที่ใช้ทำคอนนอนควรมีลักษณะกลม จะได้มีความคมที่อาจบาดหน้าอกของไก่ ส่วนด้านบนของคอนนอนจะต้องบุตาข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน

การเลี้ยงไก่สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่ ทั้งนี้ในการเลี้ยงไก่ไข่นั้น นอกจากจะจำเป็นต้องเตรียม อุปกรณ์เลี้ยงไก่ ให้พร้อมแล้ว การวางแผนการลงทุนเลี้ยงไก่ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นเส้นทางเกษตรกรเลี้ยงไก่ได้ตามแผนที่วางเอาไว้ ไม่สะดุด ด้วยสินเชื่อรถแลกเงินจากเฮงลิสซิ่ง ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถกระบะ หรือรถเพื่อการเกษตร ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินทุนเพื่อการเกษตรได้ ไม่ต้องพึ่งเงินทุนนอกระบบ สนใจสอบถามได้ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขา มองหาสินเชื่อสีเขียวใกล้บ้านคุณ หรือคลิกปุ่มสีแดงด้านล่างนี้เลย

สมัครสินเชื่อ