ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน นอกจากจะเลือกรุ่นรถที่ชอบ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ จุดชาร์จไฟที่สะดวกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่รู้ไม่ได้คือเรื่องของ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้าเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท เลือกแบบไหนคุ้มค่ากับการใช้งาน บทความนี้มีคำตอบมาฝาก 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นหัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นแหล่งขุมพลังเดียวของรถยนต์ไฟฟ้า การทำความรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะมีความแตกต่างจากแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป เพราะแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จะต้องมีการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่โดยการชาร์จไฟแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเต็มครั้งหนึ่ง จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ วิ่งได้ไกลกี่กิโลเมตร เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้ เพื่อนำมาใช้คำนวณว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละครั้ง คุณจะต้องเสียเงินค่าชาร์จไฟกี่บาท รวมไปถึงเป็นการวางแผนการเดินทาง สำหรับการเดินทางไกลก็จะเป็นจะต้องรู้ว่าระหว่างเส้นทางนั้นมีจุดชาร์จไฟแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ไหนบ้างอีกด้วย ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะใช้แบตเตอรี่รถยนต์ที่แตกต่างกันทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้ 

1.แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion)  

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion) เป็นแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ  ซึ่งมีข้อดีในเรื่องการเก็บประจุไฟฟ้าได้มาก อายุการใช้งานยาวนาน   และมีน้ำหนักเบา ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีอัตราการสูญเสียพลังงานต่ำกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น และสามารถชาร์จได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนก็มีข้อจำกัดในเรื่องของ ราคาสูง และมีอายุการใช้งานจำกัด  รวมไปถึงอาจมีโอกาสที่แบตเตอรี่รถยนต์ประเภทนี้จะลุกไหม้หรือระเบิดหากแบตเตอรี่มีความร้อนสะสมเกิน 500 องศาเซลเซียส (Thermal Runaway)  

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ Li-ion 

ปัจจุบัน รถ EV ที่นิยมใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า Li-ion เช่น รถเกือบทุกรุ่นของ TESLA, ORA Good Cat, Nissan Leaf, MG ZS EV, MG EP, Mini Cooper SE, BMW i3, BMW i4, BMW iX, BMW iX3, Audi e-tron, Porsche Taycan 

2.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery)  

แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery) เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกนำมาใช้เพื่อจุดสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือรถยนต์เครื่องสันดาป หรือรถยนต์ที่เราใช้กันทั่วไปตามท้องถนน จ่ายกระแสไฟให้ระบบแอร์ วิทยุ และมีราคาไม่แพง แต่จะมีอายุการใช้งานสั้น  โดยแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดนี้มี 3 แบบ ได้แก่ แบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่กึ่งแห้ง ไม่เหมาะนำมาใช้เป็นพลังงานหลักหรือเป็นแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แต่นำมาเป็นแบตเตอรี่สำรองของรถยนต์ไฟฟ้าได้   

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด 

รถยนต์ HEV, PHEV ในท้องตลาดทุกรุ่น , BEV บางรุ่น เช่น Tesla Model 3 

3.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH)  

แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ทั้งรถยนต์ Hybrid (HEV หรือ PHEV) มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และยังทนทานต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย ทั้งนี้แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ยังมีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง เก็บไฟได้น้อยกว่าลิเธียมไอออน และยังมีการคายประจุสูงแม้ไม่ได้มีการใช้งานอีกด้วย 

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ Ni-MH 

แบตเตอรี่ Ni-MH นิยมนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า รถยนต์ Hybrid ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เช่น Toyota Corolla Hybrid, Toyota Camry Hybrid, Honda Accord Hybrid เป็นต้น 

4.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery) 

แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน หรือแบตเกลือ เป็นแบตเตอรี่ที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่า Li-Ion  3-4 เท่า แต่สามารถเก็บไฟได้เกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาเพียง 20 นาที  และยังทนต่อสภาพอากาศร้อนสูงหรือหนาวจัดได้ดี แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง Energy Density แบตเกลือจะให้พลังงานน้อยกว่า Li-Ion แต่มีน้ำหนักมากกว่า Li-Ion   

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน 

BYD เตรียมใช้แบตเกลือกับรถยนต์ Mini Car รุ่น Seagull 

5.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชนิดโซลิดสเตต (Solid State Battery) 

แบตเตอรี่ชนิดโซลิดสเตต เป็นแบตเตอรี่ชนิดแข็ง เปลี่ยนอิเล็กโทรไลต์เหลวให้กลายเป็นอิเล็กโทรไลต์แข็งจึงมีโอกาสติดไฟต่ำ ให้ความจุและประสิทธิภาพได้ดีกว่าแบตเตอรี่ทุกชนิด นอกจากนี้ยังมีความเสถียรสูงกว่า ปลอดภัยกว่า และยังชาร์จไฟได้เร็วแบตเตอรี่ชนิดอื่น แต่แบตเตอรี่ชนิดนี้ทางบริษัทรถยนต์หลายค่ายให้ความสนใจและอยู่ในระหว่างการพัฒนาและจะพร้อมใช้งานจริงกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต 

6.แบตเตอรี่ชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors) 

แบตเตอรี่ชนิดนี้เป็นเพียงตัวเก็บประจุไฟฟ้า แต่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้เร็วกว่าแบตเตอรี่ปกติ โดยตัวเก็บประจุไฟฟ้านี้นำมาช่วยในการเร่งอัตราการออกสตาร์ทของรถ ev แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเก็บพลังงานที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ทั่วไปขนาดเดียวกัน   

ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ตัวเก็บประจุไฟฟ้า Ultracapacitors 

รถยนต์ไฮบริดระดับ Super Car หลากหลายรุ่น เช่น Lamborghini Sián FKP 37 หรือ Lamborghini Aventador เป็นต้น 

7.แบตเตอรี่อีกนิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd)  

แบตเตอรี่อีกนิเกิล-แคดเมียม เคยนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงศตวรรษที่ 90 แต่ปัจจุบัน Ni-Cd เป็นแบตเตอรี่ต้องห้าม เนื่องจากมีความเป็นพิษจากสารแคดเมียมรั่วไหลระหว่างขั้นตอนการผลิต   

Energy Density ของแบตเตอรี่ คืออะไร? 

Energy Density หรือความหนาแน่นของพลังงาน คือ ความสามารถในการจ่ายพลังงานต่อน้ำหนัก โดยมีหน่วยเป็น วัตต์-ชั่วโมงต่อกิโลกรัม (Wh/kg) อธิบายคือด้วยมวลน้ำหนัก 1 กิโลกรัม แบตเตอรี่ชนิดนั้น สามารถให้พลังงานได้กี่วัตต์ ใน 1 ชั่วโมง 

ชนิดของแบตเตอรี่  Energy Density 
แบตเตอรี่ตะกั่วกรด  30-50 Wh/kg 
แบตเตอรี่ Nickel-metal Hydride  60-120 Wh/kg 
แบตเตอรี่ Nickel-Cadmium  45-80 Wh/kg 
แบตเตอรี่ Lithium Ion  50-260 Wh/kg 
Supercapacitors  85-136 Wh/kg 
แบตเตอรี่ Solid State  350-500 Wh/kg 
แบตเตอรี่ Sodium Ion  160 Wh/kg2 

 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า อายุการใช้งานใช้ได้กี่ปี? 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นหัวใจและขุมพลังหลักของรถยนต์ไฟฟ้า 100% เพราะฉะนั้นอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะเป็นตัวกำหนดคร่าว ๆ ว่าในระหว่างที่คุณใช้รถนี้ คุณจะต้องเตรียมเงินอีกเท่าไหร่สำหรับเตรียมเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก้อนใหม่นี้ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนเคยได้ข่าวเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากันมาบ้างแล้ว ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเกือบครึ่งหนึ่งของราคารถเลยก็ว่าได้ แล้วปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าบ้าง 

1.อุณหภูมิ 

อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า  เมื่อไหร่ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปอาจมีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ การใช้งานในสภาวะอากาศร้อนมากเกินไป เสียงที่แบตเตอรี่จะร้อนสะสมจนระเบิดได้ หรือหนาวมากอาจทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพลดลง 

2.รอบการชาร์จ (Cycle time) 

รอบการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 1 ครั้ง เต็ม 100% จะเรียกว่า 1 Cycle time ยิ่งรอบการชาร์จ (Cycle time) มากขึ้น แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก็จะเริ่มเก็บไฟได้น้อยลง โดยแบตเตอรี่ลิเธียมจะมีอายุการใช้งานประมาณสามพันรอบการชาร์จขึ้นไป หรือประมาณ 10 ปี  

3.ระบบการชาร์จไฟ 

รถยนต์ไฟฟ้าจะมีระบบการชาร์จ 2 แบบ ได้แก่ การชาร์จแบบ AC คือ การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ผ่าน Wallbox  และการชาร์จแบบ DC คือ การชาร์จที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการชาร์จไฟฟ้าได้เร็วที่สุด แต่ยิ่งใช้ DC Quick Charge บ่อย จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพสูง อายุการใช้งานแบตเตอรี่ลดลง เพราะฉะนั้นอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ เกี่ยวข้องกับระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยไฟกระแสตรง DC ในสภาพอากาศร้อนอบอ้าว เปรียบเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ใช้การชาร์จอย่างรวดเร็ว รถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จไฟ AC เป็นหลัก แสดงการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ 0.1% 

4.พฤติกรรมในการชาร์จไฟ 

พฤติกรรมการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้ มีส่วนทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมลง หากปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟหมด แล้วค่อยเอารถไปชาร์จไฟ จะทำให้แบตเสื่อมสภาพเร็ว เพราะฉะนั้นควรนำรถไปชาร์จไฟ ก่อนที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่มีไฟเหลืออยู่ ช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้  

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นหัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้า 100% เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท อายุการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า การดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยให้คุณพิจารณาได้ว่าคุณพร้อมที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไม่เพียงแค่ซื้อรถมาแล้วใช้ได้เลยยาว ๆ เหมือนรถใช้น้ำมัน แต่ยังมีแบตเตอรี่รถที่คุณต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน ซึ่งราคาของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นก็มีราคาสูงเช่นกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าให้รอบด้านก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ก็จะช่วยคุณตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่านั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามในระหว่างที่คุณกำลังตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าดีหรือไม่ การทำประกันรถยนต์สำหรับรถที่คุณกำลังใช้งานอยู่นั้น ก็เป็นสิ่งที่คุณควรทำอยู่ไม่น้อย เพราะช่วยคุ้มครองคุณในทุกการเดินทาง และให้ความคุ้มครองมากกว่าการทำพ.ร.บ.รถเพียงอย่างเดียว สนใจทำประกันรถยนต์ คลิก 

สมัครสินเชื่อ