การ ข้ามทางม้าลาย เป็นการกระทำเพื่อความปลอดภัยของผู้เดินทางเท้า ส่วนผู้ใช้รถจำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางม้าลาย เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของบนท้องถนนด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการข้ามทางม้าลาย กฎหมายและข้อปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่และผู้เดินทางเท้า 

รู้กฎหมายการ ข้ามทางม้าลาย เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน 

ทางม้าลาย เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางมีไว้สำหรับให้คนเดินข้ามทางม้าลายบนถนนอย่างปลอดภัย แต่การข้ามทางม้าลายยังมีหลายคนที่ทั้งให้ความสำคัญและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการข้ามทางม้าลาย เพราะเรามักจะเห็นข่าวคนประสบอุบัติเหตุจากการข้ามทางม้าลาย ทำให้เราเห็นว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความสำคัญ และไม่รู้จักกฎหมายเกี่ยวกับทางม้าลาย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการข้ามทางม้าลาย อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้เดินทางเท้า จำเป็นต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับทางม้าลาย โดยกฎหมายข้ามทางม้าลายสำหรับผู้ที่เดินทางเท้าและผู้ใช้รถที่ควรรู้ ดังนี้ 

การ ข้ามทางม้าลาย สำหรับผู้เดินทางเท้า 

ผู้เดินทางเท้า หากไม่ใช้ทางม้าลายหรือใช้สะพานลอย ภายในระยะ 100 เมตรจากทางข้าม ถือว่ามีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท   

การ ข้ามทางม้าลาย สำหรับผู้ขับรถ 

1.เมื่อผู้ขับขี่เจอทางม้าลาย ให้ผู้ขับขี่ทำการชะลอรถ เตรียมหยุดรถให้คนข้ามถนน เมื่อคนข้ามถนนหมดแล้ว จึงค่อยออกรถต่อไปได้ ทั้งนี้ห้ามจอดรถบนทางม้าลาย และจอดห่างจากทางม้าลายอย่างน้อย 3 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

2.ห้ามขับรถแซงรถคันอื่น ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางม้าลาย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาท โดยในมาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้ 

2.1 เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ 

2.2 ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ 

2.3 เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร 

2.4 เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย 

3.หากขับรถชนคนเดินเท้าจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตบริเวณทางม้าลายจะมีความผิดเพิ่ม 

ข้อควรระวังในการ ข้ามทางม้าลาย 

แม้ว่าจะมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายสำหรับผู้ที่เดินทางเท้าและผู้ขับขี่แล้ว แต่ผู้ที่ใช้ทางม้าลาย ก็ควรใช้ทางม้าลายด้วยความระมัดระวัง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน เพราะไม่ใช่ผู้ขับขี่ทุกคนที่จะให้ความสำคัญหรือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับทางม้าลายที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยข้อควรระวังในการใช้ทางม้าลาย มีดังนี้ 

1.ต้องให้สิทธิผู้ที่ข้ามถนนบนทางม้าลายได้ไปก่อน เพราะตามกฎหมายผู้ขับขี่รถจะต้องหยุดรถให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายไปก่อน แต่อาจจะมีกรณีที่รถได้ชะลอแล้วแต่หยุดรถไม่ทันก่อนที่จะก้าวลงพื้นถนน ผู้ที่ข้ามถนนจะต้องระมัดระวังด้วย                     

2.ผู้เดินทางเท้าต้องดูรถในแน่ใจเสียก่อนจึงจะข้ามทางม้าลายได้ ทั้งนี้เพราะอาจจะมีผู้ที่ไม่เคารพกฎจราจรไม่ชะลอรถก่อนถึงทางม้าลาย ขับรถด้วยความเร็ว แซงรถที่จอดให้ทางแก่คนข้ามทางม้าลาย และผู้ที่ข้ามถนนจะต้องข้ามถนนด้วยความรวดเร็ว ไม่เดินไปคุยโทรศัพท์ไป หรือเดินเอ้อระเหยลอยชาย 

3.หากข้ามทางม้าลายบริเวณทางแยก ต้องระมัดระวังรถที่อาจเลี้ยวเข้ามาหาจากทางโค้งได้      

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางม้าลายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มีการระบุถึงกฎหมายการใช้ทางม้าลายเอาไว้หลากหลายมาตรา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

มาตรา 22  ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้า 

(4) สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณ จราจรไฟสีแดงแสดงพร้อมกับสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง “และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มาทางขวาก่อน” 

หมายความตามในวรรคนี้คือ หากคุณขับรถแล้วต้องการเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา เมื่อเห็นสัญญาณไฟเขียวให้เลี้ยวได้ ให้เลี้ยวด้วยความระมัดระวัง และถ้าเห็นคนเดินข้ามถนนมาแล้ว ให้หยุดรถเพื่อให้ทางกับคนเดินถนนก่อน 

มาตรา 46  ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้ 

(2) “ภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม” ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ 

หมายความตามวรรคนี้คือ เมื่อเห็นทางม้าลายข้างหน้า ห้ามแซงเด็ดขาดในระยะ 30 เมตร 

มาตรา 57 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ 

(4) ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม 

หมายความตามวรรคนี้คือ ห้ามจอดรถทับทางม้าลาย โดยนับจากเส้นไปก่อนและหลัง 3 เมตร เช่นเดียวกับเส้นเหลืองทแยงที่ระบุให้ห้ามจอด 

มาตรา 70  ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วม ทางแยก ทางข้ามเส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถ 

หมายความตามมาตรานี้คือ เมื่อเห็นทางม้าลาย ให้ชะลอความเร็วก่อนทุกครั้ง 

มาตรา 104  ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตร นับจากทางข้าม “ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม” 

หมายความตามมาตรานี้คือ ผู้ที่ต้องการข้ามถนน หากมีทางม้าลายหรือสะพานลอยในระยะ 100 เมตร ให้ข้ามตรงทางม้าลายหรือสะพานลอยเท่านั้น หากข้ามบริเวณอื่น มิเช่นนั้นจะโดนโทษปรับ 

มาตรา 105 คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้ 

(1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง 

(2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้ 

(3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังมิได้ข้ามทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว 

ในมาตรานี้ให้คนเดินถนนที่ข้ามทางม้าลายตรงจุดที่มีสัญญาณไฟ เคารพสัญญาณอย่างเคร่งครัด ถ้าสัญญาณไฟแดงขึ้นก็ห้ามข้ามโดยเด็ดขาด ให้ข้ามได้เฉพาะสัญญาณไฟเขียว และถ้าสัญญาณไฟเขียวกะพริบแล้วตัวยังอยู่บนทางเท้าก็ห้ามข้าม ส่วนคนที่เดินลงไปบนถนนแล้วก็ให้รีบข้ามด้วยความรวดเร็ว 


ทำไมทางม้าลาย ถึงมีสีขาวดำ? 

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมทางม้าลายถึงมีสีขาวสลับดำเหมือนลายของม้าลาย? ก่อนอื่นเรามารู้จักกับทางม้าลายก่อน ทางม้าลายเป็นเครื่องหมายจราจรระดับสากล ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเดินข้ามถนนสามารถเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย ทางม้าลาย เกิดขึ้นครั้งแรกที่ ที่ประเทศอังกฤษ ในปีค.ศ.1934 ทางม้าลาย (Pedestrian Crossing) ยังไม่มีชื่อเรียกที่ชัดเจน แต่ลักษณะของทางม้าลายในสมัยนั้น ก็เหมือนกับทางม้าลายที่เราเห็นกันในปัจจุบัน โดยจุดประสงค์ในการทำทางม้าลาย ก็เกิดขึ้นเพื่อให้คนได้ใช้สำหรับข้ามถนนโดยการข้ามทางม้าลายอย่างปลอดภัย ในช่วงแรกที่มีการทำทางม้าลาย ก็ได้มีการปรับสีของทางม้าลายหลายรูปแบบ โดยมีทั้งเส้นสีเหลืองสลับสีน้ำเงิน สีขาวสลับสีแดง  ต่อมาในปีค.ศ.1951 จึงได้ปรับทางม้าลายเป็นสีขาวสลับดำ และตั้งชื่อทางข้ามถนนนี้ว่า Zebra Crossing หรือ “ทางม้าลาย” และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก 

 การ ข้ามทางม้าลาย มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนนของผู้ที่เดินทางเท้า ซึ่งความปลอดภัยนี้จะเกิดขึ้นได้  ผู้ที่เดินทางเท้าและผู้ที่ใช้รถใช้ถนน จำเป็นจะต้องรู้ข้อกฎหมายและข้อปฏิบัติที่ถูกต้องของการใช้ทางข้ามทางม้าลาย ตามที่เราได้อธิบายไปแล้วข้างต้นนี้เพื่อความปลอดภัยของคนเดินทางเท้า และความไม่ประมาทของผู้ใช้รถ และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถชนคนข้ามถนนที่เราเห็นตามข่าวบ่อยครั้งเพื่อความปลอดภัยของทุกคน    แต่อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ สำหรับผู้ที่ใช้รถแนะนำว่า ควรจะทำประกันรถยนต์ติดรถไว้ เพราะประกันรถจะช่วยคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คุ้มครองเราและเขา รวมไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์อีกด้วย แนะนำประกันรถยนต์ผ่อน 0% ที่เฮงลิสซิ่ง สนใจสอบถามหรือสมัครประกันรถยนต์ คลิกปุ่มสมัครด้านล่างเลย  

สมัครสินเชื่อ