ข่าวอุบัติเหตุทางรถยนต์ สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินทั้งของเราเอง คู่กรณี และของหลวง แล้วหากใครขับรถ  ชนของหลวง ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนแบริเออร์ ขับรถชนต้นไม้ ที่เป็นทรัพย์สินของหลวง จะต้องจ่ายเงินกี่บาท เคลมประกันได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาฝากค่ะ

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนของหลวง จ่ายกี่บาท

ข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถชนรถ รถชนคน ขับรถชนเสาไฟฟ้า เป็นข่าวที่เราเห็นกันเป็นประจำ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่ถ้าหากงานนี้มีการขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนป้ายจราจร หรือขับรถชนของหลวง เรียกได้ว่างานเข้า! หลายคนรู้ว่าหากขับรถชนเสาไฟฟ้า ทำของหลวงเสียหาย จะต้องจ่ายค่าความเสียหายที่ต้องจ่ายให้หลวง กรณีขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนของหลวง เช่น ป้ายจราจร แบริเออร์  เพราะบ่อยครั้งอุบัติเหตุบนท้องถนนผู้ขับขี่มัก ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนไฟจราจร ขับรถชนต้นไม้  แต่ก็ยังไม่รู้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ต้องจ่ายกรณีขับรถชนของหลวงเสียหายเท่าไหร่ แล้วหากรถทำประกันรถยนต์ไว้ จะสามารถเคลมประกันได้หรือไม่ หากไม่มีเงินจ่ายค่าเสียหายทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างไร เราจะอธิบายใหฟังในหัวข้อถัดไป ทั้งนี้อุบัติเหตุทางรถยนต์อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา มาจากความประมาทของผู้ขับขี่เองหรือผู้อื่น จากสภาพทัศนวิสัยที่ไม่ดี สภาพถนนที่ไม่ดี หรือเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่อย่างน้อยการทำประกันภัยรถยนต์ ก็ช่วยเป็นเกราะเพิ่มความคุ้มครองหากคุณได้รับบาดเจ็บ หรือรถเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนได้ ทั้งนี้เรามาดูกันว่าขับรถชนของหลวง ไม่ว่าจะเป็นขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้นไม้ข้างทาง ป้ายจราจร เสาสัญญาณไฟจราจร หรือของหลวงอื่น จะต้องเสียค่าปรับกี่บาท ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเพียงราคาประเมิน เพราะในพื้นที่จริงอาจมีความเสียหายอื่นเพิ่มเติม

ขับรถชนเสาไฟฟ้า 

บ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นข่าวคนเมาแล้วขับ หรือคนขับรถเร็วแล้วหลุดโค้งไปชนเสาไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ เสาไฟฟ้า ถือเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานภาครัฐ หรือการไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่โดยจะมีทั้งการไฟฟ้านครหลวงหรือส่วนภูมิภาค ทั้งนี้การประเมินความเสียหายของเสาไฟฟ้านั้นจะขึ้นอยู่กับ ความสูงของเสาไฟฟ้าและประเภทกำลังไฟ เช่น

เสาไฟฟ้าแรงต่ำ : 10,000-30,000+ บาท/ต้น

เสาไฟฟ้าแรงกลาง : 30,000-100,000+ บาท/ต้น

หากมีอุปกรณ์อื่นติดตั้งอยู่ด้วย เช่น  หม้อแปลงไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สาย Internet สายไฟฟ้า ค่ารื้อถอน ค่าติดตั้งใหม่ ค่าอุปกรณ์อื่น ๆ บวกเพิ่ม ประมาณ 500,000 บาท

หากมีสัญญานอินเตอร์เน็ต ค่าเสียหายอาจจะสูงถึง 1,000,000 บาท

ขับรถชนของหลวงอื่น ๆ

เจอค่าเสียหายของเสาไฟฟ้าแล้ว หลายคนอาจรู้สึกหนาว ๆ ร้อน และอาจจะระมัดระวังในการขับขี่รถบนท้องถนนมากขึ้น ทั้งนี้ยังมีของหลวงอื่น ๆ ที่มักได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน ดังนี้

แบริเออร์ (Barrier)  800 – 15,000 บาท ต่อชิ้น ขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุ จำนวน และระดับความเสียหาย

ต้นไม้ พุ่มไม้  2,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่ที่เขตและเทศบาลเป็นผู้ประเมินราคา

ป้ายจราจร 1,000 – 2,000 บาท ตามสภาพความเสียหายและขนาดป้าย

กรวยจราจร 200-800 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และจำนวนที่เสียหายทั้งหมด

แผงกั้นจราจร 1,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุ ขนาดและจำนวนความเสียหาย

เสาล้มลุก 800-3,500 บาท 

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนของหลวง ไม่มีเงินจ่าย ทำอย่างไร

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนของหลวง ย่อมมีความผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ว่า “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทั้งนี้หากรถของคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ ก็จะทำให้การจ่ายค่าปรับง่ายขึ้น แต่หากยังมีส่วนต่างที่ต้องจ่ายก็สามารถขอไกล่เกลี่ยกับเจ้าของทรัพย์สินได้ ส่วนประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ ประกันชั้น 3+ จะไม่คุ้มครองในส่วนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีเงินจ่าย ก็สามารถเข้าไปติดต่อไปที่สำนักงานของเจ้าของทรัพย์สิน เพื่อขอผ่อนชำระหรือขอไกล่เกลี่ยค่าเสียหายทั้งหมดได้หรือไม่ และที่สำคัญห้ามหนี้เด็ดขาด เพราะจะถือว่าผิดกฎหมาย มาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยค่าเสียหายที่จะต้องจ่ายขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอีกทีค่ะ 

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนของหลวง  เคลมประกันได้หรือไม่

หากคุณขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนของหลวง หากรถคันที่ก่อเหตุนั้นทำประกันรถยนต์ไว้จะสามารถเคลมประกัน หรือประกันจะจ่ายให้ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับแผนประกันรถยนต์ วงเงินและเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ เช่น

1.ประกันรถยนต์ชั้น 1 

บริษัทประกันต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของค่าเสียหายทั้งหมด ไม่ว่าจะชนอะไรก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงิน และเงื่อนไจขตามกรมธรรม์ที่ระบุในสัญญา หากพบว่าค่าความเสียหายนั้นเกินวงเงินที่ทำเอาไว้ เจ้าของรถก็จะต้องรับผิดชอบส่วนที่เหลือเอง

2.ประกันรถยนต์ชั้น 2 

บริษัทประกันจะรับผิดชอบเพียงบางส่วน เจ้าของรถที่สร้างความเสียหายจะต้องเข้ามารับผิดชอบร่วมกันกับประกัน ซึ่งสัญญาและกรมธรรม์ จะระบุอย่างชัดเจนว่า แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบส่วนไหนบ้าง

3.หากทำประกันรถชั้นอื่นหรือไม่มีประกัน

กรณีนี้เจ้าของรถจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด 

*กรณีเมาแล้วขับไปชนเสาไฟฟ้า ชนของหลวง ถือว่าผิดตามสัญญาที่มีไว้ในกรมธรรม์ ทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบในทุกกรณี

การขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาท และทำตามกฎหมายจราจร จะสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนของหลวงอื่น ๆ เพราะนอกจากจะได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ทรัพย์สินของคุณเองและคู่กรณีเสียหายแล้ว หากของหลวงได้รับความเสียหาย และเกินวงเงินที่คุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ เจ้าของรถที่เกิดเหตุจะต้องรับผิดชอบค่าความเสียหายที่เหลือนี้เอง แต่อย่างน้อยการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็เป็นตัวเลือกของความคุ้มครองที่ดีสำหรับเหตุการณ์เช่นนี้ได้ และที่สำคัญหากสามารถจ่ายค่าความเสียหายได้ ไม่จำเป็นต้องหนี เพราะสามารถต่อรองหรือขอไกล่เกลี่ยกับเจ้าของทรัพย์สินนั้นได้ หรือหากเป็นไปได้ การขับรถด้วยความไม่ประมาท มีสติ  และทำตามกฎหมายจราจร จะช่วยลดโอกาสและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนนได้ สนใจทำประกันรถยนต์เพื่อเพิ่มความคุ้มครอง แนะนำ ประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ผ่อนสบายสูงสุด 12 งวด คลิกเลย

หากขับรถชนเสาไฟฟ้า เอาตัวรอดอย่างไร

เราจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายและความเสียหายจากการขับรถชนเสาไฟฟ้ามีราคาสูงมาก แม้ว่าจะมีประกันรถยนต์ชั้น 1 แล้ว แต่ส่วนต่างที่เหลือนั้น เจ้าของรถจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด อย่างไรก็ตามชีวิตของผู้ขับขี่เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก หากขับรถชนเสาไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งกระแสไฟอันตราย อาจเสี่ยงที่คนในรถถูกไฟฟ้าดูด โดยวิธีเอาตัวรอดหากขับรถชนเสาไฟฟ้า มีดังนี้

1.สายไฟฟ้าขาด พาดมาโดนตัวรถ

หากสายไฟฟ้าขาดแล้วมาพาดโดนตัวรถ ห้ามผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารบนรถลงจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้ากระจายอยู่รอบตัวรถประมาณ 10 เมตร ให้โทรแจ้ง 1129 (PEA Online) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า

2.รถไฟไหม้และติดอยู่ในรถ

ก่อนอื่นให้ทุกคนตั้งสติ พยายามอย่าแตะชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ โครงเหล็ก เพราะจะมีกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นให้กระโดดออกจากรถ  เก็บมือสองข้างไว้ด้านหน้า ขาชิดติดกัน และกระโดดขาคู่ติดพื้นให้พ้นจากบริเวณพื้นที่อันตรายดังกล่าว

3.หากเจอคนขับรถชนเสาไฟฟ้า 

ในระหว่างทางหากคุณเจออุบัติเหตุขับรถชนเสาไฟฟ้า ให้อยู่ห่างจากที่เกิเหตุประมาณ 10 เมตร และโทรแจ้ง 1129 (PEA Online) หรือแจ้งสายด่วน MEA 113 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กรณีที่มีคนได้รับบาดเจ็บให้โทรเรียกรถพยาบาล เพื่อขอความช่วยเหลือทันที

อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นไปแล้ว และเกิดความเสียหายเพราะขับรถชนของหลวง ขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนเสาไฟจราจร หรืออื่น ๆ เจ้าของรถที่ก่อเหตุ จะต้องจ่ายค่าเสียหายแม้ว่าตนจะไม่ได้ตั้งใจให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้หากคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ยังมีประกันรถยนต์เข้ามาช่วยเหลือในส่วนของค่าความเสียหายกรณีขับรถชนเสาไฟฟ้าได้ หรือหากมีประกันชั้นอื่น อย่างน้อยคุณก็ยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของแต่ละแผนประกันได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการทำประกันรถยนต์ติดไว้สักกรมธรรม์ จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพิ่มความอุ่นใจให้ทุกการเดินทางได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องเบี้ยประกันว่าจะแพง เพราะซื้อประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ไม่มีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้ จ่ายสบาย ๆ นานสุด 12 งวด สนใจคลิกเลย