แบตเตอรี่รถยนต์ คือ หัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นแหล่งพลังงานหนึ่งเดียวของรถไฟฟ้า จึงจำเป็นอย่างมากที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องรู้จักวิธีการ ชาร์จรถไฟฟ้า แต่ละแบบซึ่งมีระยะเวลาการชาร์จ หัวชาร์จ สถานที่ และค่าบริการแตกต่างกันอีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องรู้จักวิธีการชาร์จรถไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเลือกวิธีชาร์จได้อย่างเหมาะสม

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า

 การ ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่แบบ

การชาร์จรถไฟฟ้า เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือผู้ที่วางแผนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ควรศึกษาเรื่องระบบการชาร์จรถไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นการเติมพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า โดยเทคโนโลยีการชาร์จรถไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การชาร์จประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำ และการชาร์จรถไฟฟ้าแบบไร้สาย ในบ้านเราการชาร์จรถไฟฟ้าผ่านตัวนำหรือการชาร์จรถไฟฟ้าผ่านสายชาร์จเคเบิลมีให้บริการตามสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป ทั้งนี้การชาร์จรถไฟฟ้าผ่านสายชาร์จเคเบิล ยังสามารถแยกได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ การชาร์จรถไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) และ การชาร์จรถไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) โดยอธิบายในแต่ละประเภทได้ดังนี้

 ชาร์จรถไฟฟ้า แบบปกติ (Normal Charge)

การชาร์จรถไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) เป็นการชาร์จรถไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านอุปกรณ์ตัวแปลง หรือ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อทำการเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับ ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อชาร์จประจุเข้าไปในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยทั่วไปการชาร์จรถไฟฟ้าแบบนี้ จะใช้เวลานานพอสมควร จึงเหมาะสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เรียกอุปกรณ์ชาร์จแบบนี้ว่า Wall Box

 ชาร์จรถไฟฟ้า แบบเร็ว (Quick Charge)

แบบ Quick Charge หรือ การชาร์จแบบเร็ว ซึ่งจะเป็นการชาร์จโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง โดยระบบนี้สามารถจ่ายไฟได้สูง สามารถชาร์จโดยใช้เวลาสั้นกว่า แต่เนื่องจากเป็นการชาร์จด้วยกำลังไฟที่สูง จึงต้องใช้จุดที่มีกระแสไฟที่สูงเพียงพอ ซึ่งส่วนมากเป็นที่สาธารณะ หรือก็คือ EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ตามสถานีบริการน้ำมัน หรือตามอาคารที่ติดตั้งตู้ประเภท

โดยตู้ชาร์จไฟฟ้าแบบ Quick Charge นี้จะมีหัวชาร์จอยู่ 3 แบบ ซึ่งแต่ละหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าว่ารองรับมาตรฐานหัวชาร์จแบบไหน ซึ่งจะมีอยู่ 3 แบบหลักๆ คือ AC(Type1/Type2), DC Chademo และ DC CCS ซึ่ง ทั้ง 3 แบบ ก็จะมีลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างกันลงไปอีก อย่าง DC CHAdeMO ที่ญี่ปุ่น กับจีนจะมาในรูปทรงเดียวกันแต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่เล็กน้อย

การชาร์จรถไฟฟ้าแบบเร็ว หรือ Quick Charge เป็นการชาร์จโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จึงทำให้สามารถจ่ายไฟได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยความที่การชาร์จแบบเร็วต้องให้กำลังไฟสูง จึงจำเป็นต้องตั้งจุดชาร์จรถแบบนี้ตามสถานีบริการน้ำมัน หรือห้างสรรพสินค้า ที่เรียกว่า EV Charger โดยตู้ชาร์จรถไฟฟ้าจะมีหัวชาร์จทั้งหมด 3 แบบ โดยรถแต่ละรุ่นจะมีหัวชาร์จรถไฟฟ้าที่แตกต่างกัน แต่จะมีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่ GB/T, DC Chademo และ DC CCS Type1/Type2

GB/T

หัวชาร์จแบบ GB/T เป็นหัวชาร์จที่มีประเทศจีนเป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ

CHAdeMo

ย่อจากคำว่า CHArge de Move แปลได้ว่า ชาร์จไฟแล้วขับต่อไป หรือชื่อระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น

CSS Combo

คำว่า CCS ย่อมาจาก Combined Charging System ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • CCS TYPE1 หัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V
  • CCS Type2 หัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 ด้วย

ระยะเวลาในการ ชาร์จรถไฟฟ้า

ก่อนที่หลายคนจะตัดสินใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจและไม่มองข้าม คือเรื่องของระยะเวลาการชาร์จรถไฟฟ้า เพราะระยะเวลาในการชาร์จรถไฟฟ้า จะมีผลต่อระยะเวลาในการวางแผนการเดินทาง เพราะเดิมทีแล้วการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจะใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าแล้ว ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการเติมน้ำมันนานพอสมควร โดยปกติแล้วการชาร์จรถไฟฟ้าแบบ DC Charging จะสามารถชาร์จถึง 80% ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที ส่วนการชาร์จรถไฟฟ้าแบบ AC Charging หรือการชาร์จแบบ Wallbox จะใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 4 – 7 ชั่วโมง ส่วนการชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดา Normal Charge จะใช้เวลาในการชาร์จไฟฟ้าประมาณ 12-15 ชั่วโมง

ชาร์จรถที่บ้าน

สถานี ชาร์จรถไฟฟ้า เปิดที่ไหนบ้าง?

นอกจากชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านแล้ว การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยังเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าควรศึกษาว่าสถานีเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเดินทางที่ต้องไป-กลับประจำวัน หรือเส้นทางสำหรับเดินทางไกล สำหรับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีมากกว่า 1,400 แห่ง เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ โดยทางผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละค่าย จะมีแผนที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแสดงอยู่ทั่วประเทศ ทั้งนี้สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละแห่งมีดังนี้

  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง (MEA EV)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA VOLTA)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (PTTOR)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เอ็มจี (MG EV Charger Station)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า บีเอ็ม ดับเบิลยู (BMW EV Charger Evolt)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เทสลา (Tesla)
  • สถานีชาร์จรถไฟฟ้า BYD (Rêver Automotive)

โดยสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละแห่ง แยกเป็นสถานีชาร์จในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้

สถานีชาร์จ รถไฟฟ้า ที่ทำการการไฟฟ้านครหลวง (MEA EV)

  1. การไฟฟ้านครหลวงเขต วัดเลียบ
  2. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางขุนเทียน
  3. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางเขน
  4. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางใหญ่
  5. การไฟฟ้านครหลวงเขต ธนบุรี
  6. การไฟฟ้านครหลวงเขต สมุทรปราการ
  7. การไฟฟ้านครหลวงเขต ลาดกระบัง
  8. การไฟฟ้านครหลวงเขต นนทบุรี
  9. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางกะปิ
  10. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางพลี
  11. การไฟฟ้านครหลวงเขต ยานนาวา
  12. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางนา
  13. การไฟฟ้านครหลวงเขต นวลจันทร์
  14. การไฟฟ้านครหลวงเขต บางบัวทอง
  15. การไฟฟ้านครหลวงเขต มีนบุรี
  16. การไฟฟ้านครหลวงเขต ราษฎร์บูรณะ
  17. การไฟฟ้านครหลวง สามเสน
  18. ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสามเสน
  19. ฝ่ายธุรกิจขนส่งและผลิตภัณฑ์ บางพูด
  20. สำนักงานเพลินจิต

สถานีชาร์จ พื้นที่พันธมิตร

  1. 7-Eleven สาขา ซอยลาซาล
  2. 7-Eleven สาขา สน.บางขุนนนท์
  3. หมู่บ้าน THER
  4. สวนเบญจกิติ
  5. บจก. กรุงเทพธนาคม
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  7. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  8. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  9. บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น (บางบอน)
  10. บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น (โรงกลั่นบางจาก สุขุมวิท 64)
  11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  12. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  13. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  14. สนามกีฬาศุภชลาศัย

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA VOLTA)

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้ชื่อเว็บและแอปพลิเคชันว่า (PEA VOLTA) ใช้ตรวจสอบสถานีชาร์จของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ 264 สถานีโดยแต่ละสถานีจะประกอบด้วย 2 เครื่องชาร์จ 5 หัวจ่าย แบบ DC 4 หัว และ AC 1 หัว ชาร์จพร้อมกันได้ 3 คัน

  1. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ชลบุรี
  2. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า นครสวรรค์
  3. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า หัวหิน
  4. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ประจวบคีรีขันธ์
  5. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ภาคใต้
  6. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า นครศรีธรรมราช
  7. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ตรัง
  8. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สงขลา
  9. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สุราษฎร์ธานี
  10. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า กระบี่
  11. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ภูเก็ต

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในชื่อว่า EleX by EGAT ให้กำลังไฟสูงสุด 125 kW เปิดให้บริการภายในปั๊มน้ำมัน PT ปัจจุบันมี 50 สาขา

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า จากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เป็นการเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ของ EVAT เพื่อเข้าดูแผนที่ MAP สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกแห่งในประเทศไทยที่เข้าร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดที่คุณอยู่หรือไม่ โดยเปรียบเทียบจากสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางที่ใช้บริการบ่อยๆ และจากข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ พบว่า ในประเทศไทยมีสถานีทั้งหมด 1,479 แห่ง ถือว่าครอบคลุมหลายพื้นที่

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (PTTOR)

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (PTTOR) ชื่อ EV Station PluZ ภายใต้การดูแลของ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ในกิจการของหุ้นโออาร์ (OR) มีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั้งในและนอกปั๊ม ปตท. ประกอบด้วย 362 สถานี แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 60 สถานี, ภาคกลาง 189 สถานี, ภาคอีสาน 70 สถานี และ ภาคใต้ 43 สถานี สำหรับใครที่เป็นสมาชิก Blue Card ก็สามารถสะสมแต้มได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าอื่นอีก อาทิเช่น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ,สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เอ็มจี (MG EV Charger Station),สถานีชาร์จรถไฟฟ้า บีเอ็ม ดับเบิลยู (BMW EV Charger Evolt),สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เทสลา (Tesla) และสถานีชาร์จรถไฟฟ้า BYD (Rêver Automotive)

ชาร์จรถแบบเร็ว

แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จไฟฟ้าใกล้ตัว

นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกในการค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังต่อไปนี้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าใกล้ตัว เช่น

EVolt

แอปพลิเคชัน EVolt ที่ให้คุณสามารถค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าได้สะดวกและง่ายดายผ่านมือถือ โดยสามารถดูข้อมูลได้ว่าแต่ละสถานีว่างหรือไม่ มีคิวเยอะหรือเต็มไหม เพื่อที่จะได้วางแผนเลือกว่าจะขับเข้าไปเติมสถานีไหนดี แถมยังสามารถสั่งเริ่มและหยุดการชาร์จได้ผ่านแอปฯ อีกด้วย

EA Anywhere

แอปฯ จากผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ โดยสถานี EA Anywhere จะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นหลัก สามารถค้นหาสถานีได้สะดวกผ่านแอปฯ บนมือถือ พร้อมทั้งช่วยนำทางไปยังสถานีชาร์จที่ผู้ใช้ต้องการใช้บริการ

PlugShare

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ EV และ Tesla ซึ่งสามารถค้นหาสถานีบนแผนที่ได้ โดยมีตัวกรองการค้นหาตามรูปแบบรถแต่ละประเภท พร้อมทั้งสามารถอ่านและดูรีวิวการใช้งานสถานีต่าง ๆ รวมทั้งเชื่อมต่อกับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าคนอื่น ๆ ได้

MEA EV

แอปฯ สำหรับค้นหา จอง และชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิดในประเทศไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง สามารถใช้ค้นหาสถานีชาร์จได้ทุกค่ายทั่วประเทศ พร้อมระบบวางแผนและคำนวณเส้นทาง มีบอกจุดแวะพักระหว่างทาง แถมยังสามารถจองตู้ชาร์จของสถานีในเครือการไฟฟ้านครหลวงได้อีกด้วย ควบคุมการชาร์จผ่านแอปฯ ได้ รองรับทั้งระบบชาร์จ AC และ DC

EV Station PluZ

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าโดยเครือ ปตท. ครอบคลุมการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยสามารถเช็กความพร้อมในการให้บริการของแต่ละสถานี และเช็กสถานะขณะชาร์จได้แบบเรียลไทม์

PEA VOLTA

แอปฯ สำหรับค้นหาสถานีรถไฟฟ้า ภายในเครือข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งสถานีที่อยู่ใกล้เคียง แสดงผลการค้นหาในรูปแบบแผนที่และนำทางด้วย GPS สามารถเลือกดูข้อมูลหัวชาร์จที่พร้อมใช้งาน และเลือกจองคิวการชาร์จล่วงหน้าได้

ปัจจุบันนี้กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ถือเป็นพาหนะทางเลือกที่ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพราะใช้ไฟฟ้า 100% แทนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ยังมีข้อควรพิจารณาในเรื่องของระยะทางที่วิ่งได้ต่อการ ชาร์จรถไฟฟ้า ในแต่ละครั้ง เพราะการชาร์จรถไฟฟ้า ค่อนข้างใช้เวลานานเมื่อเทียบกับการจอดเติมน้ำมันรถที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถเดินทางต่อได้เลย จึงทำให้การทราบว่าในการชาร์จรถไฟฟ้าเต็ม 100 % ในแต่ละครั้ง รถสามารถวิ่งได้กี่กิโลเมตร จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเดินทาง ว่าเส้นทางที่เราเดินทางนั้นมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจุดไหนบ้าง แต่ละจุดห่างกันกี่กิโลเมตร เพียงพอสำหรับการเดินทางหรือไม่ จะช่วยวางแผนการเดินทางของคุณโดยใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้นั่นเองค่ะ

สมัครสินเชื่อ