การต่อภาษีรถจักรยานยนต์ เป็นสิ่งที่เจ้าของรถต้องทำทุกปี แต่ช่วงโควิดนี้หลายคนอาจจะไม่กล้าเดินทางไปที่ขนส่ง ซึ่งข้อนี้ไม่ต้องห่วง เพราะตอนนี้เราสามารถ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ได้โดยไม่ต้องไปทำเรื่องที่ขนส่ง ส่วนจะต้องทำอย่างไร เฮงลิสซิ่งมีคำตอบมาฝากค่ะ

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก

กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของรถมากขึ้นโดยไม่ต้องไปทำเรื่องต่อภาษีที่ขนส่ง ด้วยช่องทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยสามารถ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้ง่าย ๆ โดยรถจักรยานยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี สามารถ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ออนไลน์ได้ ส่วนรถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี  รับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก สามารถยื่นชำระ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้เช่นกัน แต่ต้องไปตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ใกล้บ้านคุณก่อน โดยมีการเตรียมเอกสารได้แก่ เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาทะเบียนรถ มีค่าบริการเพียง 60 บาท ใช้เวลาไม่นานประมาณ 10-20 นาที ก็เรียบร้อยแล้ว

โดยข้อมูลการตรวจสภาพรถของเรา จะส่งไปยังกรมการขนส่งทางทันที เมื่อทำการตรวจสภาพรถแล้ว ก็ทำการซื้อพ.ร.บ.ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้ที่ตรอ.ที่เราไปตรวจสภาพรถได้เลย หลังจากที่ตรวจสภาพรถและซื้อพ.ร.บ.เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก

 

ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก 

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์

2.ทำการสมัครสมาชิก (ใส่รูปหน้าสมัครสมาชิก)

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.ในการชำระเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งการหักบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ชำระผ่านตู้ ATM หรือ Internet Banking ในแอปพลิเคชันธนาคารของเรา

5.รอป้ายภาษีอยู่ที่บ้านได้เลย ใช้เวลาในการจัดส่งประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ได้รับแล้ว อย่าลืมเอาไปเปลี่ยนแทนป้ายภาษีเดิมเลยนะ

 

เลื่อนล้อต่อภาษี Drive Thru for Tax

การเลื่อนล้อต่อภาษี สามารถดำเนินการได้ที่กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการต่อภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รวมไปถึงรถที่ใช้แก๊ส LPG หรือ NGV เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์มีดังนี้

1.สมุดคู่มือทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนรถ

2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ

3.ใบตรวจสภาพรถ (รถยนต์อายุเกิน 7 ปี /รถจักรยานยนต์อายุเกิน 5 ปี) ที่เราได้จากตรอ.

เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงขี่รถไปที่สำนักงานขนส่ง จะมีช่อง Drive Thru for Tax เลื่อนล้อต่อภาษี คล้าย ๆ เวลาที่เราไปสั่งอาหารที่ช่องไดร์ฟทรูนั่นแหละค่ะ แต่เปลี่ยนจากการสั่งอาหารมาเป็นการยื่นเอกสารที่เราเตรียมไว้ให้กับทางเจ้าหน้าที่ ใช้เวลาไม่กี่นาทีเราก็จะได้ป้ายภาษีเรียบร้อย พร้อมนำไปเปลี่ยนแทนอันเดิมได้เลยค่ะ

จะเห็นว่าการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ผ่าน 2 ช่องทางแรกนี้ มีความคล้ายคลึงกันตรงที่ รถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี จะต้องนำรถไปตรวจสภาพ ทำพ.ร.บ.ให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งสามารถทำได้ที่ตรอ.ที่เดียว จึงสังเกตได้ว่า การต่อภาษีรถจักรยานยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์นี้ ไม่ค่อยเหมาะกับรถอายุเกิน 5 ปี เพราะไหน ๆ ก็จะต้องไปตรอ.อยู่แล้ว ก็ทำตรวจสภาพ ทำพ.ร.บ. ต่อภาษีที่ตรอ.ให้จบในที่เดียวน่าจะมีความสะดวกกว่าอีกด้วย

 

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ที่ตรอ. ที่เดียวจบ ครบทั้งภาษีและ พ.ร.บ.

รถจักรยานยนต์อายุเกิน 5 ปี ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพที่ตรอ.ก่อน รวมไปถึงรถประเภทอื่น แม้ว่าเราจะไม่อยากไปขนส่ง แต่ก็จำเป็นต้องออกจากบ้าน เพื่อไปตรวจสภาพรถเพื่อต่อภาษีรถจักรยานยนต์ แต่เมื่อคุณเข้าไปที่ตรอ.แล้วคุณจะพบว่า นอกจากการตรวจสภาพรถแล้ว ยังมีบริการต่อภาษี และทำพ.ร.บได้ที่ตรอ.ที่เดียว โดยสิ่งที่คุณต้องเตรียมเมื่อเดินทางไปต่อภาษี ทำพ.ร.บ.ได้แก่  เล่มทะเบียนตัวจริง หรือสำเนาทะเบียนรถ บัตรประชาชน และเงิน สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุยังไม่เกิน 5 ปี สามารถข้ามขั้นตอนการตรวจสภาพรถ ไปที่ขั้นตอนการทำเรื่องต่อภาษีรถจักรยานยนต์ได้เลย

รถที่อายุเกิน 5 ปี เมื่อไปถึงที่ตรอ.แล้ว ก็ยื่นสมุดคู่มือทะเบียนรถหรือสำเนาให้เจ้าหน้าที่ โดยจะมีเจ้าหน้าที่อีกส่วนนำมอเตอร์ไซค์ของเราไปตรวจสภาพรถ โดยมีค่าตรวจสภาพ 60 บาท เมื่อเรียบร้อยแล้ว ตรอ.จะออกใบตรวจสภาพ เพื่อให้เรานำไปใช้ในการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ต่อไป ซึ่งหากใครที่ต้องการฝากให้ตรอ.ต่อภาษี ก็สามารถทำได้แจ่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนิดหน่อย แต่แลกกับความสะดวกของเรา ไม่ต้องไปทำเรื่องเอง นอกจากนี้หากพ.ร.บ.ของคุณหมดอายุ โดยพ.ร.บ.จะมีอายุเพียง 1 ปี ก็สามารถซื้อพ.ร.บ.ได้ที่นี่เลย โดยพ..ร.บ.ของรถจักรยานยนต์จะมีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยรถจักรยานยนต์แต่ละขนาดซี.ซี.จะมีค่าเบี้ยแตกต่างกันดังนี้

 

ค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

อัตราค่าเบี้ยพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการรับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ ดังนี้

 

รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

 

ขนาด ซี.ซี. ราคา
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 323.14 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท

 

รถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการรับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ

ขนาด ซี.ซี.

ราคา

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
    เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 376.64 บาท
    เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
    เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท

หลายคนอาจจะเคยเกิดคำถามในใจว่า รถจักรยานยนต์ต่อภาษีอย่างเดียว ไม่ทำพ.ร.บ.ได้หรือไม่? คำตอบคือไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ หรือรถบิ๊กไบค์ จะต้องทำตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.นี้ยังจัดเป็นประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นการบังคับให้ทำ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประโยชน์และความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยทั้งคนขับ คนซ้อน และบุคคลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุนั้น ๆ หากหมดอายุต้องมีการต่อทุกปี หลายคนจึงทำพร้อมกับการต่อภาษีเพื่อความสะดวก กันลืม หรือยังสามารถต่อภาษีและต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ก่อนล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วัน ก่อนภาษีหรือพ.ร.บ.จะหมดอายุได้อีกด้วย

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

การทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ถือเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ หากไม่ได้ทำหรือต่ออายุ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ โดยการทำ พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ โดยให้ความคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ คนซ้อน คู่กรณี และบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนดังนี้

ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท  

ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

 

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

 

อย่าสับสน พ.ร.บ.กับป้ายภาษี ไม่เหมือนกัน

เชื่อว่าหลายคนมักเกิดความสับสนและเข้าใจผิด หรือเรียกผิดเรียกถูกระหว่างป้ายภาษีและพ.ร.บ. เพราะทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

พ.ร.บ.คือประกันภัยภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย

ป้ายภาษี คือเอกสารสี่เหลี่ยมที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว  หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

 

การต่อภาษีและพ.ร.บ.เป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรให้ความสำคัญและดำเนินการต่อภาษีและพ.ร.บ.ทุกปีไม่ให้ขาด ซึ่งในส่วนของการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ เดี๋ยวนี้มีความสะดวกสบายต่อผู้ใช้รถ ไม่ต้องเดินทางไปต่อภาษีที่สำนักงานขนส่ง สามารถดำเนินการผ่าน e-service ของกรมการขนส่งทางบก ผ่านช่องทาง Drive Thru เลื่อนล้อต่อภาษี , แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ,ตรอ.ใกล้บ้าน, ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) , เคาน์เตอร์เซอร์วิส ,ที่ทำการไปรษณีย์ , แอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet ส่วนการซื้อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ก็มีความสะดวกสบาย สามารถซื้อได้หลายช่องทาง เช่น พ.ร.บ.ออนไลน์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ธนาคาร ตรอ.หรือที่สำนักขนส่งทุกจังหวัดอีกด้วย ทั้งนี้เลือกตามความสะดวกของแต่ละคน แต่อย่าลืมต่อภาษีและพ.ร.บ.เมื่อครบกำหนดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวคุณเองค่ะ

 

สนใจสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อเฮงรถมือสอง สามารถสอบถามหรือสมัครได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

Heng Call center : โทร 1361

คุยกับเจ้าหน้าที่ของเราแบบ real – time ได้ แถมยังสามารถ ปรึกษา สอบถามข้อมูล ได้ทันที ไม่ต้องรอนาน กดเลย

ทักข้อความ : ไม่สะดวกโทรหา แชทมาก็ได้

โทรไม่ถนัดไม่เป็นไร ทักแชทกับเจ้าหน้าที่ผ่าน FB:Hengleasing และ Line:@Hengleasing ของเรา แล้วรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

สมัครสินเชื่อเฮงนาโนไฟแนนซ์ ตลอด 24 ชั่วโมง