เมื่อพูดถึงเรื่องของความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน มักจะให้ความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุรถชน แต่หลายคนอาจจะละเลยการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันอย่าง เช่น ไฟไหม้รถยนต์ ซึ่งการมี ถังดับเพลิงติดรถยนต์ ไว้จะช่วยชีวิตของเราได้ ทั้งนี้เรามาดูความสำคัญของถังดับเพลิงติดรถยนต์และการใช้งานถังดับเพลิงติดรถยนต์ที่คุณควรรู้ค่ะ   

ถังดับเพลิงติดรถยนต์ สำคัญอย่างไร? 

เชื่อว่าในรถของหลายคนอาจจะไม่มี ถังดับเพลิงติดรถยนต์ และเชื่อว่าเหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์อยู่ห่างไกลจากตัวเราอย่างแน่นอน ความจริงแล้วการพกถังดับเพลิงติดรถยนต์ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ติดรถยนต์ยามฉุกเฉินที่รถทุกคันควรมี แต่ถังดับเพลิงติดรถยนต์ มีให้เลือกหลายประเภท เพราะไฟไหม้ในรถนั้น มีความแตกต่างกันจำเป็นต้องใช้เคมีที่แตกต่างกันในการดับไฟ ถังดับเพลิงติดรถยนต์ จึงมีให้เลือกหลายประเภท ทั้งนี้การพกถังดับเพลิงติดรถยนต์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ได้ เพราะอย่างแรกขึ้นชื่อว่าไฟไหม้แล้ว ไฟสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว หากคุณมีถังดับเพลิงติดรถยนต์และติดตั้งในจุดที่สามารถเอื้อมถึงได้ จะสามารถช่วยให้คุณดับไฟได้ทันเวลา แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึงในระยะเวลาไม่นานแต่ไฟสามารถลุกลามได้ภายในเสี้ยววินาที แต่หากมีถังดับเพลิงติดรถยนต์ไว้ จะช่วยให้ไฟไม่ลุกลาม  ลดการเกิดควันพิษและความร้อนจัด และช่วยลดความเสียหายร้ายแรงต่อยานพาหนะ หากสามารถใช้ถังดับเพลิงติดรถยนต์ทันที ช่วยลดโอกาสความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต  ทั้งนี้การเลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์มีหลายประเภท มีความแตกต่างกันทั้งชนิดของสารเคมีและความสามารถในการดับไฟแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน รวมไปถึงข้อดีและข้อเสียของถังดับเพลิงแต่ละชนิดอีกด้วย โดยวิธีการเลือกใช้ถังดับเพลิงประเภทต่าง ๆ มีดังนี้ 

การเลือกใช้ถังดับเพลิงชนิดต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 

ถังดับเพลิงมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยแต่ละชนิดมีสารเคมีภายในถังดับเพลิงแตกต่างกัน เพื่อดับชนิดของไฟที่แตกต่างกันด้วย โดยชนิดของไฟจะเรียกประเภทของไฟ A B C D ตามลำดับดังนี้ 

ชนิดของไฟ A B C D K 

1.ประเภท A  

เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก 

2.ประเภท B  

เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี 

3.ประเภท C  

เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร 

4.ประเภท D  

ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น แมกนีเซียม ไตตาเนียม สำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย 

5.ประเภท K 

เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ 

ชนิดของถังดับเพลิง 

1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)  

  • ดับไฟประเภท A B C ยกเว้น CLASS K  
  • ข้อดี ราคาถูก หาซื้อง่าย  
  • ข้อเสีย ฉีดได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถงานได้อีก เพราะเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย เมื่อฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องนำไปบรรจุสารเคมีใหม่  

2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) 

  • ดับไฟประเภท A B C ยกเว้น CLASS K  
  • ข้อดี หาซื้อง่าย ฉีดแล้วไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะกับการดับไฟในอาคาร 
  • ข้อเสีย ราคาสูง 

3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  

  • ดับไฟประเภท B C  
  • ข้อดี ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟ ไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร   
  • ข้อเสีย มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายยาก ไม่มีเกจ์วัดแรงดัน 

4.ชนิดโฟม (Foam) 

  • ดับไฟประเภท A B 
  • ข้อดี น้ำหนักเบา  เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม  
  • ข้อเสีย ไม่สามารถดับไฟ C เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า 

5.ชนิดสูตรเคมีน้ำ (Water Mist) 

  • ดับไฟประเภท A B C K 
  • ข้อดี ดับไฟได้ทุกประเภท  ดับได้เร็ว ป้องกันไฟลุกลาม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) 
  • ข้อเสีย ราคาแพงสุด 

การเลือกถังดับเพลิงและจุดติดตั้งถังดับเพลิงรถยนต์ 

ในการเลือกซื้อถังดับเพลิงติดรถยนต์ติดรถสักอัน ควรเลือกถังดับเพลิงที่มีขนาดเล็ก หรือใช้ถังดับเพลิงพกพาขนาด 2 – 5 ปอนด์ โดยประเภทเพลิงไหม้ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ได้แก่ A B C จึงควรเลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์ที่สามารถดับไฟได้ครอบคลุมประเภทไฟเหล่านี้ ทั้งนี้การติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์ ควรติดตั้งในจุดที่สามารถหยิบถึงได้ง่าย หลีกเลี่ยงจุดสัมผัสกับแดดโดยตรง ทั้งนี้จุดที่แนะนำสำหรับติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์มีอยู่ด้วยกัน 2 จุด ได้แก่  

ภายในห้องโดยสาร 

จุดติดตั้งถังดับเพลิงรถยนต์จุดแรก ควรติดตั้งภายในห้องโดยสารในและที่สำคัญควรอยู่ในจุดที่เอื้อมถึงได้ง่าย เช่น เบาะหน้าใกล้คนขับ หรือบริเวณเบาะหลัง เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้สามารถหยิบถังดับเพลิง 

ติดตั้งภายในฝากระโปรงหลัง 

ภายในห้องโดยสารของรถยนต์ ควรติดตั้งถังดับเพลิงขนาดเล็ก หรือถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 จุด ได้แก่บริเวณเบาะหน้าใกล้คนขับ และบริเวณเบาะหลัง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้สามารถหยิบถังดับเพลิงเพื่อใช้งานได้ทัน 

ติดตั้งภายในฝากระโปรงหลัง 

นอกจากภายในห้องโดยสารแล้ว บริเวณฝากระโปรงหลังรถ เป็นอีกหนึ่งจุดที่สามารถติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์ได้ โดยสามารถติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 15 ปอนด์ เพื่อครอบคลุมการเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ หรือเลือกขนาดถังดับเพลิงติดรถยนต์ที่มีขนาดเล็กลงตามสะดวก 

การใช้งานถังดับเพลิงติดรถยนต์ 

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างไฟไหม้รถยนต์ แม้ว่ารถของคุณจะมีถังดับเพลิงติดรถยนต์อยู่แล้ว แต่หากไม่รู้วิธีการใช้งานถังดับเพลิงติดรถยนต์ อาจทำให้ไม่สามารถดับไฟไหม้ได้อย่างทันท่วงที โดยเริ่มต้นการใช้งานถังดับเพลิงติดรถยนต์ ยึดหลัก “ดึง ปลด กด ส่าย” 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้ถังดับเพลิงได้อย่างถูกวิธี ดังนี้ 

1.ดึง  เริ่มต้นการดึงสลัก จัดวางเครื่องดับเพลิงให้ฉลากหันหน้าเข้าหาลำตัวในด้านที่ผู้ใช้ถนัด จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่คันบีบด้านบน โดยที่นิ้วทั้งสี่ที่เหลือจับใต้คันบีบด้านล่าง หิ้วเครื่องดับเพลิงไปยังตำแหน่งของกองเพลิง โดยยืนห่างจากกองเพลิงประมาณ 3-4 เมตร โดยเข้าทางเหนือทิศทางลม จากนั้นจึงทำการดึงสลักนิรภัยออก 

2.ปลด ปลายสายออกจากตัวถังดับเพลิง เล็งไปยังบริเวณฐานเพลิง จับปลายสายให้แน่นอย่าให้หลุดมือ 

3.กด เล็งสายไปที่กองเพลิงและกดคันบีบ ควรกดให้สุดคันบีบเพื่อให้เคมีออกมาได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง 

4.ส่าย ปลายสายไปมา เพื่อให้ผงเคมีครอบคลุมทั่วกองเพลิง ย่อตัวลงเล็กน้อยเพื่อหลบควันไฟและความร้อน ฉีดจากใกล้ไปไกลและควรเข้าสู่ต้นเพลิงด้วยความระมัดระวัง และถอยออกจากที่เกิดเหตุเมื่อไฟดับสนิท 

ข้อควรระวังในการใช้ถังดับเพลิง ใช้ฉีดฐานของเพลิง อย่าฉีดที่เปลวไฟ   

ข้อปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้รถยนต์  

เมื่อพบว่ารถของตนเองเกิดเพลิงไหม้ ควรทำตาม 6 ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้รถยนต์ดังนี้ 

ตั้งสติ 

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้พบเจอสัญญาณเตือน เช่น กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นไหม้ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก ให้พยายามหาว่าต้นเหตุของเพลิงมาจากส่วนไหนของรถยนต์ โดยมากแล้วต้นเพลิงจะมาจากเครื่องยนต์ อาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้ ในกรณีนี้ควรปลดเกียร์ว่างหรือไฟฉุกเฉินเพื่อเข้าข้างทาง 

เมื่อพบสัญญาณความผิดปกติ เช่น กลิ่นไหม้ กลิ่นแก๊สรั่ว หรือเกิดเพลิงไหม้รถยนต์ ก่อนอื่นให้ตั้งสติ ปลดเกียร์ว่าง พยายามนำรถเข้าข้างทาง เพื่อสำรวจหาต้นเพลิงว่ามาจากส่วนไหนของรถ  

ดับเครื่องยนต์ 

บิดสวิตช์กุญแจเพื่อดับเครื่องยนต์ นำกุญแจออกมา หยิบถังดับเพลิงติดรถยนต์ไปยังต้นเพลิง 

ดับไฟ 

ใช้ถังดับเพลิงติดรถยนต์ดับไฟโดยการปลดสลักและทำการดับไฟ ฉีดให้ทั่ว และห้ามปิดฝากระโปรงรถในทันทีเพราะอาจเป็นการเติมออกซิเจนให้เชื้อเพลิง ทำให้ไฟลุกติดขึ้นมาอีก 

ถอดขั้วแบตเตอรี่ 

ถอดขั้วแบตเตอรี่ออก เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเปลวไฟ 

โทรหาประกัน 

หากรถของคุณทำประกันรถยนต์ไว้ หลังจากที่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว ให้โทรหาบริษัทประกันรถยนต์ เพื่อแจ้งว่ารถยนต์ของคุณไฟไหม้ เพื่อทำการประเมินความเสียหายเพื่อเคลมประกันต่อไป 

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้รถยนต์ได้หรือต้องการขอความช่วยเหลือ สามารถโทรไปยังสายด่วนดังต่อไปนี้ 

191 – แจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายทุกชนิด 

199 – แจ้งเหตุไฟไหม้ ดับเพลิง 

1669 – หน่วยฉุกเฉิน (ทั่วประเทศ) 

เราจะเห็นว่าเหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับรถทุกคัน อย่างน้อยการป้องกันความเสียหายจากเปลวเพลิงที่ลุกไหม้รถยนต์ด้วยการใช้ ถังดับเพลิงติดรถยนต์ ที่ติดไว้ในรถช่วยดับไฟก่อนที่ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จะมาถึง เพราะขึ้นชื่อว่าไฟไหม้แล้ว เปลวไฟสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเสี้ยววินาที เพราะฉะนั้นการติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์ภายในรถและในจุดที่สามารถเอื้อมถึงได้ยามฉุกเฉิน จึงเป็นอุปกรณ์ติดรถยนต์ที่รถทุกคันควรมีติดไว้ในรถ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไฟไหม้รถที่ไม่คาดฝันและปกป้องชีวิตของผู้ขับขี่และผู้โดยสารภายในรถ ไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิตของคนที่คุณรักและช่วยลดความเสียหายต่อทรัพย์สินนั่นเอง นอกจากการติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์เพื่อป้องกันความเสียหายจากเหตุไฟไหม้รถยนต์แล้ว การทำประกันรถยนต์ ยังช่วยเพิ่มความคุ้มครองความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุรถชน รวมไปถึงภัยธรรมชาติ รถน้ำท่วม หรือรถไฟไหม้ตามเงื่อนไข* สนใจทำประกันรถยนต์ คลิกปุ่มด้านล่างเลยค่ะ  

สมัครสินเชื่อ