บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มแจกจ่ายในวันที่ 21 กันยายน 2560 เป็นต้นไป แก่ผู้ลงทะเบียนฯ ที่ผ่านคุณสมบัติทุกจังหวัด ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม อยุธยา กำหนดรับบัตรฯ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป โดยให้นำบัตรประจำตัวประชาชน และหลักฐานการลงทะเบียนฯ มาติดต่อรับบัตรฯ ได้ที่หน่วยงานที่ได้ลงทะเบียนไว้ 
 
.
.
.
 
.
.
.
 

สิทธิประโยชน์สำหรับ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

1. มาตรการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ให้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยใช้วิธีรูดบัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น

– รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินคนละ 300 บาทต่อเดือน

– รายได้ตั้งแต่ 30,000-100,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินคนละ 200 บาทต่อเดือน

นอกจากนี้ ยังมีวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด 3 เดือน 45 บาท

2. มาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีดังนี้

– วงเงินค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน ผ่านเครื่องแตะบัตรโดยใช้ระบบตั๋วร่วมที่เรียกว่า “บัตรแมงมุม”

แต่ ใช้ได้เฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มี 2 ชิป (อีกชิปหนึ่งฝังอยู่ด้านใน) ที่มีภูมิลำเนา กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ พระนครศรีอยุธยา

– วงเงินค่าโดยสาร รถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 500 บาทต่อเดือน

– วงเงินค่าโดยสารรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 500 บาทต่อเดือน

โดยใช้วิธีรูดบัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ คนต่างจังหวัด จะไม่สามารถใช้บัตรขึ้นรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าได้ ต้องเปลี่ยนภูมิลำเนาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และมาแจ้งเปลี่ยนบัตรที่มี 2 ชิปได้

หากไม่สะดวกรับบัตรเอง  สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับแทนได้  โดยผู้รับบัตรแทนต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่   พร้อมด้วยเอกสาร ดังนี้
 
– ใบมอบฉันทะ   ที่ระบุชื่อผู้มอบฯ,ผู้รับมอบฯ   พร้อมลงนามทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
 
– สำเนาบัตรประชาชาชนที่มีการลงนามรับรองสำเนา ทั้งของผู้มอบฯและผู้รับมอบฯ
 

ข้อควรรู้สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วงเงินที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเป็นวงเงินในบัตรแบบเดือนต่อเดือน โดยเปลี่ยนวงเงินใหม่ทุกวันที่ 1 ของเดือน

หากเดือนไหนใช้ไม่หมด ถือว่าหมดสิทธิ์ในเดือนนั้นๆ จะทบไปใช้เดือนหน้าไม่ได้ ถือว่ายกประโยชน์ให้รัฐบาลไป เพราะรัฐบาลจะจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ที่ประชาชนขอรับสวัสดิการตามจริง

กรณีบัตรหาย ต้องทำบัตรใหม่ทดแทนบัตรเดิม แบ่งออกเป็นบัตรแบบ 1 ชิป (เฉพาะชิปด้านหน้า) 50 บาทต่อใบ ส่วนบัตรแบบ 2 ชิป เฉพาะกรุงเทพฯ และ 6 จังหวัด (รวมทั้งชิปด้านในสำหรับแตะบัตรขึ้นรถเมล์ หรือรถไฟฟ้า) 100 บาทต่อใบ

 

 

ที่มาของข่าว : KTB , Thairath