ใครที่กำลังมองหารถยนต์ใหม่สักคัน รถยนต์ไฟฟ้า EV หรือ Electric Vehicle อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจในเวลานี้ไม่น้อย  และอาจจะมียี่ห้อหรือรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าในใจมาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน รู้หรือไม่ว่ารถยนต์ไฟฟ้ายังแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ อีก วันนี้เราจะพาทำความรู้จักกับประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าก่อนตัดสินใจซื้อ 

รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง? 

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าในเวลานี้เป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่น่าใช้ในชีวิตประจำวันไม่น้อย และเราก็เริ่มเห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งตามท้องถนนมากขึ้น สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นพลังงานทางเลือกที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจุดระเบิด จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ส่วนพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าจะเก็บไว้ในแบตเตอรี่รถยนต์ ส่วนองค์ประกอบของหลักของรถยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วย  

1.แบตเตอรี่รถ เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ชาร์จเข้ามา  โดยแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นลิเธียมไอออน สามารถเก็บไฟฟ้าได้มากและมีความทนทาน 

2.อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุม และแปลงกระแสไฟจากพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อส่งต่อพลังงานไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า 

3.มอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่ส่งพลังงานที่ได้มาจากอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า จากนั้นส่งต่อไปยังเพลา เพื่อให้เกิดพลังงานในการขับเคลื่อนรถต่อไป 

โดยเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ซึ่งเก็บแหล่งพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง  จากนั้นตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ แล้วนำไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ส่งไปยังมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์ ซึ่งไม่มีการใช้น้ำมันเพื่อจุดระเบิด ทำให้ไม่เกิดมลพิษ ไม่เกิดควันรถ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนได้ ทั้งนี้การทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละรุ่นนั้นจะมีความแตกต่างกัน โดยรถยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด HEV : Hybrid Electric Vehicle  รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด PHEV : Plug-in Hybrid Electric Vehicle รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV : Battery Electric Vehicle และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง FCEV : Fuel Cell Vehicle โดยเราจะพามาทำความรู้จักกับประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของคุณกันค่ะ 

รถยนต์ไฟฟ้า HEV: Hybrid Electric Vehicle 

รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด HEV: Hybrid Electric Vehicle หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบพลังงานผสม (Hybrid Electric Vehicle หรือ HEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบการขับเคลื่อนที่ผสมระหว่างเครื่องยนต์ในรถและเครื่องมือไฟฟ้า โดยระบบในรถยนต์ HEV ประกอบด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงและแบตเตอรี่ หรือระบบการทำงานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปหรือใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่พร้อมกัน รถยนต์ HEV ใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงเพื่อสร้างพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า และใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพื่อช่วยเติมพลังงานให้กับระบบการขับเคลื่อน การใช้พลังงานไฟฟ้าช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและปล่อยสารเสียที่มลพิษ ทำให้รถยนต์ HEV เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด จึงประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ทั่วไป และยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือมาเป็นพลังงานไฟฟ้ากักเก็บไว้ในแบตเตอรี่  

รถยนต์ไฟฟ้า HEV มีระบบการทำงานอัจฉริยะที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการขับขี่สูงขึ้น โดยระบบจะเลือกใช้พลังงานจากเครื่องยนต์เชื้อเพลิงหรือจากแบตเตอรี่ตามสภาวะการขับขี่ เช่น เมื่อรถอยู่ในสภาวะที่ต้องการพลังงานมากกว่าปกติ ระบบจะใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน และเมื่อรถอยู่ในสภาวะที่ต้องการพลังงานน้อย ระบบจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เพื่อช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและปล่อยสารเสียที่มลพิษในอากาศ ทำให้รถยนต์ HEV เป็นอีกตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการกระทบต่อสภาพธรรมชาติ 

องค์ประกอบหลัก

เครื่องยนต์ มอเตอร์ แบตเตอรี่ น้ำมันเชื้อเพลิง 

แหล่งพลังงาน

น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป 

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า HEV 

  • Toyota Corolla Cross 1.8 HEV 2022 
  • Honda City e: HEV 2021 
  • Nissan Kicks e-POWER 
  • Toyota C-HR Hybrid 
  • Honda Accord e: HEV 2019 

รถยนต์ไฟฟ้า PHEV: Plug-in Hybrid Electric Vehicle 

รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด PHEV: Plug-in Hybrid Electric Vehicle เป็นการพัฒนาระบบมาจากรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด แต่เพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จ (plug-in) เพื่อสามารถชาร์จไฟจากภายนอกเพื่อนำมาเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ ทำให้ PHEV จึงวิ่งได้ไกลมากกว่า HEV  

องค์ประกอบหลัก

เครื่องยนต์ มอเตอร์ น้ำมัน แบตเตอรี่ 

แหล่งพลังงาน

น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป หรือ แบตเตอรี่ไฟฟ้า 

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า PHEV 

  • MG HS PHEV 2022 
  • MITSUBISHI OUTLANDER PHEV 2022 
  • Haval H6 PHEV 
  • Volvo XC40 Recharge 
  • Mercedes Benz GLE 350 de 

รถยนต์ไฟฟ้า BEV: Battery Electric Vehicle 

รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV: Battery Electric Vehicle เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% จึงไม่มีการปล่อยควันพิษหรือมลพิษเลย ซึ่งพลังงานนี้สามารถป้อนเข้าสู่มอเตอร์ไฟฟ้าภายในรถเพื่อสร้างการขับเคลื่อน โดยไม่ต้องใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่น ๆ เลย และการเก็บประจำวันก็ง่ายและสะดวก โดยใช้ช่องที่จุดต่อไฟฟ้าในบ้านหรือสถานที่สาธารณะเพื่อชาร์จแบตเตอรี่โดยเวลาชาร์จแบตเตอรี่ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ชาร์จผ่านแท่นชาร์จเร็ว 2 – 4 ชั่วโมง หากชาร์จเต็ม 100% จะวิ่งได้สูงสุด 300 กิโลเมตร 

องค์ประกอบหลัก

แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า มอเตอร์ 

แหล่งพลังงาน

แบตเตอรี่ไฟฟ้า 

ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า BEV 

  •  ORA Good Cat 
  • Tesla Model 3 2023 
  • MG4 ELECTRIC 2023 
  • NETA V 
  • BYD ATTO 3 2023 

รถยนต์ไฟฟ้า FCEV: Fuel Cell Vehicle 

รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง FCVE : Fuel Cell Vehicle รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเชิงไฟฟ้า ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถ เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ในรถยนต์ไฟฟ้า FCEV ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงและออกซิเจนจากอากาศเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งในกระบวนการที่เรียกว่าการเซลล์เชื้อเพลิง ไฮโดรเจนจะผ่านกระบวนการเกิดสารเคมีกับออกซิเจนในเซลล์เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของรถ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้า FCEV ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของระบบเซลล์เชื้อเพลิงจำเป็นต้องใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งจะต้องได้มาจากแหล่งที่สร้างไฮโดรเจน อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทั่วไป รวมถึงการสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง 

องค์ประกอบหลัก 

แบตเตอรี่ มอเตอร์ เซลล์เชื้อเพลิง ถัง H2 

แหล่งพลังงาน

เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 

เราจะเห็นว่าหัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้าคือ แบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ทำให้อีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นกันค่ะ 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท 

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า คือ หัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กักเก็บและปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งผ่านไปยังมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ แบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้ระยะทางไกลโดยไม่ต้องพึ่งพาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเหมือนรถยนต์ทั่วไปที่เติมน้ำมัน จึงทำให้ผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้านั้น จำเป็นต้องรู้จักเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery),แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH) และแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion) 

1.แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion) 

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion) เป็นแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ  ซึ่งมีข้อดีในเรื่องการเก็บประจุไฟฟ้าได้มาก อายุการใช้งานยาวนาน   และมีน้ำหนักเบา ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีอัตราการสูญเสียพลังงานต่ำกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น และสามารถชาร์จได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนก็มีข้อจำกัดในเรื่องของ ราคาสูง และมีอายุการใช้งานจำกัด 

2.แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery) 

แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery) เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกนำมาใช้เพื่อจุดสตาร์ทเครื่องยนต์ จ่ายกระแสไฟให้ระบบแอร์ วิทยุ และมีราคาไม่แพง แต่จะมีอายุการใช้งานสั้น  ไม่เหมาะนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของรถยนต์ไฟฟ้า 

3.แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH) 

แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ทั้งรถยนต์ Hybrid (HEV หรือ PHEV) มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และยังทนทานต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย ทั้งนี้แบตเตอรี่นิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ยังมีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง เก็บไฟได้น้อยกว่าลิเธียมไอออน และยังมีการคายประจสูงแม้ไม่ได้มีการใช้งานอีกด้วย 

รถยนต์ไฟฟ้า เหมาะกับใครบ้าง? 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนที่กำลังมีความคิดที่อยากจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะเกิดความลังเลใจว่า รถยนต์ไฟฟ้าเหมาะกับเราจริงหรือไม่? แล้วเราจะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใช้งานในระยะยาวของรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงปั๊มชาร์จ เราจึงมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันค่ะ 

1.ชาร์จไฟ 1 ครั้ง จะอยู่ได้ 200-300 กิโลเมตร 

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1 ครั้ง หากชาร์จไฟเข้าเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จะสามารถวิ่งรถได้ไกลประมาณ 200 – 300 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการเดินทางข้ามจังหวัดที่ไม่ไกลมาก และควรจะมีสถานีชาร์จไฟระหว่างทางไปและกลับด้วย  

2.ระยะเวลาการชาร์จไฟ 

ปกติการเติมน้ำมันรถเบ็ดเสร็จแล้วจะใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที หรืออาจน้อยกว่านั้น แต่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแล้วการชาร์จไฟเข้ารถ 1 ครั้งแบบเต็ม 100% จะใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง รวมถึงช่วงเวลาที่ชาร์จไฟ ก็มีการเก็บค่าบริการชาร์จแตกต่างกันอีกด้วย  โดยช่วงเวลากลางคืนจะถูกกว่าช่วงเวลากลางวัน  

  • หากคิดค่าไฟฟ้าแบบปกติ แบบบ้านพักอาศัยทั่วไป จะไม่มีค่า TOU (Time of Use Rate) ประมาณ 5 บาท/หน่วย (Unit) ราคาเดียวเท่ากัน 
  • หากมีค่า TOU ก็จะมี 2 เรต คือ ช่วง Peak ตั้งแต่ 09.00-22.00 น. ราคาประมาณ 5.8 บาท/หน่วย ส่วนช่วง Off-peak ตั้งแต่ 22.00-09.00 น. จะอยู่ที่ 2.63 บาท/หน่วย (คิดจากไฟฟ้าแรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์ ซึ่งเป็นของไฟบ้านปกติ) 
  • ทั้งนี้การชาร์จไฟส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง Off-Time หรือช่วงกลางคืน เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกใช้ในช่วงกลางวันซึ่งหลายคนออกไปทำงาน จึงจำเป็นจะต้องกลับมาชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งจะค่าใช้จ่ายถูกกว่า 

ตารางแสดงค่าบริการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละสถานี 

สถานีชาร์จไฟ  ค่าบริการ  กำลังไฟสูงสุด kW 
On Peak 

บาท/หน่วย 

Off Peak 

บาท/หน่วย 

PTT EV Station  7.5  4.5  160 
PEA  7.9  4.5  50 
Elexa  7.5   – 125 
EA Anywhere  6.5   – 150 
ARUN+ (on | ion)   7.25   – 22 
EVOLT  8-9   – 150 
TOU (ไฟบ้าน)  5.x    2.6x    22 (ไฟ 3 Phase) 

3.สถานที่ชาร์จไฟ 

เพราะการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า 1 ครั้งแบบเต็ม 100% ใช้เวลานานเป็นชั่วโมง จึงทำให้สถานที่ชาร์จไฟจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเช่น หากที่บ้านของคุณมีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วนั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ แต่สำหรับคนที่ไม่มีที่ชาร์จไฟที่บ้าน คุณจำเป็นจะต้องไปชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานีชาร์จไฟใหญ่ ๆ เช่น  PTT EV Station หรืออาจใช้ Quick Charge ตามสถานที่ต่าง ๆ จึงทำให้คุณอาจจะต้องมองหาสถานที่ชาร์จไฟใกล้บ้าน และในระหว่างที่รอชาร์จไฟ คุณจะต้องหาอะไรทำระหว่างรอ เช่น เดินห้างรอชาร์จไฟ นั่งกินข้าวเย็นรอชาร์จไฟ ซึ่งอาจทำให้ต้องปรับวิถีชีวิตประจำวันในช่วงเย็นด้วย รวมไปถึงการเดินทางไกลคุณจำเป็นต้องศึกษาเส้นทางและสถานีชาร์จไฟระหว่างทาง เพราะการชาร์จ 1 ครั้งมีระยะทางที่จำกัด การเดินทางไกลจึงจำเป็นต้องวางแผนการเดินทางรวมไปถึงสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าด้วย 

4.มีความรู้เรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 

แบตเตอรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานหนึ่งเดียวของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นคุณควรจะศึกษาเกี่ยวกับประเภทของแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าว่าแต่ละประเภทสามารถเก็บประจุไฟได้มากน้อยแค่ไหน เหมาะกับการใช้รถของคุณหรือไม่ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าฉบับเต็มต่อไปในบทความหน้า 

สรุปแล้วรถยนต์ไฟฟ้าเหมาะกับใครนั้น อาจจะต้องดูในหลายปัจจัย ทั้งนี้นอกจากงบประมาณในการซื้อรถแล้ว ปัจจัยหลักที่ต้องนำมาพิจารณาคือเรื่องของไลฟ์สไตล์ในแต่ละวัน อย่างน้อยจะต้องเป็นคนที่เดินทางไปกลับที่เดิมซ้ำ ๆ เช่น ไปกลับบ้าน-ที่ทำงาน ไปกลับบ้าน-โรงเรียน เป็นประจำเกือบตลอดสัปดาห์ แต่จะไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องเดินทางไกลข้ามจังหวัด คนที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถใช้งานหลัก เพราะสถานีชาร์จรถยนต์ในปัจจุบันยังมีไม่กี่แห่ง และส่วนใหญ่สถานีชาร์จไฟยังอยู่บริเวณเขตในเมืองใหญ่นั่นเอง 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อประกอบกับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของคุณในอนาคตได้ รถยนต์ไฟฟ้ามีข้อดีในเรื่องของการลดมลพิษในอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับการใช้รถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงปกติ  ก็ยังสามารถใช้รถแบบช่วยลดมลพิษได้บ้าง โดยการนำรถไปตรวจสภาพเป็นประจำทุกปี เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ  เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพียงเท่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดมลพิษในอากาศ และช่วยให้คุณเซฟเงินในกระเป๋า ลดความเสี่ยงเสียค่าซ่อมรถราคาแพง เพราะหากรถขาดการดูแล บำรุงรักษา ตรวจสภาพรถ หรือเปลี่ยนของเหลวต่าง ๆ ตามระยะ โอกาสที่รถของคุณจะเสียและต้องซ่อมครั้งใหญ่มีสูงเช่นกัน เหมือนร่างกายของคนเราเมื่อใช้งานหนักทุกวันแต่ขาดการดูแล ก็เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่ตามมาไม่น้อย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ทั่วไปหรือรถยนต์ไฟฟ้า การทำประกันรถยนต์ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีติดรถไว้ เพื่อความอุ่นใจในทุกการเดินทาง แนะนำซื้อประกันรถยนต์ จ่ายเบา ๆ ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่ายไม่ต้องจ่ายเงินก้อน สนใจคลิกเลย 

สมัครสินเชื่อ