การทำพ.ร.บ.รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ เป็นสิ่งที่เจ้าของรถต้องทำทุกปี เพราะกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำพ.ร.บ.ก่อนจึงจะต่อภาษีรถประจำปีได้ ในเมื่อกฎหมายบังคับให้ทำพ.ร.บ.รถและต่อภาษี แต่บังเอิญภาษีและพ.ร.บ.ขาดโดนปรับเท่าไหร่ รถที่ไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองต้องเสี่ยงกับอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาฝาก 

พ.ร.บ.ขาดโดน ปรับเท่าไหร่ 2566

รู้หรือไม่ว่าหากปล่อยให้พ.ร.บ.ขาดโดน ค่าปรับแถมผิดกฎหมายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ นอกจากพ.ร.บ.ขาดจะต้องเสียค่าปรับเมื่อไปต่อภาษีรถประจำปีแล้ว หากพ.ร.บ.ขาดในวันที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ.เลย เพราะพ.ร.บ.ขาดเท่ากับขาดการคุ้มครองนั่นเอง และหากคุณขับรถที่พ.ร.บ.ขาดไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ ก็ถือว่าผิดกฎหมายและจะมีโทษเช่นเดียวกัน โดยผลเสียจาก พ.ร.บ.ขาดมีดังนี้

พ.ร.บ.ขาดโดน จ่ายค่าปรับ

หากฝ่าฝืนขับรถที่พ.ร.บ.ขาดหรือไม่ต่ออายุพ.ร.บ.มี โทษปรับสูงสุด 10,000 บาท ตามกฎหมายจราจรทางบก 

  • พ.ร.บ.ขาดไม่เกิน 1 ปี ต่อภาษีได้โดยไม่เสียค่าปรับ แต่จะมีค่าปรับภาษีขาด
  • พ.ร.บ.รถยนต์ขาด 2 ปีขึ้นไป ตรวจสภาพรถก่อนเพื่อทำการต่อภาษีและเสียค่าปรับ
  • พ.ร.บ.รถยนต์ขาด 3 ปีขึ้นไป จดทะเบียนรถยนต์ใหม่พร้อมกับเสียค่าปรับ จ่ายภาษีรถย้อนหลัง

นอกจากจะเสียเงินค่าปรับแล้ว พ.ร.บ.ขาดยังก่อให้เกิดผลเสียตามมาดังต่อไปนี้

ไม่มีป้ายภาษีรถประจำปี

การต่อภาษีรถประจำปี จะต้องมีการตรวจสภาพรถและต่อพ.ร.บ.เสียก่อน เพราะหากไม่ได้ตรวจสภาพรถและต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถได้ หากขับรถที่ภาษีขาดแล้วมีการเรียกตรวจ จะมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาท 

พ.ร.บ.ขาด = ไม่ได้รับความคุ้มครอง

หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่า พ.ร.บ.รถ คือสิ่งที่ต้องทำ เพื่อที่จะได้ต่อภาษีรถประจำปีได้ โดยที่อาจจะยังไม่ทราบว่าพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า พ.ร.บ.รถนั้นให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท

2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท

3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ : กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ทั้งนี้หากปล่อยให้พ.ร.บ.ขาด เท่ากับว่าคุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ เพราะถือว่าได้สิ้นสุดความคุ้มครองจากพ.ร.บ.รถที่คุณทำไว้ตามวันและเวลาที่ระบุในใบกรมธรรม์ซึ่งเป็นกระดาษ A4 สีขาวนั่นเอง ศึกษาข้อมูลใบกรมธรรม์รถได้ที่นี่ คลิก 

กลัว พ.ร.บ.ขาด ซื้อพ.ร.บ.ล่วงหน้า 2566 ได้

การซื้อพ.ร.บ.และต่อภาษีรถประจำปีสามารถทำได้ล่วงหน้า ช่วยป้องกันการลืมต่อภาษี หรือซื้อพ.ร.บ.ล่วงหน้า เพื่อได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ.อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในการซื้อพ.ร.บ.สามารถซื้อล่วงหน้าได้หลายช่องทาง เช่น ที่ทำไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ผ่านบริษัทประกันรถ หรือช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกัน พ.ร.บ.ขาด สามารถซื้อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ เพื่อความสะดวก อยู่บ้านก็รอรับกรมธรรม์ได้เลย โดยมีขั้นตอนการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.เมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่

5.จากนั้นกรอกข้อมูลช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน

6.เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.ที่มาจากการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตามที่อยู่กรอกข้อมูลไว้ได้

เราจะเห็นว่าคุณสามารถต่อภาษีรถประจำปีผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th ได้เช่นเดียวกัน แต่จะมีเงื่อนไขสำหรับรถที่สามารถยื่นต่อภาษีประจำปีออนไลน์ ดังนี้

  1. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
  3. จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
  4. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
  5. รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
  6. ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
  7. เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  8. ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
  9. ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
  10. ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

สำหรับรถจักรยานยนต์ จะทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์กับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือที่เรียกว่าบริษัทกลางฯ เป็นบริษัทประกันวินาศภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ โดยสามารถซื้อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ ผ่านช่องทาง Line: @iRVP ดังนี้

1.เพิ่มเพื่อน โดยการแอดไลน์ @iRVP

2.คลิกไปที่เมนู “ซื้อพ.ร.บ.”  กดที่ภาพ ซื้อพ.ร.บ.ที่แสดงบนหน้าจอ

3.กดเลือกขนาดเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์   หน้าจอมือถือจะแสดงรายละเอียดความคุ้มครอง เลื่อนหน้าจอลงด้านล่าง กด “ซื้อ พ.ร.บ.”

4.ลงทะเบียน รายละเอียดผู้ซื้อ รายละเอียดรถจักรยานยนต์ กด ถัดไป จนถึงหน้ายืนยันข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว กด ยืนยันข้อมูล

5.เลือก วิธีชำระเงิน และชำระเงิน

6.ตรวจสอบความคุ้มครอง กดที่เมนู “พ.ร.บ.ของฉัน” หากการลงทะเบียนนั้นมีเลขบัตรประชาชนตรงกับที่เคยทำ พ.ร.บ. กับบริษัทกลางฯ ไว้ ระบบจะแสดงข้อมูลกรมธรรม์ที่เป็นปัจจุบัน โดยอัติโนมัติ

7.เอกสารกรมธรรม์ จะถูกส่งไปทางเมลที่ลูกค้าลงทะเบียนไว้

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่ ?

เจ้าของรถที่แท้จริง คือ เจ้าของรถที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รถในสมุดคู่มือทะเบียนรถ แต่คุณอาจจะเอารถของในครอบครัวมาใช้ แต่โชคไม่ดีนักที่อาจเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือรถชน แต่คุณกลับไม่ใช่เจ้าของรถจะเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่ คำตอบคือ ผู้ประสบภัยนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้ โดยที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ดังนี้

กรณีเป็นฝ่ายผิด

1.1    ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท

1.2    การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท

กรณีเป็นฝ่ายถูก

1.1 ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท

1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท

1.3 ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)

พ.ร.บ.ขาดโดน ปรับกี่บาท อะไรบ้าง ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะหมายถึงความปลอดภัย และความคุ้มครองที่คุณจะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อย่างน้อย พ.ร.บ.คือหลักประกันว่าคุณจะได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลประสบอุบัติเหตุอย่างแน่นอน ทั้งนี้การทำพ.ร.บ.รถไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ ไม่ควรปล่อยให้ขาด หากรู้ว่าพ.ร.บ.ขาดแล้วให้รีบทำพ.ร.บ.ทันที อย่าชะล่าใจคิดว่ายังไม่ได้ใช้รถ ยังไม่จำเป็นต้องทำ เพราะขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุแล้วย่อมเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน หากวันหนึ่งอยู่ดี ๆ คุณจำเป็นต้องขับหรือขี่รถออกไปข้างนอก โอกาสที่คุณอาจจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนย่อมเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นอย่างน้อยการต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าก่อนจะหมดอายุ หรือต่อพ.ร.บ.ทันทีเมื่อหมดอายุแต่แนะนำว่าให้ทำพ.ร.บ.ล่วงหน้า จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ.อย่างต่อเนื่องแน่นอน นอกจากการทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับแล้ว การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ยังเป็นการเสริมความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่าการทำพ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว แนะนำซื้อประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ซื้อปุ๊บ คุ้มครองปั๊บ สนใจคลิกเลย