พ.ร.บ.คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ แต่ปัจจุบันนี้การต่อพ.ร.บ.รถยนต์สามารถ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ อย่างสะดวกไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นาน เพียงมีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ก็สามารถ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.หรือ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566
โดยปกติแล้วการต่อพ.ร.บ.จะต้องทำที่สำนักงานขนส่ง หรือฝากต่อที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ที่เราเรียกกันติดปาก พร้อมกับการต่อภาษีรถ เพราะกฎหมายบังคับให้มีการต่อพ.ร.บ.ก่อนต่อภาษีประจำปี ทั้งนี้พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นพ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวงเงินคุ้มครองดังต่อไปนี้
1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท
2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท
3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท
4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร คนละไม่เกิน 35,000 บาท
3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท
4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท
หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ทั้งนี้ในปัจจุบันการต่อพ.ร.บ.มีความสะดวก ไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้เลย จึงทำให้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่เน้นทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ มีขั้นตอนง่าย ไม่ต้องเสียเวลาไปทำที่ขนส่ง เมื่อเราเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว เพื่อให้ความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องคุณสามารถต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้ โดยสิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ที่บ้านได้ไม่ยากมีอะไรบ้าง
การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ทำอย่างไร
การต่อพ.ร.บ.ออนไลน์สามารถทำได้ง่ายที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ก่อนอื่นเราจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือกเครื่องมือที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการต่อใบขับขี่ และต้องเตรียมเข้าเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก เพื่อทำการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์
ขั้นตอนการ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566
1.เข้าไปที่เว็บไซต์ คลิก https://eservice.dlt.go.th
2.ทำการสมัครสมาชิก ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ
3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย
4.เมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่
5.จากนั้นกรอกข้อมูลช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
6.เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.ที่มาจากการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตามที่อยู่กรอกข้อมูลไว้ได้
ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์
รถยนต์โดยสาร | ราคา พรบ. |
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) | 600 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) | 1,100 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 บาท |
รถกระบะ / รถบรรทุก | ราคา พรบ. |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) | 900 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน | 1,220 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน | 1,310 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน | 1,680 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน | 2,320 บาท |
รถยนต์ประเภทอื่น ๆ | ราคา พรบ. |
หัวรถลากจูง | 2,370 บาท |
รถพ่วง | 600 บาท |
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร | 90 บาท |
ข้อสังเกตคือเราจะเห็นว่าคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ก่อนต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์อาจจะมีเงื่อนไขเล็กน้อย โดยการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ต้องทำอย่างไร เรามีคำอธิบายมาฝากค่ะ
การต่อภาษีออนไลน์ 2566 ต้องทำอย่างไร
กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของรถมากขึ้นโดยไม่ต้องไปทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ที่ขนส่ง ด้วยช่องทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ผ่านช่องทางนี้ได้ง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
2.ทำการสมัครสมาชิก
3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย
4.ในการชำระเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งการหักบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ชำระผ่านตู้ ATM หรือ Internet Banking ในแอปพลิเคชันธนาคารของเรา
5.รอป้ายภาษีอยู่ที่บ้านได้เลย ใช้เวลาในการจัดส่งประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ได้รับแล้ว อย่าลืมเอาไปเปลี่ยนแทนป้ายภาษีเดิมเลยนะ
เงื่อนไขรถสำหรับการยื่น ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
- เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
- จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
- รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
- ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
- เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
- ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
- ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
- ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี
คำนวณภาษีรถยนต์
รถแต่ละรุ่น มีอัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รุ่นรถ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ ซี.ซี.รถ อายุรถ น้ำหนักรถ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดภาษีรถยนต์ ดังนี้
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (ป้ายดำ)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งอย่างเช่นรถเก๋งทั่วไป, รถกระบะ 4 ประตู, รถ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณภาษีรถยนต์ดังนี้
- เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
- เครื่องยนต์ขนาด 601-1800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
- เครื่องยนต์ขนาด 1801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท
ในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้
- รถยนต์อายุเกิน 6 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- รถยนต์อายุเกิน 8 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- รถยนต์อายุเกิน 9 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- รถยนต์อายุเกิน 10 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
รถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,755 ซี.ซี.
- 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
- 1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820
นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน เท่ากับ 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว (ป้ายเขียว)
เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน (ป้ายน้ำเงิน)
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจาก รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท
อย่าสับสน พ.ร.บ.กับป้ายภาษี ไม่เหมือนกัน
เชื่อว่าหลายคนมักเกิดความสับสนและเข้าใจผิด หรือเรียกผิดเรียกถูกระหว่างป้ายภาษีและพ.ร.บ. เพราะทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย
ป้ายภาษี คือเอกสารที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน
การต่อพ.ร.บ.2566 สามารถทำได้ที่สำนักงานขนส่ง สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หรือ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ซึ่งมีความสะดวก ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปไหน นอกจากนี้การต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าก่อนหมดอายุก็สามารถทำได้เพื่อความคุ้มครองที่ต่อเนื่องในขณะขับขี่รถอีกด้วย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายผิด ซึ่งเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นพ.ร.บ.รถ จึงมีความสำคัญต่อผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก และเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ผู้ขับขี่ต้องทำก่อนต่อภาษีรถ เพราะหากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถได้อีกด้วย นอกจากนี้การทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ยังเป็นการเสริมเกราะความคุ้มครองในการเดินทางได้อย่างอุ่นใจ สนใจประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน เลือกได้หลากหลายแผนความคุ้มครอง รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก