เนื้อหาของบทความ

การทำใบขับขี่เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรมีติดตัวไปทุกที่ โดยทั่วไปผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะมีใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือ ใบขับขี่รถยนต์ติดตัวอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีใบขับขี่ประเภทอื่นที่ออกให้ตามลักษณะของรถอีกหลายประเภท ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการออกใบขับขี่ประเภทอื่นแตกต่างกันอีกด้วย

ใบขับขี่มีกี่ประเภท  

ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ เป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกเป็นใบอนุญาตให้ผู้ขับขี่รถสามารถขับขี่รถได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งใบขับขี่ไม่ได้มีเพียงแค่ ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือใบขับขี่รถยนต์เท่านั้น หากผู้ขับขี่ไม่พกใบขับขี่ กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษกรณีไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ ได้แก่ หากขับรถโดยไม่มีใบขับขี่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ตามมาตรา 64 ความว่า ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีรถยนต์สาธารณะหากผู้ประกอบการยินยอมให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ จะมีความผิดตามมาตรา 56 ประกอบมาตรา 60 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดโทษไว้ตามมาตรา 151 ความว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 วรรคหนึ่งที่ว่าด้วย ห้ามมิให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถหรือผู้ที่มีหน้าที่ขับรถ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน หากผู้นั้นฝ่าฝืนปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้เราจึงควรพกใบขับขี่ติดตัวไว้ขณะขับรถอยู่เสมอ คุณรู้หรือไม่ว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท สำหรับใบขับขี่มีกี่ประเภท  คำตอบคือ 4 ประเภท ได้แก่ ใบขับขี่ประเภท 1, ใบขับขี่ประเภท 2, ใบขับขี่ประเภท 3 และใบขับขี่ประเภท 4 โดยสิ่งที่กำหนดว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท แบ่งตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ โดยใบขับขี่มีกี่ประเภท สามารถจำแนกได้ดังนี้

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 1

ใบขับขี่ประเภท 1 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่น้ำหนักรถและน้ำหนักรถบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.1 และใบขับขี่ ท.1 ใช้ขับรถแท็กซี่ หรือรถตู้ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี  และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 2

ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.2 และใบขับขี่ ท.2 ใช้ขับรถเมล์, รถบัส, รถบรรทุกสินค้า หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 3

ใบขับขี่ประเภท 3 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุก ได้แก่ ใบขับขี่ บ.3 และใบขับขี่ ท.3 ใช้ขับรถพ่วง, รถ 10 ล้อ หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่มีกี่ประเภท: ประเภท 4

ใบขับขี่ประเภท 4 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ ใบขับขี่ บ.4 และใบขับขี่ ท.4 ใช้ขับรถขนส่งเคมี, รถบรรทุกเชื้อเพลิง มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง

ใบขับขี่ บ.1-บ.4 คืออะไร?

เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท ในหัวข้อนี่เราจะพูดถึง ใบขับขี่ บ.1-บ.4 ว่าคืออะไร แล้วใบขับขี่มีกี่ประเภท โดยใบขับขี่ บ.1-บ.4 เป็นใบอนุญาตขับขี่รถประเภททุกประเภท (ท.) ใช้ขับรถรับจ้างขนส่งสินค้าหรือบุคคล รถขนส่งสินค้าในธุรกิจขนส่ง หรือรถโดยสารสาธารณะที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง เพื่อการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งด้วยรถขนาดเล็ก ใช้แทนได้ทั้งใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ โดยประเภทของใบขับขี่ บ.1-บ.4 คืออะไรมีดังนี้

ใบขับขี่ ท.1

ใบขับขี่ ท.1 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภททุกประเภท (ท.) ชนิดที่ 1 คือ ใบขับขี่สำหรับใช้ขับรถบรรทุกขนส่งทั้งแบบประจำทาง ไม่ประจำทาง หรือขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่มีน้ำหนักรถรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน

ใบขับขี่ ท.2

ใบขับขี่ ท.2 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 2 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางสำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมกันเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน

ใบขับขี่ ท.3

ใบขับขี่ ท.3 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 3 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถลากจูงรถอื่นหรือลากล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งของ

ใบขับขี่ ท.4

ใบขับขี่ ท.4 หรือใบอนุญาตขับขี่ ประเภททุกประเภท ชนิดที่ 4 คือ ใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิด และลักษณะการบรรทุกที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา นอกจากใบขับขี่มีกี่ประเภทแล้ว นอกจากนี้ใบขับขี่รถยนต์ยังแบ่งแยกออกเป็นชนิดของรถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ แบ่งได้ 11 ชนิด ตามชนิดของรถและการใช้งานทั้งแบบบุคคล และสาธารณะ ดังต่อไปนี้

ใบอนุญาตขับขี่รถชนิดชั่วคราว

ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว ถือเป็นใบขับขี่ใบแรกที่ผู้ขับขี่เริ่มต้นจะได้รับหลังจากที่สอบใบขับขี่ผ่านแล้ว ไม่ว่าคุณจะสอบใบขับขี่ประเภทไหนก็จะได้ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราวนี้ก่อน ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ประเภท ได้แก่

ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบขับขี่ขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว

ผู้ทำต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีอายุการใช้งาน 1 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลจะได้หลังจากที่ใช้งานใบขับขี่ชั่วคราวมาครบตามอายุใช้งาน โดยจะมีอายุการใช้งานใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี  ค่าธรรมเนียม 500 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคล คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์สามล้อจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือต่ออายุใบขับขี่รถสามล้อส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งาน 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี หรือใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ

ใบขับรถยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีขึ้นไป มีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 300 บาท

ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ

ใบขับขี่รถสามล้อสาธารณะ หรือรถตุ๊กตุ๊กที่เราเห็นกันคุ้นตา คือ ใบขับขี่รถตุ๊กตุ๊กสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือแบบตลอดชีพ และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ มีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 150 บาท

ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ คือ ใบขับขี่สำหรับวินมอเตอร์ไซค์  ไรเดอร์ขับรถส่งอาหารหรือส่งของตามแอปพลิเคชันที่เราคุ้นเคย  อายุผู้ขอใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 20 ปี และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราวมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว

ใบอนุญาตขับรถบดถนน

ผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่รถบดถนน ผู้ขอใบขับขี่ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และต้องผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยใบขับขี่รถบดถนนมีอายุใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร มีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท และผู้ขอใบขับรถแทรกเตอร์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นๆ

ใบอนุญาตขับรถประเภทอื่น คือ ใบอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นมีอายุใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 100 บาท และผู้ขอใบขับรถชนิดอื่นๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์

ใบขับขี่ระหว่างประเทศหรือใบขับขี่สากล คือ ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีไม่จำกัดอายุผู้ขอทำใบขับขี่สากล แต่ผู้ขอจะต้องใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้วเท่านั้น

จองคิวทำใบขับขี่ ต้องทำอย่างไร

สมัยก่อนการทำใบขับขี่รถครั้งหนึ่ง คนที่จะยื่นขอทำใบขับขี่ใหม่ โดยเฉพาะวัยทำงาน จะต้องลางานอย่างน้อย 1 วัน เพื่อมาทำเรื่องจองคิวทำใบขับขี่ที่ขนส่ง ซึ่งจะต้องมารอคิวตั้งแต่เช้า แถมคนที่เข้ามาใช้บริการที่ขนส่งก็ยังมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้บางคนขี้เกียจเข้ามาทำใบขับขี่ที่ขนส่งและหากใครที่สอบไม่ผ่านในภาคปฏิบัติ อาจจะยังต้องเสียเวลามาสอบภาคปฏิบัติใหม่อีกครั้ง แต่เดี๋ยวนี้มีวิธีในการจองคิวรับใบขับขี่ที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องไปยืนรอคิวที่ขนส่งอีกต่อไป เพราะสามารถจองคิวรับใบขับขี่ ออนไลน์ เพื่อจองเวลาที่จะเข้าไปทำเรื่องที่ขนส่ง ซึ่งสามารถจองคิวรับใบขับขี่ออนไลน์ได้ที่แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถโหลดได้ทั้ง iOS และ Android เพื่อจองคิวทำใบขับขี่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อทำการจองคิวรับใบขับขี่

2.เมื่อเข้าแอปพลิเคชันแล้ว ให้เลือกสำนักงานขนส่งที่เราต้องการเข้าไปจองคิวรับใบขับขี่

3.เลือกหัวข้อ “งานใบอนุญาต”

4.เลือกวันที่เราสะดวกจะเข้าไปที่ขนส่ง ซึ่งมีให้เลือกหลายรอบทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย หลังจากที่เลือกได้แล้ว ให้ทำการยืนยันการจอง และบันทึกหน้าจอเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้เจ้าหน้าที่ในวันที่เราไปขนส่ง

5.เมื่อถึงวันที่เราทำการจองไว้ เตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อนำไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ และจะต้องทำการทดสอบสายตา ระบุสีจราจร ทดสอบการเหยียบคันเร่งและเบรก ตามปกติ

6.รอถ่ายรูปติดบัตรและชำระค่าธรรมเนียมเป็นอันเสร็จ

สำหรับคนที่ทำการจองคิวรับใบขับขี่ออนไลน์ จะต้องทำการอบรมผ่าน  https://www.dlt-elearning.com ก่อน โดยมีขั้นตอนการลงทะเบียนดังนี้

ขั้นตอนการอบรมทำใบขับขี่ออนไลน์

เมื่อการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโควิด-19 นอกจากการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและลดขั้นตอนการไปทำเรื่องที่ขนส่งแล้ว สำหรับผู้ที่ใบขับขี่กำลังจะใกล้หมดอายุ หรือเพิ่งหมดอายุไป แต่ไม่สามารถไปที่ขนส่งได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่ดีขึ้น ก็ยังสามารถต่อใบขับขี่ออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการต่อใบขับขี่ออนไลน์ แม้ว่าจะยังมีขั้นตอนของการไปขนส่งเพื่อทดสอบสมรรถภาพและรับใบขับขี่ใหม่ แต่คุณก็ยังต้องจองคิวออนไลน์ เลือกเวลาที่คุณเข้าไปที่ขนส่งได้ โดยไม่ต้องไปนั่งรอคิวแต่เช้าที่ขนส่งเหมือนเมื่อก่อน  โดยขั้นตอนการต่อใบขับขี่ออนไลน์นั้นไม่ยุ่งยาก เริ่มต้นดังนี้

1.เริ่มต้นต่อใบขับขี่ออนไลน์ ให้เข้าไปที่เว็บไซต์   https://www.dlt-elearning.com หรือ คลิกที่นี่

2.กดปุ่ม “ลงทะเบียน”

3.กรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน ประกอบไปด้วยเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด

4.เลือกการอบรมตามใบอนุญาตขับรถที่ต้องการต่ออายุ ประกอบไปด้วย ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์สามล้อ) ระยะเวลาการอบรม 1 ชั่วโมง ใบอนุญาตขับรถขนส่ง รยะเวลาอบรม 2 ชั่วโมง และใบอนุญาตขับรถสาธารณะ (รถยนต์สาธารณะ รถยนต์สามล้อสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ) ระยะเวลาอบรม 3 ชั่วโมง

4.เลือกข้อ1.แบบทดสอบก่อนอบรม

5.ทำแบบทดสอบก่อนอบรม ซึ่งจะมี 3 ข้อ

6.ดูวีดีโออบรมใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล

7.ทำแบบทดสอบหลังอบรม เมื่อเรียบร้อยแล้วให้กดส่งข้อสอบ

8.เมื่อผ่านการอบรมแล้ว ให้บันทึกหน้าจอผลการอบรมเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอต่อใบอนุญาตที่กรมการขนส่งต่อไป โดยผลการอบบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์จะมีอายุ 90 วัน นับจากวันที่ผ่านการอบรม

ใบขับขี่ที่สามารถจองคิวออนไลน์ได้

ใบขับขี่ส่วนบุคคลแบบ 5 ปีเป็น 5 ปี (ต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือน) อบรม 1 ชั่วโมง

ใบขับขี่ พรบ.ขนส่ง (ต่อล่วงหน้าได้ 6 เดือน) อบรม 2 ชั่วโมง

ใบขับขี่สาธารณะ (ต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือน) อบรม 3 ชั่วโมง

*ผลการอบรมการต่ออายุใบอนุญาตขับรถมีอายุ 90 วันนับจากวันที่ผ่านการอบรมเท่านั้น

ใบขับขี่หมดอายุต้องทำอย่างไร

ใบขับขี่ เป็นบัตรที่ผู้ขับขี่รถทุกคนต้องพกติดตัวไว้ทุกครั้งเมื่อขับรถยนต์ตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (มาตรา 64) ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่พกใบขับขี่ไม่ส่าจะเป็นตัวจริง สำเนา หรือสิ่งที่แสดงหลักฐานถึงการได้รับใบอนุญาตขับขี่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่หากขับรถโดยที่ใบขับขี่หมดอายุแล้ว จะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งจริง ๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องรอให้ใบขับขี่หมดอายุก่อน ถึงจะค่อยไปต่อ เพราะใบขับขี่สามารถต่ออายุก่อนล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน แต่หากเป็นการต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผู้ที่ต่อใบขับขี่ ยังคงต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพ ได้แก่ ทดสอบสายตา ระบุสีจราจร ทดสอบการเหยียบคันเร่งและเบรก ตามเวลาที่ได้ทำการจองคิวออนไลน์ในแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue จากนั้นเมื่อถึงวันจองก็เดินทางไปขนส่งเพื่อดำเนินการต่อใบขับขี่ให้แล้วเสร็จ แต่หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ปี ผู้ขับขี่จะต้องทำการสอบข้อเขียนใหม่ โดยต้องตอบให้ถูกมากกว่า 45 ข้อ จาก 50 ส่วนหากใครที่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป กรณีนี้ผู้ขับขี่ต้องสอบใหม่ทั้งหมด ทั้งการสอบข้อเขียนและภาคปฏิบัติใหม่ทั้งหมดเหมือนตอนที่เริ่มทำใบขับขี่ใหม่นั่นเอง

บทความนี้ได้พูดถึงใบขับขี่มีกี่ประเภท ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า นอกจากใบขับขี่มอเตอร์ไซค์หรือใบขับขี่รถยนต์ที่เราเคยเห็นและมีติดกระเป๋าไว้นั้น ยังมีใบขับขี่ที่แบ่งตามชนิดของรถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ที่นอกเหนือจากนี้อีกด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะทำใบขับขี่ประเภทไหน หลังจากที่สอบใบขับขี่ผ่านในครั้งแรกจะได้รับใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวก่อน โดยหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว ก็สามารถไปต่อไปขับขี่ชนิดอื่นต่อไป แต่ในส่วนของประกันสำหรับคนที่ทำประกันรถยนต์ไว้ แต่ใบขับขี่หมดอายุ อาจจะสงสัยว่าจะยังสามารถเคลมประกันหากเกิดอุบัติเหตุได้หรือไม่นั้น คำตอบคือยังสามารถแจ้งเคลมได้ เพราะถือว่าคุณยังมีความสามารถในการขับขี่ หากคุณไม่มีใบขับขี่แต่เป็นฝ่ายถูก ประกันรถก็ยังให้ความคุ้มครองอยู่ แต่หากคุณไม่มีใบขับขี่รถแล้วยังเป็นฝ่ายผิดขับรถชนคนอื่น  กรณีนี้ประกันรถจะไม่คุ้มครองรถของคุณ แต่จะยังคุ้มครองคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ หากสนใจศึกษาหรือเลือกทำประกันรถยนต์สักแห่ง แนะนำซื้อประกันรถยนต์ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขาใกล้บ้าน กับข้อเสนอดี ๆ สำหรับผู้ที่มีรถที่ต้องการเพิ่มความอุ่นใจและความคุ้มครองทุกการขับขี่มากยิ่งขึ้น กับประกันรถยนต์ผ่อน 0% ซื้อง่าย ไม่มีดอกเบี้ย ผ่อนสบายนาน 6 เดือน  ไม่มีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้ค่ะ สนใจคลิก