ปุ๋ย คือธาตุอาหารที่จำเป็นของพืช เราให้ปุ๋ยแก่พืชเพื่อให้พืชได้ดูดซึมธาตุอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตรนั้น มีทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้สำหรับเกษตรกรนั้น การเลือกใช้ปุ๋ยเคมี จะมีความสะดวก ใช้ง่าย และพืชสามารถนำเอาธาตุอาหารที่จำเป็นของพืชในปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ทันที พืชโตเร็วทันเวลาเก็บเกี่ยว เรามาทำความรู้จักกับปุ๋ยเคมีกันค่ะ 

ปุ๋ยเคมี คืออะไร 

ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ผลิตจากกระบวนการทางเคมี โดยการนำเอาก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์น้ำมัน มารวมกับ กรด ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ ทำให้อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืช เช่น ไนโตรเจน  (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ตลอดจนธาตุอาหารรองอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก และ สังกะสี ทั้งนี้ ปุ๋ยเคมีมีหลากหลายสูตร ขึ้นอยู่กับว่า ใช้กรดชนิดใด ในการทำปฏิกิริยา 

  • ไนโตรเจน ช่วยบำรุงใบ ทำให้ต้นเติบโตเร็ว อวบอ้วน ใบสีเขียวสด 
  • ฟอสฟอรัส ช่วยกระตุ้นตาดอก สร้างรากฝอย รากแขนง ที่ช่วยดูดน้ำและธาตุอาหารในขณะที่ยังเล็ก 
  • โพแทสเซียม ช่วยสร้างคาร์โบไฮเดรตให้กับไม้หัว สร้างน้ำตาลทำให้ผลไม้หวาน ต้นแกร่ง แข็งแรง ทนต่อโรค ช่วยให้สีดอกสดขึ้น 
  • แคลเซียม ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง ก้านและดอกแข็งแรง ช่วยเคลื่อนย้ายและเก็บคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน 
  • แมกนีเซียม ทำให้ใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยดูดฟอสฟอรัสและเคลื่อนย้ายน้ำตาล 
  • ซัลเฟอร์ ช่วยสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน สังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ทำให้ดอกสีสวย 

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 

ประเภทของปุ๋ยเคมี สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิดด้วยกัน โดยพิจารณาจากจำนวนของธาตุอาหาร ที่อยู่ในปุ๋ยเป็นหลัก ได้แก่ 

  1. ปุ๋ยเชิงเดี่ยว : ปุ๋ยเคมี ที่มีธาตุอาหารหลัก เพียง 1 ชนิด เช่น ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัส ปุ๋ยเคมีโพแทสเซียม 
  2. ปุ๋ยเชิงประกอบ : ปุ๋ยเคมี ที่ประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก 2 ชนิด เรียกชื่อตามส่วนประกอบทางเคมีนั้น ๆ เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท เป็นการรวมกันของธาตุโพแทสเซียม และ ไนเตรท ซึ่งเป็นสารประกอบของธาตุไนโตรเจน 
  3. ปุ๋ยเชิงผสม : ปุ๋ยเคมี ที่มีการนำธาตุอาหารอย่างน้อย 3 ชนิดมาผสมกัน จนได้สูตรตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่แล้ว ชื่อปุ๋ยจะประกอบด้วยตัวเลข 3 จำนวน เช่น ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส จะเรียกกันว่า ปุ๋ย 15–15-15 

รูปแบบของปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้กัน 

เนื่องจากปุ๋ยเคมี ผลิตทางกระบวนการทางเคมี ทำให้สามารถผลิตออกมาเป็นแบบปุ๋ยผง ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยเม็ด หรือ ปุ๋ยอัดเม็ด ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีความสามารถในการละลายน้ำ หรือ การปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืช ที่แตกต่างกัน โดยรูปแบบของปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้กัน เช่น 

  1. ปุ๋ยเคมีละลายเร็ว : เป็นปุ๋ยแบบผง ที่ละลายน้ำได้ดี พืชสามารถดูดใช้ได้ทันที เมื่อใส่ลงดิน หรือ เมื่อละลายน้ำแล้วฉีดพ่นทางใบ ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต และ ปุ๋ยผสมสูตรต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยสูตร 12-60-0, 10-50-10 และ 10-20-30 เป็นต้น 
  2. ปุ๋ยกึ่งละลายช้าหรือเร็ว : ปุ๋ยเคมีแบบเกล็ด ที่มีส่วนประกอบบางส่วนละลายน้ำได้ดี และ บางส่วนไม่ละลายน้ำ เช่น ปุ๋ย PAPR ซึ่งมีส่วนผสมของฟอสฟอรัสในรูปและสัดส่วนต่าง ๆ 
  3. ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย : เป็นปุ๋ยแบบเม็ด หรือ อัดเม็ด ที่มีการเคลือบเม็ดปุ๋ยด้วยสารเคลือบที่ไม่ละลายน้ำ แต่เมื่อมีน้ำผ่านเข้าไป จะทำให้สารเคลือบมีการยืดหยุ่น หรือ อ่อนตัวลง ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหาร ให้ออกมาอย่างคงที่ และ สม่ำเสมอ 

รดน้ำปุ๋ย

ข้อดี – ข้อเสียของปุ๋ยเคมี  

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินว่าปุ๋ยเคมี มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และยังเป็นสารเคมีที่อาจมีผลกระทบต่อพืชผักที่เราปลูกและอาจสะสมอยู่ในดิน ทำให้ดินไม่ดี แต่ความจริงแล้วปุ๋ยเคมี มีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร และมีข้อเสียหากใช้ไม่ถูกวิธีเช่นกัน โดยเรามีข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยเคมี ดังนี้ 

ข้อดีของปุ๋ยเคมี   

  1. ปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปริมาณมาก และพืชสามารถนำธาตุอาหารเหล่านี้ใช้ได้ทันที ทำให้พืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว 
  2. ปุ๋ยเคมีช่วยปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน 

ข้อเสียของปุ๋ยเคมี   

  1. หากใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธี อาจจะทำให้ธาตุอาหารพืชสูญเสียประโยชน์ได้ง่าย เช่น ถูกละลายไปกับน้ำ หายไปกับอากาศ เช่น ดินเป็นด่างมากเกินไป หรือได้รับความร้อนโดยตรง  

การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างคุ้มค่า

ปุ๋ยเคมีใช้อย่างไรให้คุ้มค่า ประหยัดเงินในกระเป๋า  

เพราะความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร จึงทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้อย่างคุ้มค่า ใช้ได้อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้และสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยเคมีได้ประสิทธิภาพสูงสุด เราได้รวมเคล็ดลับการใช้ปุ๋ยเคมีให้ได้ประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า ประหยัดเงินในกระเป๋า ดังนี้ 

1.ถูกสูตร 

สูตรปุ๋ยเคมี คือ ตัวเลขที่แสดงปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ โดยจะเป็นตัวเลขสามหลักบริเวณถุงหรือภาชนะปุ๋ยเคมีนั้น ๆ ทั้งที่การใส่ปุ๋ยเคมีตามสูตรที่เหมาะสม  ธาตุอาหารตรงตามที่พืชแต่ละชนิดต้องการ รวมไปถึงอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ 

2.ถูกวิธี 

การใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกวิธี จะทำให้พืชสามารถรับธาตุอาหารและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินทุนค่าปุ๋ยที่เสียไป โดยพืชระยะต้นอ่อน หรือพืชที่มีลำต้นอ่อน ควรละลายปุ๋ยเคมีกับน้ำที่ใช้รถพืช และการใส่ปุ๋ยเคมีแบบเม็ด ควรโรยให้ห่างจากโคนต้น 20-30 เซนติเมตร  

3.ถูกอัตรา 

การใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา จะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยได้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่พืชต้องการ และใช้ได้อย่างคุ้มทุน ทำให้เกษตรกรสามารถเซฟต้นทุน แต่สามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างประหยัดและเต็มประสิทธิภาพ 

4.ถูกเวลา 

พืชแต่ละชนิด จะมีช่วงเวลารับธาตุอาหารที่แตกต่างกัน เกษตรกรจึงจำเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับช่วงพืชของเราต้องการ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่พืชเริ่มงอก ช่วงที่พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่ เพื่อปุ๋ยจะได้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และพืชได้รับธาตุอาหารต่อความต้องการมากที่สุด 

ปุ๋ยเคมี เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพี่น้องเกษตรกร เพื่อช่วยให้พืชผลทางการเกษตรเติบโตไว ส่งขายได้ทันเวลา ทั้งนี้หากพี่น้องเกษตรกรท่านไหนที่กำลังต้องการทุนสำหรับการทำเกษตร แนะนำสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน เปลี่ยนรถเก๋ง รถกระบะเป็นเงินก้อนพร้อมใช้หมุนเวียนในการทำเกษตร สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขา มองหาสินเชื่อสีเขียวใกล้บ้านคุณ โทร 1361 หรือกดปุ่มสีแดงด้านล่างนี้เลย 

สมัครสินเชื่อ