คงจะดีไม่น้อย ถ้าชีวิตของเรามีเงินให้ใช้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งในความเป็นจริงมักจะไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะหลายครั้งที่เราต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ค่าต่อเติมบ้าน หรือขาดสภาพคล่องทางการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง ใช้เงินเดือนชนเดือน และไม่มีเงินเก็บสำรอง ดังนั้น หากคุณต้องพบเจอกับเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนที่กำลังบอกว่าคุณจำเป็นจะต้องนึกถึง สินเชื่อส่วนบุคคล(Personal Loan) เพื่อมาช่วยลดภาระบ้างแล้ว

“สินเชื่อส่วนบุคคล” (Personal Loan) คืออะไร ?

“สินเชื่อส่วนบุคคล หรือที่เราเรียกกันว่า “สินเชื่อเงินกู้บุคคลธรรมดา” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินจะพิจารณาอนุมัติให้กับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ประจำ หรือรายได้จากการประกอบธุรกิจที่มั่นคง มีประวัติทางการเงินที่ดี และมีความสามารถในการจ่ายเงินคืน โดยที่ผู้ขอสินเชื่อไม่จำเป็นต้องมีบุคคลมาค้ำประกันหรือต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันนั่นเอง (ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสถาบันการเงินที่จะกำหนดและวงเงินกู้ที่ผู้ขอสินเชื่อจะกู้ด้วย) และสินเชื่อส่วนบุคคลจะมีกำหนดระยะเวลาการกู้ที่ชัดเจนแน่นอน มีอัตราดอกเบี้ยที่คงตัว ลดต้นลดดอก และสามารถผ่อนชำระรายเดือนได้ในจำนวนที่เท่าๆ กันได้

 สินเชื่อส่วนบุคคล “จำเป็น” หรือไม่ ?

หากพูดถึง “ความจำเป็น” สินเชื่อส่วนบุคคลอาจเป็นทางออกหนึ่งสำหรับคุณ เมื่อถึงคราวจำเป็นในสถานการณ์แย่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นสินเชื่อที่ผู้ขอสามารถนำเงินกู้นั้นไปใช้จ่ายทำอะไรก็ได้ตามจุดประสงค์ของผู้กู้เองแล้วค่อยผ่อนชำระคืนเป็นรายงวด โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องหันไปหยิบยืมใคร และไม่หันไปพึ่งหนี้นอกระบบ

และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีต้นทุนชีวิตเพียงพอ แม้ว่าจะทำกิจการไปแล้วแต่ก็ต้องการขยับขยายกิจการและอาจขาดทุนทรัพย์ หรืออาจมีเหตุฉุกเฉินจนต้องใช้เงินก้อนใหญ่ สินเชื่อส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งที่จะเข้ามาช่วยเหลือเหตุการณ์ตรงจุดนั้นได้ เช่น

  • ต่อยอดธุรกิจ >> ต้องการขยับขยายกิจการให้เติบโต ต่อยอดธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ให้สร้างกำไรมากขึ้น
  • หมุนเงินไม่ทัน ติดขัด >> อาจเป็นผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ปัญหาทางการเมือง หรืออื่นๆ ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูลูก >> เช่น ค่าเทอม ค่าเสื้อผ้า เครื่องเขียน ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในวันเปิดเทอม
  • ค่ารักษาพยาบาลของตัวเองหรือคนในครอบครัว >> เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยหรือประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดและไม่มีเงินก้อนใหญ่
  • การต่อเติม ซ่อมแซม ที่พักอาศัย >> ไม่ว่าจะเป็น บ้าน คอนโด ร้านค้า อาคารพาณิชย์
  • การจัดงานมงคล  >> เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานเลี้ยงที่มีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร ทั้งค่าสถานที่ ค่าจัดงานเลี้ยงอาหารเครื่องดื่ม และค่าใช้ต่างๆ อีกมากมาย
  • จัดการปัญหาหนี้นอกระบบ >> ปิดหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงผ่อนแล้วเงินต้นไม่ลด และมีเงื่อนไขไม่เป็นธรรม

 

 

 

แนวทางเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลให้ “เหมาะสม” กับเรา ควรทำอย่างไร??

การเลือกขออนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลมีค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกสมัครได้ตามคุณสมบัติ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกสภาพคล่องทางการเงินสำหรับคุณ โดยมีสิ่งที่คุณจะต้องคำนึง ดังต่อไปนี้

1.สำรวจวัตถุประสงค์ก่อนขอสินเชื่อ

คุณต้องการนำเงินก้อนที่ได้ไปทำสิ่งใด? การระบุจุดประสงค์ในการใช้เงินให้ชัดเจน มีระเบียบแบบแผนจะทำให้สามารถใช้เงินที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ต่อเติมบ้าน ค่าเทอมลูกหรือการลงทุน และบางครั้งอาจมีโปรโมชั่นที่ทำให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อได้รับเงินมากขึ้น หากเลือกขอได้ตรงตามรูปแบบที่ทางสถาบันการเงินกำหนดไว้

** ทางที่ดีก่อนยื่นขอสินเชื่อ คุณควรสำรวจตนเองก่อนว่า มีแผนการใช้เงินต่อเดือนมากแค่ไหน จะเพิ่มภาระมากน้อยอย่างไร หากต้องจ่ายค่างวดในแต่ละเดือน

 2. สังเกต อัตราดอกเบี้ย และ ระยะเวลาการกู้

โดยปกติแล้วเงินก้อนที่ได้มาจากการขอสินเชื่อ จะได้วงเงินสูงสุดประมาณ 5 เท่าของเงินเดือน เช่น ฐานเงินเดือน 15,000 บาท เงินที่ได้รับอนุมัติก็จะอยู่ราวๆ 75,000 บาท (ขึ้นอยู่กับทางผู้ให้บริการสินเชื่อด้วย) โดยระยะเวลาการให้สินเชื่อจะมีตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึง 60 เดือน แล้วแต่สัญญากำหนดไว้

 

 

3. เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ในการขอสินเชื่อมักมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการยื่นขออยู่เสมอ โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการดำเนินการให้สินเชื่อ
  • ค่าธรรมเนียมในกรณีชำระเงินเร็วกว่ากำหนด
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าใช้จ่ายในกรณีติดตามทวงหนี้

ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการสินเชื่อแต่ละเจ้าก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ของผู้ยื่นขอสินเชื่อและปัจจัยภายนอกอื่นๆด้วย

4.ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวผู้ขอสินเชื่อเอง

หลายครั้งที่การยื่นขอสินเชื่อไม่ผ่าน เป็นเพราะตัวผู้ยื่นขอสินเชื่อมีคุณสมบัติไม่ตรงตามกฎระเบียบบางอย่างที่ทางผู้ให้บริการสินเชื่อกำหนด เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และอายุไม่เกิน 60 ปี รวมถึงอาชีพที่เป็นอีกประเด็นสำคัญ(ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงิน) หากเป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้แน่นอนจะส่งผลให้ขออนุมัติสินเชื่อวงเงินสูงได้ยาก

5. ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ

โดยส่วนมากแล้วการยื่นขอสินเชื่อจะต้องพิจารณาว่า ผู้ยื่นมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่? แม้ว่าคุณสมบัติครบตรงตามกำหนด แต่ถ้าผู้ยื่นขอสินเชื่อมีภาระหนี้สินโดยรวมสูงเกินไป เช่น สูงเกิน 60% ของรายรับ ก็อาจไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติขอสินเชื่อได้ และทางผู้ให้บริการสินเชื่อจะเข้าไปตรวจสอบประวัติการชำระเงินผ่านทางเครดิตบูโร ว่ามีการผิดนัดชำระหรือไม่ หากมีประวัติว่าชำระล่าช้าหรือผิดชำระ ก็อาจพิจารณาให้ไม่ผ่านเช่นกัน

 แม้ว่าสินเชื่อส่วนบุคคลจะเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการใช้ แต่ผู้ขอสินเชื่อควรจะมีสติและวางแผนให้ดีก่อนตัดสินใจ ควรถามตัวคุณเองให้แน่ใจก่อนว่า จะกู้เงินเพื่อไปใช้อะไร?? และควรจะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น โดยภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้นไม่ควรจะเกิน 40% ของรายได้ที่มีต่อเดือน เพราะรายได้นอกจากจะมีไว้เพื่อใช้หนี้แล้ว อย่าลืมว่าต้องเก็บไว้ใช้เพื่อสิ่งสำคัญอย่างอื่นในชีวิตด้วย

(Advertorial) ถ้าหากคุณสนใจสินเชื่ออื่นๆ นอกเหนือจากสินเชื่อส่วนบุคคล ทางเฮงลิสซิ่งเองก็มีให้บริการสินเชื่อสำหรับรถทุกประเภท สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ สินเชื่อเพื่อรถทุกชนิดกับเฮงลิสซิ่ง หรือ สอบถามเพิ่มได้ที่ เฮงลิสซิ่งทุกสาขาใกล้บ้านคุณ เรายินดีให้บริการ