การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ เป็นการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถจากคนหนึ่งมาเป็นของอีกคนหนึ่ง ไม่ว่าจะมาจากการโอนให้กัน หรือจากการซื้อขายรถก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ยังมีวิธีการโอนรถที่แตกต่างกัน เรามาดูกันว่าการโอนรถแต่ละแบบต้องเตรียมเอกสาร เตรียมเงินและกี่วันถึงจะได้เล่มมาครอบครอง

การ โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ มีกี่แบบ

การโอนรถหรือการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์มาเป็นชื่อของตัวเองนั้นจำเป็นจะต้องดำเนินการที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้ ทั้งนี้การโอนกรรมสิทธิรถยนต์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะเป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์หรือเจ้าของรถยนต์ตัวจริง โดยจะต้องมีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวจึงจะถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์อย่างสมบูรณ์ สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

การ โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ แบบโอนตรง 

เจ้าของรถคนเก่ากับเจ้าของรถคนใหม่ จะต้องไปยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดพร้อมกัน โดยเอกสารที่ต้องเตรียมในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กับขนส่งมีดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนรถยนต์กับขนส่งทางบก

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

3.สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี

4.แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว

การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์แบบโอนลอย

การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์แบบโอนลอย หรือเรียกว่าการโอนลอย  ผู้ขายรถหรือเจ้าของเดิมจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและเซ็นเอกสารที่เรียกว่าชุดโอนลอยให้กับผู้ซื้อรถ เพื่อให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเองที่สำนักงานขนส่งจังหวัดต่อได้เลย โดยเอกสารที่ต้องเตรียมในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์แบบโอนลอยมีดังนี้

ทั้งนี้เมื่อเจาะลึกเข้าไปแล้วจะพบว่าในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

3.สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี

4.แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว

5.หนังสือมอบอำนาจ พร้อมเซ็นสำเนาให้ถูกต้องครบทุกฉบับ

หรือเจ้าของรถตัวจริงที่มีชื่อในสมุดเล่มทะเบียนรถ จากคนหนึ่งมาเป็นของอีกคนหนึ่ง หลายคนอาจจะยังไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินการโอนรถ โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนควรให้ความสำคัญไม่น้อย แต่การเปลี่ยนเจ้าของใหม่นั้น ด้วยวิธีการซื้อรถต่อจากคนอื่น แล้วจะโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง  พ่อแม่ยกรถให้ลูก โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง  บางคนได้รับมรดกจากคนในครอบครัว ญาติ พี่น้องจะโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง กรณีพ่อหรือแม่ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เสียชีวิตไปแล้ว จะโอนมาเป็นชื่อลูกหรือบุคคลอื่นจะ โอนรถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง จะเห็นว่าการโอนรถเกิดขึ้นได้ในกรณีแตกต่างกัน ทั้งจากการซื้อขาย ยกรถให้กันในครอบครัว หรือแม้แต่การโอนรถจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่เสียชีวิตไปแล้ว จะต้องมีการเตรียมเอกสารในการโอนรถที่แตกต่างกัน 

การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ มรดกตกทอดหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์เสียชีวิตไปแล้ว

“พ่อซึ่งเป็นเจ้าของรถตัวจริงได้เสียชีวิต แต่ลูกต้องการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์นั้นเป็นชื่อของตัวเอง จะสามารถโอนรถได้หรือไม่” กรณีเจ้าของตัวจริงได้เสียชีวิตลงแต่ก่อนหน้านั้น ไม่ได้ทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมไปถึงการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ไปให้คนในครอบครัว กรณีโอนรถของพ่อหรือแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วมาเป็นชื่อลูกเกิดขึ้นมาแล้วหลายเคส กรณีนี้จำเป็นต้องมีผู้จัดการมรดก มาทำการโอนรถแทนเจ้าของรถที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง มีดังต่อไปนี้

  • หลักฐานประกอบการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ

2.แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งบันทึกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว

3.ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

4.หลักฐานการได้มาของตัวรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย (ถ้ามี)

5.กรณีโอนรับมรดก แนบสำเนาใบมรณบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือเอกสารของทางราชการที่ระบุชื่อผู้รับมรดก/ผู้จัดการมรดก

6.หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

  • ขั้นตอนการโอนรถ

1.นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่ฝ่ายตรวจสภาพรถ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)

2.ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมหลักฐาน และผลการตรวจสอบรถ (ถ้ามี)

3.ชำระเงินค่าธรรมเนียม

4.รอรับเอกสารคืน

หมายเหตุ การโอนกรรมสิทธิ์รถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท)

ค่าโอนรถยนต์ ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายกี่บาท

นอกจากจะต้องเตรียมเงินก้อนหนึ่งสำหรับซื้อรถมือสองสักคันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คิดเผื่อไว้ล่วงหน้านอกจากการซื้อรถแล้วนั่นก็คือ ค่าโอนรถยนต์  ซึ่งผู้ที่กำลังจะซื้อรถต้องเตรียมเงินในส่วนนี้เพื่อเป็นค่าโอนรถยนต์  โดยค่าโอนรถยนต์มีค่าใช้จ่ายแยกย่อยดังนี้

1.ค่าคำขอ  5 บาท

2.ค่าธรรมเนียมค่าโอนรถยนต์  100 บาท

3.ค่าอากรแสตมป์  500 บาทต่อราคาประเมินทุก 100,000 บาท

4.ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน  200 บาท  (ในกรณีที่ผู้ซื้อต้องการเปลี่ยนป้ายทะเบียนใหม่)

5.ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน  100 บาท  (ในกรณีที่เล่มทะเบียนเก่าหรือชำรุด)

นอกจากนี้ค่าโอนรถยนต์ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 

โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในจังหวัด / ข้ามจังหวัดกี่วันถึงจะได้เล่ม

การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายในจังหวัดเดียวจะมีความสะดวก รวดเร็วกว่าการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ข้ามจังหวัด สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายในจังหวัด จะใช้เวลาในการตรวจสภาพรถ  ยื่นเอกสาร ดำเนินการทางด้านเอกสาร เร็วที่สุดประมาณ 2-3 ชั่วโมง และหากช้าสุดคือประมาณ 15 วันทำการ ทั้งนี้คุณควรเตรียมเอกสารให้พร้อม ครบถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการยื่นเอกสารและดำเนินการได้เร็วขึ้น

กรณีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ข้ามจังหวัด จะต้องมีการทำเรื่องขอโอนรถข้ามจังหวัดเสียก่อน นอกจากเอกสารชุดโอนลอยที่คุณเตรียมไว้ในมือแล้ว จะต้องทำการกรอกใบคำขอสำหรับการโอนรถข้ามจังหวัดก่อน ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม หลังจากยื่นเอกสารการขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ข้ามจังหวัดแล้ว เจ้าหน้าที่จะนัดวันให้นำรถยนต์มาตรวจสภาพอีกครั้ง อาจจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินขอโอนรถข้ามจังหวัดขั้นตอนแรก ประมาณ 3 วัน เมื่อถึงวันนำรถมาตรวจสภาพแล้ว นัดวันรอรับเล่มทะเบียนรถ พร้อมแผ่นป้ายทะเบียนใหม่ต่อไป

การโอนลอยและ ชุดโอนลอย คืออะไร 

มาทำความรู้จักกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์แบบโอนลอยรถกันก่อน สำหรับการโอนลอยรถ คือ การที่เจ้าของรถหรือผู้ขายรถ ได้ขายรถให้กับผู้ซื้อรถ โดยทำการเซ็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนรถให้แก่ผู้ซื้อ แล้วให้ผู้ซื้อไปดำเนินการเองที่สำนักงานขนส่งทางบก แต่ผู้ขายไม่ได้ไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด การที่ผู้ขายได้เซ็นเอกสารทั้งหมดให้ผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นแบบคำขอโอนและรับโอน หนังสือมอบอำนาจ รวมไปถึงสำเนาเอกสารประจำตัวของผู้ซื้อและเล่มทะเบียน ซึ่งการเตรียมเอกสารทั้งหมดไว้นี้ เรียกกันว่า ชุดโอนลอย ผู้ขายรถส่วนใหญ่มักจะมีการเตรียมชุดโอนลอยเอาไว้ เพื่อรอว่าวันไหนที่มีผู้ซื้อรถมาซื้อ ก็เพียงแค่เซ็นชื่อในช่องผู้รับโอน และผู้ซื้อรถก็นำรถและชุดโอนลอยที่ผู้ขายเตรียมไว้ให้ เอาไปดำเนินเรื่องแจ้งโอนรถที่สำนักงานขนส่งได้เลย ไม่ต้องมีผู้ขายตามไปด้วยนั่นเอง โดยวิธีการ โอนลอยรถนั้น มักจะใช้ในการซื้อขายรถมือสองเป็นส่วนใหญ่ ผู้ขายจะทำการเซ็นเอกสารสำหรับการโอนลอยรถรอไว้ก่อน แม้ว่าจะมีผู้ซื้อหรือยังไม่มีผู้ซื้อรถคันนั้นก็ตาม เมื่อใดมีผู้สนใจและซื้อรถคันนั้น ผู้ซื้อก็สามารถนำเอกสารชุดโอนลอยที่ผู้ขายได้เซ็นไว้แล้ว นำไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งได้เลย ผู้ขายไม่ต้องไปที่สำนักงานขนส่งเพื่อทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้เสียเวลา แต่ก็มีข้อควรระวังตรงที่ หากผู้ซื้อไม่นำชุดโอนลอยนี้ ไปดำเนินการโอนรถที่ขนส่งให้เสร็จเรียบร้อย แต่กลับนำรถไปใช้ในทางที่ไม่ดี หรือทำผิดกฎจราจร จะทำให้ผู้ขายอาจได้รับความเสียหาย จึงจำเป็นต้องเก็บหลักฐานการซื้อขายรถไว้ให้ดี

เอกสารในการโอนลอยรถหรือชุดโอนลอยมีอะไรบ้าง

1.หนังสือสัญญาซื้อขายรถ (เตรียมสัญญาซื้อขาย 2 ฉบับ สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย)

2.สมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง (เล่มเขียว)

3.สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด

4.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ซื้อ (ในกรณีที่เจ้าของรถขายต่อกับผู้ซื้อโดยตรง)

5.แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด

6.หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด กรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ไม่ได้ไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่สำนักงานขนส่งด้วยตัวเอง โดยให้บุคคลอื่นหรือผู้ซื้อรถยนต์สามารถนำเอกสารเหล่านี้ไปดำเนินการเรื่องโอนรถที่สำนักงานขนส่งเอง

ข้อสังเกต ในส่วนของเอกสารการซื้อขายรถนั้น ควรมี 2 ฉบับ เพื่อให้ผู้ขายรถและผู้ซื้อ เก็บเอาไว้เป็นหลักฐานในการซื้อขายรถยนต์และผู้ขายควรเก็บสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อเอาไว้ด้วย เพราะป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง หากผู้ซื้อไม่ยอมไปโอนรถที่สำนักงานขนส่งหลังจากที่ได้มีการซื้อขายรถกันเรียบร้อยแล้ว เช่น ทำผิดกฎจราจร ฝ่าไฟแดง ขับรถเกินความเร็วที่กำหนด จะมีจดหมายใบสั่งส่งมาที่บ้านของผู้ขายหรือเจ้าของรถเดิม หรือผู้ซื้อนำรถไปทำเรื่องผิดกฎหมาย  ก่อคดีความโดยนำรถที่ซื้อไปก่อเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของรถเดิมอาจจะต้องได้รับผิดชอบ โดยที่ตัวผู้ขายไม่ได้เป็นผู้กระทำเนื่องจากได้ขายรถคันนั้นไปแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องเก็บเอกสารการซื้อขายตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเองค่ะ

โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์แล้วกี่วัน ถึงเอาเข้าไฟแนนซ์ได้

ก่อนที่หลายคนจะตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน คงต้องมีการคิดมาก่อนแล้วว่าจะเลือกซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด หรือเงินผ่อนดี แต่สำหรับคนที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดก่อน แล้วจะนำรถมาเข้าไฟแนนซ์ ขอสินเชื่อทะเบียนรถในภายหลัง เพื่อนำเงินกลับไปใช้จ่ายหมุนเวียน แล้วผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้สามารถมีเงินก้อนกลับมาติดกระเป๋า นำมาใช้จ่ายหมุนเวียน แถมยังมีรถเพิ่มขึ้นมาอีกคัน แต่หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาว่า ไฟแนนซ์มักจะดูว่าคุณโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันนั้นมาแล้วกี่วัน หลายแห่งใช้เวลาในการครอบครองเป็นเจ้าของนาน 2- 3 เดือน ทำให้ไม่สะดวกกับผู้ที่ต้องการเงินก้อนกลับมาใช้หรือสำรองไว้อีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลเมื่อมาที่เฮงลิสซิ่ง เพียงคุณโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นชื่อคุณแล้วเพียง 1 วัน ก็สามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้เลย  

การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง คุณจึงจำเป็นต้องเข้าใจขั้นตอนในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ การเตรียมเอกสารในการโอนรถ ค่าใช้จ่าย รวมไปถึงระยะเวลาในการโอนรถเพื่อจะได้เล่มทะเบียนรถยนต์มาครอบครองอย่างถูกต้อง เมื่อได้เล่มทะเบียนรถยนต์เรียบร้อยแล้ว หากคุณกำลังจำเป็นต้องใช้เงินก้อน เพื่อต่อยอดอาชีพ ใช้จ่ายหมุนเวียน หรือใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ ก็สามารถนำรถมาขอสินเชื่อเปลี่ยนรถเป็นเงินที่เฮงลิสซิ่ง  ไม่ต้องรอระยะเวลาการครอบครองรถนานหลายเดือน แค่โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์มาเป็นชื่อของตัวเองเพียง 1 วัน ก็สามารถนำรถของคุณเข้าไฟแนนซ์ที่ได้เฮงเลยกับสินเชื่อเฮงเปลี่ยนรถเป็นเงิน  กู้ง่าย รู้ผลไว รับเงินทันใช้ สนใจสมัครคลิก