ทุกปีเจ้าของรถทุกคนจะต้องต่อภาษีประจำปีแต่เมื่อไหร่ที่ลืมต่อภาษีเกิน 3 ปี มีผลทำให้ทะเบียนรถขาดทันที หากนำรถที่ทะเบียนขาดไปใช้บนท้องถนนจะถือว่าผิดกฎหมายอีกด้วย แล้วรถทะเบียนขาด จะต้องทำอย่างไร สามารถนำรถไปธุรกรรมต่าง ๆ ได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
ทะเบียนรถขาด คืออะไร
การต่อทะเบียนรถหรือการต่อภาษีประจำปี เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถต้องจ่ายทุกปี แต่เมื่อไหร่ที่ลืมต่อภาษีรถเกิน 3 ปีถือว่าทะเบียนรถขาด โดยปกติป้ายภาษีรถจะแสดงวันที่จะต้องต่อภาษีในปีต่อไปหากไม่ต่อภาษีตามวันที่ระบุไว้ก็ทำให้ภาษีขาด แม้ว่ารถที่ทะเบียนรถขาดจะสามารถซื้อขายได้ แต่ที่ทะเบียนรถขาดจะไม่สามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้ จะต้องต่อทะเบียนรถก่อนจึงจะทำให้รถที่ทะเบียนรถขาดจะสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ และสามารถเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้ต่อไป สรุปแล้วทะเบียนรถขาด คือการขาดต่อภาษีรถประจำปี โดยสามารถต่อทะเบียนรถขาด โดยการกลับมาจ่ายภาษีรถประจำปีพร้อมจ่ายค่าปรับย้อนหลัง โดยถูกปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องจ่ายต่อเดือนจนถึงวันที่ต้องจ่ายนั่นเอง หรือทั้งนี้หากกลัวลืมต่อภาษี ต่อทะเบียนรถ ก็สามารถดำเนินการต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม้เกิน 90 วัน หากปล่อยให้ทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี จะมีจดหมายส่งมาตามที่อยู่ของเจ้าของรถให้ระงับการใช้งานรถยนต์คันนั้น นอกจากทะเบียนรถขาดแล้ว เลขทะเบียนรถคันนั้นจะถูกยกเลิก เมื่อทะเบียนรถขาดไปแล้วและต้องการกลับมาใช้รถคันนั้นอีกครั้ง จะต้องดำเนินการขอทะเบียนรถใหม่ และชำระภาษีย้อนหลัง 3 ปีอีกด้วย
ทะเบียนรถขาด อยากต่อทะเบียนใหม่ต้องทำยังไง
หลังจากที่ทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี กรมการขนส่งทางบกจะออกจดหมายแจ้งจอดรถ ทำให้ป้ายทะเบียนรถที่ใช้อยู่นั้นถูกยกเลิกไปด้วย ทั้งนี้เมื่อได้รับจดหมายแล้วจะต้องนำป้ายทะเบียนรถเดิมและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน ทำการบันทึกระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้หากทะเบียนรถขาด อยากต่อทะเบียนรถใหม่ จะต้องดำเนินการดังนี้
ทะเบียนรถขาด ไม่เกิน 3 ปี
หากทะเบียนรถขาดไม่เกิน 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ และสามารถดำเนินการต่อภาษี ต่อทะเบียนรถได้ตามปกติ เหมือนการต่อภาษีแบบปกติ หรือหากกลัวลืมต่อภาษีก็สามารถต่อทะเบียนรถล่วงหน้าได้ 90 วันก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี
เอกสารเตรียมต่อทะเบียนรถ มีอะไรบ้าง
- สำเนาคู่มือทะเบียนรถ หรือสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง
- เอกสารการต่อประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
ทะเบียนรถขาด เกิน 3 ปี
หากทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี อาจจะเป็นเพราะจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานบ้าง รถเสีย หรือสาเหตุใดก็ตาม กรมการขนส่งทางบกจะออกจดหมายแจ้งจอดรถ ทำให้ป้ายทะเบียนรถที่ใช้อยู่นั้นถูกยกเลิกไปด้วย ทั้งนี้เมื่อได้รับจดหมายแล้วจะต้องนำป้ายทะเบียนรถเดิมและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน ทำการบันทึกระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้หากทะเบียนรถขาด อยากต่อทะเบียนรถใหม่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแจ้งจดทะเบียนใหม่
- แจ้งจดทะเบียนใหม่ นำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่กรมการขนส่งทางบก
- ชำระค่าปรับ
- ตรวจสภาพรถใหม่
- ซื้อพ.ร.บ.ใหม่
- รอรับป้ายทะเบียนใหม่
เอกสารขอป้ายทะเบียนรถใหม่มีอะไรบ้าง
- บันทึกการระงับทะเบียน
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- พ.ร.บ.ใหม่
- หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (ในกรณีรถซื้อขาย ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
- หนังรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (หากรถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (หากเจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ การต่อภาษีรถสามารถเข้าไปชำระได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ว่ารถของคุณจะจดป้ายทะเบียนจังหวัดไหนก็ตาม
- ต่อภาษีรถออนไลน์ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก หรือ แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax การต่อภาษีรถออนไลน์จะทำได้เฉพาะรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก หากรถยนต์อายุเกิน 7 ปีต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.ก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ หลังจากที่นำรถไปตรวจสภาพแล้วก็สามารถยื่นต่อภาษีออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
- เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) การเลื่อนล้อต่อภาษี เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องลงจากรถให้เสียเวลา แค่เตรียมเอกสารในการต่อภาษีให้พร้อม โดยจะต้องเตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนา, พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ช่องทางนี้หลายคนอาจจะใช้บริการกันบ่อยในการจ่ายบิลต่าง ๆ รวมไปถึงการต่อภาษีรถก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยรถที่ต่อภาษีที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส จะต้องไม่มีภาษีค้างชำระ หรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี โดยยื่นขอชำระภาษีปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การต่อภาษีรถ กับการต่อพ.ร.บ.ต่างกันยังไง
เชื่อว่าหลายคนเคยเกิดความสับสน และเรียกป้ายสี่เหลี่ยมสีฟ้าชมพูที่ติดหน้ากระจกรถว่าป้ายพ.ร.บ.ซึ่งความจริงแล้ว ป้ายสี่เหลี่ยมสีฟ้าชมพูนั้น เรียกว่า ป้ายภาษีรถ ส่วนพ.ร.บ.จะเป็นกระดาษ A4 สีขาว ซึ่งจะต้องต่ออายุควบคู่กัน ซึ่งทำให้หลายคนเกิดความสับสนจะเรียกผิดเรียกถูกนั่นเอง
พ.ร.บ.คืออะไร
พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่อพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ เป็นเอกสาร A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย ในกรณีที่ภาษีขาดแต่พ.ร.บ.ไม่ขาด หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พ.ร.บ.ก็จะยังให้ความคุ้มครองอยู่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นการทำพ.ร.บ.จึงเป็นสิ่งสำคัญและอย่าปล่อยให้พ.ร.บ.ขาดเด็ดขาด เพราะพ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองโดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท
- เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร คนละไม่เกิน 35,000 บาท
- ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท
- หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท
(กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)
ป้ายวงกลมหรือป้ายภาษี คืออะไร
ป้ายวงกลม หรือ ป้ายภาษี คือเอกสารสี่เหลี่ยมสีฟ้าชมพูที่ติดบนกระจกรถ แสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้เสียภาษีเรียบร้อยแล้ว หากขาดต่อภาษีอาจจะทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ ในกรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนเล่มใหม่และเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน
เงื่อนไขรถสำหรับการยื่นต่อภาษี ต่อทะเบียนรถ
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนทุกจังหวัด
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
- จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
- รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
- ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
- เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
- ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
- ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
- ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี
การคำนวณภาษีรถยนต์
รถแต่ละรุ่น มีอัตราการจ่ายภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น รุ่นรถ ประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ ซี.ซี.รถ อายุรถ น้ำหนักรถ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดภาษีรถยนต์ ดังนี้
1.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (ป้ายดำ)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งอย่างเช่นรถเก๋งทั่วไป, รถกระบะ 4 ประตู, รถ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณภาษีรถยนต์ดังนี้
- เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
- เครื่องยนต์ขนาด 601-1,800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
- เครื่องยนต์ขนาด 1,801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท
ในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วนดังนี้
- รถยนต์อายุเกิน 6 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- รถยนต์อายุเกิน 8 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- รถยนต์อายุเกิน 9 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- รถยนต์อายุเกิน 10 ปี รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 2,755 ซี.ซี.
- 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
- 1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820
นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน เท่ากับ 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท
2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว (ป้ายเขียว)
เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท
3.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน (ป้ายน้ำเงิน)
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจาก รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,600 บาท
อย่าปล่อยให้ทะเบียนรถขาด เพราะหากอยากจะใช้งานรถคันนั้นต่อ นอกจากจะไม่ได้ใช้ป้ายทะเบียนเดิมแล้ว ยังจะต้องเสียค่าปรับย้อนหลัง คืนป้ายทะเบียนเดิม และดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลาพอสมควร เพราะฉะนั้นควรต่อภาษีรถ ต่อพ.ร.บ.เป็นประจำทุกปีซึ่งสามารถทำล่วงหน้าได้ หรือหากมีเหตุต้องหยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย ใช้งานไม่ได้ทุกกรณีต้องแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ นอกจากอย่าปล่อยให้ทะเบียนรถขาดแล้ว พ.ร.บ.ถือเป็นหลักประกันการคุ้มครองผู้ขับขี่จะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ต้องต่ออายุควบคู่กับการต่อทะเบียนรถ นอกจากนี้หากรถของใครที่ทำประกันรถยนต์ไว้ ก็ควรจะต่อประกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งคน รถและความเสียหายต่าง ๆ อีกด้วย แนะนำประกันรถยนต์ ผ่อน0% ที่เฮงลิสซิ่ง ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน สนใจคลิก