พ่อหลวงผู้เป็นต้นแบบแห่ง “ การออม ”

ร.9

“การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุข

ของผู้ประหยัดเอง และครอบครัวช่วยป้องกัน ความขาดแคลนในวันข้างหน้า

การประหยัดดังหล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแก้ผู้ประหยัดเท่านั้น

ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ”

-พระราชดำรัส พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช-

 

 

เดินตามรอยพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 พ่อผู้เป็นต้นแบบการออม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นแรงบันดาลใจของพสกนิกรชาวไทย ในหลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ด้าน  และหนึ่งในสิ่งที่ทุกคนให้การยกย่องพระองค์เป็นต้นแบบ ก็คือ การเป็น “พระมหากษัตริย์นักออม” ซึ่งเป็นพระราชจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างเป็นประจำเสมอมา โดยเป็นแนวคิดง่าย ๆ ที่ทุกคนนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว

 

1.โดยเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ได้กราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่น ๆ เขามีกัน สมเด็จย่ารับสั่งตอบว่า “ลูกอยากได้ก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อ

สมเด็จย่าสอน การออม

2.เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา ในหลวงทรงซื้อกล้องถ่ายรูปกล้องแรกด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์

ออมเงิน

 

3.ในหลวงทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย และเมื่อทรงได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม

4.ความมัธยัสถ์ถือเป็นคุณูปการสำคัญที่ทำให้ในหลวงทรงเรียนรู้หลักความพอเพียงสมถะมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่งสมเด็จย่ามีพระดำรัสในเวลาต่อมาว่า “ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุดคือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่มี

5.ในหลวงทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก “การให้” โดยสมเด็จย่าทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า “กระป๋องคนจน” เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ 10 เปอร์เซ็นต์ ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุม เพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้าหรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน

ออมสินของพ่อร.9

6.ตราบจนเสด็จขึ้นครองราชย์ ในเรื่องของใช้ส่วนพระองค์ พระองค์ก็ยังทรงไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องใช้ของแพง หรือต้องเป็นแบรนด์เนม ไม่โปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่าง ๆ ยกเว้นนาฬิกา โดยนาฬิกาที่พระองค์ใส่นั้นก็เป็นเพียงนาฬิกาที่มีไว้สำหรับบอกเวลาเท่านั้น

7.เรื่องหนึ่งที่มีคนพูดกันแพร่หลาย แต่ความจับจิตจับใจก็ไม่เคยเสื่อมคลาย นั่นคือเรื่องหลอดยาสีพระทนต์ที่พระองค์ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดที่ปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากพระองค์ทรงใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และกดเป็นรอยบุ๋มนั่นเอง

หลอดยาสีฟันของพ่อร.9

8.พระองค์ไม่โปรดการใช้ปากการาคาแพง ในปีหนึ่งๆ ทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่งเท่านั้น โดยใช้เดือนละแท่งจนกุด

9.อาจพูดได้ว่า การถวายของแด่ในหลวงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

10.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่าง แม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน

11.ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกาลงข่าวลือเกี่ยวกับพระองค์ว่าแซ็กโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ จึงมีพระราชดำรัสว่า “อันนี้ไม่จริงเลย สมมุติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก

รัชกาลที่ 9

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับปวงประชา ซึ่งหลายๆคนยังคงหลงระเริงกับการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยจนสุดท้ายบั้นปลายชีวิตไม่มีเงินเหลือเก็บยามแก่เฒ่า เพราะฉะนั้นควรรู้จักประหยัดอดออมตั้งแต่ในวัยเรียน วัยทำงาน ใช้จ่ายแต่สิ่งที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เพียงเท่านี้คุณก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงแค่รู้จักประหยัดอดออมเพียงเท่านั้นเอง

ทางเราจึงขอรวบรวม 9 แนวคิดวิธีการออม ตามแบบอย่างในหลวง รัชกาลที่ 9 มาฝากเพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ปลูกฝังนิสัย การออม

เมื่อครั้งพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ก็ทรงซื้อกล้องถ่ายรูป ด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ และเมื่อพระชนมายุ 10 พรรษา ทรงนำเงินที่เก็บออมไว้ซื้อเครื่องดนตรีชิ้นแรก คือ คลาริเน็ต แสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านได้รับการปลูกฝังเรื่องการออมที่ดีจากสมเด็จย่ามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ดังนั้น การปลูกฝังนิสัยการออมอย่างสม่ำเสมอให้เด็ก ให้ลูกหลานตั้งแต่ยังน้อย ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรปฎิบัติอย่างยิ่ง เพื่อฝึกให้มีนิสัยรักการออม

การออม เงินด้วยบัญชีเงินฝาก

การออม ของพ่อร.9

 

“ถ้าเราสะสมเงินให้มาก เราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ยโดยไม่แตะต้องทุน

แต่ถ้าเราใช้มากเกินไปหรือเราไม่ระวัง เรากินเข้าไปเป็นทุน ทุนมันก็น้อยลงๆ จนหมด”

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘

พระมหากษัตริย์นักออมเงินตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงเก็บออมเงินไว้กับธนาคารอย่างต่อเนื่อง ตามคำสอนของสมเด็จย่าผ่านสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินส่วนพระองค์ ซึ่งมีเงินฝากเข้าเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเราควรน้อมนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเอง

ประหยัด มัธยัสถ์ เป็นที่สุด

พ่อหลวง ร.9

พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของการประหยัด มัธยัสถ์ อย่างแท้จริง จนเคยมีครั้งหนึ่งสมเด็จย่ามีพระดำรัสว่า “ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุดคือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่มี” ซึ่งเราจะเห็นได้จากของใช้ส่วนพระองค์ ที่ทรงใช้ทุกอย่างแบบรู้คุณค่า และคุ้มค่าที่สุด

บัญชีครัวเรือน แก้ปัญหาความยากจน

บันทึกรายรับ-รายจ่าย การออม

 

บัญชีครัวเรือน เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงริเริ่มที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน โดยการทำบัญชีครัวเรือน ก็คือ การบันทึกรายรับ-รายจ่าย ที่เกิดขึ้นในครัวเรือน เพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมว่า ครอบครัวมีรายได้-รายจ่ายเท่าไหร่ มีเงินคงเหลือมากน้อยแค่ไหน

พอเพียง พอประมาณ แต่ไม่สุดโต่ง

การประหยัด อดออม ล้วนเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว แต่หากสุดโต่งมากจนเกินไปก็เกิดผลเสียได้เช่นกัน ซึ่งตามความหมายของคำว่าพอเพียงของพระองค์ ก็คือ การคำนึงถึงความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

“พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้

แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข

ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ”

พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540

ลงทุนควบคู่ไปด้วย

นอกจากการออมแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังเป็นผู้ที่รู้จักนำเงินที่ออมได้มาลงทุนควบคู่กันไปด้วย เห็นได้จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่เริ่มต้นลงทุนจากเงินสะสมส่วนพระองค์เพียง 32,866 บาท จนกลายเป็นโครงการที่เติบโตมาถึงทุกวันนี้

ออมแล้วรู้จักให้ด้วย

พ่อหลวง

จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือราษฎร และทรงให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงโครงการตามพระราชดำริและพระราชกรณียกิจทุกโครงการ ที่ล้วนแสดงให้เห็นว่าพระองค์พร้อมจะให้ และเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง

ชีวิตดีถ้าไม่มีหนี้

“…มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน…กู้เงินนั้น

เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์…”

พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

แน่นอนว่า นอกจากการออมเงินที่ควรจะกระทำจนเป็นนิสัยแล้ว ก็ควร ลด ละ เลิกการสร้างหนี้ที่เกินตัว อย่างเช่น การใช้บัตรกดเงินสด เงินกู้นอกระบบ การใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นการนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต หรือไม่ก็ควรศึกษาวิธีการใช้งานให้เกิดประโยชน์มากกว่าสร้างโทษให้กับตัวเอง

พอเพียงก็เพียงพอ 

 

“…การประหยัด เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่งในทุกแห่งและในกาลทุกเมื่อ…

ขอให้คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการประหยัดนี้ให้มาก…

การประหยัดนี้ ควบคู่ไปกับหลักการพออยู่ พอกิน พอใช้ จึงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตนตามเศรษฐกิจพอเพียงโดยแท้…”

พระบรมราโชวาทพระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑

การออม นั้นเชื่อว่าหลายๆคนรู้และเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การออม ดีอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่พ่อหลวงทรงแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแห่งการออม ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย สิ่งที่ได้มากกว่าเงินที่เราออมได้ นั้นก็คือ นิสัยรักการออม ความสม่ำเสมอ ความอดทน รวมทั้งการให้ อีกด้วย ดังนั้น ประชาชนชาวไทยทุกคนควรหันมาใส่ใจการออมให้มาก ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป เงินออมที่เป็นทุนในตัวด้วยก็ยิ่งดี อย่างที่พ่อหลวง ร.9 ให้ความสำคัญหันมาออมเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่ออนาคต และเพื่อประเทศชาติด้วย หรือสามารถคลิกดูวิธีออมเงินง่ายๆเพิ่มเติมได้ ที่นี่