ไฟไหม้รถยนต์ ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับบางคน เพราะคิดว่าไฟไหม้รถยนต์มักเกิดกับรถที่ติดแก๊สเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วไฟไหม้รถยนต์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้รถหรือเดินทางไกลเป็นประจำ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถยนต์และดูแลรถอย่างไรไม่ให้เสี่ยงไฟไหม้ บทความนี้มีคำแนะนำมาฝากค่ะ

ไฟไหม้รถยนต์ สาเหตุเกิดจากอะไร

เรามักจะพบเห็นข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ ๆ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้รถยนต์นั้นแทบจะเป็นฝันร้ายของเจ้าของรถเลยก็ว่าได้ เพราะรถยนต์ทั้งคันเสียหายไปกับเปลวเพลิง และยิ่งหากขณะเกิดไฟไหม้รถยนต์มีผู้โดยสารอยู่ภายในรถ ยิ่งถือเป็นความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อาจไม่มีวันได้คืน ทั้งนี้ผู้ขับขี่รถและผู้ใช้รถควรจะต้องรู้สาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถยนต์ว่าเกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้กับทุกคน

 1.อุบัติเหตุรถชนอย่างรุนแรง

เมื่อรถชนรถอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดประกายไฟและของเหลวไวไฟไหลออกมา จนทำให้เกิดไฟไหม้รถยนต์และการเกิดระเบิดตามมาได้

2.ระบบไฟฟ้าขัดข้อง

ระบบไฟฟ้าจากสายแบตเตอรี่ สายไฟในห้องเครื่อง มีการชำรุด ขาด หลวม หรือหลุด ซึ่งหากสายไฟเหล่านี้มีการติดตั้งที่ไม่ดี โอกาสที่ไฟไหม้รถยนต์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

3.เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท

ปกติแล้วเครื่องยนต์จะถูกออกแบบมาไม่ให้เกิดอาการโอเวอร์ฮีทได้ง่าย หากเครื่องยนต์ร้อนจนเกินไป เนื่องจากมีชิ้นส่วนบางอย่างทำงานได้ไม่ดี จะทำให้น้ำยาหล่อเย็น และของเหลวต่าง ๆ ภายในมีอุณหภูมิสูง รั่วกระจายทั่วห้องเครื่องและอาจทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ 

4.น้ำมันเชื้อเพลิงรั่ว

เมื่อมีการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้น หากเกิดประกายไฟเพียงนิดเดียว ก็เป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้

5.ระบบไฟฟ้าขัดข้อง

ระบบไฟฟ้าขัดข้อง และการเดินสายไฟหรือดัดแปลงสายไฟที่ไม่ดี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ รวมไปถึงสายแบตเตอรี่และสตาร์ทเตอร์มีกระแสไฟเพียงพอที่จะจุดติดไฟทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด แม้แต่หลอดไฟที่ชำรุดก็ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้

6.ขาดการบำรุงรักษา

การดูแลรักษารถเป็นประจำ หมั่นตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง เช็ครถตามระยะเวลา ก็เป็นการช่วยดูแลรักษารถทางหนึ่ง แต่ผู้ใช้รถหลายท่านอาจมีการละเลยหรือไม่ได้เอาใจใส่รถเท่าที่ควร เช่น ลืมถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ได้นำรถไปตรวจสภาพ หรือปล่อยให้รถมีปัญหาแต่ไม่นำรถเข้าไปตรวจเช็ค ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา รวมถึงอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ 

7.มีการปรับแต่งชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน

หากรถมีการปรับแต่งชิ้นส่วนเพิ่มเติม อาจทำให้การทำงานของรถผิดปกติ และอาจเป็นต้นเหตุทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ เพราะฉะนั้นไม่ควรปรับแต่งชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานกับรถ หรือหากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนชิ้นใหม่ ควรเลือกใช้ชิ้นส่วนและอะไหล่ที่ได้มาตรฐานและเปลี่ยนโดยช่างที่มีความชำนาญในด้านนี้ด้วย

8.สิ่งของที่ทิ้งไว้ภายในรถ 

เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน การจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้นถึง 60 องศาเซลเซียส หากที่สิ่งของเหล่านี้ภายในรถ เช่น ไฟแช็ก กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่สำรอง โทรศัพท์มือถือ แผ่นยางกันลื่น ก็อาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ ทางที่ดีไม่ควรนำสิ่งของเหล่านี้ทิ้งไว้ในรถ ช่วยลดโอกาสที่จะทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ 

5 สิ่งของอันตรายเสี่ยงรถบึ้ม

แม้ว่าโอกาสที่สิ่งของเหล่านี้จะมีโอกาสทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้น้อย แต่ด้วยอากาศในเมืองไทยที่มีอุณหภูมิสูง หากรถยนต์ที่จอดรถตากแดดทิ้งไว้โดยไม่มีการติดฟิล์มกระจก จะมีความร้อนภายในรถสูงถึง 60 องศาเซลเซียส จนทำให้สิ่งของที่หลายคนมักเอาทิ้งไว้ในรถเหล่านี้มีโอกาสเป็นชนวนให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ 

1.ไฟแช็ก เพราะไฟแช็กถูกอัดด้วยแก๊สเชื้อเพลิงในรูปของเหลวเมื่อเจออุณหภูมิสูง แก๊สจะขยายตัวทำให้ติดไฟและระเบิด 

2.กระป๋องสเปรย์ สารเคมีในกระป๋องสเปรย์ก็เป็นจำพวกไวไฟ หากอุณหภูมิภายนอกยิ่งสูงขึ้นทำให้กระป๋องโลหะสะสมความร้อนจนระเบิดได้ในที่สุด

3.แบตเตอรี่สำรอง แบตเตอรี่จะมีฉนวนป้องกันลัดวงจร เมื่ออากาศร้อนขึ้นการลัดวงจรจะเกิดได้ง่ายขึ้น ประกอบกับแบตเตอรี่ที่ใช้ไปแล้วมีการเสื่อม หรือไม่ได้คุณภาพ ก็ทำให้ระเบิดเกิดไฟไหม้รถยนต์ได้

4.โทรศัพท์มือถือ เช่นเดียวกันกับแบตเตอรี่สำรอง ควรนำพกติดตัวไว้ห้ามทิ้งไว้ในรถนอกจากจะทำให้พลาดการติดต่อแล้ว ยังเสี่ยงที่จะทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ 

5.แผ่นยางกันลื่น ยางเมื่อโดนความร้อนเป็นเวลานาน จะละลายติดไปกับคอนโซลจนทำให้คอนโซลเสียหายได้นั่นเอง

วิธีดูแลรถยนต์ไม่เสี่ยงไฟไหม้รถยนต์ ต้องทำอย่างไร

การดูแลและบำรุงรักษารถยนต์ของคุณ จะลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ ทั้งนี้คุณสามารถดูแลและบำรุงรักษารถยนต์ได้ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาไฟไหม้รถยนต์ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1.หมั่นตรวจเช็คและเติมน้ำภายในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับพอดีอยู่เสมอ  

2.ตรวจสอบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอว่าไม่มีรอยรั่ว หรือรถยนต์ที่ติดแก๊สตรวจดูว่าตามข้อต่อของท่อแก๊สไม่มีรอยรั่วหรือไม่

3.หมั่นก้มลงไปดู ใต้ท้องรถว่าไม่มีรอยน้ำมันรั่วซึมหยดลงที่พื้น หากมีคราบให้นำรถเข้าตรวจสอบหารอยรั่วทันที

4.หากเปิดกระโปรงหน้ารถแล้วสังเกตเห็นเขม่าดำติดอยู่โดยรอบ หมายความว่าเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ ให้รีบนำรถเข้าตรวจเช็คเพื่อทำการหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาทันที

5.สังเกตสายไฟในรถยนต์ว่ามีการชำรุด ขาด หรือไม่  เพราะสายไฟขาดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประกายไฟและนำมาซึ่งเหตุไฟไหม้รถยนต์ได้นั่นเอง

ประกันคุ้มครองไฟไหม้รถยนต์ด้วยหรือไม่?

เหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเพิ่มความคุ้มครองในการเดินทาง การทำประกันรถยนต์ จะช่วยคุ้มครองในกรณีไฟไหม้รถยนต์ได้เช่นกัน ทั้งนี้กรณีไฟไหม้รถยนต์ ประกันชั้นที่จะคุ้มครองครอบคลุมนั้น ได้แก่ ประกันชั้น 1 2+ และ 2 เท่านั้น สำหรับประกันชั้น 3+ และ 3 จะไม่คุ้มครอง โดยความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้รถยนต์ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

กรณีเสียหายสิ้นเชิง

กรณีเสียหายสิ้นเชิง หมายถึง ความเสียหายจากไฟไหม้รถยนต์รุนแรงเกินกว่า 70% ของสภาพรถ หรือไม่สามารถซ่อมแซมรถยนต์ให้กลับมาสภาพเดิมได้อีก สำหรับกรณีนี้ทางบริษัทประกันจะทำการจ่ายค่าเสียหายให้เต็มจำนวน 100% ของทุนประกันสูงสุดตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ (ทุนประกันขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกันภัย)

กรณีเสียหายบางส่วน

กรณีเสียหายบางส่วน หมายถึง ความเสียหายจากไฟไหม้รถยนต์ที่ยังไม่รุนแรงมากนัก สามารถซ่อมแซมรถยนต์ให้กลับมาสภาพเดิมได้ แต่จะมีทางเลือกให้กับผู้เอาประกันว่าจะซ่อมรถให้กลับมาเหมือนเดิม หรือ รับเงินชดเชยความเสียหายในส่วนนี้แทน (ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของบริษัทประกันภัย)

รถติดแก๊ส ประกันจะไม่คุ้มครองกรณีใดบ้าง

1.เมื่อติดตั้งแก๊สหลังจากทำประกันรถยนต์ แล้วไม่ส่งเอกสารยืนยันการติดตั้งแก๊สให้บริษัทประกัน

2.หลังจากได้ติดตั้งแก๊สที่รถ ไม่มีการแจ้งกรมขนส่งทางบก

3.ติดตั้งถังแก๊สที่ไม่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ มอก.(มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) 

4.เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้รถยนต์

รถที่มีอายุการใช้งานนาน รถที่มีการปรับแต่งสภาพ อะไหล่ชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงรถที่ไม่ค่อยได้รับการดูแลและบำรุงรักษาตามระยะ มีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้รถยนต์ได้ ทั้งนี้หากเกิดกรณีไฟไหม้รถยนต์ คุณจะต้องปฏิบัติตนดังนี้

กรณีได้กลิ่นเหม็นไหม้

หากขับรถอยู่ดี ๆ ได้กลิ่นเหม็นไหม้ภายในรถ ควรนำรถจอดเข้าข้างทาง ดับเครื่องยนต์ และโทรเรียกช่างเข้ามาตรวจสอบ

กรณีไฟไหม้เล็กน้อย

หากไฟไหม้รถยนต์เล็กน้อย ยังพอสามารถควบคุมเพลิงได้เบื้องต้น ให้ปฏิบัติตามนี้ก่อน

1.รีบนำรถจอดข้างทางในทันที

2.รถติดตั้งระบบแก๊ส ให้ปิดสวิตช์ เพื่อตัดการทำงานของระบบแก๊สและดับเครื่องยนต์

3.หากไฟไหม้รถเพียงเล็กน้อยให้ควบคุมเพลิง โดยใช้ถังดับเพลิงเคมีฉีดพ่นบริเวณต้นเพลิงให้ดับสนิท

4.หากมีเปลวไฟออกมาจากฝากระโปรงรถ ให้ปลดสลักฝากระโปรง และฉีดพ่นผ่านทางช่องฝากระโปรงที่แง้มไว้ ห้ามเปิดฝากระโปรงในทันที เพราะจะทำให้ไฟลุกลามมากขึ้น เมื่อไฟเริ่มสงบลง จึงค่อย ๆ เปิดฝากระโปรง

6.หากไฟดับสนิทให้รีบถอดขั้วแบตเตอรี่ออก เพื่อไม่ให้ไฟไหม้รถยนต์อีกครั้ง

กรณีไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว 

กรณีเพลิงไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็ว ให้รีบออกห่างจากรถที่เกิดไฟไหม้โดยเร็วที่สุด โดยออกจากรถอย่างน้อย 30 เมตร เพื่อป้องกันรถระเบิด จากนั้นให้รีบโทรแจ้ง ศูนย์รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199  หรือหน่วยกู้ภัยทันที

ไฟไหม้รถยนต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะนำมาซึ่งความความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินไม่น้อย หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น  การหมั่นดูแลรักษารถยนต์ในส่วนต่าง ๆ ตามระยะเวลา เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อครบระยะ หากเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับตัวรถหรือเกิดไฟเตือนที่หน้าคอนโซลรถ คลิก  ควรรีบนำไปเช็คและแก้ไขปัญหาโดยด่วน หากมีการเปลี่ยนอะไหล่ควรเลือกอะไหล่แท้ที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสุขภาพรถเป็นประจำทุกปี หรือเช็ครถก่อนออกเดินทางไกล เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดปัญหารถเสียระหว่างทางหรือจะได้ไม่เกิดปัญหาไฟไหม้รถยนต์ได้ ทั้งนี้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเป็นไปได้เสมอ เพราะฉะนั้นการทำประกันรถยนต์คุ้มครองรถไว้จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรทำติดรถไว้ ทั้งนี้ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองกรณีไฟไหม้รถยนต์ได้นั้นมีเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 2+ และ 2  หากสนใจและกำลังมองหาบริษัทประกันใกล้บ้าน สามารถติดต่อได้ที่เฮงลิสซิ่งทุกสาขา มีให้เลือกหลายแผนตามความต้องการ ซื้อง่าย ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ผ่อนสบายนานสุด 12 เดือน